คมสัน พันธุ์วิชาติกุล
ดร.คมสัน พันธ์ุวิชาติกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
พรรคการเมือง | พรรคพลังประชารัฐ |
บุพการี |
|
คมสัน พันธุ์วิชาติกุล เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นอดีต ส.ก.บางพลัด และโฆษกพรรครวมแผ่นดิน เป็นบุตรของ ซินแส ดร.ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12-อ.สุวิมล พันธุ์วิชาติกุล.
นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล เริ่มต้นการทำงานด้านการเมืองจากการเป็นที่ปรึกษาของโฆษกคณะรัฐมนตรี และทำงานคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ ตั้งแต่ในช่วงปี 2548 จากนั้นทำงานการเมืองในฐานะ ส.ก. ที่ผ่านมาตนเองมักที่จะทำงานอยู่เบื้องหลัง และทำงานในฐานะเลขาส่วนตัวของนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีต รมว.อุตสาหกรรม และ อดีต ส.ส.มหาสารคาม (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) และ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีต รมว.ไอซีที (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)[1]
21 มีนาคม 2565 เวลา 08.00 น. นายคมสันได้มอบหมายให้น้องชาย คือ นายอัษฎา พันธุ์วิชาติกุล สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะคณะทำงาน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไปยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วันเดียวกันในช่วงบ่าย นายคมสัน ได้ร่วมกับ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย เปิดศูนย์ประสานงานพรรคเศรษฐกิจไทย ที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เพื่อมอบถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่[2]
กระทั่งวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล หรือ ซินแสโจ้ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองโฆษกพรรคเศรษฐกิจไทย (ศท.) และ โฆษกประจำหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กชี้แจงการลาออก จากรองโฆษกพรรค และสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทย ตาม พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ซึ่งได้ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาก่อนหน้านั้นไม่นาน [3]
วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทางพรรคพลังชาติไทยได้ออกหนังสือเชิญประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรครวมแผ่นดิน และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน และ "ซินแสโจ้" นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล เป็นโฆษกพรรครวมแผ่นดิน [4] จนกระทั่งเดือนมกราคม 2566 มีรายงานว่า นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล ได้ลาออกจากสมาชิกพรรครวมแผ่นดิน กลับเข้าสู่พรรคพลังประชารัฐ [5]
การศึกษา
[แก้]- เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า'
- ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ที่ Bangkokthonburi University จบการศึกษาเมื่อปี 2018
ประวัติการทำงาน
[แก้]- อดีตโฆษกพรรครวมแผ่นดิน
- ทำงานที่ ที่ปรึกษาข้าราชการการเมืองประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 19 กันยายน 2019 - ปัจจุบัน·ทำเนียบรัฐบาลไทย Government House of Thailand
- อดีต ผู้ชำนาญการ สนช สิงห์ศึก สิงห์ไพร ที่ วุฒิสภา 28 ตุลาคม 2016 - 2017
- กองบัญชาการตำรวจนครบาล 7 พฤษภาคม 2015 - 2017
- อดีตที่ปรึกษาโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ทำเนียบรัฐบาล@ Government House มกราคม 2015 - 2017
- เคยเป็น คกก.ตรวจสอบ และติดตามการบริหารงานตำรวจ (กตตร.) ที่ สถานีตํารวจบางพลัด 9 พฤศจิกายน 2014 - 10 พฤศจิกายน 2016
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 11 เขตบางพลัด 30 กันยายน 2011 - 29 สิงหาคม 2014
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[6]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เส้นทางการเมือง "คมสัน พันธุ์วิชาติกุล" จาก "สนามเล็ก" สู่ "สนามใหญ่"". Thai PBS.
- ↑ ""ซินแสโจ้-น้องชาย" บ๊ายบาย พปชร. ซบอก "เศรษฐกิจไทย" ช่วยงาน "บิ๊กน้อย"". www.thairath.co.th. 2022-03-21.
- ↑ ""ซินแสโจ้" ประกาศลาออกสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทย ตามหลัง "บิ๊กน้อย"". mgronline.com. 2022-05-26.
- ↑ "'พล.อ.วิชญ์' นั่ง หน.รวมแผ่นดิน ตั้งเป้า ส.ส. 25 คน ย้ำไม่ใช่พรรคอะไหล่หรือสำรองใคร". workpointTODAY.
- ↑ "'พลังประชารัฐ' เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. 71 คน ให้ 'สกลธี' นำทัพ กทม". workpointTODAY.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๙๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๙๕, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