ข้ามไปเนื้อหา

ฝรั่งเศสเขตวีชี

พิกัด: 46°10′N 3°24′E / 46.167°N 3.400°E / 46.167; 3.400
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบอบวิชี)

46°10′N 3°24′E / 46.167°N 3.400°E / 46.167; 3.400

รัฐฝรั่งเศส

État français
1940–1944[1]
คำขวัญ"Travail, Famille, Patrie"
("งาน ครอบครัว ปิตุภูมิ")
เพลงชาติ
"ลามาร์แซแยซ" (ทางการ)

"Maréchal, nous voilà!" (ไม่ทางการ)[2]
("ท่านจอมพล เราอยู่นี่!")
รัฐฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1942:
  •   พื้นที่ที่ไม่ได้ยึดครอง
  •   เขตที่ทหารเยอรมันครอบครอง
  •   รัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
การสูญเสียอย่างค่อยเป็นค่อยไปของดินแดนวิชีทั้งหมดให้เป็นเสรีฝรั่งเศสและฝ่ายสัมพันธมิตร
การสูญเสียอย่างค่อยเป็นค่อยไปของดินแดนวิชีทั้งหมดให้เป็นเสรีฝรั่งเศสและฝ่ายสัมพันธมิตร
สถานะ
เมืองหลวง
เมืองหลวงพลัดถิ่นซีคมาริงเงิน
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส
การปกครองรัฐหุ่นเชิดภายใต้รัฐเดี่ยว ลัทธิอำนาจนิยมเผด็จการ
ประมุขแห่งรัฐ 
• 1940–1944
ฟีลิป เปแต็ง
นายกรัฐมนตรี 
• 1940–1942
ฟีลิป เปแต็ง
• 1940 (รักษาการ)
ปีแยร์ ลาวาล
• 1940–1941 (รักษาการ)
P.É. Flandin
• 1941–1942 (รักษาการ)
François Darlan
• 1942–1944
ปีแยร์ ลาวาล
สภานิติบัญญัติสมัชชาแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่สอง
22 มิถุนายน ค.ศ. 1940
10 กรกฎาคม 1940
8 พฤศจิกายน 1942
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942
ฤดูร้อน ค.ศ. 1944
• สิ้นสุด
9 สิงหาคม 1944[1]
22 เมษายน ค.ศ. 1945
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
  1. ปารีสยังคงเป็นเมืองหลวงโดยนิตินัย ถึงแม้ว่ารัฐบาลวีชีไม่เคยบริหารที่นั่น
  2. ถึงแม้ว่ายังคงรักษาสถาบันสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ แต่ไม่มีคำว่า "สาธารณรัฐ" ปรากฏในเอกสารทางการของรัฐบาลวีชีเลย

ฝรั่งเศสเขตวีชี (ฝรั่งเศส: Régime de Vichy; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1944) เป็นชื่อสามัญของ รัฐฝรั่งเศส (État français) ผู้นำคือ จอมพล ฟีลิป เปแต็ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นอิสระอย่างเป็นทางการ ได้ใช้นโยบายในการให้ความร่วมมือกับนาซีเยอรมนี ซึ่งยึดครองพื้นที่ทางตอนเหนือและทางตะวันตกก่อนที่จะครอบครองส่วนที่เหลือของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1942 แม้ว่าปารีสจะเป็นเมืองหลวงอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่รัฐบาลวิชีได้ก่อตั้งสถาปนาตัวเองในเมืองตากอากาศของวิชีใน"เขตเสรี"(zone libre)ที่ไม่ได้ถูกยึดครอง ซึ่งยังคงมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารปกครองทางพลเรือนของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับดินแดนอาณานิคม[3]

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ได้เริ่มต้นทำสงครามในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 โดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ก็ถูกรุกรานโดยนาซีเยอรมนี กองทัพบกเยอรมันได้บุกทะลวงผ่านแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตรโดยการอ้อมผ่านแนวมาฌีโนซึ่งเต็มไปด้วยป้อมปราการสูงและบุกรุกผ่านทางเบลเยียม ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน สถานการณ์ทางทหารของฝรั่งเศสกลับดูเลวร้ายมากขึ้น และเห็นได้ชัดว่าการต่อสู้รบเพื่อประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ไม่อาจที่จะสามารถเอาชนะได้เลย รัฐบาลฝรั่งเศสได้เริ่มประชุมหารือถึงความเป็นไปได้ในการเจรจาการสงบศึก ปอล แรโนได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากกว่าที่จะยอมลงนามสนธิสัญญาสงบศึก และจอมพล ฟีลิป เปแต็ง วีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งโดยทันที ภายหลังจากนั้นไม่นาน เปแต็งได้ลงนามสนธิสัญญาสงบศึกในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ได้ถึงแก่การล่มสลายลงในที่สุด เมื่อเปแต็งได้รับอำนาจเผด็จการโดยสมัชชาแห่งชาติ

