พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
องคมนตรี[1][2][3] | |
ดำรงตำแหน่ง | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 |
ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2446 |
ถัดไป | พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) |
หม่อม | หม่อมเชื้อสาย วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมนุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมชุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 7 พระองค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาบัว ในรัชกาลที่ 4 |
ประสูติ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 |
สิ้นพระชนม์ | 5 เมษายน พ.ศ. 2466 (59 ปี) |
มหาอำมาตย์โท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นอดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระองค์ อัครราชทูตพิเศษประจำกรุงปารีส และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์[4]
พระประวัติ[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 63 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ ได้แก่
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (พ.ศ. 2402-2449)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี)
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดังนี้
- พ.ศ. 2430 รับพระราชทานพระยศนายพันโท[5]
- วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2432 รับพระราชทานพระยศนายพันเอก[6]
- วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2434 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นราชองครักษ์[7] ทรงรับราชการในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ราชองครักษ์
- พ.ศ. 2434 ทรงรับตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงปารีส กรุง โรม กรุง มาดริด และกรุง ลิสบอน[8]
- 24 กันยายน พ.ศ. 2434 ทรงเข้ากราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ได้รับพระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิม[9]
- 27 กันยายน พ.ศ. 2434 เสด็จประทับเรือกลไฟใหญ่ออกจากกรุงเทพมหานคร[10]
- 3 มิถุนายน พ.ศ. 2438 เสด็จพระราชดำเนินกลับถึงพระนคร[11]
- 28 มกราคม พ.ศ. 2438 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี ใน รัฐมนตรีสภา[12]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ภายใต้ดูแลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเอา 8 หัวเมือง คือ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี อินทบุรี (ปัจจุบันคืออำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พรหมบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พระพุทธบาท (ปัจจุบันคืออำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) และสิงห์บุรีเข้าเป็นมณฑลกรุงเก่า และตั้งที่ว่าการมณฑลที่มณฑลกรุงเก่า เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) พระเจ้านัองยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลของมณฑลกรุงเก่าพระองค์แรก[13] และวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) โปรดให้สถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000[14]
พระตำหนักของ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ตั้งอยู่ท้ายเกาะลอย เรียกว่าตำหนักตะพานเกลือ เนื่องมีวัดตะพานเกลือ หรือ สะพานเกลือเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในละแวกนั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยต่อเรือพระนครศรีอยุธยา)
วันที่ 28 มกราคม ร.ศ. 114 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรี[15] (คือกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน) ถึง 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) โปรดให้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีณบุรีแทนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ที่ลาออกจากตำแหน่ง[16]
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และมณฑลปราจีณบุรีในคราวเดียวกัน จนเมือ พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระองค์ได้ทรงขอพระราชทานพ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า เพื่อปกครองมณฑลปราจีณบุรีแต่เพียงมณฑลเดียว[17]
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000[18]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ประชวรพระวักกะพิการมานาน อาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 เวลา 01:45 น. สิริพระชันษา 59 ปี 313 วัน เวลา 18:00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานตั้งพระลองบนแว่นฟ้า 2 ชั้น แล้วประกอบพระโกศกุดั่นน้อย ตั้งเครื่องยศ[19]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[20]
พระโอรสและธิดา[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงษ์ มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่
- หม่อมเชื้อสาย (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค)
- หม่อมนุ่ม (สกุลเดิม: บุนนาค)
- หม่อมชุ่ม
โดยมีพระโอรสพระธิดารวมทั้งหมด 7 พระองค์ ดังนี้
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
![]() |
1. หม่อมเจ้าสุวัฒนวิสัย | ที่ 1 ในหม่อมเชื้อสาย | พ.ศ. 2439 | 9 กุมภาพันธ์ 2447 | |
2. หม่อมเจ้าเกรียงไกรมรุพล | ที่ 2 ในหม่อมเชื้อสาย | กันยายน 2441 | 5 มกราคม 2464 | ||
![]() |
3. หม่อมเจ้าหญิงสุวคนธ์ประทุม | ที่ 3 ในหม่อมเชื้อสาย | พ.ศ. 2444 | 1 พฤษภาคม 2448 | |
4. หม่อมเจ้าหญิงจงกลนี | ที่ 4 ในหม่อมเชื้อสาย | 10 เมษายน 2452 | 1 มิถุนายน 2508 | ||
