ฝรั่งเศสเขตวีชี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
รัฐฝรั่งเศส | ||||||
État Français | ||||||
รัฐบริวารของนาซีเยอรมนี (2483–2485) รัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี (2485–2487) | ||||||
| ||||||
| ||||||
คำขวัญ "Travail, famille, patrie" งาน ครอบครัว ปิตุภูมิ | ||||||
เพลงชาติ ลามาร์แซแยซ (เป็นทางการ) มาเลชานูวอรา! (ไม่เป็นทางการ) | ||||||
ดินแดนระบอบวีชีที่ยังไม่ได้ถูกยึดครอง (จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2485)
| ||||||
การสูญเสียอย่างค่อยเป็นค่อยไปของดินแดนวิชีทั้งหมดให้เป็นเสรีฝรั่งเศสและฝ่ายสัมพันธมิตร
| ||||||
เมืองหลวง | วีชี | |||||
เมืองหลวงพลัดถิ่น | ซีคมาริงเงิน (2487-2488) | |||||
ภาษา | ฝรั่งเศส | |||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | |||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ลัทธิอำนาจนิยมเผด็จการ | |||||
ประมุขแห่งรัฐ | ||||||
- | พ.ศ. 2483—พ.ศ. 2487 | ฟีลิป เปแต็ง | ||||
ประธานคณะรัฐบาล | ||||||
- | พ.ศ. 2483—พ.ศ. 2485 | ฟีลิป เปแต็ง | ||||
- | พ.ศ. 2485—พ.ศ. 2487 | ปีแยร์ ลาวาล | ||||
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส | |||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||
- | การได้รับเลือกตั้งของเปแต็ง | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 | ||||
- | ยุทธการแห่งฝรั่งเศส | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2483 | ||||
- | กรณีอันตอน (ฝรั่งเศสทางตอนใต้ถูกยึดโดยเยอรมนีและอิตาลี) | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 | ||||
- | การปลดปล่อยกรุงปารีส | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | ||||
- | ล่มสลาย | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | ||||
- | เมืองซีคมาริงเงินแตก | 22 เมษายน พ.ศ. 2488 | ||||
สกุลเงิน | ฟรังก์ |
ฝรั่งเศสเขตวีชี (ฝรั่งเศส: La France de Vichy) คือรัฐเฉพาะกาลที่ปกครองประชาชนชาวฝรั่งเศส โดยเป็นรัฐที่สนับสนุนนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1944 และเป็นรัฐบาลที่สืบทอดต่อมาจากสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐฝรั่งเศส (État Français)
ประวัติ[แก้]
ระบอบวีชี (Régime de Vichy) ถูกจัดตั้งขึ้นจากการประกาศให้มีการจัดตั้งรัฐบาลตามคำสั่งของกองกำลังปราบปรามแห่งฝรั่งเศสโดยภายใต้การนำของนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองและจากการลงมติจากรัฐสภาของฝรั่งเศส ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 ได้มีการลงมติให้อำนาจพิเศษแก่ ฟีลิป เปแต็ง นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ผู้ที่สถาปนาตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดแห่งรัฐฝรั่งเศส (Chef de l'État Français) อำนาจการบริหารระบอบวีชีในทางกฎหมายมีอำนาจทั้ง 2 ส่วนทั้งกับฝรั่งเศสในการปกครองของนาซีและระบอบวีชี หรือ "ฟรีโซน" แต่ในทางปฏิบัติแล้วระบอบวีชีที่อยู่ทางใต้ที่ยังคงเหลืออยู่นั้นถูกควบคุมโดยตรงจากรัฐบาลวีชี จนกระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตรยึดรัฐอาณานิคมแอฟริกาเหนือของฝรั่งเศสได้ ในปี ค.ศ. 1942
จากการค้นคว้าครั้งล่าสุดโดยนักประวัติศาสตร์ไซมอน คิตต์สัน พบว่า เจตนาที่แท้จริงของการจัดตั้งระบอบวีชีที่ท้ายสุดก็ไม่ประสบความสำเร็จ คือ การปกป้องดำรงไว้ซึ่งเอกราชของฝรั่งเศส และการจับกุมตัวประชาชนชาวฝรั่งเศสจากสายลับของนาซีเยอรมนี
เปแต็งและระบบการปกครองแบบวีชี เจตนาที่จะให้ความร่วมมือกับการเข้ามาควบคุมของนาซีเยอรมนีในระดับสูง และต่อมาตำรวจฝรั่งเศสและกองทัพพร้อมทั้งคณะ ได้ทำการจู่โจมจับกุมแบบเฉียบพลันกับทั้งชาวยิว และประชาชนที่ถูกพิจารณาว่าไม่เป็นที่ปรารถนา ภายใต้การควบคุมของนาซีเยอรมนีอีกเช่นเคย ทั้งกับฝรั่งเศสส่วนทางเหนือและระบอบวีชีที่เป็นส่วนทางใต้
ไม่นานหลังจากนั้นสิทธิ์อันชอบธรรมของระบบวีชีและตำแหน่งผู้นำของเปแต็งก็ถูกชาร์ล เดอ โกลท้าทาย เดอ โกลอ้างสิทธิ์การเป็นผู้นำที่ถูกต้องตามกฎหมายและยังคงอยู่ในวาระของรัฐบาลฝรั่งเศส ต่อมาจากการบุกรุกเหยีบย่ำของฝ่ายสัมพันธมิตรในปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด ชาร์ล เดอ โกลได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 และหลังจากการประกาศอิสรภาพของกรุงปารีส รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้แต่งตั้งตัวเองอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 สิงหาคม อีกทั้งได้การรับรองให้เป็นรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 1944
จากอิสรภาพของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในเดือนสิงหาคมและกันยายน รัฐบาลของวีชีได้ย้ายไปยังเมืองซีคมาริงเงินในเยอรมนีและได้กลายเป็นรัฐบาลที่ถูกเนรเทศ เปแต็งยังคงเป็นผู้นำต่อมาจนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ตัวเลขต่าง ๆ จำนวนมากของรัฐบาลวีชี ได้ถูกจัดการโดยรัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสในภายหลัง เปแต็งได้ถูกพิจารณาให้ประหารชีวิตในข้อหากบฏ แต่ในภายหลังได้รับการลดทอนโทษให้เหลือแค่จำคุกตลอดชีวิตจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1951
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ประเทศฝรั่งเศส |
![]() บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ: |
|
ร่วมสมัย
|
ประเทศอื่นๆ · แผนที่ |
|