ข้ามไปเนื้อหา

มาเลเซียตะวันออก

พิกัด: 3°N 114°E / 3°N 114°E / 3; 114
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A black and white general world map with East Malaysia highlighted in green
มาเลเซียตะวันออกประกอบด้วยรัฐซาบะฮ์และซาราวัก กะบดินแดนสหพันธ์ลาบวน
A map of Borneo showing East Malaysia and its major cities. Labuan is the island off the coast of Sabah near Kota Kinabalu.
แผนที่ทางการเมืองของเกาะบอร์เนียว โดยมาเลเซียตะวันออกอยู่ในสีส้ม

มาเลเซียตะวันออก (มลายู: Malaysia Timur) หรือ กลุ่มรัฐบอร์เนียว (อังกฤษ: Borneo States)[1] มีอีกชื่อว่า บอร์เนียวของมาเลเซีย (Malaysian Borneo) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มาเลเซียตะวันออกเป็นที่ตั้งของรัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวัก และดินแดนสหพันธ์ลาบวน ประเทศบรูไนเป็นดินแดนแทรกในรัฐซาราวัก ส่วนทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้คือกาลิมันตันของอินโดนีเซีย[2] มาเลเซียตะวันออกตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย (มีอีกชื่อว่า มาเลเซียตะวันตก) ส่วนของประเทศบนคาบสมุทรมลายู ทั้งสองพื้นที่นี้แยกจากกันด้วยทะเลจีนใต้[3][4]

มาเลเซียตะวันออกมีประชากรน้อยกว่าและมีการตั้งถิ่นฐานที่พัฒนาแล้วน้อยกว่ามาเลเซียตะวันตก ในขณะที่มาเลเซียตะวันตกมีเมืองหลักของประเทศ (กัวลาลัมเปอร์, โจโฮร์บะฮ์รู และจอร์จทาวน์) มาเลเซียตะวันออกมีขนาดใหญ่กว่าและมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์กว่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซ

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่บางสว่นของมาเลเซียตะวันออกในปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่ง เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเมืองท่าบรูไน[5] อย่างไรก็ตาม พื้นที่ภายในส่วนใหญ่มีสังคมชนเผ่าที่เป็นอิสระต่อกัน[6]

ใน ค.ศ. 1658 พื้นที่ชายฝั่งตอนเหนือและตะวันออกของซาบะฮ์ถูกยกให้กับรัฐสุลต่านซูลู ส่วนชายฝั่งตะวันตกของซาบะฮ์และซาราวักส่วนใหญ่ยังคงเป็นของบรูไน[7] เจมส์ บรูกดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการซาราวักใน ค.ศ. 1841[8] ใน ค.ศ. 1888 ซาบะฮ์ ซาราวัก และบรูไนกลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ[9] ญี่ปุ่นเข้ารุกรานใน ค.ศ. 1941 แต่ถูกชาวออสเตรเลียสู้กลับใน ค.ศ. 1945[8] และปีต่อมาซาบะฮ์และซาราวักกลายเป็นอาณานิคมอังกฤษต่างหาก[10][11] ภูมิภาคนี้เผชิญกับกอนฟรอนตาซีกับอินโดนีเซีย แต่เข้าร่วมมาเลเซียใน ค.ศ. 1963[8]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bill for 'Borneo states' instead of 'East Malaysia'". The Star (ภาษาอังกฤษ). 2 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-08-30.
  2. Commission regulation Official Journal of the European Union
  3. "Location". Malaysia Travel.org.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2010. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  4. "Malay Peninsula". HarperCollins Publishers. สืบค้นเมื่อ 7 July 2010.
  5. Saunders, Graham E. (2002), A History of Brunei, RoutlegdeCurzon, p. 45, ISBN 9780700716982, สืบค้นเมื่อ 5 October 2009
  6. Singh, Ranjit (2000). The Making of Sabah, 1865–1941: The Dynamics of Indigenous Society. University of Malaya Press. ISBN 978-983-100-095-3.
  7. The Report: Sabah 2011. Oxford Business Group. 2011. p. 179. ISBN 9781907065361. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
  8. 8.0 8.1 8.2 Barley, Nigel (2013-06-20). White Rajah: A Biography of Sir James Brooke (ภาษาอังกฤษ). Little, Brown Book Group. ISBN 978-0-349-13985-2.
  9. Charles, de Ledesma; Mark, Lewis; Pauline, Savage (2003). Malaysia, Singapore, and Brunei. Rough Guides. p. 723. ISBN 978-1-84353-094-7. สืบค้นเมื่อ 2 November 2015. In 1888, the three states of Sarawak, Sabah, and Brunei were transformed into protectorates, a status which handed over the responsibility for their foreign policy to the British in exchange for military protection.
  10. Porritt, Vernon L. (1997). British Colonial Rule in Sarawak, 1946–1963. Oxford University Press. ISBN 978-983-56-0009-8. สืบค้นเมื่อ 7 May 2016.
  11. "British North Borneo Becomes Crown Colony". Kalgoorlie Miner. Trove. 18 July 1946. p. 1. สืบค้นเมื่อ 17 May 2016.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

3°N 114°E / 3°N 114°E / 3; 114