ชาวยิวอัชเกนัซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาวยิวอัชเคนาซิ)
ชาวยิวอัชเกนัซ
ประชากรทั้งหมด
10[1]–11.2[2] ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 สหรัฐ5–6 ล้านคน[3]
 อิสราเอล2.8 ล้านคน[1][4]
 รัสเซีย194,000–500,000; รายงานจากFJCR มีผู้มีเชื้อสายยิวสูงถึง 1 ล้านคน
 อาร์เจนตินา300,000
 สหราชอาณาจักร260,000
 แคนาดา240,000
 ฝรั่งเศส200,000
 เยอรมนี200,000
 ยูเครน150,000
 ออสเตรเลีย120,000
 แอฟริกาใต้80,000
 เบลารุส80,000
 บราซิล80,000
 ฮังการี75,000
 ชิลี70,000
 เบลเยียม30,000
 เนเธอร์แลนด์30,000
 มอลโดวา30,000
 อิตาลี28,000
 โปแลนด์25,000
 เม็กซิโก18,500
 สวีเดน18,000
 ลัตเวีย10,000
 โรมาเนีย10,000
 ออสเตรีย9,000
 นิวซีแลนด์5,000
 โคลอมเบีย4,900
 อาเซอร์ไบจาน4,300
 ลิทัวเนีย4,000
 เช็กเกีย3,000
 สโลวาเกีย3,000
 ไอร์แลนด์2,500
 เอสโตเนีย1,000
ภาษา
ยิดดิช[5]
ปัจจุบัน: ภาษาพื้นเมือง โดยหลักคืออังกฤษ, ฮีบรู, รัสเซีย
ศาสนา
ศาสนายูดาห์ บางส่วนเป็นฆราวาส หรือไม่มีศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวยิวเซฟาร์ดี, ชาวยิวมิซราฮี, ชาวอิตาลีเชื้อสายยิว, ชาวยิวโรมานีโอต, ชาวสะมาเรีย,[6][7][8] ชาวเคิร์ด,[8] กลุ่มลิแวนต์อื่น ๆ (ดรูซ, ชาวเลบานอน,[7] ชาวอัสซีเรีย,[6][7] ชาวอาหรับ),[6][7][9][10] กลุ่มเมดิเตอร์เรเนียน (ชาวอิตาลี,[11][12] ชาวสเปน)[13][14]
ชาวยิวในยุโรปกลาง (ค.ศ. 1881)

ชาวยิวอัชเกนัซ หรือ ชาวยิวแห่งอัชเกนัซ (ฮีบรู: יְהוּדֵי אַשְׁכֲּנָז หรือ אַשְׁכֲּנָזִים, อังกฤษ: Ashkenazi Jews หรือ Ashkenazic Jews หรือ Ashkenazim) คือชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำไรน์แลนด์ทางตะวันตกของเยอรมนีและตอนเหนือของฝรั่งเศสในยุคกลาง คำว่า "Ashkenaz" เป็นชื่อภาษาฮิบรูสมัยกลางของภูมิภาคที่ในปัจจุบันครอบคลุมประเทศเยอรมนี และบริเวณที่มีชายแดนติดต่อที่พูดภาษาเยอรมัน นอกจากนั้นอัชเกนัซก็ยังเป็นประมุขจาเฟติคที่สืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของโนอาห์ (Table of Nations) ฉะนั้น "อัชเกนัซ" หรือ "อัชเกนัซยิว" ก็คือ "ชาวยิวเยอรมัน"

ต่อมาชาวยิวอัชเกนัซก็อพยพไปทางตะวันออก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้พูดภาษาเยอรมันที่รวมทั้งฮังการี โปแลนด์ ลิทัวเนีย รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และ ภูมิภาคอื่นๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 19 ภาษาที่นำติดตัวไปก็คือภาษายิดดิช ซึ่งเป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกของชาวยิว ที่ตั้งแต่ยุคกลางมาเป็น "ภาษากลาง" ในหมู่ชาวยิวอัชเกนัซ นอกจากนั้นก็มีบ้างที่พูดภาษายิว-ฝรั่งเศส หรือ ภาษาซาร์ฟาติค (Zarphatic) และ ภาษากลุ่มสลาฟ-ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาคนานิค (ภาษายิว-เช็ก) ชาวยิวอัชเกนัซวิวัฒนาการวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ผสานเอาวัฒนธรรมของชนในท้องถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้ามาด้วย

แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวยิวอัชเกนัซจะเป็นจำนวนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรชาวยิวทั้งโลก แต่เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1931 จำนวนก็สูงขึ้นถึง 92 เปอร์เซ็นต์ และในปัจจุบันเป็นจำนวนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวยิวทั่วโลก[15] ชุมชนชาวยิวที่มีประวัติยืดยาวในยุโรปจะเป็นชาวยิวอัชเกนัซนอกจากกลุ่มที่มีควาสัมพันธ์กับบริเวณเมดิเตอเรเนียน ชาวยิวส่วนใหญ่ที่อพยพจากยุโรปไปยังทวีปอื่นในสองร้อยปีที่ผ่านมาก็เช่นกัน โดยเฉพาะการอพยพไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ที่ชาวยิวส่วนใหญ่ในบรรดาชาวยิวอเมริกัน 5.3 ล้านคนเป็นชาวยิวอัชเกนัซ[16] ซึ่งทำให้เป็นชาวยิวอัชเกนัซกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นิยาม[แก้]

