ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน/กรุ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์

พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์
ข้อมูลส่วนตัว
เกิดจิตรา สนองเกียรติ[1]
พ.ศ. 2533–2534 (30 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ข้อมูลยูทูบ
ปีที่มีการเคลื่อนไหวพ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
ประเภท
จำนวนผู้ติดตาม3.42 ล้านคน
จำนวนผู้เข้าชม308,148,890 ครั้ง (ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
ส่วนเกี่ยวข้องณัฐวุฒิ ศรีหมอก

พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือ พิมรี่พาย เป็นยูทูบเบอร์ที่มีชื่อเสียงในแนวขายของออนไลน์คนนึงของประเทศไทย และเป็นศิลปินและผู้บริหารในค่ายเพลงไฮต์เคลาส์เอนเตอร์เทนเมนท์ เธอเป็นที่รู้จักดีจากการช่วยเหลือผู้ยากไร้ในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564 โดยการติดตั้งแผงโซลาเซลล์สำหรับการใช้ประโยชน์ของคนในพื้นที่ดังกล่าว

ประวัติและการทำงาน

บิดาของเธอเป็นชาวจังหวัดชุมพร มารดาของเธอเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนเธอนั้นเติบโตในกรุงเทพมหานคร ด้วยความที่ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขายนั้นทำให้เธอซึมซับมา เธอจึงเริ่มสู่เส้นทางอาชีพนักธุรกิจจากการค้าขายในช่องทางออนไลน์ในนาม พิมรี่พายขายทุกอย่าง และเธอประกอบอาชีพนี้เรื่อยมา

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เธอได้เปลี่ยนบทบาทของตนครั้งใหญ่ จากการเปิดตัวธุรกิจค่ายเพลงของเธอในชื่อไฮน์เคลาส์เอนเตอร์เทนเมนต์ ร่วมกับณัฐวุฒิ ศรีหมอก และหลุยส์ ธนา และเธอเองเป็นศิลปินในสังกัดดังกล่าวควบคู่ไปกับผู้บริหารค่ายเพลงอีกด้วย[2][3][4] ทั้งนี้ เธอได้ออกผลงานเพลงชื่อ อย่านะคะ ซึ่งเป็นผลงานซิงเกิลของเธอเอง[1]

การกุศล

ในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564 เธอได้ช่วยเหลือเด็กและผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ตลอดจนติดตั้งแผงโซลาเซลล์และมอบโทรทัศน์ให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวเนื่องจากคนในพื้นที่ขาดการเข้าถึงไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวก[5][6] ทำให้ได้รับกระแสคำชื่นชมจากสื่อสังคมออนไลน์ตลอดจนประชาชนทั่วไป จนกระทั่ง "#พิมรี่พาย" ขึ้นเทรนต์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่งในวันดังกล่าว[7][8] อย่างไรก็ดีได้มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอีกฝ่ายว่าสิ่งที่เธอทำเป็นการสร้างภาพหรือไม่[9] รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี กล่าวว่าสิ่งที่เธอทำนั้นไม่รู้ถึงปัญหาจริงๆ ในพื้นที่ และเป็นเพียงการโปรดสัตว์ชนชั้นล่าง[10] ทั้งนี้ เธอได้ออกมาชี้แจงผ่านการถ่ายทอดสดในเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564 ว่าเธอตั้งใจช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ดังกล่าวด้วยความจริงใจและตอบแทนคุณแผ่นดิน และเธอกล่าวว่าอย่านำเรื่องดังกล่าวไปโยงกับเรื่องอื่นๆ[11]

ผลงาน

  • ยูทูบเบอร์ในช่อง "Pimrypie - พิมรี่พาย"

ผลงานเพลง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "พิมรี่พาย” จากแม่ค้าออนไลน์ มาเป็นนักร้องสุดแซ่บ จนกลายมาเป็นนางฟ้าตอบแทนสังคม
  2. จากแม่ค้าสู่สตาร์!'พิมรี่พาย' ไม่กล้วเจ๊งควักเงินเปิดค่ายเพลง
  3. พิมรี่พาย’ เปิดตัวในสถานะใหม่ เป็นศิลปินนักร้อง ควบเจ้าของค่ายเพลง
  4. จากแม่ค้าสู่ผู้บริหาร พิมรี่พาย จับมือ กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่ เปิดค่ายเพลง
  5. เปิดชีวิต "พิมรี่พาย" แม่ค้าออนไลน์สุดแซ่บ สู่นางฟ้าตอบแทนสังคม
  6. คลิปจาก ‘พิมรี่พาย’ สะท้อนความเหลื่อมล้ำ เด็กบนดอยยังขาดคุณภาพชีวิต ไร้ความฝัน และเข้าไม่ถึงการศึกษาที่ดี
  7. โซเชียลแห่ชม “พิมรี่พาย” ขึ้นทวิตอันดับ1 หลังเจ้าตัวปล่อยคลิป “บนดอยไร้แสงไฟ”
  8. 5 เรื่องน่ารู้ พิมรี่พาย คือใคร มาทำความรู้จักเน็ตไอดอลคคุณภาพ นางฟ้าของคนจน
  9. รู้จัก “พิมรี่พาย” ยูทูบเบอร์ปากร้าย นางฟ้าคนยาก คนสร้างภาพ?
  10. รู้จัก อาจารย์ ม. ดัง หลังฉะแรง "พิมรี่พาย" ไม่รู้จักปัญหาที่แท้จริง หวังแค่โปรดสัตว์ชนชั้นล่าง!
  11. 'พิมรี่พาย' ไลฟ์สดเปิดใจยันเดินหน้าทำความดีตอบแทนแผ่นดิน ด่าลั่นเอาไปโยงเรื่องอื่นทำไม

หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2533 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย หมวดหมู่:ยูทูบเบอร์ชาวไทย หมวดหมู่:นักร้องหญิงชาวไทย หมวดหมู่:นักการกุศล หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร

อติธิ ราวห์ ไฮดารี (en:Aditi Rao Hydari)

อติธิ ราวห์ ไฮดารี
ไฮดารีในงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง Sammohanam ในปี พ.ศ. 2561
เกิด28 ตุลาคม พ.ศ. 2521 (45 ปี)[1]
ไฮเดอราบาด รัฐเตลังคานา ประเทศอินเดีย
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2543–ปัจจุบัน
คู่สมรสศตยดีพห์ มิชราห์
บิดามารดาอัสซัน ไฮดารี (บิดา)
ดีวาห์ ราวห์ (มารดา)

อติธิ ราวห์ ไฮดารี (อังกฤษ: Aditi Rao Hydari, ฮินดี: अदिति राव हैदरी) (28 ตุลาคม พ.ศ. 2521 –) เป็นนักแสดง นักเต้น และนักร้องชาวอินเดียในแนวฮินดี, เตลูกู และทมิฬ

เธอแจ้งเกิดในวงการบันเทิงเมื่อปี พ.ศ. 2550 จากภาพยนตร์เรื่อง Singaram มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จอย่างสูงสุดจากภาพยนตร์แนวโรแมนติกเรื่อง Yeh Saali Zindagi ในปี พ.ศ. 2554 กำกับโดยสุธี มิชรา และหลังจากนั้นเธอยังมีผลงานการแสดงภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย อาทิ Rockstar (2554), Murder 3 (2556), Boss (2556) และ Wazir (2559)

ในปี พ.ศ. 2560 เธอได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง Kaatru Veliyidai กำกับโดยมณี รัตนนาม โดยเธอรับบทเป็นแพทย์ที่ชื่อ "ไลลา อับราฮัม" หลังจากเรื่องดังกล่าวออกฉาย ภาพยนตร์ดังกล่าวสามารถทำรายได้อย่างมากในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย[2]

ประวัติและการศึกษา

ไอดารีเกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ที่ไฮเดอราบาด[3] รัฐเตลังคานา ประเทศอินเดีย เป็นธิดาของอัสซัน ไฮดารีและดีวาห์ ราวห์ นักร้องแนวเพลงพื้นบ้าน[4][5] บิดาเธอเป็นมุสลิมและเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 มารดาเธอเป็นฮินดู ต่อมามารดาของเธอเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา เธอมีเชื้อสายเตลูกูจากมารดา[6] เธอนั้นเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะ[7] เนื่องจากเธอเป็นหลานสาวของอักบัร ไฮดารี อดีตผู้ว่าการรัฐเตลังคนา และยังเป็นเหลนสาวของมูฮัมหมัด เซราห์ อักบาร์ ไฮดารี อดีตผู้ว่าการจังหวัดอัสซัม (ในสมัยที่อินเดียเป็นบริติชราช)[8]

บิดาและมารดาของเธอหย่าร้างกันตั้งแต่เธออายุได้สองปี หลังจากนั้นมารดาของเธอก็ย้ายจากรัฐเตลังคนาไปอยู่ที่นิวเดลี และทำธุรกิจที่นั่น ส่วนการศึกษานั้นเธอสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเลดี ศรี ราม มหาวิทยาลัยเดลี[9][10]

เธอใช้นามสกุลของทั้งบิดามารดา โดยเธอเคยบอกว่า "มารดาให้กำเนิดเธอ บิดาเธอก็เป็นส่วนนึงในชีวิตที่สำคัญ เธอจึงต้องการใช้สองนามสกุลเพื่อให้เกียรติต่อทั้งบิดาและมารดา"[11]

ชีวิตส่วนตัว เธอสมรสตั้งแต่อายุ 21 ปี[12][13] กับศตยดีพห์ มิชราห์ นักกฎหมายและนักแสดงชื่อดัง โดยสมรสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547[14]

ผลงานภาพยนตร์

Key
ยังไม่ได้เข้าฉาย
ปี ชื่อเรื่อง บทบาท ภาษา หมายเหตุ อ้างอิง
2549 Prajapathi Savithri ภาษามาลายัม [15]
2550 Sringaram Madhura/Varshini ภาษาทมิฬ
2552 Delhi 6 Rama ภาษาฮินดี
2553 Dhobi Ghat Guest at art gallery ภาษาฮินดี
2554 Yeh Saali Zindagi Shanti ภาษาฮินดี Screen Award for Best Supporting Actress [16]
Rockstar Sheena ภาษาฮินดี Nominated—Producers Guild Film Award for Best Actress in a Supporting Role
2555 London, Paris, New York Lalitha Krishnan ภาษาฮินดี
2556 Murder 3 Roshni ภาษาฮินดี
Boss Ankita Thakur ภาษาฮินดี
2557 Khoobsurat Kiara ภาษาฮินดี Cameo appearance
Rama Madhav Herself ภาษามราฐี Special appearance in the song "Loot Liyo Mohe Shyam" [17]
2558 Guddu Rangeela Baby ภาษาฮินดี
2559 Wazir Ruhana Ali ภาษาฮินดี
Fitoor Begum Hazrat ภาษาฮินดี
The Legend of Michael Mishra Varshali Shukla ภาษาฮินดี
2560 Kaatru Veliyidai Leela Abraham ภาษาฮินดี SIIMA Award for Best Debut Tamil Actress
Asiavision Award for Best Tamil Actress
[18]
Bhoomi Bhoomi Sachdeva ภาษาฮินดี
2561 Padmaavat Mehrunisa ภาษาฮินดี IIFA Award for Best Supporting Actor (Female)[19]
Daas Dev Chandni ภาษาฮินดี
Sammohanam Sameera ภาษาเตลูกู Nominated — Filmfare Award for Best Actress – Telugu
Nominated — SIIMA Award for Best Actress (Telugu)
Chekka Chivantha Vaanam Parvathi ภาษาฮินดี [20]
Antariksham 9000 KMPH Riya ภาษาเตลูกู
2563 Psycho Dagini ภาษาทมิฬ
Sufiyum Sujatayum Sujatha ภาษามาลายัม [21][22]
V Saheba ภาษาเตลูกู [23]
2564 The Girl on the Train Nusrat John ภาษาฮินดี [24]
Ajeeb Daastaans รอประกาศ ภาษาฮินดี Netflix film [25]
Hey Sinamika รอประกาศ ภาษาทมิฬ Filming [26][27]
Maha Samudram รอประกาศ ภาษาเตลูกู
ภาษาทมิฬ
Filming; Bilingual film [28]

ผลงานเพลง

ปี จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่อเพลง โปรดิวเซอร์ ภาษา บันทึก อ้างอิง
2563 Jail Kaathodu Kaathanen (co-singer Dhanush) G. V. Prakash Kumar ทมิฬ วางจำหน่ายแล้ว [29]

อ้างอิง

  1. Roy, Tulip (28 October 2020). "Aditi Rao Hydari Birthday: 15 Facts About The Actor That Fans Would Like To Know". Republicworld.com.
  2. MumbaiJuly 3, Suhani Singh; July 3, 2020UPDATED; Ist, 2020 01:21. "They were writing scripts for me: Aditi Rao Hydari". India Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 10 September 2020.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  3. Adivi, Sashidhar (26 November 2017). "I always consider myself a Hyderabadi: Aditi Rao Hydari". Deccan Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
  4. Panicker, Anahita (20 September 2017). "I feel like a kid in a candy shop!". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 November 2017.
  5. Stephen, Rosella (21 July 2017). "Doing desi-boho like Aditi". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 12 November 2017.
  6. Chakraborty, Sumita (5 December 2013). "Aditi Rao Hydari on screen kissing, the casting couch and more..." Stardust. savvy.co.in. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.[ลิงก์เสีย]
  7. Varma, Shraddha (15 September 2017). "Did You Know These Bollywood Celebrities Had A Royal Lineage?". iDiva.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.
  8. "I can speak good Hyderabadi Hindi: Aditi Rao Hydari". The Times of India. 21 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2013. สืบค้นเมื่อ 29 March 2012.
  9. Mukherjee, Treena (12 October 2014). "Making the right moves". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
  10. Kaushik, Divya (7 August 2015). "Aditi Rao Hydari: I know the best places to shop in Delhi". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 November 2017.
  11. Gupta, Priya (23 February 2013). "I've always struggled with my relationship with my father: Aditi". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2018.
  12. "Aditi Rao Hydari regrets first split?". Deccan Chronicle. 19 February 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 25 November 2017.
  13. Razzaq, Sameena (12 November 2016). "Aditi is my closest friend: Satyadeep Mishra". Deccan Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.
  14. "Aditi Rao shines as Delhi 6 sinks". Zimbio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2009. สืบค้นเมื่อ 11 March 2009.
  15. "Review: 'Prajapathi'". Sify. 3 July 2020.
  16. "Aditi Rao Hydari on 'standing up' against casting couch: I didn't regret it but I cried about it – Bollywood News". Timesnownews.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  17. "First Look: Aditi Rao Hydari in a Marathi film". Rediff. 21 June 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 4 February 2018.
  18. Bangalore Mirror Bureau (8 April 2017). "Kaatru Veliyidai movie review: 'Kaatru Veliyidai' ain't a breezy ride". Bangalore Mirror. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  19. DBPost.com, About DB POST Digital view all posts twitterfacebook Staff Writer at (19 September 2019). "IIFA Awards/ Raazi Best Film, Ranveer Singh Best Actor and Alia Bhatt adjudged Best Actress". DBPOST. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  20. "Aditi Rao plays Parvathi in Chekka Chivantha Vaanam". Behindwoods. 23 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  21. "Vijay Babu announces post-production of Sufiyum Sujathayum". Times of India. 14 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
  22. "With 'Sufiyum Sujathayum' releasing on Amazon Prime, Malayalam cinema is in for a change of scene". The Hindu. 15 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
  23. "Nani starrer V to release on Amazon Prime Video". Indian Express. 20 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  24. "'The Girl On The Train': Parineeti Chopra shares gripping teaser as film gears up for digital release". The Times of India. 13 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.
  25. Vivek, Arundhati (3 March 2021). "Aditi Rao Hydari shares still from her next Netflix titled 'Ajeeb Daastaans'; check out". Republic World (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  26. "Choreographer Brindha turns director, casts Dulquer Salmaan, Kajal Aggarwal and Aditi Rao Hydari". The Hindu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  27. "Aditi Rao Hydari, Kajal Aggarwal, Dulquer team up for first time for 'Hey Sinamika'". Deccan Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  28. "Aditi Rao Hydari on board for 'Maha Samudram'". The Hindu.
  29. "Aditi Rao Hydari croons for GV Prakash". 7 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 19 January 2020.