ที่เขตวิชี เปแต็งได้จัดตั้งรัฐบาลเผด็จการซึ่งได้ทำการยกเลิกนโยบายเสรีนิยมมากมายและเริ่มกำกับดูแลเศรษฐกิจอย่างเข้มงวด พวกฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งนับถือนิกายคาทอลิกกลับดูโดดเด่น[4] และปารีสได้สูญเสียสถานะความล้ำยุค(avant-garde) ในศิลปะและวัฒนธรรมของยุโรป สื่อได้ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและส่งเสริมลัทธิต่อต้านชาวยิว และภายหลังปฏิบัติการบาร์บาร็อสซาได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ก็เกิดลัทธิต่อต้านบอลเชวิคขึ้นมา[5] เงื่อนไขในการสงบศึกได้ให้ข้อเสนออันเป็นผลดีบางประการ เช่น การเก็บรักษากองทัพเรือฝรั่งเศสและจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสมาอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส และหลีกเลี่ยงการถูกยึดครองทั้งประเทศอย่างสมบูรณ์โดยเยอรมนี ซึ่งได้รักษาระดับความเป็นเอกราชและความเป็นกลางของฝรั่งเศส แม้ว่าจะถูกกดดันมาอย่างหนัก รัฐบาลฝรั่งเศสที่วิชีไม่เคยเข้าร่วมฝ่ายอักษะและยังคงทำสงครามกับเยอรมนีอย่างเป็นทางการ ตรงกันข้ามคือ วิชีฝรั่งเศสได้กลายเป็นระบอบการปกครองที่เป็นฝ่ายที่ให้ความร่วมมือ

สถานะของฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการภายหลังสงครามคือ วิชีนั้นเป็นรัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน นักประวัติศาสตร์บางคนนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ได้ให้การปฏิเสธสถานะเหล่านั้นโดยโต้แย้งว่า "วิชีมีวาระทางการเมืองเป็นของตนเอง ซึ่งดำเนินไปโดยปราศจากแรงกดดันจากเยอรมนีแม้แต่เพียงเล็กน้อย"[6] เยอรมนีได้กักขังเชลยศึกชาวฝรั่งเศสจำนวนสองล้านนายและบังคับให้ใช้แรงงานเกณฑ์(service du travail obligatoire) กับชายหนุ่มชาวฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันเพื่อให้แน่ใจว่าวิชีจะลดกองกำลังทหารและจ่ายส่วยอย่างหนักด้วยทองคำ อาหารและซัพพลายให้กับเยอรมนี ตำรวจฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ทำการไล่ต้อนชาวยิวและ "สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา" อื่น ๆ เช่น คอมมิวนิสต์และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ซึ่งส่งผลทำให้ชาวยิวจำนวนอย่างน้อย 72,500 คนล้วนถูกสังหาร[7]

ประชาชนชาวฝรั่งเศสส่วนใหญ่ในช่วงแรกได้ให้การสนับสนุนระบอบการปกครอง แต่ความคิดเห็นเหล่านั้นก็ได้ค่อย ๆ หันหลังให้กับรัฐบาลฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมันที่ยึดครองอยู่ เมื่อเห็นได้ชัดว่าเยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้สงคราม และสภาพความเป็นอยู่ในฝรั่งเศสนั้นดูจะยากลำบากมากขึ้น ขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสซึ่งทำงานส่วนใหญ่ในการร่วมกันกับความเคลื่อนไหวของชาร์ล เดอ โกลที่ด้านนอกประเทศนั้นดูจะแข็งแกร่งขึ้นในช่วงตลอดการยึดครอง ภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองนอร์ม็องดีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 และการปลดปล่อยฝรั่งเศสในช่วงปลายปีนั้น รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส(GPRF) ของฝ่ายฝรั่งเศสเสรีได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นรัฐบาลแห่งชาติชุดใหม่ ภายใต้การนำของเดอ โกล

