ประเทศบรูไน
เนอการาบรูไนดารุสซาลาม | |
---|---|
คำขวัญ:
| |
ที่ตั้งของ ประเทศบรูไน (เขียว) ในอาเซียน (เทาเข้ม) — [คำอธิบายสัญลักษณ์] | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน 4°53.417′N 114°56.533′E / 4.890283°N 114.942217°E |
ภาษาราชการ และภาษาประจำชาติ | มลายู[1] |
ภาษาอื่น ๆ
และสำเนียงท้องถิ่น[3][4] | |
อักษรทางการ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (2021)[5] | |
ศาสนา (2016)[5] |
|
เดมะนิม | ชาวบรูไน |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชแบบอิสลาม |
• สุลต่านและนายกรัฐมนตรี | ฮัสซานัล โบลเกียห์ |
• มกุฎราชกุมารและรัฐมนตรีอาวุโส | อัลมุห์ตาดี บิลละห์ |
สภานิติบัญญัติ | ไม่มี[a] |
ก่อตั้ง | |
ประมาณ ค.ศ. 1368 | |
คริสต์ศตวรรษที่ 15–19 | |
17 กันยายน ค.ศ. 1888 | |
ค.ศ. 1941–1945 | |
• เอกราชจาก สหราชอาณาจักร | 1 มกราคม ค.ศ. 1984 |
7 มกราคม ค.ศ. 1984 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 5,765 ตารางกิโลเมตร (2,226 ตารางไมล์) (อันดับที่ 164) |
8.6 | |
ประชากร | |
• 2020 ประมาณ | 460,345[9] (อันดับที่ 175) |
• สำมะโนประชากร 2016 | 417,256 |
72.11 ต่อตารางกิโลเมตร (186.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 134) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 33.389 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 125) |
• ต่อหัว | 74,952 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 5) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 35.555 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 124) |
• ต่อหัว | 79,816 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 29) |
เอชดีไอ (2019) | 0.838[11] สูงมาก · อันดับที่ 47 |
สกุลเงิน | ดอลลาร์บรูไน (BND) |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลาในประเทศบรูไน) |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | +673[c] |
โดเมนบนสุด | .bn[12] |
|
บรูไน (มลายู: Brunei) หรือ เนอการาบรูไนดารุสซาลาม[13] (Negara Brunei Darussalam, ยาวี: نڬارا بروني دارالسلام; แปลว่า บรูไนนครรัฐแห่งสันติภาพ) เป็นรัฐเอกราชบนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักของมาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่บนเกาะบอร์เนียว ส่วนพื้นที่ที่เหลือของเกาะถูกแบ่งเป็นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประเทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196[14] คนใน พ.ศ. 2560[15]
ประเทศบรูไนเจริญถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านโบลเกียห์ที่ปกครองจักรวรรดิบรูไนช่วง พ.ศ. 2028 - 2071 โดยกล่าวกันว่าสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวได้ อาทิพื้นที่ในปัจจุบันของรัฐซาราวัก รัฐซาบะฮ์ กลุ่มเกาะซูลูทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มะนิลาและหมู่เกาะที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ต่อมาใน พ.ศ. 2064 เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันมาพบกับบรูไน และใน พ.ศ. 2121 บรูไนต่อสู้กับสเปนในสงครามกัสติยา
ในช่วงศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิบรูไนเริ่มเสื่อมอำนาจ สุลต่านยอมยกซาราวัก (กูชิง) ให้เจมส์ บรูก และแต่งตั้งให้เป็นรายาแห่งซาราวัก จากนั้นซาราวักก็ตกเป็นของบริษัทบริษัทเอ็นบีซีซีของอังกฤษ ใน พ.ศ. 2431 บรูไนได้กลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษและได้รับมอบหมายให้เป็นพลเมืองอังกฤษในฐานะผู้บริหารอาณานิคมใน พ.ศ. 2449 หลังจากนั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองบรูไน พ.ศ. 2502 มีการเขียนกฎหมายสูงสุดฉบับใหม่ขึ้น และใน พ.ศ. 2505 การประท้วงขนาดเล็กที่ต่อต้านระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลงด้วยความช่วยเหลือของอังกฤษ[16]
บรูไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลัก (ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาร์เรล/วัน)[17]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ประเทศบรูไนประกอบด้วย 2 ส่วนที่ไม่ติดกันคือด้านตะวันตกและด้านตะวันออกโดยที่ประชากรร้อยละ 97 อาศัยอยู่ในส่วนด้านตะวันตก และมีประชากรเพียงประมาณ 10,000 คนที่อาศัยอยู่ในด้านตะวันออก ซึ่งมีภูเขาเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ตั้งของเขตเติมบูรง เมืองหลัก ๆ ของบรูไนคือเมืองหลวงบันดาร์เซอรีเบอกาวัน เมืองท่ามัวรา และเซอเรีย