โจโม เคนยาตา (en:Jomo Kenyatta)

โจโม เคนยาตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักเคลื่อนไหวลัทธิต่อต้านอาณานิคมชาวเคนยา และนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเคนยาในช่วงปี พ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2507 ในช่วงที่ประเทศเคนยายังอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักร และเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเคนยาหลังได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2507 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2521

เขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก จากนั้นเขาก็ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในเฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อขับไล่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษออกไป

เบเร็ตตา 92 (en:Beretta 92)

เบเร็ตตา 92
รุ่น 92 เอ 1
ชนิดปืนสั้นกึ่งอัติโนมัติ
แหล่งกำเนิด อิตาลี
บทบาท
ประจำการพ.ศ. 2519–present
ผู้ใช้งานดูที่ ประเทศผู้ใช้งานและประเทศผู้ผลิตออกมาในลักษณะเดียวกัน
ประวัติการผลิต
ช่วงการออกแบบพ.ศ. 2518
บริษัทผู้ผลิตบาเร็ตตา
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2519–present
จำนวนที่ผลิต3,500,000 [1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล950 กรัม (34 ออนซ์)
ความยาว217 มิลลิเมตร (8.5 นิ้ว)
ความยาวลำกล้อง125 มิลลิเมตร (4.9 นิ้ว)

กระสุนกระสุนขนาด 9×19 มิลลิเมตร
ความเร็วปากกระบอก381 m/s (1,250 ft/s)
ระยะหวังผล50 m (160 ft)
ระบบป้อนกระสุนบรรจุกระสุนในแม็กกาซีนได้:
  • 10, 15, 17, 18, 20, 30, 32 นัด (รุ่น 92, 98)
  • 10, 11, 12, 13, 15 นัด (รุ่น 96)
  • 10, 13 นัด (รุ่น Compact L)
  • 8 นัด (รุ่น Compact Type M)

เบเร็ตตา 92 (อังกฤษ: Beretta 92) เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ผลิตโดยบริษัทเบเร็ตตาสัญชาติอิตาลี เริ่มออกแบบในปี พ.ศ. 2518 และผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2519 เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และยังมีหลายประเทศนำไปผลิตในลักษณะเดียวกันกับปืนสั้นรุ่นนี้ อาทิ ประเทศบราซิลผลิตในชื่อเทอร์ราส พีที92, สหรัฐผลิตในชื่อเบเร็ตตา เอ็ม9, ประเทศตุรกี ผลิตในชื่อวายุส16 เป็นต้น

ปืนสั้นชนิดนี้มีหลายรุ่น[2] ได้แก่ 92, 92D, 92เอฟเอส[3], เซ็นทรัลนิออล, อีลีท แอลทีที ฯลฯ เบเร็ตตา 92 บรรจุกระสุนขนาด 9×19 มิลลิเมตร บรรจุในแม็กกาซีนได้ 13 นัด[4]

ประวัติ

เบเร็ตตา 92 ได้แรงบันดาลใจมาจากปืนพกหลายชนิด โดยลำกล้อง ไกปืน และส่วนประกอบต่างๆ ได้แรงบันดาลใจมาจากวอลเทอร์ พี38[4] และมีการทำงานและตัวปืนบางส่วนที่ยังคล้ายคลึงกับบราวนิง ไฮ-พาวเวอร์ อีกด้วย[5]

การ์โล บาเร็ตตา, กียูเซปเป เมซเซสตี และวิคตอริโอ วาเลได้ร่วมกันออกแบบปืนสั้นชนิดนี้ และออกแบบเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2518[6]

ประเทศผู้ใช้งานและประเทศผู้ผลิตออกมาในลักษณะเดียวกัน

อ้างอิง

  1. "Excellence N0.10". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-17. สืบค้นเมื่อ 2020-06-18.
  2. Wilson, Robert Lawrence (2000). The World of Beretta: An International Legend. New York: Random House. pp. 207, 234. ISBN 978-0-375-50149-4.
  3. Lawrence, Erik; Pannone, Mike (19 February 2015). Beretta 92FS/M9 Handbook. Erik Lawrence Publications. p. 10. ISBN 978-1-941998-55-7.
  4. 4.0 4.1 ตำนาน BERETTA สุดยอดปืนพก
  5. Gangarosa, Gene Jr., "Modern Beretta Firearms", Stoeger Publishing (1994)
  6. "Beretta Web - 92FS 15 years of evolution and success". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  7. "Beretta Web – M9A1". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-12. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Diez, Octavio (2000). Armament and Technology. Lema Publications, S.L. ISBN 84-8463-013-7.
  9. "References". Girsan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2014. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
  10. "REGARD MC - Girsan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2015. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  11. "Modern Firearms". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
  12. Alberts, Kristin (5 February 2013). "The Helwan 920: Cheap Knock-Off or Beretta-Quality?". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2015. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
  13. "อาวุธประจำกาย และอาวุธธประจำกายทหารราบ" [Body armor and weapons for the infantry]. Thai Army. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-03-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

หมวดหมู่:ปืนสั้น หมวดหมู่:อาวุธตำรวจ


เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา

เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา
ประเภทอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด
วันสถาปนาพ.ศ. 2492
ประเทศ เกาหลีใต้
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับประธานาธิบดี, สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง, ประมุขต่างประเทศและคู่สมรส
สถานะยังมีการมอบ
ประธานประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ  • เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณทางการทูต  • เครื่องอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม

เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา (อังกฤษ: Grand Order of Mugunghwa, เกาหลี: 무궁화대훈장) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศเกาหลีใต้ มอบโดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้ สำหรับประธานาธิบดีเกาหลีใต้ สึภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเกาหลีใต้ ประมุขรัฐต่างประเทศและคู่สมรสของประมุขรัฐต่างประเทศ โดยผู้ได้รับมอบต้องเป็น "ผู้ที่กระทำคุณประโยชน์อย่างโดดเด่นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธไมตรีและความก้าวหน้าอันเป็นประโยชน์ยิ่งของสาธารณรัฐเกาหลี"[1]

ชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีที่มาจากดอกไม้ประจำชาติเกาหลีใต้นั่นคือกุหลาบโซรอนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจของเกาหลีใต้[2]

ลักษณะโดยทั่วไป

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ประกอบด้วยดวงตราที่ห้อยกับสายสะพายสีแดงและสร้อยคอ และดวงดารา อิสริยาภรณ์นี้ทำด้วยทองคำเงินทับทิมและอเมทิสต์ ใน พ.ศ. 2556 ต้นทุนในการสร้างอิสริยาภรณ์นี้อยู่ที่ประมาณ 20 ล้านวอน[3]หรือราวๆ 561,175 บาทไทย

ผู้ที่เคยได้รับอิสริยาภรณ์นี้

อ้างอิง

  1. Awards and Decorations Act, Act มาตรา 11690 ประกาศใช้เมื่อ March 23, 2013(in English and Korean) Korea Legislation Research Institute. Retrieved 2018-02-15.
  2. Umoh, Kingsley (2014). Taekwondo Poomsae: The Fighting Scrolls: Guiding Philosophy and Basic Applications. Strategic Book Publishing & Rights Agency. pp. 233–234. ISBN 9781612048017.
  3. "Will Pres. Lee accept top gov`t honor before retiring?". The Dong-A Ilbo. 2013-01-11. สืบค้นเมื่อ 2018-02-15.
  4. 4.0 4.1 "오늘 한·태 정상회담". 경향신문. 1966-02-11. สืบค้นเมื่อ 2013-02-14.
  5. 배재만 (2007-03-28). "카타르 국왕에게 훈장 수여하는 노대통령". 연합뉴스. สืบค้นเมื่อ 2013-02-16.
  6. 이정훈 (2014-11-19). "박 대통령, 유도요노 전 인도네시아 대통령 서훈". 연합뉴스. สืบค้นเมื่อ 2015-04-06.

หมวดหมู่:เครื่องอิสริยาภรณ์เกาหลีใต้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
ประเภทอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด
วันสถาปนาพ.ศ. 2291
ประเทศ สวีเดน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับพระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ผู้กระทำความดีอย่างยิ่งยวดต่อประเทศวีเดน และประมุขรัฐตลอดจนผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ
สถานะยังมีการมอบ
ประธานพระมหากษัตริย์สวีเดน
สถิติการมอบ
รายแรกสวีเดน: พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน
รายล่าสุดเกาหลีใต้: มุน แจ-อิน[1]
ทั้งหมด882 ราย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าไม่มี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม (สวีเดน: Kungliga Serafimerorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศสวีเดน และเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของโลก สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2291 โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก[2][3] เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีเพียงสองชั้นคือ ชั้นอัศวิน และชั้นสมาชิก ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายสีฟ้า สายสร้อย และดารา เครื่องราชอิสริยาภรณ์มอบให้แก่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์สวีเดน[4][5] ชาวสวีเดนที่ทำคุณประโยชน์อย่างยิ่งยวด ตลอดจนประมุขและผู้มีเกียรติจากต่างประเทศ

ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์

สายสร้อยและดวงตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดนและเจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์ขณะทรงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีเพียงสองชั้น และใน 1 สำรับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประกอบไปด้วยดวงตรา 2 ดวง ดวงหนึ่งห้อยกับสายสร้อย อีกดวงหนึ่งห้อยกับสายสะพายสีฟ้าสะพายจากทางขวาเฉียงลงทางซ้าย และดาราประดับบนหน้าอกซ้าย ลักษณะใน 1 สำรับมีดังนี้

  • สายสร้อย (Collar) ลักษณะมีนกเซราฟีมสีทองสลับกันกับตราดวงกางเขนสีฟ้าอย่างละ 11 ตัว โดยตัวนกเซราฟีมสีทองนั้นมีหน้าคล้ายเด็กทารกปรากฎอยู่
  • ดวงตรา (Badge) ลักษณะเป็นกางเขนมอลตาและลงยาด้วยกางเขนสีทอง 4 ด้าน และซ้อนกับนกเซราฟีมสีทองคั่นระหว่างกางเขนทั้ง 4 ด้าน และมีอัญมณีสีน้ำเงินสลักตัวอักษร IHS สีขาว
  • สายสะพาย (Sash) ลักษณะเป็นสีฟ้าอ่อนๆ หรือที่คนสวีเดนมักเรียกว่าสีน้ำเงินเซราฟีม มีขนาดเล็กมากตามแต่ระดับวัยหรือเพศของสมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์
  • ดารา (Star) ลักษณะคล้ายดวงตรา แต่มีขนาดใหญ่กว่า

ตราประจำของผู้ได้รับ

เซราฟีมเมินเลกิเอิน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เพื่อไว้อาลัยแก่ริชชาร์ท ฟ็อน ไวทซ์เซ็คเคอร์ อดีตประธานาธิบดีแห่งประเทศเยอรมนี

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ หากได้รับพระราชทานใหม่ๆ จะต้องมีตราประจำของตัวผู้ได้รับ ซึ่งจะประกอบไปด้วยตราแผ่นดินหรือตราประจำและล้อมรอบด้วยสายสร้อยหรือสายสะพายตามแต่ลำดับชั้นผู้ที่ได้รับพระราชทาน โดยจะวาดลงบนแผ่นคอปเปอร์ และนำไปประดิษฐานไว้ที่หอเกียรติยศเซราฟีมในพระบรมหาราชวังของสวีเดน เมื่อผู้ได้รับพระราชทานได้เสียชีวิตลง แผ่นตราประจำของผู้ได้รับดังกล่าวจะถูกย้ายจากพระราชวังไปทำพิธีไว้อาลัยที่วิหารลิตาโฮเมนในกรุงสต็อกโฮล์ม และจะสั่นระฆังเพื่อไว้อาลัยเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 12:00 น. ถึง 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยเรียกพิธีนี้ว่า เซราฟีมเมินเลกิเอิน

สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. State visit from the Republic of Korea – day 1
  2. kungahuset.se
  3. Orders (in Swedish). Note: This is inconsistent with the English version of the page, which does not include the Order of Vasa in the Orders of HM the King.
  4. "The Orders in Sweden". kungahuset.se.
  5. Ordenskungörelse (1974:768)
  6. Sweden says farewell to its honorary
  7. "Noblesse et Royautés" เก็บถาวร 22 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (French), Guests to Victoria of Sweden's wedding, Photo
  8. Heraldry เก็บถาวร 12 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Order of the Seraphim, Nelson Mandela's us/img24/9572/mandelaxr1.png Coat of arms[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

นอรานิซา อิดริส (en:Noraniza Idris, ms:Noraniza Idris)

นอรานิซา อิดริส
Noraniza Idris
เกิด25 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (55 ปี)
รัฐยะโฮร์, ประเทศมาเลเซีย
แนวเพลงป็อป  • อิรามมาเลเซีย
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2528 – ปัจจุบัน

นอร์ อานีซา ปินติ ฮาจิ อิดริส (มลายู: Nor Aniza binti Haji Idris) หรือ นอรานิซา อิดริส (มลายู: Noraniza Idris) เป็นนักร้องหญิงชาวมาเลเซีย เธอได้รับสมญานามในประเทศว่า ราชินีเพลงป็อป เธอมีชื่อเสียงอย่างดีในแนวเพลง อิรามามาเลเซีย ซึ่งเป็นการนำแนวดนตรีพื้นเมืองมาผสมผสานกับเพลงป็อปแถบตะวันตก[1] เนื้อหาเพลงของเธอส่วนมากใช้ภาษาที่อิงมาจากเพลงดั้งเดิมของมาเลย์[2] โดยเพลงของเธอที่เป็นรู้จักและมีชื่อเสียงทั้งในประเทศมาเลเซียและประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ซี จันตุง หาตี[3], ดิกีร์ ปุตตรี เป็นต้น

ประวัติ

เธอเกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ที่รัฐยะโฮร์ เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงและเริ่มร้องเพลงจากการชนะเลิศการประกวดร้องเพลงทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งมาเลเซีย เมื่อ พ.ศ. 2528[4]

ชีวิตส่วนตัว

เธอสมรสครั้งแรกกับโมฮัด ฟาซุอิ โมฮัด ทาญุดดีน ซึ่งเป็นนักร้องเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2531 ต่อมาทั้งคู่ได้หย่ากันในปี พ.ศ. 2549 และเธอสมรสใหม่แบบไม่เปิดเผยในปี พ.ศ. 2551 กับนักธุรกิจคนหนึ่ง แต่ก็ได้หย่าขาดกันหลังสมรสเพียง 45 วัน[5][6]

ผลงานเพลง

  • 2540 - อาลา ดอนดัง
  • 2541 - มาซูอู
  • 2542 - เบอคาปา
  • 2543 - อิคติราฟ
  • 2545 - เอารา
  • 2547 - ซาโว' มาตัง

ผลงานการแสดง

  • 2531 - ซายัง อีบุ

อ้างอิง

อูเปีย อีซิล

อูเปีย อีซิล
Upiak Isil
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2529 (37 ปี)
บูคิตติงกี, จังหวัดสุมาตราตะวันตก, อินโดนีเซีย
แนวเพลงป็อป
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน

ซิลเวีย นันดา[1] (อินโดนีเซีย: Silvia Nanda) หรือชื่อในวงการคือ อูเปีย อีซิล (อินโดนีเซีย: Upiak Isil) (24 ธันวาคม พ.ศ. 2529 –) เป็นนักร้องและนักแสดงตลกหญิงชาวอินโดนีเซีย มีเพลงที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ ต๊ะ ตุง ตวง ซึ่งเผยแพร่บนสื่อโซเชียลเมื่อปี พ.ศ. 2560[2] และได้รับความนิยมทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย[3]และประเทศมาเลเซีย

เธอเกิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ 2529 ที่บูคิตติงกี จังหวัดสุมาตราตะวันตก ในครอบครัวชาวมีนังกาเบา ก่อนที่จะไปเติบโตอยู่ที่เมืองปาลีมัน เธอเริ่มต้นชีวิตในวงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 13 ปี และมีชื่อเสียงในภูมิลำเนาของเธอก่อนที่จะมีชื่อเสียงระดับประเทศในภายหลังในฐานะนักร้องเพลงป็อปซึ่งใช้ภาษามีนังกาเบาอันเป็นภาษาถิ่นเกิดของเธอเอง[4]

ใน พ.ศ. 2560 เธอมีชื่อเสียงในโลกโซเชียลจากเพลง ต๊ะ ตุง ตวง (อินโดนีเซีย: Tak Tung Tuang)[5][6] ซึ่งเนื้อหาเชิงขำขันอันเกี่ยวเกี่ยวกับชีวิตของเธอที่มีทัศนคติว่าถึงเธอไม่อาบน้ำก็ไม่เป็นใคร ใครจะคิดอย่างไรก็ช่าง แต่ตัวเธอนั้นมีความสุข[7] ซึ่ง 3 ปีถัดมาเพลงของเธอโด่งดังอย่างมากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย และยังมีศิลปินหลายคนนำไปร้องใหม่ อาทิ ศุภัคชญา สุขใบเย็น

ผลงานเพลง

สตูดิโออัลบั้ม

  • มาลัส เดต๊ะ มาห์
  • ฮาโระห์ โจ ปาดี สาลีบุ
  • อัลบั้ม ลาวัก บาสิเลอมัก 3 ดีวา
  • เออมัง อูดะ ซีอ
  • อัมลิส อารีฟิน & อีซิล - บาฮาเกีย บูตัน ฮาราโตะ
  • พูดูกัน ซาจา
  • อูเปีย อีซิล - กูตัง บาเรินโด

ซิงเกิล

  • 2560 - ต๊ะ ตุง ตวง
  • 2560 - คมเารา ปาลูซุ

ผลงานการแสดง

ภาพยนตร์

ปี ชื่อเรื่อง บท บริษัทผู้ส้รางภาพยนตร์
2561 เลียม ดัน ไลลา เต๊ะ โรสมา มหากายา พิคเจอร์
มาลิน ฟิล์ม
มามา มามา จาโกน ตัวเธอเอง บัดดี บัดดี พิคเจอร์
เบรัด พิคเจอร์
2021 เบการัง เดินรัง อะมะ อะฟีฟา พีไอเอม พิคเจอร์

อ้างอิง

โจโม เคนยาตา (simple:Jomo Kenyatta)

โจโม เคนยาตา
เคนยาตาในปี พ.ศ. 2509
ประธานาธิบดีเคนยา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
12 ธันวาคม พ.ศ. 2507 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521
รองประธานาธิบดีจาราโมกี โอกินกา โอดินกา
โจเซฟ มูรุมบี
แดเนียล อารัป โมอี
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในฐานะ พระราชินีแห่งเคนยา
ถัดไปแดเนียล อารัป โมอี
นายกรัฐมนตรีเคนยา คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน พ.ศ. 2506 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2507
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ถัดไปไรลา โอดินดา (2551)
ประธานแห่งขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าเจมส์ กิชูรู
ถัดไปแดเนียล อารัป โมอี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
คาเมา วา มูไก

ป. 2440
งินดา, บริติชแอฟริกาตะวันออก
เสียชีวิต22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (81 ปี)
โมมบาซา, จังหวัดโคสท์, ประเทศเคนยา
ที่ไว้ศพไนโรบี, ประเทศเคนยา
เชื้อชาติเคนยา
พรรคการเมืองขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา (KANU)
คู่สมรสเกรซ วาฮู (m. 2462)
เอ็ดนา คาร์เก (2485–2489)
เกรซ วาจินกู (d. 2493)
งินา เคนยาตา (สมรส 2494)
บุตร
8
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน, โรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน

