ข้ามไปเนื้อหา

ยัสเซอร์ อาราฟัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยัสเซอร์ อาราฟัต
ياسر عرفات
ยัสเซอร์ อาราฟัตขณะกล่าวปาฐากถา ระหว่างการประชุมสภาเศรษฐกิจโลก ค.ศ. 2001
ประธานาธิบดีแห่งรัฐปาเลสไตน์ คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
5 กรกฎาคม 1994 – 11 พฤศจิกายน 2004
นายกรัฐมนตรี
ถัดไปRawhi Fattouh (รักษาการณ์)
ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ 1969 – 29 ตุลาคม 2004
ก่อนหน้าYahya Hammuda
ถัดไปMahmoud Abbas
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มุฮัมมัด อับดุรเราะอูฟ อะเราะฟาต อัลกุดวะฮ์ อัลฮุซัยนี

24 สิงหาคม ค.ศ. 1929(1929-08-24)
ไคโร, ราชอาณาจักรอียิปต์
เสียชีวิต11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004(2004-11-11) (75 ปี)
Clamart, Hauts-de-Seine, ฝรั่งเศส
เชื้อชาติชาวปาเลสไตน์
ศาสนาSunni Islam[1]
พรรคการเมืองฟาตาห์
คู่สมรสSuha Arafat (1990–2004)
บุตรZahwa Arafat (born 1995)
วิชาชีพCivil engineer
ลายมือชื่อ

ยัสเซอร์ อาราฟัต (อาหรับ: ياسر عرفات ยาซิร อะเราะฟาต; 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (อาหรับ: ابو عمّار) ชื่อจริงคือ โมฮัมหมัด อับดุล ราห์มาน อัลดุล ราอูฟ อาราฟัต อัล กุดวา (อาหรับ: محمد عبد الرؤوف القدوة الحسيني) เป็นผู้นำชาวปาเลสไตน์ เป็นประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ประธานองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) และผู้นำฟะตะห์ (Fatah) พรรคการเมืองและอดีตกลุ่มกำลังกึ่งทหารที่เขาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2502[2] อาราฟัตใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในการต่อสู้อิสราเอลเพื่อการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของปาเลสไตน์ แต่จากเดิมที่คัดค้านการมีอยู่ของอิสราเอล เขาเปลี่ยนท่าทีของตนใน พ.ศ. 2531 เมื่อเขายอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 อาราฟัตและขบวนการของเขาปฏิบัติการจากหลายประเทศอาหรับ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2503 และต้นปี พ.ศ. 2513 ฟะตะห์เผชิญหน้ากับจอร์แดนในสงครามกลางเมืองสั้น ๆ หลังถูกบังคับให้ออกจากจอร์แดนและเข้าไปในเลบานอน อาราฟัตและฟะตะห์เป็นเป้าสำคัญของอิสราเอลในการบุกครองเลบานอนใน พ.ศ. 2521 และ 2529 ทั้งสองครั้ง

อาราฟัตยังเป็นบุคคลที่เป็นที่ถกเถียงกันมาก ซึ่งมรดกของเขายังเป็นที่พิพาทกันอย่างกว้างขวาง เขา "ได้รับความเคารพนับถือจากชาวอาหรับจำนวนมาก" และชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองหรืออยู่กลุ่มแยกใดก็ตาม โดยมองเขาว่าเป็น นักสู้เพื่อเสรีภาพ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรารถนาชาติของพวกเขา อย่างไรก็ดี เขายังถูกบริภาษเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาวอิสราเอลจำนวนมาก ซึ่งมองว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้ายที่รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ระเบิดและการเสียชีวิตนับหลายร้อย[3][4] นักวิจารณ์ยังกล่าวหาว่าอาราฟัตฉ้อราษฎร์บังหลวงขนานใหญ่ สั่งสมความมั่งคั่งส่วนบุคคลอย่างลับ ๆ ซึ่งประเมินกันว่ามีมูลค่าถึง 1,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ใน พ.ศ. 2545 แม้สภาพเศรษฐกิจของปาเลสไตน์จะตกต่ำลง[5]

ในช่วงหลัง อาราฟัตเข้าร่วมเจรจาหลายครั้งกับรัฐบาลอิสราเอลเพื่อยุติความขัดแย้งนานหลายทศวรรษระหว่างอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ซึ่งรวมถึงการประชุมมาดริดใน พ.ศ. 2534 ข้อตกลงกรุงออสโล พ.ศ. 2536 และการประชุมสุดยอดแคมป์เดวิด พ.ศ. 2543 คู่แข่งทางการเมืองของเขา รวมทั้งกลุ่มอิสลามและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฝ่ายซ้าย มักประณามเขาว่าทุจริต หรือยอมให้กับรัฐบาลอิสราเอลมากเกินไป ใน พ.ศ. 2537 อาราฟัตได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับยิตส์ฮัก ราบินและ ชิมอน เปเรส สำหรับการเจรจาที่กรุงออสโล ในช่วงนี้ ฮะมาสและกลุ่มพร้อมรบอื่น ๆ เถลิงอำนาจ และสั่นคลอนรากฐานของอำนาจที่ฟะตะห์ภายใต้การนำของอาราฟัตได้สถาปนาขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์

ปลาย พ.ศ. 2547 หลังถูกกักกันในบริเวณบ้านของเขาเป็นเวลากว่าสองปีโดยกองทัพอิสราเอล อาราฟัตก็ล้มป่วย โคม่าและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 อายุได้ 75 ปี สำหรับสาเหตุของอาการป่วยของเขานั้นยังมีการโต้เถียงกัน

ประวัติ

[แก้]

อาราฟัตเกิดเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ในครอบครัวชาวปาเลสไตน์เชื้อสายอียิปต์ ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซา ได้ไปใช้ชีวิตวัยเด็ก และวัยรุ่นที่กรุงไคโร กับพี่น้องชายหญิงอีกหกคน ทำให้สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับครอบครัวที่อาศัยในอียิปต์ไว้ได้ เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมฟารุก ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

บิดาของอาราฟัตเป็นพ่อค้า และมีบุตรชายบุตรสาวรวมทั้งสิ้นเจ็ดคน สถานที่เกิด รวมทั้งวันเกิดของอาราฟัตยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน คาดว่าเขาเกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ แต่ก็มีบางฝ่าย ที่บอกว่าอาราฟัตเกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 ที่นครเยรูซาเลม การค้นพบสูติบัติและเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับอาราฟัต ของมหาวิทยาลัยแห่งกรุงไคโร ทำให้ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสถานที่เกิดและวันเกิดของอาราฟัตเป็นอันยุติลง (อลัน ฮาร์ท ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตก็ยอมรับแล้วว่าอาราฟัตเกิดที่กรุงไคโร)

ชื่อที่บิดามารดาของอาราฟัตตั้งให้เมื่อแรกเกิด คือ มุฮัมมัด อับดุรเราะอูฟ อะเราะฟาต อัลกุดวะฮ์ อัลฮุซัยนี นายสะอีด เค. อะบูรีช ผู้เขียนชีวประวัติของอาราฟัตชาวปาเลสไตน์ได้อธิบาย (ในหนังสือ อาราฟัต: จากผู้พิทักษ์สู่เผด็จการ, สำนักพิมพ์บลูมสเบอรรี, พ.ศ. 2541, หน้า 7) ไว้ว่า "มุฮัมมัด อับดุลรอห์มาน เป็นชื่อต้นของเขา อับดุรเราะอูฟ เป็นชื่อของบิดา อะรอฟาตเป็นชื่อของปู่ อัลกุดวะหฺเป็นนามสกุล และอัลฮุซัยนีย์เป็นชื่อของชนเผ่าที่ครอบครัวของเขาเป็นสมาชิกอยู่" บางคนบอกว่าเขาสืบเชื้อสายชนเผ่าฮุซัยนีย์สายเยรูซาเลมจากมารดา (โดยใช้ชื่อว่าอาบุซซาอูด) แต่ชื่อดังกล่าวก็จะขัดแย้งกับชื่อที่สืบเชื้อสายจากทางสายบิดา

อาราฟัตใช้ชีวิตส่วนใหญ่ช่วงวัยเยาว์ในกรุงไคโร ยกเว้นช่วงเวลาสี่ปีหลังการเสียชีวิตของมารดา ระหว่างอายุห้าถึงเก้าขวบ ที่เขาไปอาศัยอยู่กับอาในเยรูซาเลม ในปีพ.ศ. 2492 เขาได้เข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยกษัตริย์ฟาฮัดที่ 1 ในกรุงไคโร ที่สำเร็จการศึกษาทางสาขาวิศวกรรมโยธา เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา เขาได้ร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มพี่น้องมุสลิม และ สมาคมนักศึกษาปาเลสไตน์ จนได้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรในปี พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2499 ในปี พ.ศ. 2499 เขาได้เป็นทหารในกองทัพอียิปต์ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ อาราฟัตแต่งงานเมื่ออายุค่อนข้างมากแล้วกับซูฮา อาราฟัตเลขานุการของเขา ผู้มีวัยอ่อนกว่าถึง 34 ปี และได้ให้กำเนิดบุตรสาวชื่อ ซาห์วา เมื่อปี พ.ศ. 2538 ภริยาของเขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงที่สองของนโยบายอินติฟาเฎาะหฺ (การรณรงค์เพื่อต่อต้านการยึดครองของทหารอิสราเอล) ในปีพ.ศ. 2543 อาราฟัตถูกกองกำลังอิสราเอลกักอยู่ในเมืองรอมัลลอฮ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 เขาป่วยหนักในปีพ.ศ. 2547 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่เมืองกลามาร์ ประเทศฝรั่งเศส

ช่วงแรกเริ่มของพรรคแนวร่วมฟาตาห์

[แก้]

ผู้นำองค์การปลดปล่อยแห่งชาติปาเลสไตน์

[แก้]

ในเลบานอน

[แก้]

ในตูนิเซีย

[แก้]

สนธิสัญญาสันติภาพออสโล

[แก้]

รัฐบาลปาเลสไตน์

[แก้]

ถึงแก่อสัญกรรม

[แก้]

ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับอาราฟัต

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yasser Arafat – NNDB
  2. Aburish, Said K. (1998). From Defender to Dictator. New York: Bloomsbury Publishing. pp. 33–67. ISBN 1-58234-049-8. Aburish says the date of Fatah's founding is unclear but claims in 1959 it was exposed by its magazine.
    Zeev Schiff, Raphael Rothstein (1972). Fedayeen; Guerillas Against Israel. McKay, p.58; Schiff and Rothstein claim Fatah was founded in 1959.
    Salah Khalaf and Khalil al-Wazir state Fatah’s first formal meeting was in October 1959. See Anat N. Kurz (2005) Fatah and the Politics of Violence: The Institutionalization of a Popular Struggle. Brighton, Portland: Sussex Academic Press (Jaffee Centre for Strategic Studies), pp.29–30
  3. Kershner, Isabel (4 July 2012). "Palestinians May Exhume Arafat After Report of Poisoning". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.
  4. Hockstader, Lee (11 November 2004). "A Dreamer Who Forced His Cause Onto World Stage". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 31 October 2007.
  5. Alon, Gideon; Amira Hass (14 August 2002). "MI chief: terror groups trying hard to pull off mega-attack". Haaretz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 21 July 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]