นิยามของความเป็นชาวยิวยังไม่เป็นที่ตกลงกันโดยทั่วไป—ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาจากนิกายต่างๆ หรือ ในบริบทของการเมือง หรือแม้แต่โดยทั่วไป ซึ่งการเป็นยิวอาจจะกล่าวอย่างง่ายๆ ว่าเป็นทั้งทางศาสนาและทางโลก หรือ ทางศาสนาแต่อย่างเดียว ซึ่งทำให้เป็นการยากที่จะระบุนิยามของชาวยิวอัชเกนัซ เพราะชาวยิวอัชเกนัซได้รับการตีความหมายเป็นหลายอย่างโดยศาสนา วัฒนธรรม และ ชาติพันธุ์เป็นเครื่องวัด แต่ชาวยิวอัชเกนัซส่วนใหญ่ในปัจจุบันมิได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกแล้ว ฉะนั้นลักษณะทางวัฒนธรรมและการปฏิบัติทางศาสนาที่เคยเป็นลักษณะเฉพาะเพราะตำแหน่งที่ตั้งถิ่นฐานที่ใกล้เคียงกันก็เริ่มเลือนหายไป นอกจากนั้นคำว่า "อัชเกนัซ" ก็ยังนำไปใช้ในบริบทที่นอกไปจากการใช้กันมาก่อน โดยเฉพาะในอิสราเอล ตามหลักของปรัชญาออร์ธอด็อกซ์แล้วผู้ที่จะเป็นยิวได้ก็เมื่อมีแม่เป็นยิว หรือ เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนายูดาย ซึ่งทำให้ตีความหมายได้ว่าผู้หนึ่งอาจจะเป็นอัชเกนัซแต่ไม่ได้เป็นยิวตามการตีความหมายของกลุ่มชาวยิวบางกลุ่ม ซึ่งทำให้การใช้คำว่า "อัชเกนัซ" ตีความหมายได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่วิวัฒนาการมาจากการดำรงชีวิตตามหลักศาสนายูดายในยุโรป

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Ashkenazi Jews". Hebrew University of Jerusalem. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 29 October 2013.
  2. "First genetic mutation for colorectal cancer identified in Ashkenazi Jews". The Gazette. Johns Hopkins University. 8 September 1997. สืบค้นเมื่อ 2013-07-24.
  3. Feldman, Gabriel E. (May 2001). "Do Ashkenazi Jews have a Higher than expected Cancer Burden? Implications for cancer control prioritization efforts". Israel Medical Association Journal. 3 (5): 341–46. PMID 11411198. สืบค้นเมื่อ 2013-09-04.
  4. Statistical Abstract of Israel, 2009, CBS. "Table 2.24 – Jews, by country of origin and age". สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  5. "Yiddish". 19 November 2019.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Reconstruction of Patrilineages and Matrilineages of Samaritans and Other Israeli Populations From Y-Chromosome and Mitochondrial DNA Sequence Variation" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Jews Are the Genetic Brothers of Palestinians, Syrians, and Lebanese". Science Daily. 2000-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-07-19.
  8. 8.0 8.1 "Study Finds Close Genetic Connection Between Jews, Kurds". Haaretz. 21 November 2001.
  9. Wade, Nicholas (9 June 2010). "Studies Show Jews' Genetic Similarity". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  10. "High-resolution Y chromosome haplotypes of Israeli and Palestinian Arabs reveal geographic substructure and substantial overlap with haplotypes of Jews" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  11. "Banda et al. "Admixture Estimation in a Founder Population". Am Soc Hum Genet, 2013". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  12. Bray, SM; Mulle, JG; Dodd, AF; Pulver, AE; Wooding, S; Warren, ST (September 2010). "Signatures of founder effects, admixture, and selection in the Ashkenazi Jewish population". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (37): 16222–27. Bibcode:2010PNAS..10716222B. doi:10.1073/pnas.1004381107. PMC 2941333. PMID 20798349.
  13. Adams SM, Bosch E, Balaresque PL, และคณะ (December 2008). "The genetic legacy of religious diversity and intolerance: paternal lineages of Christians, Jews, and Muslims in the Iberian Peninsula". American Journal of Human Genetics. 83 (6): 725–36. doi:10.1016/j.ajhg.2008.11.007. PMC 2668061. PMID 19061982.
  14. Shai Carmi; Ken Y. Hui; Ethan Kochav; Xinmin Liu; James Xue; Fillan Grady; Saurav Guha; Kinnari Upadhyay; Dan Ben-Avraham; Semanti Mukherjee; B. Monica Bowen; Tinu Thomas; Joseph Vijai; Marc Cruts; Guy Froyen; Diether Lambrechts; Stéphane Plaisance; Christine Van Broeckhoven; Philip Van Damme; Herwig Van Marck; และคณะ (September 2014). "Sequencing an Ashkenazi reference panel supports population-targeted personal genomics and illuminates Jewish and European origins". Nature Communications. 5: 4835. Bibcode:2014NatCo...5.4835C. doi:10.1038/ncomms5835. PMC 4164776. PMID 25203624.
  15. Elazar, Daniel J. "Can Sephardic Judaism be Reconstructed?". Jerusalem Center for Public Affairs. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24.
  16. Pfeffer, Anshel. "Jewish Agency: 13.2 million Jews worldwide on eve of Rosh Hashanah, 5768". Haaretz Daily Newspaper Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-19. สืบค้นเมื่อ 2007-09-13.

อ้างอิงสำหรับ "ชาวยิวอัชเกนัซคือใคร?"[แก้]

อ้างอิงอื่น ๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]