โจโม เคนยาตา (อังกฤษ: Jomo Kenyatta) (ประมาณ พ.ศ. 2440 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521) เป็นนักการเมืองชาวเคนยา ดำรงตำแหน่งในฐานะผู้นำคนแรกของเคนยาตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2521 ได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งเคนยา[1]

เขาเกิดในครอบครัวชาวนาชนเผ่าคิกุยู เมืองเกียมบู บริติชแอฟริกาตะวันออก เขาศึกษาในโรงเรียนของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในถิ่นที่เขาอยู่ และเส้นทางการเมืองของเขาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเขาเข้าร่วมกับสมาคมชนเผ่าคิกุยู ใน พ.ศ. 2472 เขาได้เดินทางไปลอนดอน เพื่อเจรจาเรื่องที่ดินของชาวคิกุยู ใน พ.ศ. 2473 เขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอมมิวนิสต์แห่งทอยเลอร์ตะวันออกที่กรุงมอสโก จากนั้นเขาก็ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน และโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอน ในปี พ.ศ. 2481 เขาได้ตีพิมพ์วิจัยเกี่ยวกับสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับชนเผ่าคิกุยู และเขาได้ทำงานในเฟาร์มในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาเขาได้ร่วมกับจอร์จ แพตมอร์ เพื่อนของเขาได้รวบรวมชาวแอฟริกันในพื้นที่เพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ

เขากลับมายังประเทศเคนยาเมื่อ พ.ศ. 2489 และได้เป็นครูใหญ่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน พ.ศ. 2490 เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานแห่งสหภาพเคนยาแอฟริกัน[2] ซึ่งเขาพยายามรวบรวมชนพื้นเมืองต่างๆ ประกาศเอกราชจากอังกฤษซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าต่างๆ ในประเทศเป็นอย่างดี แต่เขากลับถูกต่อต้านจากกลุ่มคนในพื้นที่ที่ผิวขาว ใน พ.ศ. 2495 เขาจึงถูกจำคุกพร้อมกับแกนนำอีก 5 คน ในกลุ่มที่เรียกว่า คาเปนกูเรียซิกซ์ฺ ในคดีกบฎเมาเมา (Mau Mau Uprising)[3] แม้ว่าเขาจะชุมนุมอย่างสันติก็ตาม อย่างไรก็ดี เขายังถูกจำคุกที่โลกิตวงจนได้รับอิสรภาพในปี พ.ศ. 2502[4] และถูกเรเทศไปยังลอดวาร์ จนถึง พ.ศ. 2504[5]

หลังเขาได้รับอิสรภาพ เขาเป็นประธานขบวนการแห่งชาติแอฟริกันเคนยา และเขาได้นำพรรคสู่ชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไปของเคนยาในปี พ.ศ. 2506[6] และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขาได้ดำเนินนโยบายให้เคยนยาถอนตัวจากเครือจักรภพและเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐเอกราชระบอบสาธารณรัฐและได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเคนยาเมื่อปี พ.ศ. 2507[7] ในระหว่างการเป็นประธานาธิบดี เคนยาเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในสงครามเย็น และต่อต้านสังคมนิยม ในสมัยของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากในเรื่องการทุจริตทางการเมือง[8] เขาเริ่มป่วยด้วยโรคหัวใจในปี พ.ศ. 2509 และได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 สิริอายุ 88 ปี

ชื่อของเขาถูกนำไปตั้งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติโจโมเคนยัตตาเพื่อให้เกียรติแก่เขา และลูกชายของเขาอูฮูรู เกนยัตตาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 3 และคนปัจจุบันของประเทศเคนยา[9]

อ้างอิง

  1. Murray-Brown 1974, p. 315; Arnold 1974, p. 166; Bernardi 1993, p. 168; Cullen 2016, p. 516.
  2. Murray-Brown 1974, p. 226; Maloba 2018, p. 113.
  3. Maloba 2018, p. 121.
  4. Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, p. 140.
  5. Murray-Brown 1974, p. 296; Maloba 2018, pp. 140, 143.
  6. Murray-Brown 1974, p. 303; Kyle 1997, p. 49.
  7. Lonsdale 2006, p. 99.
  8. Maloba, W. O. (2017). The Anatomy of Neo-Colonialism in Kenya: British Imperialism and Kenyatta, 1963–1978. African Histories and Modernities (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. ISBN 978-3-319-50964-8.
  9. Jason Patinkin in Nairobi. "Uhuru Kenyatta's election victory is denounced by Kenya's supreme court 2017". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก (en:Order of Isabella the Catholic)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก
ประเภทอิสริยาภรณ์หกชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2358
ประเทศ สเปน
แพรแถบสีขาวขนาบสีเหลือง (ยกเว้นชั้นสายสร้อยที่เป็นสีเหลืองและมีเส้นเล็กๆ สีขาวขนาบสองข้าง)
ผู้สมควรได้รับผู้กระทำคุณประโยชน์ต่อสเปนและราชวงศ์
สถานะยังมีการมอบ
ประธานพระมหากษัตริสเปร
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาเรียลูซี
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก (สเปน: Orden de Isabel la Católica) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศสเปน มอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ ซึ่งส่วนมากจะไม่มอบให้กับชาวสเปนเท่าใดนัก แต่จะมอบให้ชาวต่างประเทศมากกว่า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2358 โดยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน[1] เพื่อให้เกียรติแก่สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยาในชื่อ รอยัลแอนด์อเมริกาออร์เดอร์ออฟอิซเบลลาเดอะคาทอลิก สำหรับเป็นเกียรติยศของผู้กระทำความดีและผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์สเปน รวมถึงกระทำคุณประโยชน์อื่นๆ ต่ออาณานิคมของสเปน[2] ต่อมาถูกบรรจุเข้าในลำดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใน พ.ศ. 2390 ในชื่อปัจจุบันคือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาแห่งคาทอลิก

การมอบและลำดับชั้น

พระมหากษัตริย์สเปนทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้[3] และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสเปนเป็นอธิการบดีแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์[4] โดยผู้ได้รับพระราชทานจะได้รับใบประกาศนียบัตรซึ่งมีลายมือชื่อของประธานและอธิการบดีแห่งราชอิสริยาภรณ์อยู่ สมาชิกอิสริยาภรณ์ชั้นเบญจมาภรณ์เป็นต้นไปจะได้เสื้อคลุมสีทองเป็นเครื่องราชอิสรริยศประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และมีตราพระราชลัญจกรประจำตัวผู้ได้รับอีกด้วย[5] ผู้ได้รับชั้นประถมาภรณ์และสายสร้อยจะได้ตำแหน่ง ฮิสออเฮอมอร์สเอ็คซ์เลนด์ลอร์ด[6] ผู้ได้รับชั้นตริตาภรณ์และตริตาภรณ์แห่งสมาชิกจะได้ตำแหน่ง ฮิสออฟเฮอมอสอิลลูสติลอัสลอร์ด[6] เครื่องราชอิสริยาภรณ์อิซเบลลาและคาทอลิกมีลำดับชั้นต่อไปนี้

  • ชั้นที่หนึ่ง
  • ชั้นสายสร้อย (จำกัดเพียง 25 คน)
  • ชั้นประถมาภรณ์ (จำกัดเพียง 500 คน)
  • ชั้นที่สอง
  • ตริตาภรณ์แห่งสมาชิก (จำกัดเพียง 800 คน)
  • ตริตาภรณ์
  • ชั้นที่สาม
  • จัตุรถาภรณ์
  • ชั้นที่สี่
  • เบญจมาภรณ์
  • ชั้นที่ห้า
  • ชั้นกางเขนเงิน
  • ชั้นที่หก
  • ชั้นเหรียญเงิน
  • ชั้นเหรียญทองแดง[7][8]

ลักษณะแห่งอิสริยาภรณ์

ลักษณะจะเป็นกางเขนอิเมรัลสีแดงและขอบสีทอง ยอดด้านนอกจะมีลูกเล็กๆ คล้ายๆ ลูกบอลสีทองติดอยู่บนมุมของกางเขนทั้งสี่ ตรงกลางของตัวดวงตราและดาราจะมีจารึกว่า "A La Lealtad Acrisolada" (เพื่อประกันความจงรักภักดี) และ "Por Isabel la Católica" (โดยอิซเบลลาแห่งคาทอลิก) บนพ้นสีขาว เหนือคำจารึกมีพวงหรีดสีเชียวพร้อมวงแหวน

แพรแถบอิสริยาภรณ์จะเป็นสีขาวขนาบด้วยสีเหลืองทั้งสองข้าง[9] ยกเว้นชั้นสายสร้อยที่จะมีแพรแถบสีเหลืองและมีเส้นสีขาวเล็กๆ ขนาบทั้งสองข้าง

Insignia
ชั้นสายสร้อย ดวงดาราชั้นสายสร้อย ชั้นประถมาภรณ์ ดวงดาราชั้นประถมาภรณ์ ชั้นตริตาภรณ์แห่งสมาชิก
ชั้นตริตาภรณ์ ชั้นตริตาภรณ์ (สำหรับสตรี) ชั้นจัตุรถาภรณ์ ชั้นจัตุรถาภรณ์ (สำหรับสตรี) ชั้นเบญจมาภรณ์
ชั้นเบญจมาภรณ์ (สำหรับสตรี) ชั้นกางเขนเงิน ชั้นกางเขนเงินสำหรับสตรี ชั้นเหรียญเงิน ชั้นเหรียญเงินสำหรับสตรี
ชั้นเหรียญทองแดง ชั้นเหรียญทองแดงสำหรับสตรี

อ้างอิง

  1. Real y Americana Orden de Isabel la Católica
  2. "premiar la lealtad acrisolada a España y los méritos de ciudadanos españoles y extranjeros en bien de la Nación y muy especialmente en aquellos servicios excepcionales prestados en favor de la prosperidad de los territorios americanos y ultramarinos"
  3. article 2, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
  4. article 3, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
  5. articles 2 and 3, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
  6. 6.0 6.1 article 13, Reglamento de la Orden de Isabel la Católica (1998)
  7. "Real Decreto 2395/1998, por el que se aprueba el Reglamento de la Orden de Isabel la Católica". Minesterio de Asuntos Exteriores y de Cooperacion website (ภาษาสเปน). Government of Spain. 11 June 1998. สืบค้นเมื่อ 5 September 2005.1998 Statutes of the Order of Isabella the Catholic.
  8. De Ceballos-Escalera y Gila, Alfonso; Almudena de Arteaga y del Alcázar; Fernando Fernández-Miranda y Lozana (1997). "The Royal (American) Order of Isabella the Catholic". Great Orders of Chivalry, Royalty and Nobility website (ภาษาสเปน). Madrid, Spain. สืบค้นเมื่อ 5 September 2010. Essay on the history of the Order of Isabella the Catholic.
  9. Spain: Order of Isabella the Catholic

โสนากษี สิงหา (en:Sonakshi Sinha)

โสนากซี สิงหา
สิงหาจากงานเปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง โจ๊กเกอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2555
เกิด2 มิถุนายน พ.ศ. 2530 (36 ปี)
ปัฏนา, รัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสตรีนาธิบายดาโมดาร์ฐกาสีมหิลาวิเทศพิชญ์
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2553–ปัจจุบัน
บิดามารดาภูณัม สิงหา
สถุงคัณ สิงหา
ญาติลูว สิงหา (พี่ชาย)

โสนากษี สิงหา (อังกฤษ: Sonakshi Sinha; ออกเสียง: [soːnaːkʂi sɪnɦa]; เกิด 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530) เป็นนักแสดงและน้กร้องหญิงชาวอินเดียประเภทหนังฮินดี[1] เธอเริ่มต้นชีวิตวงการบันเทิงจากการทำงานสายออกแบบเสื้อผ้า จนกระทั่งแจ้งเกิดในฐานะนักแสดงจาผลงานภาพยนตร์ ดาแบง ใน พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัล ฟิล์มแฟร์อะวอร์ดส์ สาขานักแสดงหญิงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม[2]

เธอรับบทเป็นนางเอกนภาพยนตร์แนวดรามาและแอ็คชันเป็นจำนวนมากและประสบความสำเร็จ อาทิ โรดเวย์แรโทร์ (2555), ซันออฟซาดาร์ (2555), ดาแบง 2 (2555) และ ฮอลิเดย์:อะโซเจอร์อีสนีเวอร์ออฟดิวตี (2557) แม้เธอจะถูกวิพากษ์วิจารณืถึงเรื่องบทของเธอในการแสดง อย่างไรก็ดี เธอได้รับคำชื่นชมมากจากการแสดงละครแนวดราม่าเรื่อง ลูเตรา ในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัล ฟิล์มแฟร์อะวอร์ดส์ สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในปีเดียวกัน[3][4][5] ทั้งนี้ เธอยังประสบความสำเร็จจากภาพยนตร์แนวดรามาเรื่อง Mission Mangal ใน พ.ศ. 2562 อีกด้วย[6]

นอกจากความสำเร็จในวงการภาพยนตร์แล้ว เธอยังร่วมร้องเพลง เล็ดส์เซเลอร์เบด ของอิมรัน ข่าน เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง เทวาร์ ใน พ.ศ. 2558 และเธอยังมีซิงเกิลเดี่ยวในชื่อ แอดจ์มูดอิศโคลิคไฮ

ประวัติ

เธอเกิดในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ที่ปัฏนา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[7] เป็นธิดาของสถุงคัณ สิงหาและภูณัม สิงหา (สกุลเดิม จันทรมณี) บิดาของเธอมีเชื้อสายคายัสตา มารดาเธอมีเชื้อสายฮินดูสินธุ[8] บิดาของเธอเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคภารตียชนตา[7][9] ก่อนจะย้ายไปสังกัดคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี พ.ศ. 2562 เธอเป็นธิดาคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งสามคน ซึ่งเธอมีพี่ชายฝาแฝดสองคนคือลูวะและคูซ สิงหา เธอเริ่มศึกษาที่โรงเรียนอารยาวิทยามานติ และสำเร็จการศึกษาวิชาการออกแบบแฟชั่น จากสถาบันเปรมลีลาวิฑัส มหาวิทยาลัยสตรีนาธิบายดาโมดาร์ฐกาสีมหิลาวิเทศพิชญ์[10]

ผลงานการแสดง

ภาพยนตร์

ปี ชื่อเรื่อง บทบาท หมายเหตุ
2553 Dabangg Rajjo Pandey Filmfare Award for Best Female Debut
2555 Rowdy Rathore Paro
Joker Diva
OMG – Oh My God Herself Special appearance in song "Go Go Govinda"
Son of Sardaar Sukhmeet Kaur Sandhu
Dabangg 2 Rajjo Pandey
2556 Himmatwala Herself Special appearance in song: "Thank God It's Friday"
Lootera Pakhi Roy Chaudhary Nominated—Filmfare Award for Best Actress
Once Upon A Time In Mumbai Dobaara Jasmine Sheikh
Boss Herself Special appearance in songs: "Party All Night" and "Har Kisi Ko"
Bullett Raja Mitali
R... Rajkumar Chanda
2557 Holiday: A Soldier Is Never Off Duty Saiba Thapar
Action Jackson Kushi
Lingaa Mani Bharathi Tamil Film Debut
2558 Tevar Radhika Mishra
All Is Well Herself Special appearance in song "Nachan Farrate"
2559 Akira Akira
Force 2 Kamaljit Kaur
2560 Noor Noor Roy Chaudhary Also playback singer of song "Move Your Lakk"
Ittefaq Maya
2561 Welcome to New York Jinal Patel
Happy Phirr Bhag Jayegi Harpreet
Yamla Pagla Deewana: Phir Se Herself Special appearance in song 'Rafta Rafta'
2562 Total Dhamaal Herself Special appearance in song 'Mungda'
Kalank Satya Chaudhry
Khandaani Shafakhana Babita "Baby" Bedi
Mission Mangal Eka Gandhi
Laal Kaptaan Noor Bai
Dabangg 3 Rajjo Pandey
2563 Ghoomketu Herself Special appearance
Bhuj: The Pride of India Sunderben Jetha Madharparya กำลังถ่ายทำ[11]

ผลงานเพลง

ซิงเกิล

อ้างอิง

  1. Joginder Tuteja (31 December 2015). "Sonakshi Sinha Turns Singer-Rapper". The New Indian Express. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
  2. Gaurav Dubey. "Salman Khan hosts an impromptu birthday bash for Sonakshi Sinha". Mid Day. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  3. "Sonakshi Sinha: Year since 'Lootera', appreciation hasn't stopped". The Times of India. IANS. 5 กรกฎาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015.
  4. "Shatrughan Sinha breaks down after watching daughter Sonakshi in Lootera". Indian Express. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  5. Hungama, Bollywood (5 September 2016). ""No one doubted my capacity as an actor in the past as well" – Sonakshi Sinha on Akira appreciation : Bollywood News - Bollywood Hungama".
  6. "Sonakshi Sinha". Box Office India. สืบค้นเมื่อ 8 March 2018.
  7. 7.0 7.1 "'Shotgun Junior' Sonakshi Sinha turns 26!". Zee News. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  8. Pradhan S. Bharati (12 June 2012). "It's work first for Sonakshi". The Telegraph (Kolkata). สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
  9. "Sonakshi Sinhas birthday with fans". NDTV. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  10. "Just How educated are our Bollywood heroines?". Rediff.com. 18 January 2012. สืบค้นเมื่อ 12 October 2017.
  11. "Bhuj: The Pride of India goes on floors in Hyderabad; Sanjay Dutt starts shooting for war drama". Firstpost.com. 25 June 2019. สืบค้นเมื่อ 25 June 2019.
  12. "Sonakshi Sinha set for singing debut with Aaj Mood Ishqholic Hai". Hindustan Times. New Delhi, India. 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  13. "Sonakshi Sinha to cheer up your mood with debut single". The Times of India. 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.[ลิงก์เสีย]