ภูมิอากาศในบรูไนเป็นภูมิอากาศเขตร้อน มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูง และ ฝนตกมาก
ข้อมูลภูมิอากาศของกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวัน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.4 (86.7) |
30.7 (87.3) |
31.9 (89.4) |
32.5 (90.5) |
32.6 (90.7) |
32.5 (90.5) |
32.3 (90.1) |
32.4 (90.3) |
32.0 (89.6) |
31.6 (88.9) |
31.4 (88.5) |
31.0 (87.8) |
31.8 (89.2) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 23.3 (73.9) |
23.3 (73.9) |
23.5 (74.3) |
23.7 (74.7) |
23.7 (74.7) |
23.4 (74.1) |
23.0 (73.4) |
23.1 (73.6) |
23.1 (73.6) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.3 (73.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 292.6 (11.52) |
158.9 (6.256) |
118.7 (4.673) |
189.4 (7.457) |
234.9 (9.248) |
210.1 (8.272) |
225.9 (8.894) |
226.6 (8.921) |
264.4 (10.409) |
312.3 (12.295) |
339.9 (13.382) |
339.6 (13.37) |
2,913.3 (114.697) |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 16 | 12 | 11 | 16 | 18 | 16 | 16 | 16 | 19 | 21 | 23 | 21 | 205 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 195.3 | 192.1 | 226.3 | 240.0 | 235.6 | 210.0 | 223.2 | 217.0 | 198.0 | 204.6 | 204.0 | 210.8 | 2,556.9 |
แหล่งที่มา 1: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
"World Weather Information Service - Bandar Seri Begawan". องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 14-05-2010. | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: หอสังเกตการณ์ฮ่องกง
"Climatological Information for Bandar Seri Begawan, Brunei". หอสังเกตการณ์ฮ่องกง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012. |
ประวัติศาสตร์
[แก้]บรูไนเป็นที่รู้จักและมีอำนาจมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยมีอาณาเขตครอบครองส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในสมัยนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ
หลังจากนั้นบรูไนเสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลงเนื่องจากสเปน และเนเธอร์แลนด์ได้แผ่อำนาจเข้ามา
จนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ด้วยความวิตกว่าจะต้องเสียดินแดนต่อไปอีก บรูไนจึงได้ยินยอมเข้าอยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษ และต่อมาในปี พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) บรูไนสำรวจพบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่เมืองเซรีอา ทำให้บรูไนมีฐานะมั่งคั่งในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ได้มีการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคประชาชนบอร์เนียว (Borneo People’s Party) ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น แต่ถูกกีดกันไม่ให้จัดตั้งรัฐบาล ต่อมาจึงได้ยึดอำนาจจากสุลต่าน แต่สุลต่านทรงได้รับความช่วยเหลือจากกองทหารกูรข่าที่กองทัพบกอังกฤษส่งมาจากสิงคโปร์ หลังจากนั้นได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน และต่ออายุทุก ๆ 2 ปี เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากที่อยู่ภายใต้อารักขาของอังกฤษมาถึง 95 ปี บรูไนก็ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)
การเมืองการปกครอง
[แก้]รัฐธรรมนูญปัจจุบันซึ่งแก้ไขล่าสุดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 กำหนดให้สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมลายูตั้งแต่กำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายซุนนี นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
นโยบายหลักของบรูไน ได้แก่การสร้างความเป็นปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีที่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่
นับจากการพยายามยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคการเมือง ได้แก่ Parti Perpaduan Kebangsaan Brunei (PPKB) และ Parti Kesedaran Rakyat (PAKAR) ไม่มีบทบาทมากนัก เนื่องจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่าง ๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ (Internal Security Act (ISA)) ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ (ซึ่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชากรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นหรือขอความช่วยเหลือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 ได้มีการจัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช
บริหาร
[แก้]สุลต่านเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาลในบรูไน โดยใช้อำนาจเด็ดขาดและอำนาจบริหารเต็มที่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญปี 2502 สุลต่านทรงแต่งตั้ง ห้าสภาคือ องคมนตรีสภา สันตติวงศ์สภา ศาสนาสภา รัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติ
นิติบัญญัติ
[แก้]ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2502 มีการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติ (มาเลย์: Majlis Mesyuarat Negera) แต่มีการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวที่เคยเกิดขึ้นในปี 2505 ในไม่นานหลังจากการเลือกตั้งสภาก็เลือนหายไปตามประกาศภาวะฉุกเฉิน สภาได้รับการแต่งตั้งโดยคำสั่งของสุลต่าน ในปี 2547 สุลต่านประกาศว่าสำหรับการเลือกตั้งรัฐสภาครั้งต่อไปจะมีการเลือกตั้ง 15 จาก 20 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามไม่มีการกำหนดวันที่สำหรับการเลือกตั้ง
ปัจจุบันสภานิติบัญญัติประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 20 คนและมีอำนาจในการให้คำปรึกษาเท่านั้น
ตุลาการ
[แก้]ระบบยุติธรรมในบรูไนมีรากฐานมาจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษ โดยเป็นระบบกฎหมายคู่
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]ประเทศบรูไนแบ่งการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 4 เขต (daerah) ดังนี้
- เขตบรูไน-มัวรา (Brunei-Muara)
- เขตเบอไลต์ (Belait)
- เขตตูตง (Tutong)
- เขตเติมบูรง (Temburong)
เมืองใหญ่สุด
[แก้]สิทธิมนุษยชน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิทธิมนุษยชนในบรูไนถูกกำกับโดยระบบยุติธรรมแบบศาสนาอิสลาม
การต่างประเทศ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
จนกระทั่งปี 1979 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของบรูไนได้รับการจัดการโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักร หลังจากได้รับเอกราชในปี 1984 การต่างประเทศนี้ได้รับการยกระดับเป็นระดับรัฐมนตรีและเป็นที่รู้จักในนามกระทรวงการต่างประเทศ
นโยบายต่างประเทศของบรูไนอย่างเป็นทางการมีดังนี้
- การเคารพซึ่งกันและกันของอธิปไตยเหนือดินแดนความซื่อสัตย์และความเป็นอิสระของผู้อื่น
- การบำรุงรักษาความสัมพันธ์ฉันมิตรในหมู่ประชาชาติ
- การไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และ
- การบำรุงรักษาและการส่งเสริมสันติภาพความมั่นคงและความมั่นคงในภูมิภาค
ด้วยความผูกพันดั้งเดิมกับสหราชอาณาจักรบรูไนก็กลายเป็นสมาชิกคนที่ 49 ของเครือจักรภพทันทีในวันประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 หนึ่งในโครงการริเริ่มแรกที่มีต่อความสัมพันธ์ในภูมิภาคที่ดีขึ้นบรูไนได้เข้าร่วมกับอาเซียนในวันที่ 7 มกราคม 2527 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่หก เพื่อให้บรรลุถึงการยอมรับอำนาจอธิปไตยและความเป็นอิสระมันได้เข้าร่วมสหประชาชาติในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบในวันที่ 21 กันยายนของปีเดียวกัน
ในฐานะประเทศอิสลามบรูไนก็กลายเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบขององค์กรการประชุมอิสลาม (ปัจจุบันเป็นองค์กรความร่วมมืออิสลาม) ในเดือนมกราคม 2527 ในการประชุมสุดยอดอิสลามครั้งที่สี่ที่จัดขึ้นในโมร็อกโก
หลังจากเข้าร่วมในเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย - แปซิฟิก (APEC) ในปี 2532 บรูไนได้เป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2543 และการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน (ARF) ในเดือนกรกฎาคม 2545 บรูไนเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญใน BIMP-EAGA ซึ่งก่อตั้งขึ้นในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีครั้งแรกในเมืองดาเวาประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2537
บรูไนมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสิงคโปร์และฟิลิปปินส์ ในเดือนเมษายน 2552 บรูไนและฟิลิปปินส์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่พยายามกระชับความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศในด้านการเกษตรและการค้าและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
บรูไนเคยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2556 นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนในปีเดียวกัน
การทหาร
[แก้]กองทัพบรูไน (Royal Brunei Armed Forces หรือ RBAF) มีกำลังพลเพียง 7,000 นาย และกำลังสำรอง 700 นาย โดยแบ่งเป็นกองทัพบก 4,900 นาย กองทัพเรือ 1,000 นาย และกองทัพอากาศ 1,200 นาย
อย่างไรก็ดี สุลต่านยังมีกองทหารกูรข่าของพระองค์เอง เรียกว่า Gurkha Reserve Unit (GRU) จำนวน 2,500 นาย และกองทหารกูรข่าของอังกฤษ (British Gurkha) รวมกำลังพล 1,000 คน ประจำอยู่ที่เมืองเซอเรีย เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่บ่อน้ำมัน และกิจการผลิตน้ำมันของกองทัพบรูไน Brunei Shell Petroleum โดยรัฐบาลบรูไนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
เศรษฐกิจ
[แก้]ประเทศบรูไนเป็นประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันและแก๊สธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นอันดับหนึ่ง แต่รัฐบาลบรูไนก็เริ่มตระหนักว่าประเทศชาติจะพึ่งพิงรายได้จากทรัพยากรทั้งสองอย่างเท่านี้ไม่ได้เสียแล้ว แต่ควรหันมาให้ความสนใจกับทรัพยากรธรรมชาติอี่น ๆ ที่ยังคงมีมากมายเช่น ป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์น้ำ และพื้นที่อันอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเกษตร เพื่อเป็นการเร่งรัดการพัฒนารูปแบบของการลงทุน สุลต่านบรูไนได้ทรงตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่คือกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ดูแลวางแผนและดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนโดยเฉพาะ โครงการอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนและเร่งรัดส่งเสริมเป็นพิเศษ ได้แก่ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับภาคเกษตร ป่าไม้ และการประมง
การดำเนินการช่วงแรกนั้น รัฐบาลมุ่งสนับสนุนโรงงานและอุตสาหกรรมขนาดเล็กในภูมิภาคที่สามารถป้อนผลผลิตให้กับผู้บริโภคในท้องถิ่นก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงขยายไปสู่การผลิตเพื่อการส่งออกในระยะยาว รัฐบาลได้ตั้งความหวังว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จะเป็นแหล่งที่เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมน้ำมันที่อาจหมดไปในอนาคต โดยที่ประชาชนยังมีหลักประกันว่าจะมีงานทำ บรูไนเป็นประเทศที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร ขณะนี้ยังมีประชากรน้อยมาก แต่บรูไนก็ไม่ได้หวังพึ่งพารายได้จากการขายน้ำมันเพียงอย่างเดียว ได้พยายามที่จะพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตัวเองได้ อย่างไรก็ตามบรูไนเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงมากแห่งหนึ่งของโลก แต่รัฐบาลได้ให้สวัสดิการอย่างดีเลิศแก่ประชาชน อาทิ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล ค่ารักษาพยาบาลฟรี การศึกษา รัฐให้เล่าเรียนจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการแก่ข้าราชการของรัฐ อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ คือ น้ำมัน ส่วนพืชเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กล้วย
อุตสาหกรรม
[แก้]บรูไนมีอุตสาหกรรมอื่น นอกเหนือจากอุตสาหกรรมน้ำมันอยู่บ้าง อาทิ การผลิตอาหาร และปลากระป๋อง
แนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
[แก้]ปัจจุบัน บรูไนกำลังพยายามเปลี่ยนแปลง จากเศรษฐกิจที่พึ่งพาน้ำมันเป็นหลัก ไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันสำรองที่ยืนยันแล้ว (proven reserve) ของบรูไนจะหมดลงในราวปี พ.ศ. 2558 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเอเชีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ทำให้บรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ได้แก่
- จัดตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ นำโดยเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบรูไน) ซึ่งมีแนวทางส่งเสริมภาคเอกชน ให้มีบทบาทมากขึ้น ในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
- ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นนโยบายให้สวัสดิการ มาเป็นการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ขยายฐานการจัดเก็บภาษี
- ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศของ BIA โดยหันมาลงทุนในธุรกิจด้านใหม่ ๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและโทคมนาคม หรือธุรกิจสายการบินต่าง ๆ
- แผนพัฒนาแห่งชาติฉบับที่ 8 (The Eighth National Development Plan: 8th NDP) ที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2544-2548 มีสาระสำคัญ ได้แก่ ตั้งเป้าอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี - GDP) ที่ร้อยละ 5–6 โดยตั้งวงเงินงบประมาณ สำหรับการดำเนินตามแผนฯ ไว้ 7.3 พันล้านดอลลาร์บรูไน ซึ่งคาดว่ากลยุทธ์ทางการพัฒนาใหม่นี้ จะช่วยให้รัฐบาลสร้างสมดุลของงบประมาณได้ดีขึ้น สามารถกำหนดมาตรการในการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สร้างความแข็งแกร่งและการขยายตัวให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส รวมทั้งการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนาดเล็กและย่อม การขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจบางกิจการ และสร้างความแข็งแกร่งในระบบการเงินและการคลัง นอกจากนี้ รัฐบาลบรูไนยังยึดแนวคิดของวิธีการปกครองที่ดี (Good Governance) รวมทั้งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคเอกชน
- ส่งเสริมการลงทุนกับต่างประเทศ และมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้า และสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียน และนานาประเทศ
- พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์บริการการค้าและการท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism -SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้าที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของโครงการความร่วมมือของกลุ่ม Brunei Indonesia Malaysia Philippines-East ASEAN Growth Area (BIMP-EAGA)
- สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเอื้ออำนวยต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคพื้นฐาน นอกจากนี้ จากการที่บรูไนได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติ (Brunei International Financial Center : BIFC) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะยกระดับประเทศ ในด้านการบริการการเงินในระดับนานาชาติ กระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และสร้างงานให้กับประชาชน
การท่องเที่ยว
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บรูไนเป็นประเทศที่เริ่มหันมาพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยวอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2560 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมาถึงบรูไนดารุสซาลามผ่านสนามบินนานาชาติบรูไนมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 258,955 คนเมื่อเทียบกับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวน 218,809 คนในปี 2559 เพิ่มขึ้น 18.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ความสำเร็จครั้งนี้เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ 10% จากปีที่แล้วและนับเป็นสถิติที่สูงที่สุดของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาตินับตั้งแต่ปี 2554 ที่จำนวนนักท่องเที่ยว 242,061 คน
โครงสร้างพื้นฐาน
[แก้]การคมนาคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในประเทศเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายถนนระยะทาง 2,800 กิโลเมตร (1,700 ไมล์) ทางหลวงระยะทาง 135 กิโลเมตร (84 ไมล์) จากเมือง Muara ไปยัง Kuala Belait กำลังได้รับการพัฒนาต่อเติมเป็นถนนสองเลน
บรูไนสามารถเดินทางโดยเครื่องบินทะเลและการขนส่งทางบก ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไนเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของประเทศ สายการบินรอยัลบรูไน เป็นสายการบินแห่งชาติ มีสนามบินอีกแห่งหนึ่งคือสนามบิน Anduki ที่ตั้งอยู่ใน Seria ท่าเรือเฟอร์รี่ที่ Muara ให้บริการเชื่อมต่อไปยังลาบวน (มาเลเซีย) เป็นประจำ เรือเร็วให้บริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปยังเขต Temburong ทางหลวงสายหลักที่วิ่งข้ามประเทศบรูไนคือทางหลวง Tutong-Muara เครือข่ายถนนของประเทศได้รับการพัฒนาอย่างดี บรูไนมีท่าเรือหลักอยู่ที่ Muara