ผู้ถูกเนรเทศของวิชีกลุ่มสุดท้ายได้ถูกจับกุมในดินแดนแทรกของซีคมาริงเงิน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เปแต็งได้ถูกนำตัวขึ้นศาลด้วยข้อหากบฎโดยรัฐบาลชั่วคราวใหม่ และถูกตัดสินโทษประหารชีวิต แต่กลับถูกลดหย่อนโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตแทนโดยเดอ โกล มีเพียงเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของวิชีสี่คนซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แม้ว่าจะมีคนอื่นอีกหลายคนที่มีส่วนร่วมในการขับไล่เนรเทศชาวยิวเพื่อถูกกักขังในค่ายกักกันนาซี การทารุณกรรมต่อนักโทษ และการกระทำอันรุนแรงต่อสมาชิกขบวนการฝ่ายต่อต้าน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ordonnance du 9 août 1944 relative au rétablissement de la légalité républicaine sur le territoire continental – Version consolidée au 10 août 1944" [Law of 9 August 1944 Concerning the reestablishment of the legally constituted Republic on the mainland – consolidated version of 10 August 1944]. gouv.fr. Legifrance. 9 August 1944. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2009. สืบค้นเมื่อ 21 October 2015. Article 1: The form of the government of France is and remains the Republic. By law, it has not ceased to exist.
    Article 2: The following are therefore null and void: all legislative or regulatory acts as well as all actions of any description whatsoever taken to execute them, promulgated in Metropolitan France after 16 June 1940 and until the restoration of the Provisional Government of the French Republic. This nullification is hereby expressly declared and must be noted.
    Article 3. The following acts are hereby expressly nullified and held invalid: The so-called "Constitutional Law of 10 July 1940; as well as any laws called 'Constitutional Law';...
  2. Dompnier, Nathalie (2001). "Entre La Marseillaise et Maréchal, nous voilà! quel hymne pour le régime de Vichy ?". ใน Chimènes, Myriam (บ.ก.). La vie musicale sous Vichy. Histoire du temps présent (ภาษาฝรั่งเศส). Bruxelles: Éditions Complexe – IRPMF-CNRS, coll. p. 71. ISBN 978-2-87027-864-2.
  3. Julian T. Jackson, France: The Dark Years, 1940–1944 (2001).
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hellman-2008
  5. Debbie Lackerstein, National Regeneration in Vichy France: Ideas and Policies, 1930–1944 (2013)
  6. Julian T. Jackson, "The Republic and Vichy." in The French Republic: History, Values, Debates (2011): 65-73 quoting p. 65.
  7. "Le Bilan de la Shoah en France [Le régime de Vichy]". bseditions.fr.

บรรณานุกรม

[แก้]

อังกฤษ

[แก้]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

[แก้]
  • Conan, Eric, and Henry Rousso. Vichy: An ever-present past (UP of New England, 1998)
  • Fishman, Sarah, et al. France at War: Vichy and the Historians (2000) online edition เก็บถาวร 2020-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Golsan, Richard J. Vichy's Afterlife: History & Counterhistory in Postwar France (2000)
  • Gordon, Bertram M. "The 'Vichy Syndrome' problem in history", French Historical Studies (1995) 19#2 pp 495–518, on the denial of the realities of Vichy in JSTOR
  • Munholland, Kim. "Wartime France: Remembering Vichy", French Historical Studies (1994) 18#3 pp. 801–820 in JSTOR
  • Poznanski, Renée. "Rescue of the Jews and the Resistance in France: From History to Historiography", French Politics, Culture and Society (2012) 30#2 pp 8–32.
  • Rousso, Henry. The Vichy Syndrome: History and Memory in France since 1944. (2nd ed. 2006). ISBN 0-674-93539-X
  • Singer, Barnett. "The Changing Image of Vichy in France", Contemporary Review Summer 2009 online edition เก็บถาวร 2020-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ฝรั่งเศส

[แก้]

เยอรมนี

[แก้]
  • Eberhard Jäckel: Frankreich in Hitlers Europa: die deutsche Frankreichpolitik im 2. Weltkrieg, Stuttgart 1966.
  • Martin Jungius: Der verwaltete Raub. Die "Arisierung" der Wirtschaft in Frankreich 1940–1944. Thorbecke, Ostfildern 2008, Beiheft der Francia Nr. 67, hrsg. von Deutschen Historischen Institut Paris.
  • Michael Mayer [de]: Staaten als Täter. Ministerialbürokratie und 'Judenpolitik' in NS-Deutschland und Vichy-Frankreich. Ein Vergleich. Preface by Horst Möller and Georges-Henri Soutou München, Oldenbourg, 2010 (Studien zur Zeitgeschichte; 80). ISBN 978-3-486-58945-0. (Comparative study of anti-Jewish policy implemented by the government in Nazi-Germany, by German occupational forces in France and by the semi-autonomic French government in Vichy)
  • Rousso, Henry (2009) [1st pub. 2007 Le Régime de Vichy]. Vichy: Frankreich unter deutscher Besatzung ; 1940 – 1944 [Vichy: France under the Occupation: 1940–1944]. Beck'sche Reihe (ภาษาเยอรมัน). Munich: C.H. Beck. ISBN 978-3-406-58454-1. OCLC 316118163.

ภาพยนตร์

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]