ฝน ธนสุนทร

ฝน ธนสุนทร
เกิด29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 (49 ปี)
อำเภอเมืองอุดรธานี, จังหวัดอุดรธานี
แนวเพลงเพลงลูกทุ่ง  · ป็อป
อาชีพนักร้อง  · นักแสดง  · นางแบบ
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2531 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงชัวร์ออดิโอ

ฝน ธนสุนทร หรือชื่อจริงคือ เตือนใจ ศรีสุนทร (29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 −) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย[1] เจ้าชองฉายา เจ้าหญิงลูกทุ่ง[2] เธอถูกเรียกได้ว่าเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกันกับ ผ่องศรี วรนุช พุ่มพวง ดวงจันทร์ และสุนารี ราชสีมา ชีวิตเริ่มต้นของเธอนั้นเคยร้องเพลงสตริงมาก่อน มีผลงานที่เป็นเพลงสตริงสองชุด ได้แก่ "มุมหนึ่งของหัวใจ" และ "สายฝนแห่งความรัก" แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เธอจึงหันมาร้องเพลงลูกทุ่ง และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงจากผลงานสตูดิโออัลบั้มเพลงลูกทุ่งชุดที่สองของเธอ ใจอ่อน เมื่อปี พ.ศ. 2544

ชีวิตในวัยเด็ก

ฝน ธนสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ที่อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในครอบครัวที่ยากจน บิดาของเธอเป็นคนขับสามล้อ มารดาของเธอนั้นเป็นแม่ค้าหาบเร่ (ปัจจุบันมารดาของเธอได้เสียชีวิตแล้ว[3]) เธอเป็นลูกคนโตจากพี่น้องทั้งหมด 10 คน ชีวิตในวัยเด็กนั้นเธอรับจ้างเก็บขยะเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว และลำบากจนกระทั่งเคยขอข้าววัดรับประทานมาแล้วในวัยเด็ก[4] เริ่มศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนมุขมนตรี ต่อมาศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีราชินูทิศ และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยปทุมธานี[1]

วงการบันเทิง

เธอชื่นชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก เคยเป็นนักร้องในเชียร์รำวงและปู่ของเธอก็ฝึกฝนการร้องเพลงให้ เธอเริ่มหารายได้จากการร้องเพลงตั้งแต่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเสียงของเธอนั้นเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ฟังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เธอมีงานขึ้นมาเรื่อยๆ จากนั้นเธอจึงเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการประกวด มิสทีนโอเล่ และได้ตำแหน่งมาครอง หลังจากนั้นเธอจึงได้เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณา "ลูกอมโอเล่" เป็นผลงานในวงการบันเทิงชิ้นแรกของเธอ ต่อมาสมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เธอได้รับเชิญให้ไปบันทึกเทปเพลงที่จัดทำขึ้นเพื่อฉลอง 100 ปีของจังหวัดอุดรธานี โดยเธอได้ร้อง 3 เพลง คือ กราบเท้าพ่อหลวง, อุดรฯ มีของดี และ 3 ส. โดยได้รับค่าจ้างมาถึง 500 บาท และจุดนี้ได้ทำให้ปรีชา อรัญวารี นักจัดรายการวิทยุในสังกัดของชัวร์ออดิโอที่อุดรธานีเห็นแววในการเป็นนักร้องของเธอ และได้ชักนำเธอเข้าสู่การเป็นนักร้องอาชีพเต็มตัว[1]

เธอได้เซ็นสัญญาเป็นเวลา 4 ปี กับเคลฟเวอร์เอนเตอร์เทนเม้นท์ บริษัทในเครือของชัวร์ออดิโอ ที่เน้นทำเพลงสตริง ด้วยเหตุที่ทางต้นสังกัดมองว่าหน้าตาของเธอนั้นเหมาะกับแนวนี้มากกว่า โดยมีผลงานเพลงออกมาในแนวสตริง 2 ชุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 คือ มุมหนึ่งของหัวใจ และ สายฝนแห่งความรัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ ทางต้นสังกัดจึงตัดสินใจเปลี่ยนแนวเพลงให้เธอได้ร้องเพลงลูกทุ่งตามแนวที่เธอถนัด โดยให้เริ่มร้องเพลงคู่กับมนต์สิทธิ์ คำสร้อย และเกษม คมสันต์ ในชุด เกี่ยวก้อย ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากแฟนเพลงมากขึ้น ในที่สุดเธอก็มีผลงานเป็นของตัวเองใน พ.ศ. 2544 กับสตูดิโออัลบั้มชุดแรก ฮักอ้ายโจงโปง ก่อนจะมาประสบความสำเร็จกับผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของเธอ ใจอ่อน[1] หลังจากนั้นเธอก็มีผลงานในวงการเพลงเป็นระยะ และอยู่ในวงการบันเทิงมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 เธอได้แสดงละครโทรทัศน์เรื่องแรกทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 คือ มิตร ชัยบัญชา มายาชีวิต[5] โดยเธอรับบทเป็นเพชรา เชาวราษฎร์ คู่กับพุฒิชัย อมาตยกุล และ พ.ศ. 2551 เธอได้แสดงละครเรื่องดาวจรัสฟ้า ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยรับบทเป็น "ฟ้า" คู่กับทฤษฎี สหวงษ์[1]

ชีวิตส่วนตัว

ชีวิตส่วนตัว เธอคบหาดูใจกับสาวหล่อนอกวงการบันเทิง ซึ่งคบหาดูใจกันมาถึง 20 ปี[6][7]

ผลงาน

อัลบั้มเพลง

  • ฮักอ้ายโจงโปง (มีนาคม 2544)
  • ใจอ่อน (กรกฎาคม 2544)
  • แอบรักเขา (มิถุนายน 2544)
  • ขอใช้สิทธิ์ (กรกฎาคม 2545)
  • พี่ชายชั่วคราว (มิถุนายน 2546)
  • แผลเป็นวันวาเลนไทน์ (สิงหาคม 2547)
  • รักหมดใจ (สิงหาคม 2547)
  • ดาวประดับใจ (กรกฎาคม 2548)
  • ค่อยๆ ปล่อยมือ (พฤศจิกายน 2548)
  • ฝน ฝากรัก (สิงหาคม 2549)
  • หัวใจฝากถาม (ธันวาคม 2549)
  • ถึงเวลา...บอกรัก (สิงหาคม 2550)
  • เรียกที่รักได้มั้ย? (มกราคม 2551)
  • เป็นแฟนกันมะ (กันยายน 2551)
  • ฝนเลือกเอง (เมษายน 2552)
  • รักนี้ไม่มีลืม (กันยายน 2552)

อ้างอิง

สุรินทร์ ภาคศิริ

สุรินทร์ ภาคศิริ
ชื่อเกิดชานนท์ ภาคศิริ
รู้จักในชื่อทิดโส สุดสะแนน
เกิดพ.ศ. 2485 (79 ปี)
อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ)
แนวเพลงเพลงลูกทุ่ง  · หมอลำ
อาชีพนักแต่งเพลง  · นักดนตรี  · นักเขียน  · กวี
ช่วงปีพ.ศ. 2506 – ปัจจุบัน

สุรินทร์ ภาคศิริ เป็นศิลปินมรดกอีสาน (ประพันธ์เพลง) ประจำปี พ.ศ. 2551[1] เป็นนักแต่งเพลงในแนวเพลงลูกทุ่งอีสานที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศไทย[2][3] เป็นที่รู้จักจากเพลง หนาวลมที่เรณู[4][5] ขับร้องโดยศรคีรี ศรีประจวบ อีสานลำเพลิน[5] ขับร้องโดยอังคนางค์ คุณไชย และ วอนลมฝากรัก ขับร้องโดยบุปผา สายชล (ซึ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ นำไปขับร้องใหม่) และยังมีผลงานประพันธ์เพลงให้นักร้องลูกทุ่งอีกเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

เขามีชื่อเกิดว่า ชานนท์ ภาคศิริ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2485 ที่อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันแยกตัวออกมาเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอำนาจเจริญ เมื่อ พ.ศ. 2503 [6]

เขามีพรสวรรค์ด้านการประพันธ์เพลงและร้อยแก้วต่างๆ มาตั้งแต่เยาว์วัย เนื่องจากเขาได้มีโอกาสเรียนรู้จากคณะละครอุลิตราตรีศิลป์และคณะเทพศิลป์ 2 ซึ่งไปทำการแสดงที่บ้านเกิดของเขาขณะเขากำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นเขาจึงเริ่มแต่งคำประพันธ์ นิยาย เรื่องสั้น และยังแต่งเพลงเชียร์กีฬาให้กับทางโรงเรียนอีกด้วย[6]

เส้นทางนักแต่งเพลง

เมื่อเขาจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาได้มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อทำตามความฝัน ด้วยที่มีอุปสรรคและขาดโอกาสการศึกษาต่อจึงไปอยู่ที่วัดนรนารถสุนทริการามโดยได้รับความช่วยเหลือจากพระที่วัดดังกล่าว ระหว่างนี้เขาได้ฝึกการเป็นนักร้องและนักแต่งเพลงจนกระทั่งไปฝากตัวเป็นศิษย์ของก.แก้วประเสริฐ จากนั้นเขาก็ไปสอบเข้าเป็นข้าราชการประจำกรมราชทัณฑ์[6] ทำให้เขาไม่ได้มีผลงานด้านการร้องเพลงอีก เขามุ่งกับงานราชการประกอบกับเป็นนักแต่งเพลงจึงทำให้เขาได้มีโอกาสประพันธ์เพลงให้กับนักร้องลูกทุ่งในสมัยนั้น โดยผลงานชิ้นแรกคือ คนขี้หึง ขับร้องโดยชื่นกมล ชื่นฤทัย ต่อด้วย คนขี้งอน ขับร้องโดยไพรวัลย์ ลูกเพชร ตามด้วย เมษาอาลัย และ เต้ยเกี้ยวสาว ตามลำดับ หลังจากนั้นเขาก็มีผลงานแต่งเพลงให้กับศิลปินท่านอื่นอีก อาทิ ศักดิ์ศรี ศรีอักษร ไพรินร์ พรพิบูลย์ สนธิ สมมาตร กาเหว่า เสียงทอง ศรคีรี ศรีประจวบ ศรชัย เมฆวิเชียร เรียม ดาราน้อย ศักดิ์สยาม เพชรชมภู บุปผา สายชล พุ่มพวง ดวงจันทร์ สันติ ดวงสว่าง เอ๋ พจนา สายัณห์ สัญญา เป็นต้น[5]

ใน พ.ศ. 2534 เขาได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 จากเพลง ทุ่งกุลาร้องไห้ ขับร้องโดยศักดิ์สยาม เพชรชมภู[6]

ผลงานประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง

รายการวิทยุ

  • ทิดโสโปข่าว

รางวัล

  • พ.ศ. 2534 - รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2
  • พ.ศ. 2551 - ศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ (ประพันธ์เพลง) ประจำปี พ.ศ. 2551 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น[6]

อ้างอิง

โอยันตา อูมาลา

โอยันตา อูมาลา
อูมาลาใน พ.ศ. 2559
ประธานาธิบดีเปรู คนที่ 58
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
นายกรัฐมนตรี
รองประธานาธิบดีมารีซัล เอสปิโนซา
โอมาร์ เชฮาร์เด (2554-2555)
ก่อนหน้าอาร์ลัน การ์ซีอา
ถัดไปเปรโต พาโบล คุซชินสกี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (61 ปี)
ลิมา, เปรู
เชื้อชาติเปรู เปรู
พรรคการเมืองพรรคชาตินิยมเปรู
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เปรู วินส์ (2553–2554)
พรรคสหภาพแห่งเปรู (2549)
คู่สมรสนาดีน เฮอร์เลนเดีย (สมรส 2542)
บุตร3
ศิษย์เก่าโรงเรียนทหารชอร์ลินลอส
มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งเปรู (ปริญญาโท)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เปรู
สังกัด กองทัพบกเปรู
ประจำการ2524–2548
ยศพันโท
ผ่านศึกความขัดแย้งภายในเปรู
สงครามเซเนปา

โอยันตา โมเซส อูมาลา ตัสโซ (สเปน: Ollanta Moisés Humala Tasso, เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2505 –) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารชาวเปรู เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศเปรูระหว่างปี พ.ศ. 2554 จนถึง พ.ศ. 2559 เดิมเขามีแนวคิดทางการเมืองไปทางสังคมนิยมและชาตินิยมฝ่ายซ้าย ต่อมาเขามีแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่และมีจุดยืนแบบการเมืองสายกลางเมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[1][2]

เขาเกิดในครอบครัวที่เป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหว บิดาของเขาชื่อไอแซก อูมาลา เป็นนักกฎหมายและทนายความ อูมาลาเข้ารับรัฐการเป็นทหารประจำกองทัพเปรูเมื่อ พ.ศ. 2524 และได้รับยศพันโท ในช่วงที่เขาเป็นทหารนั้น เขามีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์ความขัดแย้งภายในเปรู และเคยร่วมรบในสงครามเซเนปาซึ่งเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศเอกวาดอร์กับประเทศเปรู ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 เขาพยายามกระทำรัฐประหารรัฐบาลของอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[3] ต่อมาเมื่อฟูฆิโมริหมดวาระ เขาจึงได้รับการนิรโทษกรรมและได้เข้ามารับรัฐการทหารอีกครั้ง

ใน พ.ศ. 2548 เขาเข้าสู้เส้นทางการเมืองและได้ก่อตั้งพรรคชาตินิยมเปรูและลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2549 แต่ได้แพ้อาร์ลัน การ์ซีอา ทว่านโยบายและการหาเสียงของเขากลับเป็นที่สนใจของนานาชาติเป็นอย่างมาก และถือเป็นความสำเร็จของการเมืองฝ่ายซ้ายในละตินอเมริกา ซึ่งเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2554 และได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง โดยสามารถเอาชนะเคคิโอ ฟูฆิโมริได้อย่างหวุดหวิด และดำรงตำแหน่งประธานาธิดีจนถึงปี พ.ศ 2559

ชัยชนะในการเลือกตั้งของเขาถูกมองว่ามีความเกี่ยวข้องกับนายทุน และมีความกังวลว่าเขาจะดำเนินนโยบายแบบอูโก ชาเบซซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลาและอาจดำเนินนโยบายแบบซ้ายจัดได้ ดังนั้นอูมาลาจึงเปลี่ยนจุดยืนทางการเมืองเป็นสายกลางเมื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[4] อย่างไรก็ดี ระหว่างเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นมีเรื่องอื้อฉาวและพบว่ามีการทุจริตทางการเมืองโดยเขาและภรรยาคือนาดีน เฮอร์เลเดีย[5][6] ทั้งนี้เขายังถูกวิจารณ์จากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากนโยบายการสร้างเหมืองแร่อีกด้วย โดยวิจารณ์ว่าเขาไม่ได้ทำตามสัญญาที่หาเสียงไว้ว่าจะดำเนินนโยบายควบคุมการทำเหมืองแร่ในเปรูรวมถึงบริษัทผู้สัมปทาน[7][8]

หลังพ้นตำแหน่งประธานาธิบดี ใน พ.ศ. 2560 เขาถูกทางการเปรูจับกุมข้อหาทุจริตทางการเมือง[9] ต่อมาอูมาลากลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปของเปรู พ.ศ. 2564 แต่เขาได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 1.5 และไม่ได้รับเลือกตั้ง[10][11]

อ้างอิง

  1. Cruz, Diego Sánchez dela (2014-07-06). "Ollanta Humala consolida el modelo liberal en Perú". Libre Mercado (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  2. Staff, Reuters (2013-10-30). "Peru's Humala reshuffling Cabinet in investor-friendly move". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  3. Peru.com, Redacción (2012-10-04). "Ollanta Humala recibió perdón del Congreso por levantamiento en Locumba". Peru.com (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  4. Staff, Reuters (2011-07-21). "Leftist Humala picks centrists for Peru Cabinet". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  5. "First lady drags Peru's President to new public approval low". Perú Reports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  6. "The Prosecutor Investigating Peru's Powerful First Lady Has Been Fired". www.vice.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  7. Staff, Reuters (2016-07-27). "Anti-mining politician freed from jail in Peru slams government". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  8. "Peru: Humala Submits to the United States and the Mining Industry". NACLA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-16.
  9. McDonnell, Adriana Leon and Patrick J. "Another former Peruvian president is sent to jail, this time as part of growing corruption scandal". latimes.com.
  10. PERÚ, NOTICIAS EL COMERCIO (2021-04-14). "Conteo rápido Ipsos al 100% de Elecciones 2021: Pedro Castillo y Keiko Fujimori disputarían segunda vuelta de Elecciones Generales de Perú del 2021 | Perú Libre | Fuerza Popular | Ganadores | Lima | Callao | Departamentos | Regiones | presidente | congresistas | Resultados Elecciones 2021 | pandemia Covid-19 | Presidente del Perú | Congreso | Parlamento Andino | | ELECCIONES-2021". El Comercio Perú (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.
  11. CORREO, NOTICIAS (2021-04-12). "Flash electoral | Ipsos resultados boca de urna | Conteo rápido | Elecciones generales de Perú de 2021 | ganadores segunda vuelta | Candidatos presidenciales | PERU". Correo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-23.

พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์

พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาเฮียร์ ชาห์
พระมหากษัตริย์แห่งอัฟกานิสถาน
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ใน พ.ศ. 2506
พระมหากษัตริย์แห่งอัฟกานิสถาน
ครองราชย์8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
ราชาภิเษก8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
ก่อนหน้าพระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์
ถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์(โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี)
ผู้นำราชวงศ์บารัคไซ
ครองราชย์8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าพระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์
ถัดไปอะห์หมัด ชาห์ ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน
ประสูติ15 ตุลาคม พ.ศ. 2467
คาบูล, เอมิเรตส์แห่งอัฟกานิสถาน
สวรรคต23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (82 ปี)
คาบูล, อัฟกานิสถาน
ฝังพระศพเขามารันจัน
คู่อภิเษกฮูมาลีอะฮ์ เบกุม
พระราชบุตร8 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์บารัคไซ
พระราชบิดาพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์
พระราชมารดามาร์ ปะวาห์ เบกุม
ศาสนาศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาเฮียร์ ชาห์ (15 ตุลาคม พ.ศ. 2467 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จนกระทั่งทรงสละราชสมบัติในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516[1] ในรัชสมัยของพระองค์มีการเจริญความสัมพันธไมตรีกับหลายนานาชาติ และสานสัมพันธไมตรีกับประเทศในสงครามเย็นทั้งสองฝ่าย[2] ในรัชสมัยของพระองค์มีการพัฒนาชาติให้ทันสมัยและเจริญรุ่งเรือง และได้ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รัชสมัยของพระองค์คือสัญลักษณ์ของความสงบสุขของอัฟกานิสถานก่อนที่จะถูกปฏิวัติ[3]

ระหว่างที่พระองค์เสด็จเยือนประเทศอิตาลี พระองค์ถูกล้มล้างราชวงศ์จากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งนำโดยพระญาติของพระองค์คือ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน และเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ[4] พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงโรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 พระองคืก็ได้เสด็จกลับประเทศอัฟกานิสถานหลังจากสิ้นสุดการปกครองของตาลีบัน พระองค์ถูกขนานนามว่าบิดาแห่งอัฟกานิสถาน และดำรงสถานะดังกล่าวจนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2550[5]

พระชนม์ชีพช่วงต้น

พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2467 ที่กรุงคาบูล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ และมาร์ ปะวาห์ เบกุม พระองค์ทรงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนฮาบิเบีย และจากนั้นก็สึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอะมานียะฮ์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมิซเตกีร์[6]) ต่อมาพระองค์ทรงศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารในฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ถูกส่งไปที่ฝรั่งเศสเพื่ออบรมหลักสูตรเพิ่มเติม จากนั้นพระองค์จึงศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งบิดาของพระองค์ประทับที่นั่น โดยศึกษาที่สถาบันปาสเตอร์ มหาวิทยาลัยมงต์แปลิเออร์[7]

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอัฟกานิสถาน

หลังพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ถูกลอบปลงพระชนม์ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ขณะที่ยังทรงพระชนมายุได้ 19 พรรษา พระองค์มิได้ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศตั้งแต่เริ่ม โดยอำนาจอยู่ที่พระปิตุลาของพระองค์คือ โมฮัมหมัด นาซิน ข่านและชาห์ มามูด ข่าน ซึ่งทั้งสองต่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติทั่วโลก และได้เข้าร่วมองค์การสันนิบาตชาติซึ่งได้รับการยอมรับจากสหรัฐ[8] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1930 อัฟกานิสถานได้บรรลุข้อตกลงจากหลายนานาชาติในการได้รับความช่วยเหลือและค้าขายกับนานาประเทศ โดยเฉพาะย่างยิ่งกับฝ่ายอักษะ ซึ่งนำโดยนาซีเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น[9]

แม้จะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายอักษะ แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองโดยวางตัวเป็นกลาง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อัฟกานิสถานก็เกิดเหตุชุลมุนวุ่นวายและเกิดวิกฤตการณ์การเมืองอย่างตึงเครียด พระองค์จึงทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยขึ้น[10] แต่การพัฒนาประเทศนั้นก็หยุดชะงักลงอย่างต่อเนื่องอันมาจากลัทธิฝักใฝ่ฝ่านต่างๆ และความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสงครามเย็น[11] ทั้งนี้พระองค์ยังเคยทรงขอความช่วยเหลือจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต และอัฟกานิสถานเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่ายในสงครามเย็น[12] พระองค์ทรงตรัสว่าแม้ท่านจะไม่ใช่ทุนนิยม แต่ก็มิได้ต้องการเป็นสังคมนิยมแต่อย่างใด เนื่องจากมิทรงต้องการให้อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและประเทศจีนหรือประเทศใดๆ ก็ตาม[13]

พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มตัวใน พ.ศ. 2506 แม้จะเกิดความขัดแย้งทางการเมือง แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถานได้ถูกนำมาใช้ใน พ.ศ. 2507 ซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา และมีการเลือกตั้ง และยังให้สิทธิสตรีอีกด้วยซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ด้วยระบอบการปกครองที่ไม่เสถียร ประกอบกับการปฏิรูปประเทศที่ล้มเหลวของพระองค์ หลายฝ่ายจึงมองว่านี่คืออีกสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในประเทศขึ้นมาในปี พ.ศ. 2516 และยังถูกปฏิวัติซ้ำเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2519[14]

หลังการล้มล้างราชวงศ์ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีเป็นเวลาหลายปี และหลังจากอัฟกานิสถานสิ้นสุดการปกครองโดยตาลีบัน 4 เดือน พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่อัฟกานิสถานในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยประทับบนเครื่องบินของกองทัพอิตาลี และประธานาธิบดีฮามิด กาไบ ได้ไปรับเสด็จพระองค์ที่สนามบินกรุงคาบูล[15] พระองค์ยังทรงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวอัฟกัน และพระองค์ยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศ[16][17] โดยผู้แทนส่วนมากในสภาโลยา เจอร์กา ต่างเสนอให้มีการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่[18] ทว่าพระองค์กลับมิทรงปรารถนาที่จะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ขึ้นมาอีก[19]

สวรรคต

ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ เสด็จสวรรคตที่พระตำหนักบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีอัฟกานิสถานหลังจากทรงพระประชวรมาเป็นเวลายาวนาน[20] โดยการสวรรคตของพระองค์ถูกแถลงการณ์โดยประธานาธิบดีฮามิด กาไบ[21] โดยเขากล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นผู้รับใช้ประชาชน ทรงเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในการปกครองที่ยึดตามหลักสิทธิมนุษยชน"[22] พิธีพระบรมศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ที่สุสานหลวงบนเนินเขามะรันจัน ทางทิศตะวันออกของกรุงคาบูล[23]

พระบรมราชอิสรริยศ

พระยศของ
โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน
Reference styleฮิสมาเจสตี
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ขณะพระองค์ทรงครองราชย์ทรงดำรงพระบรมราชอิสรริยศเป็น ฮิสมาเจสตี โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน.[24]

อ้างอิง

  1. "Profile: Ex-king Zahir Shah". 1 October 2001 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
  2. *C-SPAN: Afghan King & Queen 1963 Visit to U.S. Reel America Preview (official U.S. government video; public domain).
  3. Judah, Tim (23 September 2001). "Profile: Mohamed Zahir Shah" – โดยทาง www.theguardian.com.
  4. "State funeral for Afghanistan's former President". UNAMA. 19 March 2009.
  5. Encyclopædia Britannica, "Mohammad Zahir Shah"
  6. "Lycee Esteqlal". World News.
  7. "Mohammad Zahir Shah, 92, Last King of Afghanistan". The New York Sun.
  8. Jentleson, Bruce W.; Paterson, Thomas G. (1997). "Encyclopedia of U.S. foreign relations". The American Journal of International Law. Oxford University Press: 24. ISBN 0-19-511055-2.
  9. Dupree, Louis: Afghanistan, pages 477–478. Princeton University Press, 1980
  10. "Profile: Ex-king Zahir Shah". BBC. 1 October 2001. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
  11. Judah, Tim (23 September 2001). "Profile: Mohamed Zahir Shah". The Observer. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
  12. Steyn, Mark (6 October 2001). "The man who would be king, if you don't mind". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  13. "Before Taliban". publishing.cdlib.org. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  14. "The Letter From the Afghan King" – โดยทาง www.washingtonpost.com.
  15. "April 18, 2002: Zahir Shah returns to Afghanistan after 29-year exile". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  16. "Afghanistan: Afghans Welcome Former King's Return". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  17. "No ordinary homecoming". BBC News. 17 April 2002. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  18. Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  19. Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  20. Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  21. Barry Bearak, "Former King of Afghanistan Dies at 92", The New York Times, 23 July 2007.
  22. AP Archive (21 July 2015). "President Karzai announcing death of King Zahir Shah". สืบค้นเมื่อ 8 March 2019 – โดยทาง YouTube.
  23. "Afghanistan's King Mohammad Zahir Shah Laid to Rest", Associated Press (Fox News), 24 July 2007.
  24. "Foreign Relations of the United States Diplomatic Papers, 1934, Europe, Near East and Africa, Volume II - Office of the Historian". history.state.gov.

หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550 หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อัฟกานิสถาน

มาร์กอส เปเรซ ฮิเมเนซ

มาร์กอส เปเรซ ฮิเมเนซ
ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา
ดำรงตำแหน่ง
2 ธันวาคม พ.ศ. 2495 – 23 มกราคม พ.ศ. 2501
รักษาการ: 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 – 19 เมษายน พ.ศ. 2496
ก่อนหน้าเยอรมัน ซูซาเลส ฟลาเมริช
ถัดไปวูล์ฟกัง ลาร์ราซาบัล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาร์กอส อีวานเกลิสตา เปเรซ ฮิเมเนซ

25 เมษายน พ.ศ. 2457
รัฐตาชีรา, ประเทศเวเนซุเอลา
เสียชีวิต20 กันยายน พ.ศ. 2544 (87 ปี)
อาร์โกเบนดัส, ประเทศสเปน
เชื้อชาติเวเนซุเอลา
คู่สมรสฟลอ แมเรีย ชาลบูธ
บุตร5
ศิษย์เก่าสถาบันเตรียมทหารแห่งเวเนซุเอลา
อาชีพนักการเมือง
วิชาชีพทหาร
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เวเนซุเอลา
สังกัดกองทัพเวเนซุเอลา
ประจำการ2474–2501
ยศ พลเอก

มาร์กอส อีวานเกลิสตา เปเรซ ฮิเมเนซ (สเปน: Marcos Evangelista Pérez Jiménez) เป็นผู้เผด็จการและอดีตประธานาธิบดีของประเทศเวเนซุเอลา เขาเข้าสู่อำนาจจากการรัฐประหารใน พ.ศ. 2491 เป็นผู้นำประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารใน พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2495 และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2501 โดยมีการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2492 ปรากฎว่าพรรคฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งจึงทำให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะและเปเรซได้กลับมาเป็นประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2496 และได้ยกเลิกรัฐธรมนูญเดิมและประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งให้อำนาจเผด็จการแก่เขา[1]

ภายใต้การปกครองของเปเรซนั้น เวเนซุเอลาเริ่มร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน ทำให้รายได้ทั้งหมดนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและโครงการต่างๆ ที่เขาได้สร้างขึ้น รวมถึงการสร้างถนน สะพาน สถานที่ราชการ และสถานที่สาธารณะเพิ่มขึ้นมาและกระจายได้ทั่วถึง ทั้งนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ภายในประเทศทั้งไฟฟ้า เหมืองแร่ โรงงานเหล็กและโรงงานต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว[2][3][4] ส่งผลให้สมัยของเปเรซนั้นเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี เปเรซถูกวิพากษ์วิจารณ์ในฐานะผู้เผด็จการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และเป็นผู้นำที่เผด็จการที่สุดในละตินอเมริกา[5] ทั้งนี้เขายังมีหน่วยตำรวจลับที่ชื่อ Dirección de Seguridad Nacional (DSN) ซึ่งเป็นหน่วยความมั่นคงของรัฐบาลได้จับผู้ที่วิจารณ์การบริหารงานของเขาและปราบปรามผู้ที่เห็นต่างจากเขา เพื่อพยายามรักษาอำนาจของเขาต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลของเปเรซได้ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเข้มข้นอีกด้วย[6][7]

หลังการประท้วงครั้งใหญ่ในเวเนซุเอลาที่ต้องการประชาธิปไตย เปเรซได้หมดอำนาจลงหลังจากการรัฐประหารในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2501[8][9] หลังจากนั้นเขาได้ลี้ภัยไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน ก่อนที่จะเดินทางไปลี้ภัยที่ไมอามี สหรัฐ และสุดท้ายเขาก็ได้ตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ที่ประเทศสเปนซึ่งขณะนั้นสเปนปกครองโดยฟรันซิสโก ฟรังโก และเขาก็ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศสเปนเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่อัลโกเบนดัส แคว้นมาดริด ประเทศสเปน ด้วยวัย 87 ปี[10]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

เปเรซเกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2457 ที่ มิเชเลนา รัฐตาชีรา เป็นบุตรของฆวน เปเรซ ซูตามันเต และอเดลา ฮิเมเนซ บิดาของเขาเป็นเกษตรกร ส่วนมารดาของเขาเป็นครู เขาเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนในบ้านเกิดของเขาและได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศโคลอมเบีย และใน พ.ศ. 2477 เขาได้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรของสถาบันเตรียมทหารแห่งเวเนซุเอลา โดยสอบได้ที่หนึ่งจากรุ่นเดียวกันกับเขา และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนทหารคอริลอส ประเทศเปรู

ชีวิตส่วนตัว

เขาสมรสกับฟลอ แมเรีย ชาลบูธ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ทั้งคู่มิธิดาด้วยกัน 5 คน[11]

รางวัลและเกียรติยศ

เขาได้รับอิสริยาภรณ์ลีเจียนออฟเมอริต จากรัฐบาลสหรัฐเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497[12][13]

อ้างอิง

  1. Hollis Micheal Tarver Denova, Julia C. Frederick (2005), The history of Venezuela, Greenwood Publishing Group. p357
  2. Martínez Castill, บ.ก. (มิถุนายน 2563). La intervención del Estado venezolano en la economía 1936-2016: alcances y límites (PDF). redalyc.org. ISBN 1315-2467. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite book}}: line feed character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 44 (help); ตรวจสอบค่า |isbn=: length (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Penélope, Plaza, บ.ก. (กันยายน 2551). La construcción de una nación bajo el Nuevo Ideal Nacional. Obras públicas, ideología y representación durante la dictadura de Pérez Jiménez (PDF). Universidad Central de Venezuela. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. Gerardo, Lucas, บ.ก. (กรกฎาคม 2551). Industralización contemporánea en Venezuela (PDF). UCAB. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "The Extradition of Marcos Perez Jimenez, 1959–63: Practical Precedent for Administrative Honesty?", Judith Ewell, Journal of Latin American Studies, 9, 2, 291–313, [1]
  6. Time, 23 August 1963, as cited in John Gunther, Inside South America, pp. 492–493
  7. Magallanes, Manuel Vicente (1873). Los partidos políticos en la evolución histórica venezolana. Mediterráneo.
  8. Holzer, Harold (2004). "Introduction". ใน Cuomo, Mario; Holzer, Harold (บ.ก.). Lincoln on Democracy. New York: Fordham University Press. p. xliv. ISBN 0823223450.
  9. Beyer, Rick (29 March 2011). "The Symphony That Helped Sink a Dictator". Astonish, Bewilder and Stupefy. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
  10. Marcos Perez Jimenez Dies at 87
  11. "Benevolent Dictator Finally Loses Post". The Wilmington News. Vol. 24 no. 9. Wilmington, North Carolina. AP. 23 January 1958. p. 26. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  12. Office of the Historian, บ.ก. (19 January 1955). "Progress Report by the Operations Coordinating Board to the National Security Council". FRUS.
  13. "Marcos Perez Jimenez – Legion of Merit". valor.militarytimes.com.