สนามบินในบรูไนกำลังได้รับการยกระดับอย่างกว้างขวาง สนามบินนานาชาติจางีเป็นที่ปรึกษาด้านการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทันสมัยซึ่งปัจจุบันมีต้นทุนการวางแผนอยู่ที่ 150 ล้านดอลลาร์ โครงการนี้มีกำหนดจะเพิ่มพื้นที่พื้นใหม่ 14,000 ตารางเมตร (150,000 ตารางฟุต) และมีอาคารผู้โดยสารและโถงผู้โดยสารขาเข้าใหม่ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการนี้ความจุผู้โดยสารประจำปีของสนามบินคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 1.5 เป็น 3 ล้านคน
ด้วยรถยนต์ส่วนตัวหนึ่งคันสำหรับทุก ๆ 2.09 คนบรูไนมีอัตราการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่สูงที่สุดในโลก นี่เป็นผลมาจากการที่ไม่มีระบบการขนส่งที่ครอบคลุมภาษีนำเข้าต่ำและราคาน้ำมันไร้สารตะกั่วต่ำเพียง 0.53 ดอลลาร์ต่อลิตร
ถนนสายใหม่ระยะทาง 30 กม. (19 ไมล์) ซึ่งเชื่อมต่อกับเขต Muara และ Temburong ของบรูไนมีกำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2562 สิบสี่กิโลเมตร (9 ไมล์) ของถนนสายนี้จะข้ามอ่าวบรูไน ใช้งบประมาณก่อสร้างสะพานคือ 1.6 พันล้านดอลลาร์
การศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษาในบรูไนถูกกำกับโดยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงศาสนา มีการสอนศาสนาอิสลามและมีการเน้นการสอนภาษามาเลย์และภาษาอังกฤษ
สาธารณสุข
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บรูไนมีโรงพยาบาลที่ดำเนินการโดยรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีศูนย์สุขภาพไม่ต่ำกว่า 16 แห่งและคลินิกสุขภาพ 10 แห่ง
การดูแลสุขภาพในบรูไนมีค่าใช้จ่าย 1 ดอลล่าร์บรูไน และฟรีสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี
ประชากรศาสตร์
[แก้]เชื้อชาติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 2007 ประเทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196 คน เป็นเชื้อชาติมลายู 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น ๆ 67,424 คน (18%) อัตราการเพิ่มประชากรเฉลี่ยปีละ 3.5 %
ศาสนา
[แก้]ในปี ค.ศ. 2011[18] ประเทศบรูไนมีผู้นับถือศาสนา แบ่งได้ดังนี้ ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี 67% ศาสนาพุทธนิกายมหายาน 13% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาอื่น ๆ และไม่มีศาสนา 10%
ภาษา
[แก้]ประเทศบรูไนใช้ภาษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษารองที่ใช้สื่อสารกันแพร่หลาย
วัฒนธรรม
[แก้]วัฒนธรรมของบรูไนเป็นวัฒนธรรมของอิสลาม ซึ่งมีความเคร่งครัดค่อนข้างสูงมาก โดยสูงกว่าอินโดนีเซีย เป็นต้น
เทศกาล
[แก้]ชาวบรูไนก็ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญทางศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะเทศกาลรอมฏอน ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการถือศีลอดอันศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจะไปเยี่ยมเพื่อนหรือครอบครัวและรับประทานอาหารฉลองร่วมกัน
อาหาร
[แก้]อาหารบรูไนมีความคล้ายคลึงกับอาหารทั่วไปในภูมิภาค โดยมีพื้นฐานจากข้าวและปลา และเว้นการบริโภคเนื้อหมู
สื่อสารมวลชน
[แก้]สื่อในบรูไนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นรัฐบาลมืออาชีพ และไม่ค่อยมีอิสระในการนำเสนอ คำวิจารณ์ของรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นไม่ค่อยมีข่าววิจารณ์ อย่างไรก็ตามสื่อพิมพ์บทความเกี่ยวกับรัฐบาลเท่านั้น
กีฬา
[แก้]ประเทศบรูไนมีกีฬาที่ยอดนิยมในประเทศคือกีฬาฟุตบอล และมีการส่งนักกีฬาไปแข่งขันกีฬาตามโอกาสต่าง ๆ แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนัก
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ มีสภานิติบัญญัติที่ไม่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ[6] เนื่องจากมีบทบาทเพียงให้การปรึกษาหารือ จึงไม่ถือว่าเป็นสภานิติบัญญัติ[7][8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Deterding, David; Athirah, Ishamina (22 July 2016). "Brunei Malay". Journal of the International Phonetic Association. Cambridge University Press. 47: 99–108. doi:10.1017/S0025100316000189. ISSN 0025-1003. S2CID 201819132. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
- ↑ Writing contest promotes usage, history of Jawi script เก็บถาวร 12 มิถุนายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Brunei Times (22 October 2010)
- ↑ "Brunei". Ethnologue. 19 February 1999. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
- ↑ "Call to add ethnic languages as optional subject in schools". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013.