![]() |
5. หม่อมเจ้าตรีอนุวัตน์ | ที่ 1 ในหม่อมนุ่ม | 23 มกราคม 2457 | 12 กันยายน 2491 | หม่อมนิดาภา (ปุณฑริก) |
![]() |
6. หม่อมเจ้าหญิงรัตนกมล | หม่อมชุ่ม | 29 พฤษภาคม 2461 | 1 กันยายน 2550 | |
7. หม่อมเจ้าวัตนานุวัฒน์ (ท่านชายนิด) | ที่ 2 ในหม่อมนุ่ม | 7 มีนาคม 2464 | 22 กรกฎาคม 2547 | หม่อมประทุม (ศิริทรัพย์) |
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2438)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (29 มีนาคม พ.ศ. 2438 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระยศ[แก้]
นายพลตรี นายกองตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | ![]() ![]() |
พระยศทหาร[แก้]
- นายพลตรี[21]
พระยศพลเรือน[แก้]
- มหาอำมาตย์โท[22]
พระยศเสือป่า[แก้]
- นายหมู่ใหญ่
- นายกองตรี[23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2434 -
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)[24]
- พ.ศ. 2455 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)[25]
- พ.ศ. 2455 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)[26][27]
- พ.ศ. 2450 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[28]
- พ.ศ. 2436 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[29]
- พ.ศ. 2440 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[30]
- พ.ศ. 2433 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[31]
- พ.ศ. 2447 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[32]
- พ.ศ. 2443 -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[33]
- พ.ศ. 2453 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2451 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[34]
- พ.ศ. 2441 -
เหรียญราชินี (ส.ผ.)[35]
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2451 - เข็มพระบรมนาภิธัยย่อ จ.ป.ร. ทองประดับเพ็ชร์[36]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2434 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น[37]
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 138. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรพลเรือนและทหาร (หน้า 36)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 8, ตอน 24, 13 กันยายน พ.ศ. 2434, หน้า 220
- ↑ ราชทูตสยาม
- ↑ ราชทูตวิเศษ ผู้ช่วยทูต นักเรียนถวายบังคมลา
- ↑ ราชทูตวิเศษ ผู้ช่วยทูต นักเรียนถวายบังคมลา (หน้า 237)
- ↑ ข่าวพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์ เสด็จกลับจากประเทศยุโรป
- ↑ การรับตำแหน่งรัฐมนตรี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/030/394_1.PDF
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ พระวรวงษ์เธอ เปนต่างกรม แลสถาปนา หม่อมเจ้าเปนพระองคเจ้า แลเลื่อนตำแหน่งยศข้าราชการผู้ใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (1): 18. 5 เมษายน ร.ศ. 114. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "การรับตำแหน่งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (44): 431. 2 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 114. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ขอลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลปราจีนบุรี ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (36): 629. 6 ธันวาคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ขอพระราชทานพ้นจากข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (9): 183. 3 มิถุนายน ร.ศ. 125. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 245–246. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 78. 8 เมษายน 2466. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระเมรุท้องสนามหลวง เล่ม 40, ตอน ง, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466, หน้า 4101
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 8, ตอน 52, 27 มีนาคม พ.ศ. 2434, หน้า 469
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ 5 ธันวาคม รัตนโกสินทร์ ศก 131, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2455, หน้า 2207
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455, หน้า 1829
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/1900.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/044/1194.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/037/403.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/047/795.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2433/044/399.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม 17, ตอน 30, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443, หน้า 396
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/035/1012.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/029/829_1.PDF
- ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7 (ตอน 36): หน้า 315. 7 ธันวาคม2432. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 74. ISBN 978-974-417-594-6
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2406
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2466
- ราชสกุลวัฒนวงศ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้า
- กรมขุน
- นักการทูตชาวไทย
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(พ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.3
- เสียชีวิตจากโรคไต
- สมาชิกกองเสือป่า