เอริช ฮ็อนเนคเคอร์

เอริช ฮ็อนเนคเคอร์
ฮ็อนเนคเคอร์ใน พ.ศ. 2519
เลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี
(เป็นประธานสภาแห่งรัฐในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2519)
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2532
ก่อนหน้าวัลเทอร์ อุลบริชท์
ถัดไปเอก็อน เคร็นทซ์
ประธานสภาแห่งรัฐเยอรมนีตะวันออก
ดำรงตำแหน่ง
29 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2532
ก่อนหน้าวิลลี ชโตฟ
ถัดไปเอก็อน เคร็นทซ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 สิงหาคม พ.ศ. 2455
จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (81 ปี)
ซานติอาโก, ประเทศชิลี
สาเหตุการเสียชีวิตมะเร็งตับ
เชื้อชาติEast German (until 1990); German (1990–1994)
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (2473–2489)
พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (2489–2532)
พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (2533–2537)
คู่สมรสลอตเต กรุนด์ (สมรส 2488; 2490)
อิดิธ บรูมัน (สมรส 2490; หย่า 2496)[1][2]
มาร์ก็อต ฮ็อนเนคเคอร์ (2496–2537)[3][4][a]
บุตรเอริกา (เกิด พ.ศ. 2493)
ซอนญา (เกิด พ.ศ. 2495)
วิชาชีพนักการเมือง
ลายมือชื่อ

เอริช ฮ็อนเนคเคอร์ (เยอรมัน: Erich Honecker; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2455 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537) เป็นอดีตประมุขแห่งรัฐของประเทศเยอรมนีตะวันออก ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2519 จนถึง พ.ศ. 2532 ก่อนจะเกิดการทลายกำแพงเบอร์ลิน เพียงเดือนเดียว เขาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี ก่อนจะได้รับเลือกเป็นประธานสภาแห่งรัฐแทนวิลลี ชโตฟใน พ.ศ. 2519 และดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออก เขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตซึ่งสนับสนุนกองทัพในประเทศและการมีอำนาจของเขา

เขาเริ่มต้นเส้นทางการเมืองในคริสต์ทศวรรษที่ 1930 โดยการเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี ทำให้เขาถูกพรรคนาซีกักขังเขาไว้[5] เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจึงได้รับอิสรภาพและเข้าสู่เส้นทางการเมืองอีกครั้ง และเขาได้ก่อตั้งองค์กรเยาวชนของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี มีชื่อว่า :en:Free German Youth ใน พ.ศ. 2489 และเป็นประธานองค์กรนี้จนถึง พ.ศ. 2498 และเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเลขานุการฝ่ายความมั่นคงของพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี เขามีส่วนสำคัญในการสร้างกำแพงเบอร์ลินใน พ.ศ. 2504 และยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการสั่งยิงผู้ที่พยายามหลบหนีออกจากประเทศหรือข้ามฝั่งไปตามแนวกำแพงและพรมแดนระหว่างเยอรมันตะวันออกและเยอรมนีตะวันตก

ใน พ.ศ. 2513 เขาได้แย่งชิงและแข่งขันอำนาจทางการเมืองกับวิลลี ชโตฟ[6] โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากเลโอนิด เบรจเนฟ[6] ซึ่งทำให้เขาได้รับตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐและเป็นประมุขแห่งเยอรมนีตะวันออกในเวลาต่อมา ภายใต้การปกครองของเขา เขาได้นำหลักการสังคมนิยมตลาดมาใช้และผลักดันเยอรมนีตะวันออกสู่ประชาคมโลกได้สำเร็จ[7] และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแห่งสหประชาชาติซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จในฐานะนักการเมืองและประมุขแห่งรัฐของเขา[8]

เมื่อความตึงเครียดในสงครามเย็นเริ่มคลายลงในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และมิฮาอิล กอร์บาชอฟได้ใช้นโยบายเปเรสตรอยคา-กลัสนอสต์ ฮอนเนคเคอร์ได้คัดค้านนโยบายนี้ยกเว้นการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปบางอย่างในระบบการเมืองภายในประเทศ[9] ต่อมาประชาชนในประเทศเยอรมนีตะวันออกได้ประท้วงรัฐบาลของเขา[10][11] เขาได้เรียกร้องให้สหภาพโซเวียตสนับสนุนการปราบปรามผู้เห็นต่างและผู้ที่ออกมาชุมนุมดังกล่าว[11] แต่มิฮาอิล กอร์บาชอฟปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุน[11][12] ต่อมาเขาถูกบังคับให้ลาออกจากประธานสภาแห่งรัฐโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2532 เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของรัฐบาล[13] แต่ได้ประสบความล้มเหลวและนำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออก และทั้งสองประเทศรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีจนถึงปัจจุบัน

หลังการรวมประเทศเยอรมนีใน พ.ศ. 2533 เขาพยายามหลบหนีออกนอกประเทศโดยทำเรื่องขอลี้ภัยที่สถานเอกอัครราชทูตชิลีในกรุงมอสโก[14] แต่เขาได้ถูกส่งตัวกลับประเทศเยอรมนี ใน พ.ศ. 2535 เพื่อรับการพิจารณาคดีเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสมัยที่เขายังเป็นประมุขแห่งรัฐ[15] แต่การดำเนินคดีดังกล่าวได้ยกเลิกเนื่องจากเขาป่วยเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย และเขาได้รับการปล่อยตัวไป เขาจึงลี้ภัยอยู่ในประเทศชิลีพร้อมครอบครัวของเขา และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 สิริอายุได้ 81 ปี[16]

หมายเหตุ

  1. บางข้อมูลกล่าวว่าสมรสใน พ.ศ. 2496

อ้างอิง

  1. "Honecker, Erich * 25.8.1912, † 29.5.1994 Generalsekretär des ZK der SED, Staatsratsvorsitzender". Bundesstiftung zur Aufarbeitung der SED-Diktatur (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
  2. "Erich Honecker 1912 – 1994". Lebendiges Museum Online (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
  3. "Honecker, Margot geb. Feist * 17.4.1927, † 6.5.2016 Ministerin für Volksbildung". Bundesstiftung zur Aufarbeitung der SED-Diktatur (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
  4. "Margot Honecker". Chronik der Wende (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 28 February 2017.
  5. Epstein, Catherine (2003). The Last Revolutionaries: German Communists and their century. Harvard University Press. p. 112.
  6. 6.0 6.1 Winkler, Heinrich August (2007). Germany: The Long Road West, Vol. 2: 1933–1990. Oxford University Press. pp. 266–268.
  7. Honecker, Erich (1984). "The GDR: A State of Peace and Socialism". Calvin College German Propaganda Archive.
  8. "Helsinki Final Act signed by 35 participating States". Organization for Security and Co-operation in Europe.
  9. Gedmin, Jeffrey (2003). The Hidden Hand: Gorbachev and the Collapse of East Germany. Harvard University Press. pp. 55–67.
  10. "The Opposition charges the SED with fraud in the local elections of May 1989 (May 25, 1989)". German History in Documents and Images.
  11. 11.0 11.1 11.2 Sebetsyen, Victor (2009). Revolution 1989: The Fall of the Soviet Empire. New York City: Pantheon Books. ISBN 978-0-375-42532-5.
  12. "Gorbachev in East Berlin". BBC News. 25 March 2009.
  13. "Plot to oust East German leader was fraught with risks". Chicago Tribune. 28 October 1990.
  14. การลี้ภัยครั้งสุดท้ายของ ‘เอริค โฮเน็กเกอร์’ อดีตผู้นำเยอรมนีตะวันออก
  15. "More Than 1,100 Berlin Wall Victims". Deutsche Welle. 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 8 August 2009.
  16. "Wo Honecker heimlich begraben wurde". Bild (ภาษาเยอรมัน). 25 August 2012.

เอียน สมิธ

เอียน ดักลาส สมิธ
สมิธใน พ.ศ. 2497
นายกรัฐมนตรีโรดีเซียคนที่ 8
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน พ.ศ. 2507 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2522
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร
ประธานาธิบดี
รองคลิฟฟอร์ด ดูพอนท์
จอหน์ วาร์เทิล
เดวิด สมิธ
ก่อนหน้าวินสตัน ฟิลด์
ถัดไปอาเบล มูซอเรวา (ซิมบับเวโรดีเซีย)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เอียน ดักลาส สมิธ

Selukweเซลุคเว, โรดีเซีย
เสียชีวิต20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (89 ปี)
เคปทาวน์, ประเทศแอฟริกาใต้
ที่ไว้ศพซูลุควิ, ซิมบับเว
พรรคการเมือง
คู่สมรสเจเน็ต สมิธ (สมรส 2491; 2537)
บุตร3
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโรโดส
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
  • โรดีเซีย
  • สหรัฐอาณาจักร
สังกัดกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
ประจำการ2484–2488
ยศเรืออากาศเอก
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

เอียน สมิธ (อังกฤษ: Ian Smith) เป็นนักการเมืองชาวโรดีเซียผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศโรดีเซีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2522 เขาคือผู้เรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักรในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2508 และเป็นนายกรัฐมนตรีหลังได้รับเอกราชเป็นเวลา 14 ปี เขายังเป็นผู้บัญชาการในสงครามบุช[1][2] ซึ่งทให้การบริหารของเขาขัดแย้งกับพวกกลุ่มคนผิวสี ปัจจุบันนี้บทบาทของเขายังเป็นที่ถกเถียงของเหล่านักวิชาการ ฝ่ายสนับสนุนมองว่าเขาเป็นคนที่มีคุณธรรมและเข้าใจปัญหาในภูมิภาคแอฟริกาเป็นอย่างดี ในขณะที่ฝ่านต่อต้านมองว่าเขาเป็นพวกเหยียดผิวสี[3]

เขาเกิดในครอบครัวผู้อพยนชาวอังกฤษในเมืองเซลุคเวในจังหวัดมิแลนด์แห่งเซาท์เทิร์นโรดีเซีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขารับราชการเป็นทหารอากาศในสังกัดกองทัพอากาศอังกฤษ และในเหตุการณ์นี้ทให้เขาได้รับบาดเจ็บที่ใบหน้าของเขา หลังพักฟื้นเขาได้ประจำการในยุโรป ก่อนที่เขาจะกลับมาทำเกษตรกรรมใน พ.ศ. 2491 และปีเดียวกันนั้นเขาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมืองเซลุคเว ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดด้วยวัย 29 ปี ต่อมาเขาเข้าร่วมกับพรรคสหภาพ (ยูเอฟพี) และตำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคใน พ.ศ. 2501 ก่อนที่เขาจะลาออกจากพรรคใน พ.ศ. 2504 เพื่อประท้วงคัดรัฐธรรมนูญแห่งโรดีเซีย ทำให้เขาได้ร่วมมือกับวินสตัน ฟีลด์ก่อตั้งพรรคโรดีเซียก้าวหน้าเพื่อเรียกร้องเอกราชจากสหราชอาณาจักร

เขาได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีหลังจากที่พรรคโรดีเซียก้าวหน้าชนะเลือกตั้งใน พ.ศ. 2505 และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2507 หลังการลาออกของฟิลด์ แต่ยังไม่ได้รับเอกราช จนกระทั่งสมิธเจรจากับฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ณ ขณะนั้น ทำให้ได้รับเอกราชในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 แต่รัฐบาลของสมิธต้องประสบปัญหาจากการที่ถูกองค์การสหประชาชาติคว่ำบาต แต่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากประเทศแอฟริกาใต้และประเทศโปรตุเกส และเขาประกาศให้โรดีเซียเป็นสาธารณรัฐใน พ.ศ. 2513 หลังสงครามบุชใน พ.ศ. 2515 รัฐบาลของเขาได้เจรจากับกลุ่มชาตินิยมที่นำโดยบิชอป อาเบล มูโซเรวา กับกองกำลังผิวสีที่นำโดยโจชัว เอ็นโคโมและรอเบิร์ต มูกาบี

ใน พ.ศ. 2541 เขาและขบวนการชาตินิยมรวมถึงกองกำลังผิวสีภายในประเทศได้ลงนามข้อตกลงภายใน ทำให้โรดีเซียกลายเป็นโรดีเซียซิมบับเวและสมิธพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลายเป็นประเทศซิมบับเวโดยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2523 พร้อมกับการขึ้นสู่อำนาจของมูกาบี สมิธเป็นผู้นำฝ่ายค้านของรัฐบาลมูกาบีในช่วงเจ็ดปีแรกที่เขาดำรงตำแหน่ง[4] เขาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลมูกาบี เขาอยู่ในซิมบับเวจนกระทั่ง พ.ศ. 2548 เขาได้ย้ายไปอยู่เคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้[5][6] และถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สิริอายุได้ 88 ปี[6][7]

อ้างอิง

  1. Tamarkin 1990, p. 14.
  2. "APF newsletter, "Appraisal of Rhodesia in 1975"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2009.
  3. BBC 2007.
  4. Meredith 2007, p. 55.
  5. Bevan 2007; Boynton 2007; Cowell & 2007 b; Johnson 2007; Meredith 2007, p. 17; The Times 2007; The Week 2007.
  6. 6.0 6.1 Blair & Thornycroft 2007.
  7. Cowell & 2007 b.

เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยาโรสลาฟ เดอะ ไวส์ (en:Order of Prince Yaroslav the Wise)

เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยาโรสลาฟ เดอะ ไวส์
ประเภทอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนา23 สิงหาคม พ.ศ. 2538
ประเทศ ยูเครน
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับชาวยูเครนและชาวต่างประเทศ
มอบเพื่อผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศยูเครน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ การแพทย์ และคุณความดีอื่นๆ ต่อสาธารณชน
สถานะยังมีการมอบ
ประธานประธานาธิบดียูเครน
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพ
รองมาเครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณ (ประเทศยูเครน)

เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยาโรสลาฟ เดอะ ไวส์ (ยูเครน: Орден князя Ярослава Мудрого, อังกฤษ: Order of Prince Yaroslav the Wise) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศยูเครน[1] มอบให้กับผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศยูเครนทั้งชาวยูเครนและชาวต่างประเทศ ทั้งด้านการพัฒนา เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปะ การสาธารณสุข และคุณงามความดีอื่นๆ ต่อสาธารณะชน เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โดยเลโอนิด คุชมา ประธานาธิบดียูเครน ณ ขณะนั้น[2]

นับตั้งแต่สร้างเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ขึ้นมา เครื่องอิสริยาภรณ์นี้จัดเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศยูเครนที่ชาวยูเครนพึงจะได้รับ รวมถึงชาวต่างประเทศและบุคคลไร้สัญชาติ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2541 มีการสร้างอิสริยาภรณ์วีรชนแห่งยูเครนขึ้นมาสำหรับชาวยูเครน เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ยังเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดสำหรับชาวต่างประเทศและบุคคลไร้สัญขาติ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2548 เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของยูเครนได้ถูกแทนที่ด้วยเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพ

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกออกแบบโดยประติมากรและคณาจารย์แห่งสถาบันวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรมแห่งชาติวาเรลี ชเวดซอฟ[3] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้นห้าชั้น แพรแถบมีลักษณะเป็นสีฟ้าและมีแถบสีเหลืองขนาบทั้งสองข้าง[4]

ลำดับชั้นและลักษณะของอิสริยาภรณ์

ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ชั้นที่ 5
ดวงตรา
ดารา
แพรแถบ

สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. "Указ Президента №766/95 от 23.08.1995, Відзнака Президента України "Орден князя Ярослава Мудрого"". search.ligazakon.ua. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  2. "Указ Президента №766/95 от 23.08.1995, Про заснування відзнаки Президента України "Орден князя Ярослава Мудрого"". search.ligazakon.ua. สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  3. "Кафедра скульптури". web.archive.org. 2014-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-05-01.
  4. "УКАЗ ПРЕЗИДЕНТА УКРАЇНИ №766/95". Офіційне інтернет-представництво Президента України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 16 October 2020.
  5. Peter Orsi (24 February 2013). "Cuba's Raul Castro announces retirement in 5 years". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ 6 April 2013.
  6. Указ Президента Украины от 2 сентября 1998 года № 965/98 "О награждении знаком отличия Президента Украины «Орден князя Ярослава Мудрого»
  7. "Kungens ordensinnehav". Sveriges Kungahus [Swedish Royal Court] (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 30 January 2017.
  8. Order of Prince Yaroslav the Wise, zakon1.rada.gov.ua; accessed 7 April 2016.(ในภาษายูเครน)
  9. "Poroshenko presents awards to Tusk and Juncker". Ukrinform. 14 May 2019.
  10. Сапармурат Ниязов провел в Москве ряд двусторонних встреч | Интернет-газета Turkmenistan.Ru
  11. (ในภาษายูเครน) Zelensky awarded the President of Turkey a state order, Ukrayinska Pravda (16 October 2020)

แหล่งข้อมูลอื่น

ธันวา ราศีธนู

ธันวา ราศีธนู
เกิด13 ธันวาคม พ.ศ. 2513
อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
เสียชีวิต8 กันยายน พ.ศ. 2564 (50 ปี)
โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพมหานคร
แนวเพลงเพลงลูกทุ่ง  · เพื่อชีวิต  · ร็อก
อาชีพนักร้อง  · นักดนตรี  · นักแต่งเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2544 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงไลท์มีเดียบางกอก
อาร์สยาม

ธันวา ราศีธนู (13 ธันวาคม พ.ศ. 2513 – 8 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นนักร้องลูกทุ่งและเพื่อชีวิตชายชาวไทย และเป็นศิลปินในสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเป็นที่รู้จักของผู้ฟังจำนวนมาก อาทิ ไก่ตาฟาง, กิ้งก่าทอง, กบเฒ่า, 11 ร.ด. เป็นต้น

ประวัติ

ธันวาเกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ที่อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดหนองบัวลำภู)[1] เขาเป็นคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน มารดาของเขาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เป็นเหตุให้เขาจบการศึกษาแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป เขาจึงไปทำงานเป็นเด็กท้ายรถสายศรีบุญเรือง - ขอนแก่น เป็นเวลา 2 ปี[1] ต่อมาบิดาของเขาได้ไปมีภรรยาใหม่ เขาและพี่น้องได้ย้ายไปอาศัยอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์ตามบิดา แต่เขาไม่สามารถเข้ากับครอบครัวใหม่ของบิดาได้ เขาจึงตัดสินใจเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อสู้ชีวิตและเดินตามความฝัน[1] เขาไปทำงานเป็นลูกจ้างทัาวไป จนกระทั่งเขาได้พบกับเพื่อนเก่าที่เคยเป็นนักดนตรี เขาและเพื่อนจึงร่วมก่อตั้งวงทานตะวันขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกวงต่างแยกย้ายกันไป ส่วนเขานั้นยังคงเดินตามฝันในฐานะอาชีพนักร้องและนักดนตรี[1]

วงการบันเทิง

เขาออกผลงานสตูดิโออัลบั้มถึง 3 ชุด โดยใน พ.ศ. 2544 เขาได้ออกอัลบั้มชุด แผ่ราศี มีเพลง หัวอกแม่ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมารดาของเขา หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2545 เขาได้ออกอัลบั้ม นักสู้ของแม่ และ พ.ศ. 2547 ได้ออกอัลบั้ม วันที่ฉันรอ จัดจำหน่ายโดยไลท์มีเดียบางกอก

พ.ศ. 2549 เขาประสบความสำเร็จจากผลงานเพลง ไก่ตาฟาง[2] โดยได้รับความนิยมจากทางภาคใต้มาก่อน จนกระทั่งสถานีวิทยุลูกทุ่งมหานครได้เปิดเพลงดังกล่าว[3] ทำให้เพลงของเขาเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน[1][4]

ต่อมาเขาได้เป็นศิลปินสังกัดอาร์สยาม มีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักเป็นจำนวนมาก อาทิ กิ้งก่าทอง, ฉันไม่ใช่ยกทรง, ลาโง่, กบเฒ่า, ปลาไหล, 11 ร.ด., ควาย เป็นต้น[1][4] นอกจากนี้ เขาได้ร่วมมือกับพี่สาวเปิดธุรกิจเย็นตาโฟที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อ พ.ศ. 2560[5][6]