- ↑ 5.0 5.1 "Population by Religion, Sex and Census Year". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
- ↑ "Brunei Darussalam" (PDF). United Nations (Human Rights Council): 4. สืบค้นเมื่อ 27 August 2022.
- ↑ "Brunei: Freedom in the World 2020 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Brunei". United States Department of State.
- ↑ "Department of Economic Planning and Development - Population". www.depd.gov.bn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-12-12.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "World Economic Outlook Database, April 2022". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Delegation Record for .BN". IANA. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.
- ↑ "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "ประชากรบรูไน - ค้นหาด้วย Google". www.google.com.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ Pocock, Tom (1973). Fighting General – The Public &Private Campaigns of General Sir Walter Walker (First ed.). London: Collins. ISBN 0-00-211295-7.
- ↑ คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าบรูไนเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ แต่ในข้อเท็จจริง ปริมาณการผลิตน้ำมันของบรูไนมากกว่าประเทศไทยไม่มากนักและน้อยกว่ามาเลเซียมาก ประเทศไทยผลิตได้ 138,000 บาร์เรล/วัน มาเลเซียผลิตได้ 800,000 บาร์เรล/วัน บรูไนผลิตได้ บาร์เรล/วัน แต่เนื่องจากบรูไนเป็นประเทศเล็ก ๆ และมีประชากรไม่ถึง 4 แสนคน (ซึ่งเทียบเท่ากับจังหวัดเล็ก ๆ ของไทยเท่านั้น) จึงใช้น้ำมันในประเทศเพียงเล็กน้อย ที่เหลือส่งเป็นสินค้าออกทั้งหมด การที่มีประชากรน้อยทำให้รายได้จากน้ำมันเพียงพอที่จะสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ปกครองและพลเมืองได้ นอกจากนี้ พื้นที่ของประเทศมาเลเซียก็ล้อมรอบบรูไน ทำให้บริเวณที่มีน้ำมันและแก๊สธรรมชาติส่วนใหญ่ในบริเวณนั้นจะอยู่ในการครอบครองของรัฐซาราวักและรัฐซาบะฮ์ (มาเลเซียตะวันออก)
- ↑ [1] Religion in Brunei
- ข้อมูล
- บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก
- History for Brunei Darussalam: Sharing our Past. Curriculum Development Department, Ministry of Education. 2009. ISBN 978-99917-2-372-3.
- Atiyah, Jeremy (2002). Rough guide to Southeast Asia. Rough Guide. ISBN 978-1-85828-893-2.
- Frankham, Steve (2008). Footprint Borneo. Footprint Guides. ISBN 978-1-906098-14-8.
- Gudgeon, L.W.W. (1913). "British North Borneo". Adam and Charles Black: London.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Nicholl, Robert (2002). European sources for the history of the Sultanate of Brunei in the Sixteenth Century. Special Publications, no. 9. Muzium Brunei. ISBN 978-0-8028-4945-8.
- McAmis, Robert Day (2002). Malay Muslims: the history and challenge of resurgent Islam in Southeast Asia. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-8028-4945-8.
- Melo Alip, Eufronio (1964). Political and cultural history of the Philippines, Volumes 1–2.
- Oxford Business Group (2009). The Report: Brunei Darussalam 2009. Oxford Business Group. ISBN 978-1-907065-09-5.
- Saunders, Graham E. (2002). A history of Brunei. Routledge. ISBN 978-0-7007-1698-2.
- United States War Dept (1903). "Annual reports, Volume 3". Government Printing Office.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Oxford Business Group (2013). The Report: Brunei Darussalam 2013. Oxford Business Group. ISBN 978-1-907065-78-1.
- de Vienne, Marie-Sybille (2016) [2012]. Brunei: From the Age of Commerce to the 21st Century. แปลโดย Lanier, Emilia. Clementi, SG: NUS Press. ISBN 978-9971-69-818-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]รัฐบาล
- Prime Minister's Office of Brunei Darussalam website
- Chief of State and Cabinet Members เก็บถาวร 2020-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ข้อมูลทั่วไป
- Brunei. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Brunei profile from the BBC News
- Brunei at Encyclopædia Britannica
- Wikimedia Atlas of Brunei
- Key Development Forecasts for Brunei from International Futures
การเดินทาง
- Brunei Tourism website