บั้นปลายชีวิตและลาลับ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เขาได้ติดเชื้อโรคโควิด-19 และถึงแก่กรรมในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564 สิริอายุได้ 51 ปี[7][8][4] โดยการเสียชีวิตของเขานั้นมีคนในวงการรวมถึงแฟนเพลงร่วมแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก อาทิ บ่าววี[9][10], ภัควรรธน์ ลีละเมฆินทร์[10] มีพิธีฌาปนกิจศพในวันเดียวกันที่วัดท่าซุงทักษินาราม อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[11][12]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 เปิดประวัติ ธันวา ราศีธนู นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เจ้าของสร้างชื่อ ไก่ตาฟาง
  2. เปิดประวัติ “ธันวา ราศีธนู” นักร้องสู้ชีวิต ทำเพลง “ไก่ตาฟาง”พลิกโด่งดังชั่วข้ามคืน
  3. กว่าจะมีวันนี้ "ธันวา ศรีธนู" คนดังที่จากไปเพราะโควิด
  4. 4.0 4.1 4.2 สิ้น ‘ธันวา ราศีธนู’ เจ้าของบทเพลงไก่ตาฟาง ติดโควิด-19 เสียชีวิตในวัย 51 ปี
  5. เปิดสูตร เด็ด เย็นตาโฟ ‘ ธันวา ราศีธนู’ เล็งขยายแฟรนไชส์ขึ้นห้าง
  6. ลูกทุ่งเพื่อชีวิต “ธันวา” หันมาขายเย็นตาโฟ
  7. ด่วน นักร้องดัง ธันวา ราศีธนู ติดโควิดเสียชีวิต
  8. ช็อกวงการ “ธันวา ราศีธนู” เจ้าของเพลงดัง “ไก่ตาฟาง” เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19!
  9. บ่าววี กล่าวคำอำลา ธันวา ราศีธนู ครั้งสุดท้าย ยกเป็น ต้นแบบนักร้องยุคเพลงใต้ดิน
  10. 10.0 10.1 สุดเศร้าอาลัย ธันวา ราศีธนู เจ้าของเพลงดัง ไก่ตาฟาง เสียชีวิตแล้ว
  11. ประมวลภาพพิธีฌาปนกิจ "ธันวา ราศีธนู" หลังเสียชีวิตจากโควิด-19
  12. พิธีฌาปนกิจ “ธันวา ราศีธนู” ครอบครัว คนสนิท ร่วมส่งครั้งสุดท้าย

หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564 หมวดหมู่:นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย หมวดหมู่:นักดนตรีเพื่อชีวิต หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดอาร์เอส หมวดหมู่:ศิลปินสังกัดอาร์สยาม หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดหนองบัวลำภู หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย


เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก
ประเภทอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2291
ประเทศ สวีเดน
ผู้สมควรได้รับผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศสวีเดนทั้งชาวสวีเดนและชาวต่างประเทศ
สถานะยังมีการมอบ
ประธานพระมหากษัตริย์สวีเดน
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ
รองมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก (สวีเดน: Nordstjärneorden, อังกฤษ: Order of the Polar Star) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศสวีเดน[1] สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2291 โดยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งสวีเดน ซึ่งสร้างมาพร้อมกันกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มอบให้กับชาวสวีเดนและชาวต่างประเทศที่อุทิศให้กับวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม การศึกษา และการกระทำคุณความดีอื่นๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อประเทศวสีเดนและชาวสวีเดน ซึ่งมอบให้กับชาวสวีเดนมาจนกระทั่ง พ.ศ. 2518 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มิได้มอบให้กับชาวสวีเดน แต่มอบให้กับชาวต่างประเทศเสียส่วนใหญ่[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกราชวงศ์ หรือบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ (อาทิ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี) และมอบให้กับสมาชิกราชวงศ์ของสวีเดนที่ไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม[3] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 รัฐสภาสวีเดนได้มีมติแก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสวีเดนใหม่ และนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มามอบให้แก่ชาวสวีเดนอีกครั้ง[4]

คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คือ "เนสคิตออกัสซึม" เดิมมีทั้งสิ้น 4 ชั้น และใช้แพรแถบแบบสีดำ จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนมาใช้แพรแถบสีฟ้าขนาบด้วยแถบสีเหลืองทั้งสองข้างซึ่งเป็นสีของธงชาติประเทศสวีเดนและเพิ่มขึ้นมาเป็น 5 ชั้น

ลำดับชั้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 5 ชั้น ได้แก่[2]

  • ชั้นประถมาภรณ์ (KmstkNO)
  • ชั้นทวีตริตาภรณ์ (KNO1kl)
  • ชั้นตริตาภรณ์ (KNO)
  • ชั้นจตุรถาภรณ์ (RNO1kl)
  • ชั้นเบญจมาภรณ์หรือชั้นสมาชิก (RNO1kl)
แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (พ.ศ. 2291 - พ.ศ. 2518)
จัตุรถาภรณ์
ตริตาภรณ์
ทวีตริตาภรณ์
ประถมาภรณ์
แพรแถบย่อเครื่องอิสริยาภรณ์ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518)
เบญจมาภรณ์หรือชั้นสมาชิก
จัตุรถาภรณ์
ตริตาภรณ์
ทวีตริตาภรณ์
ประถมาภรณ์

สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. De svenska riddarordnarna, Jonas Arnell.
  2. 2.0 2.1 http://www.arnell.cc/fortjanstordnar.htm
  3. "Принц Даниэль Шведский с орденом Полярной звезды. Октябрь 2013 г." สืบค้นเมื่อ 2013-10-29. {{cite web}}: no-break space character ใน |title= ที่ตำแหน่ง 63 (help)
  4. "Dir. 2019:76 Kommittédirektiv Det offentliga belöningssystemet, de allmänna flaggdagarna och utformningen av anslaget till hovet" (PDF) (ภาษาสวาฮีลี). Government of Sweden. 7 November 2019. สืบค้นเมื่อ 13 April 2021.
  5. "MAHATHIR". Ray Azrul. Scribd. 18 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2019.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ หน้า ๔ ข หน้า ๕, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป

เครื่องราชอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป
ประเภทอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาพ.ศ. 2518
ประเทศ แอฟริกาใต้
แพรแถบ
ผู้สมควรได้รับชาวต่างประเทศ
มอบเพื่อผู้ที่กระทำคุณประโยชน์และผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศแอฟริกาใต้
สถานะยกเลิกการมอบ
ประธานประธานาธิบดีแอฟริกาใต้
ล้มเลิกพ.ศ. 2545
สถิติการมอบ
รายแรกพ.ศ. 2516
รายล่าสุดพ.ศ. 2545
ทั้งหมด11,000 คน

เครื่องอิสริยาภรณ์กู๊ดโฮป (อังกฤษ: Order of Good Hope) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ในอดีตของประเทศแอฟริกาใต้ เครื่องอิสริยาภรณ์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลฝ่ายสาธารณรัฐของแอฟริกาใต้ใน พ.ศ. 2516[1] มอบให้กับผู้ที่กระทำคุณประโยชน์และผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศแอฟริกาใต้

ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลาได้ปรับเปลี่ยนการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ใหม่[2] อย่างไรก็ดี รัฐบาลแอฟริกาใต้เห็นว่าเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เป็นมรดกจากรัฐบาลคนผิวขาวและการเหยียดสีผิว ทั้งนี้ ลักษณะของเครื่องอิสริยาภรณ์ยังมีลักษณะเช่นเดียวกันกับเครื่องอิสริยาภรณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในทวีปยุโรป จึงมีการสร้างเครื่องอิสริยาภรณ์ โอ. อาร์. แทมโบขึ้นมาแทนที่ และยกเลิกการมอบเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ไปตั้งแต่ พ.ศ. 2545 มีผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ประมาณ 11,000 คน

ลำดับชั้นของเครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มักจะมอบให้แก่ชาวต่างประเทศที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกระทำคุณความดีอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งใน พ.ศ. 2516-2531 เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีลำดับชั้นทั้งสิ้น 5 ชั้น ได้แก่[3]

  • ชั้นสายสร้อย - มอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐ
  • ชั้นประถมาภรณ์ - มอบให้แก่หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติ เอกอัครราชทูต ผู้บัญชาการทหาร ฯลฯ
  • ชั้นทุติยาภรณ์ - มอบให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติ ทูต นายทหารอาวุโส ฯลฯ
  • ชั้นตริตาภรณ์ - มอบให้แก่อุปทูต เจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ ทหารและตำรวจชั้นนายพัน ฯลฯ
  • ชั้นจัตุรถาภรณ์ - มอบให้แก่เจ้าหน้าที่กงสุล ทหารชั้นต่ำกว่านายพัน ฯลฯ

ต่อมาใน พ.ศ. 2531 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • ชั้นประถมาภรณ์ - มอบให้แก่ประมุขแห่งรัฐ และหัวหน้ารัฐบาล
  • ชั้นทุติยาภรณ์ - มอบให้แก่หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ประธานสภานิติบัญญัติ เลขาธิการแห่งรัฐ เอกอัครราชทูต ผู้บัญชาการทหาร ฯลฯ
  • ชั้นตริตาภรณ์ - มอบให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติ ทูต นายทหารอาวุโส ฯลฯ
  • ชั้นจัตุรถาภรณ์ - มอบให้แก่อุปทูต เจ้าหน้าที่กงสุลใหญ่ ทหารและตำรวจชั้นนายพัน ฯลฯ
  • ชั้นเบญจมาภรณ์ - มอบให้แก่เจ้าหน้าที่กงสุล ทหารชั้นต่ำกว่านายพัน ฯลฯ

แพรแถบย่อของเครื่องอิสริยาภรณ์นี้เป็นแพรแถบสีเขียว มีแถบสีเหลืองขนาบทั้งสองข้าง

สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. "ODM of South Africa: Order of Good Hope". 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  2. Deon Fourie: «South Africa: The Order of Good Hope», Diplomacy and Statecraft, bd. 18, 2007, s. 445–466
  3. "South African civil honours 1967-2002". 2014-03-15. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  4. 4.0 4.1 4.2 1996 National Orders awards เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 5.2 1997 National Orders awards
  6. 6.0 6.1 6.2 1995 National Orders awards เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. 7.0 7.1 7.2 1998 National Orders awards เก็บถาวร 2011-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. 8.0 8.1 1999 National Orders awards เก็บถาวร 2012-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

เอ็ด แอสเนอร์

เอ็ด แอสเนอร์
แอสเนอร์ใน พ.ศ. 2520
เกิดเอ็ดดี แอสเนอร์
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472
แคนซัสซิตี (รัฐมิสซูรี), สหรัฐ
เสียชีวิต29 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (91 ปี)
ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ
การศึกษามหาวิทยาลัยชิคาโก
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2490–2564
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรส
  • แนนซี สไกส์ (2502–2531)
  • ซินดี กีร์มอส์ (2541–2558)
บุตร4 คน
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหรัฐ
แผนก/สังกัด กองทัพสหรัฐ
ประจำการพ.ศ. 2494–2496

เอ็ด แอสเนอร์ (อังกฤษ: Ed Asner); 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564) เป็นนักแสดงชาวอเมริกันและเป็นอดีตประธานสมาคมนักแสดงอาชีพแห่งอเมริกา เขามีชื่อเสียงจากบทบาท ลู แกรน ในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง เดอะแมรีไทเลอร์มัวร์โชว์ ที่ออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2513 – 2520 และต่อมาก็แยกออกมาเป็นซีรีส์เรื่อง ลูแกรน ซึ่งได้รับความนิยมเช่นกัน ซึ่งบทบาทดังกล่าวทำให้เขาได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอ็มมีอวอร์ดส์ถึง 3 รางวัล ในฐานะนักแสดงสมทบจากเรื่องเดอะแมรีไทเลอร์มัวร์โชว์ และนักแสดงหลักจากเรื่องลูแกรน และยังได้รับรางวัลดังกล่าวจากบทบาทของเขาในละครโทรทัศน์เรื่อง ริชแมน พูร์แมน ใน พ.ศ. 2519 และ รูท ใน พ.ศ. 2520 โดยได้รับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[1]

นอกจากนี้ เขายังรับบทเป็นจอห์น ไวเนอร์ จากภาพยนตร์เรื่อง เอลเดอราโด และยังรับบทเป็นซานตาคลอสในภาพยนตร์หลายเรื่อง อาทิ ปาฏิหาริย์เทวดาตัวบิ๊ก ใน พ.ศ. 2556[2] และมีชื่อเสียงอีกครั้งจากการให้เสียงพากย์เป็น คาร์ล เฟรดิกเซน จากภาพยนตร์แอนิเมชัน ปู่ซ่าบ้าพลัง ใน พ.ศ. 2552[3][4] นอกจากนี้ เขายังมีผลงานการแสดงอีกเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

แอสเนอร์เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472[5] ที่แคนซัสซิตี รัฐมิสซูรี[6][7] และเติบโตที่แคนซัสซิตี รัฐแคนซัส เขาเป็นชาวยิวอัชเคนาซิ เป็นบุตรของลิซซี่และมอริส อัสเนอร์[8][9] เขานับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอด็อกซ์ และมีชื่อในภาษาฮิบรูว่า ยิตซัค[10][11]

เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวายันด็อตเต และคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิคาโก จากนั้นเขาไปทำงานที่โรงถลุงเหล็ก[12] และเขาได้เริ่มต้นการเป็นนักแสดงจากละครของโทมัส เอเลียต ซึ่งเขาได้รับบทเป็นทอมัส แบ็กกิต จากนั้นเขาจึงลาออกจากมหาวิทยาลัยและได้ไปทำงานเป็นคนขับแท็กซี่ และทำงานหาเงินหลายงานจนกระทั่งเขาถูกเกณฑ์ทหารใน พ.ศ. 2494[13] และเขาได้ไปประจำการที่กองทัพสหรัฐ จนกระทั่ง พ.ศ. 2496 เขาได้ถูกปลดประจำการ[14][15]

วงการบันเทิง

หลังจากรับราชการทหาร เขาได้ก่อตั้งเพลย์ไรท์เธียเตอร์ บริษัทด้านวงการบันเทิงของเขาที่ชิคาโก หลังจากนั้นเขาและสมาชิกในบริษัทได้ไปที่นิวยอร์กและรวมกันในฐานะ คอมแพสเพลย์เออร์[16] เขาได้ร่วมแสดงและมีส่วนร่วมในละครเวทีเรื่อง คอมแพส เดอะเซเคิร์นซิตี[17] ก่อนที่เขาจะกลายมาเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ใน พ.ศ. 2500 โดยเริ่มแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง สตูดิโอ วัน[1] และเขามีผลงานแสดงเรื่อยมาจนกระทั่งมีชื่อเสียงจากบทบาท ลู แกรน ในภาพยนตร์ซีรีส์เรื่อง เดอะแมรีไทเลอร์มัวร์โชว์[18]

ลาลับ

เขาเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านของเขาที่ทาร์ซานา ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยวัย 91 ปี[19][20][21]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Ed Asner Fast Facts". CNN. November 7, 2016. สืบค้นเมื่อ July 6, 2017.
  2. "Ed Asner's Santa Complex". TV Guide. October 30, 2003. สืบค้นเมื่อ June 28, 2019.
  3. เจ้าของเสียงพากย์คุณปู่คาร์ลแห่งหนัง Up “เอ็ด แอสเนอร์” เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 91 ปี
  4. เอ็ด แอสเนอร์ ” ปู่ซ่าบ้าพลัง ” ในหนังแอนิเมชั่น “Up” เสียชีวิตในวัย 91 ปี
  5. Asner, Ed [@TheOnlyEdAsner] (August 31, 2019). "It's actually not. That is a strange mistake that floats out there. My Hebrew name is Yitzhak. My real name is Eddie Asner. Truth" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2019. สืบค้นเมื่อ September 3, 2019 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  6. "Edward Asner". Television Academy Interviews. October 22, 2017. สืบค้นเมื่อ May 22, 2019.
  7. @TheOnlyEdAsner (November 15, 2018). "Hi. Tomorrow 11/15 is my 89th birthday" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  8. "Edward Asner Biography (1929–)". filmreference.com.
  9. "Ed Asner". eNewsReference. สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
  10. Zager, Norma (August 5, 2005). "Outspoken Asner's Activism Is No Act". The Jewish Journal of Greater Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2008. สืบค้นเมื่อ December 13, 2006.
  11. Horwitz, Simi (September 27, 2012). "Ed Asner's Still Crusty After All These Years". The Forward.
  12. "Ed Asner (1929-2021) A Lion in Underpants". GregPalast.com. Greg Palast. August 29, 2021. สืบค้นเมื่อ August 30, 2021.
  13. "Late-Night Lox, Vodka, and Banana Cream Pie With Ed Asner". Vulture.com. October 1, 2012. สืบค้นเมื่อ November 24, 2017.
  14. "Edward Asner". Hollywood Walk of Fame. สืบค้นเมื่อ August 27, 2016.
  15. Gates, Anita (August 29, 2021). "Ed Asner, Emmy-Winning Star of 'Lou Grant' and 'Up,' Dies at 91". The New York Times. New York, New York. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  16. Blumberg, Naomi (November 11, 2019). "Ed Asner". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
  17. "Ed Asner". The Second City. สืบค้นเมื่อ June 2, 2020.
  18. "The Virginian Season 1 Episode 26: Echo of Another Day". TV Guide. สืบค้นเมื่อ December 3, 2019.
  19. Gates, Anita (2021-08-29). "Ed Asner, Emmy-Winning Star of 'Lou Grant' and 'Up,' Dies at 91". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-30.
  20. Dagan, Carmel; Natale, Richard (August 29, 2021). "Ed Asner, Emmy-Winning 'Lou Grant' Star, Dies at 91". Variety. สืบค้นเมื่อ August 29, 2021.
  21. Barnes, Mike. "Ed Asner Dead: Lou Grant on 'Mary Tyler Moore Show' Was 91". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ August 29, 2021.

แพ็กกี้ สกลนรี

แพ็กกี้ สกลนรี
เกิดศศิวิมล ไชยประเทศ
7 มกราคม พ.ศ. 2542 (25 ปี)
อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
การศึกษาโรงเรียนสว่างแดนดิน
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
อาชีพนักร้อง
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงลูกทุ่ง • ป็อป • หมอลำ
เครื่องดนตรีขับร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2564–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแกรมมี่โกลด์

ศศิวิมล ไชยประเทศ หรือชื่อในวงการคือ แพ็กกี้ สกลนรี (7 มกราคม พ.ศ. 2542 –) เป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์[1]

ประวัติและวงการบันเทิง

เธอเกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2542 ที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร[2] จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนสว่างแดนดิน และกำลังศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร[2] เธอเริ่มสนใจการร้องเพลงตั้งแต่วัย 9 ปี และเริ่มร้องเพลงอย่างจริงจังในช่วงที่เธอศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อันเนื่องมาจากการที่เธอเข้าร่วมกับวงดนตรีโปงลางของโรงเรียน และเมื่อเธอศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เธอก็ได้หารายได้พิเศษด้วยการร้องเพลงกับวงดนตรีที่จังหวัดสกลนคร และยังมีผลงานโคฟเวอร์เพลงลงในยูทูบ จนกระทั่งสลา คุณวุฒิเข้ามาเห็นความสามารถและแววของเธอ เธอจึงเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์[2]

เธอมีผลงานชุดแรกร่วมกับเจมส์ จตุรงค์ เวียง นฤมล และมนต์แคน แก่นคูน ในชุด ลุยโลดรถแห่[3] เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 โดยเธอร่วมร้องเพลงกับมนต์แคน แก่นคูน ในเพลง ผู้บ่าวรถแห่แหย่ลูกสาวเจ้าภาพ[3] และเพลงเดี่ยวคือ ร้องไห้ใกล้หนองหาน[4] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เธอมีผลงานซิงเกิลแรกที่เป็นของตัวเองในชื่อเพลง ญาอ้าย[5][6]

ผลงานเพลง

ซิงเกิล

  • มีนาคม พ.ศ. 2564 - ร้องไห้ใกล้หนองหาน (จากชุด ลุยโลดรถแห่, ต้นฉบับคือ วงเดือน ชไมพร ในชื่อเพลงเดิมคือ ทิ้งน้องไว้หนองหาร)
  • กันยายน พ.ศ. 2564 - ญาอ้าย[5]

ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น

ผลงานการแสดง

มิวสิกวิดิโอ

อ้างอิง

  1. เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ "แพ็กกี้ สกลนรี" สวยใสสะกดใจ!
  2. 2.0 2.1 2.2 เปิดวาร์ปสาวน้อย ศิลปินน้องใหม่แกรมมี่โกลด์ แพ็กกี้ สกลนรี เตรียมปล่อยเพลง 3 ก.ย. นี้
  3. 3.0 3.1 ‘แกรมมี่โกลด์’ส่งความม่วนเขย่าเทศกาล กับอัลบั้ม‘ลุยโลดรถแห่’
  4. "แกรมมี่ โกลด์" ส่งความม่วนเขย่าเทศกาล กับอัลบั้ม "ลุยโลดรถแห่"
  5. 5.0 5.1 ‘แพ็กกี้-สกลนรี’ โยกย้ายโชว์สเต็ปสดใสใน‘ญาอ้าย’
  6. ลูกทุ่งสาวดาวรุ่ง! แพ็กกี้ สกลนรี ปล่อย Lyric Video เพลง ญาอ้าย โยกย้ายโชว์สเต็ปสดใส!
  7. เบียร์ พร้อมพงษ์ นำทีมเปิดศึกดุเดือดสู้ยิบตาแบบไม่ไว้หน้า ใน "สงครามลำซิ่ง"
  8. จากวันบอกรัก มาถึงวันบอกลา “เบียร์ เวียง” ปล่อยภาคต่อใน “เรวัตตะลาฮัก”

เวียง นฤมล

เวียง นฤมล
เกิดนฤมล พลพุทธา
11 มกราคม พ.ศ. 2534 (33 ปี)
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
การศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
อาชีพนักร้อง
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงลูกทุ่ง • ป็อป • หมอลำ
เครื่องดนตรีขับร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2560–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแกรมมี่โกลด์

นฤมล พลพุทธา หรือชื่อในวงการคือ เวียง นฤมล (11 มกราคม พ.ศ. 2534 –) เป็นนักร้องลุกทุ่งและหมอลำหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์[1] เธอเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้องในโครงการ น้องใหม่ไต่ดวง โครงการ 2

เธอเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เธอซึมซับการเป็นศิลปินมาจากบิดาและครอบครัว และเธอได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมจากฉวีวรรณ ดำเนิน จนเมือ่เธอจบปริญญาตรี เธอได้พบกับอำไพ มณีวงษ์ นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำชื่อดัง อำไพได้พาเธอไปพบกับสลา คุณวุฒิและเธอได้เป็นศิลปินในโครงการ น้องใหม่ไต่ดวง โครงการ 2 และบันทึกเสียงผลงานเพลงในโครงการคือ ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง และ น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม และหลังจากนั้นเธอจึงได้เป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

เะอเกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2534 ที่ตำบลศรีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด[2] เป็นบุตรีของสุวรรณ พลพุทธา (เสียชีวิตแล้ว)[3] เธอสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนบ้านศรีแก้ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และระดับปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ [2]

วงการบันเทิง

เธอซึมซับการเป็นนักร้องมาจากครอบครัวทั้งสิ้น เธอมีศักดิ์เป็นหลานลุงของร้อยเอ็ด เพชรสยาม[2] และหลานป้าของวรรณภา สารคามซึ่งเป็นนักร้องหมอลำของคณะนกยูงทอง[2] กอปรกับบิดานั้นเป็นหมอลำ ทำให้เธอติดตามบิดาและมารดาพร้อมครอบครัวไปในงานแสดงของบิดาทุกครั้ง จนกระทั่งเธอศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เธอได้เป็นหางเครื่องของวงดนตรีของบิดา และต่อมารุ่นพี่ได้ชักชวนเธอไปเป็นหางเครื่องและหมอลำตัวประกอบในคณะนกเอี้ยงโมง เมือ่เธอจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เธอได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และเธอได้พบกับฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมาสอนหมอลำที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด[2] เธอได้รับการอบรมและฝึกฝนในการเป็นหมอลำจากฉวีวรรณ ทั้งลำทำนองขอนแก่น ลำทำนองมหาสารคาม ลำทำนองอุบล หรือแม้แต่ลำทำนองจากประเทศลาว อาทิ ลำสาละวัน ลำตั้งหวาย เป็นต้น[2]

เธอเริ่มเห็นว่า เธอมีพรสวรรค์และหลงไหลในด้านนี้[2] เธอได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จนจบปริญญาตรี ต่อมาเธอได้พบกับอำไพ มณีวงษ์ นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำที่มีชื่อเสียง อำไพพบว่าเธอมีแววและความสามารถ จึงให้เธอบันทึกเสียงการร้องหมอลำเอาไว้ หลังจากนั้นได้นำไปให้สลา คุณวุฒิ จนกระทั่งผ่านไปเป็นปี สลาได้ติดต่อเธอให้ไปบันทึกเสียงจากเพลงในโครงการ น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2[4] ในเพลง ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง และ น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม จากนั้นเธอกลายเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา มีผลงานอันเป็นที่รู้จักหลังจากนี้อาทิ วอนปู่ลำโขง, วัยอกหัก[5], ฮักแล้วคือบ่ฮักเลย[6] เป็นต้น

ใน พ.ศ. 2563 เธอได้ร่วมงานกับเบียร์ พร้อมพงษ์ ในเพลง เรวัตตะฮักนะลีลาวดี และ เรวัตตะลาฮัก[7] ใน พ.ศ. 2564 เธอเริ่มเป็นที่รู้จักบ้างจากซิงเกิลแนวหมอลำของเธอคือ งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า[8] ซึ่งประพันธ์โดยดอย อินทนนท์ โดยใช้ทำนอง งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว ของบานเย็น รากแก่น และผลงานล่าสุดของเธอคือ กะคนบ่ฮักกัน ขับร้องและประพันธ์โดยเธอเอง [9]

ผลงานเพลง

ซิงเกิล

  • พ.ศ. 2560
    • ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง
    • น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม
  • พ.ศ. 2561
    • วอนปู่ลำโขง
  • พ.ศ. 2563
    • วัยอกหัก
  • พ.ศ. 2564
    • งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า
    • กะคนบ่ฮักกัน

ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น

อ้างอิง

  1. บ่ต้องห่วงเด้อแม่! เวียง นฤมล โพสต์ถึงสายตาของแม่ ที่ยังเป็นเงาติดตามตัว
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 เวียง นฤมล – The IsanGate ประตูสู่อีสานบ้านเฮา
  3. แฟนคลับแห่ร่วมอาลัย “เวียง นฤมล” คุณพ่อจากไปอย่างสงบ
  4. เปิดบันทึก รัก ลวง พราง! "เวียง นฤมล" น้องใหม่ไต่ดาว
  5. "เวียง นฤมล" ชวนลืมทุกเรื่องราวแล้วก้าวผ่าน "วัยอกหัก" ไปด้วยกัน
  6. ‘เวียง-นฤมล’สุดทน!!! หันหลังให้กับสิ่งเดิมๆ
  7. 'เบียร์-เวียง'คู่หวานคู่ใหม่ในตำนานรัก'เรวัตตะฮักนะลีลาวดี'
  8. ‘เวียง นฤมล’ขอสอบวิชาหมอลำใน ‘งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า’
  9. เจ้าแม่เพลงเศร้า! MV เพลงลูกทุ่งใหม่ กะคนบ่ฮักกัน เวียง นฤมล แต่งเองร้องเองเจ็บถึงใจจนติดเทรนด์ (มีคลิป)

เลโอนิด คุชมา

เลโอนิด คุชมา
คุชมาใน พ.ศ. 2562
ประธานาธิบดียูเครน คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 – 23 มกราคม พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าเลโอนิด คราวชุค
ถัดไปวิกตอร์ ยุชเซนโค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เลโอนิด ดานยโรวิช คุชมา

9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 (85 ปี)
แคว้นเซอร์วิฮิฟ, สาธารณัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหภาพโซเวียต
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
คู่สมรสลุดมิลา คุชมา
บุตรโอเลนา พินซุค
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติดนีโปรเตโตสวัก
ลายมือชื่อ

เลโอนิด ดานยโรวิช คุชมา (ยูเครน: Леоні́д Дани́лович Ку́чма; 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 –) เป็นนักการเมืองชาวยูเครนซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียูเครนตั้งแต่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จนถึง 23 มกราคม พ.ศ. 2548 ในสมัยที่เขาดำรงนั้นเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริต ฉ้อราษฎรบังหลวง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพสื่อสารมวลชนในประเทศ[1]

เขาประสบความสำเร็จจากอาชีพการงานในอุตสาหกรรมเครื่องจักรของสหภาพโซเวียต ต่อมาเขาเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองใน พ.ศ. 2533 จากการที่เขาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภายูเครน โดยเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียูเครนตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ 2536 จนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 เขาชนะการเลือกตั้งอีกคั้งและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ หลังจากนั้นเขาชนะการเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2532 ซึ่งการทุจริตนั้นพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยแรก จนกระทั่ง พ.ศ. 2543-2544 อำนาจของเขาเริ่มเสื่อมลงจากการเผชิญหน้ากับสื่อมวลชน[2] ทั้งนี้ในสมัยของเขาเศรษฐกิจซบเซาเป็นอย่างมาก แต่เขายังสามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ใน พ.ศ. 2543 และในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เขาเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียจนดีขึ้นตามลำดับ[3]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

เขาเกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่แคว้นเซอร์วิฮิฟ[4] เป็นบุตรของดันโยลและปารัสกา คุชมา บิดาของเขาได้รับบาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่สองและถึงแก่กรรมขณะที่เขาอายุได้ 4 ขวบ[5][6] ส่วนมารดาของเขาทำงานที่ฟาร์มโคลคอช เขาเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนโคสโตรโบโบรฟ ในเมืองเซเมนิวกาไลอัน และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติดนีโปรเตโตสวัก และสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2503[7] ในปีเดียวกันเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต[8]

เขาสมรสกับลุดมิลา คุชมา ใน พ.ศ. 2510[9] มีลูกสาวคือโอเลนา พินซุค

เครื่องอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "Profile: Leonid Kuchma". BBC. 29 October 1999.
  2. Adrian Karatnycky, "Ukraine's Orange Revolution," Foreign Affairs, Vol. 84, No. 2 (Mar. – Apr., 2005), pp. 35–52 in JSTOR
  3. Robert S. Kravchuk, "Kuchma as Economic Reformer," Problems of Post-Communism Vol. 52#5 September–October 2005, pp 48–58
  4. "Leonid Kuchma | president of Ukraine". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  5. "single | The Jamestown Foundation". www.jamestown.org. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  6. "Engology,Engineer, Leonid Kuchma - President of the Ukraine". www.engology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  7. "Profile: Leonid Kuchma". BBC. 2002-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  8. Erlanger, Steven (1994-07-12). "UKRAINIANS ELECT A NEW PRESIDENT". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
  9. First ladies of Ukraine, ITAR-TASS (6 June 2014)
  10. Bollettino Ufficiale di Stato
  11. Sito web del Quirinale: dettaglio decorato.

การ์โลส เมเนม

การ์โลส เมเนม
เมเนมใน พ.ศ. 2538
ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา
ดำรงตำแหน่ง
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2532 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2542
รองประธานาธิบดี
ก่อนหน้าราอุล อัลฟองซิน
ถัดไปเฟร์นันโด เด ลา ลูอา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
การ์ดลส ซาอุล เมเนม

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473
อานิลาโก, จังหวัดลาริโอฆา, ประเทศอาร์เจนตินา
เสียชีวิต14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (90 ปี)
บัวโนสไอเรส, ประเทศอาร์เจนตินา
พรรคการเมืองพรรคยุติธรรม (ประเทศอาร์เจนตินา)
คู่สมรส
บุตร4
ความสัมพันธ์เอดูราโด เมเนม (น้องชาย)
ลายมือชื่อ

การ์โลส ซาอุล เมเนม อากิล (สเปน: Carlos Saúl Menem Akil, 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) เป็นอดีตประธานาธิบดีแห่งประเทศอาร์เจนตินา ดำรตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2532 จนถึง พ.ศ. 2542 เขาถูกมองว่าเป็นพวกลัทธิเปรอนและเขาดำเนินนโยบายแบบเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ[1] เขาเป็นประธานาธิบดีอาร์เจนตินาในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และเป็นประธานพรรคยุติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนถึง พ.ศ. 2544

เขาเกิดที่เมืองอะลินาโก ในครอบครัวชาวซีเรีย ครอบครัวของเขานับถือศาสนาอิสลาม[2] ทำให้เขาได้รับการเลี้ยงดูตามแบบศาสนาอิสลาม[2] จนกระทั่งเมื่อเขาเข้าสู่เส้นทางการเมืองเขาจึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เขาได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าการจังหวัดลาริโอฆาใน พ.ศ. 2516 จนกระทั่งถูกปลดและถูกจำคุกในช่วงรัฐประหารในประเทศอาร์เจนตินา พ.ศ. 2519 และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการจังหวัดอีกครั้งใน พ.ศ. 2526 โดยสามารถเอาชนะอังตอนึยู ฆาฟิเรโอได้สำเร็จ ต่อมาเขาชนะการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2532 ส่งผลให้เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเขาเริ่มดำรงตำแหน่งในช่วงที่ประเทศอาร์เจนตินาประสบภาวะเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงจากการบริหารของราอุล อัลฟองซินประธานาธิบดีคนก่อนหน้า

เมเนมนั้นพยายามแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนฉันทามติวอชิงตัน ทั้งนี้เขายังฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักรภายหลังจากที่ขัดแย้งกันในสงครามฟอล์กแลนด์ ใน พ.ศ. 2525 และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสหรัฐ ในสมัยของเขาประเทศมีปัญหาอาชญากรรมและการก่อการร้ายถึงสองครั้ง ต่อมาเขาชนะเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2536 และ พ.ศ. 2538 ซึ่งช่วงนี้อาร์เจนตินาเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นอีกครั้ง ทำให้พรรคฝ่ายค้านจัดตั้งพันธมิตรทางการเมืองที่พยายามลงแข่งขันกับเขาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2542[1]

หลังจากที่เขาลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกสอบสวนในข้อหาอาชญากรรมและการทุจริตทางการเมือง รวมไปถึงคดีค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย คดียักยอกเงินแผ่นดิน และคดีรับสินบน แต่เนื่องจากเขาดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ทำให้เขารอดพ้นจากข้อกล่าวหาดังกล่าว[3][4]

เขาถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 สิริอายุได้ 90 ปี ถือเป็นอดีตประธานาธิบดีอาร์เจนตินาที่มีอายุยืนนานที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่[5][6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Carlos Menem, Argentine President Who Ushered in 'Pizza and Champagne' Era, Dies at 90". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ February 14, 2021.
  2. 2.0 2.1 "Carlos Menem" Encyclopædia Britannica
  3. "Argentina: Ex-president gets 7 years in prison for arms smuggling". CNN. 13 June 2013.
  4. อดีตผู้นำอาร์เจนฯ พ้นผิด
  5. Bruschtein, Luis (14 February 2021). "Murió Carlos Menem". Página 12 (ภาษาสันสกฤต). สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.
  6. Romo, Rafael; Girón, Nacho; Correa, Hugo Manu (14 February 2021). "Carlos Menem, former President of Argentina, dies at 90". CNN. สืบค้นเมื่อ 14 February 2021.