สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
มาร์เกรเธอที่ 2 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร | |||||
ครองราชย์ | 14 มกราคม พ.ศ. 2515 – ปัจจุบัน (48 ปี 365 วัน) | ||||
ราชาภิเษก | 14 มกราคม พ.ศ. 2515 | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 | ||||
รัชทายาท | เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมาร | ||||
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ
| ||||
พระราชสวามี | เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก (10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 – 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) | ||||
พระราชบุตร รายละเอียด | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-เซินเนอร์บอร์-กลึคส์บวร์ค[1] | ||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 | ||||
พระราชมารดา | อิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก | ||||
พระราชสมภพ | 16 เมษายน พ.ศ. 2483 (80 พรรษา) อามาเลียนบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก | ||||
ลายพระอภิไธย | ![]() |
พระราชวงศ์แห่งเดนมาร์ก |
---|
![]() |
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก |
เจ้าหญิงเบเนดิกเทอ พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
|
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก[2] (เดนมาร์ก: Margrethe Alexandrine Þórhildur Ingrid; มาร์เกรเธอ อเล็กซานดรีน ธอร์ฮิลดูร์ อิงกริด; พระราชสมภพ: 16 เมษายน พ.ศ. 2483) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ในฐานะที่เป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีอิงกริดแห่งเดนมาร์ก พระนางทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2515 จากการสืบราชบัลลังก์ทำให้พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์กพระองค์แรกนับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก พระประมุขแห่งสแกนดิเนเวียในช่วงปีพ.ศ. 1918 ถึงพ.ศ. 1955 ในยุคสหภาพคาลมาร์
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอเสด็จพระราชสมภพในปีพ.ศ. 2483 แต่พระนางไม่ทรงเป็นทายาทโดยสันนิษฐานจนกระทั่งพ.ศ. 2496 เมื่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กได้อนุญาตให้สตรีมีสิทธิสืบทอดราชบัลลังก์ได้ (หลังจากมีความชัดเจนแล้วว่าพระเจ้าเฟรเดอริกไม่ทรงมีรัชทายาทที่เป็นบุรุษ) ในปีพ.ศ. 2510 ทรงอภิเษกสมรสกับอ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาและมีพระราชโอรสสองพระองค์คือ เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์กและเจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก
คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ
“ | ความช่วยเหลือของพระเจ้า ความรักของประชาชน ความแข็งแกร่งของเดนมาร์ก (Guds hjælp, folkets kærlighed, Danmarks styrke) | ” |
ชีวิตในวัยเยาว์[แก้]
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2483 ณ พระราชวังอามาเลียนบอร์ก กรุงโคเปนเฮเกน เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในเจ้าชายเฟรเดอริกและเจ้าหญิงอิงกริด มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก พระราชบิดาของพระนางเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์กกับสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรีน และพระราชมารดาของพระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในมกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดนกับมกุฎราชกุมารีมาร์กาเร็ต เจ้าหญิงประสูติเพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากกองทัพนาซีเยอรมนีได้ทำการยึดครองเดนมาร์กในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2463
พระองค์ทรงเข้ารับบัพติศมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ณ โบสถ์โฮลเมน กรุงโคเปนเฮเกน เจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระราชบิดาและพระราชมารดาทูนหัว คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก, เจ้าชายแอกเซิลแห่งเดนมาร์ก, พระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน, มกุฎราชกุมารกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน, แเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟ ดยุกแห่งเวสเตร์บอตเติน และ เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสตราเธิร์น
เจ้าหญิงทรงได้รับพระนามว่า "มาร์เกรเธอ" ตามพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดา พระนามว่า "อเล็กซานดรีน" ตามพระนามของพระอัยยิกาฝ่ายพระบิดา และพระนามว่า "อิงกริด" ตามพระนามของพระมารดา ตั้งแต่พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระอัยกาทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกษัตริย์แห่งไอซ์แลนด์ ทำให้เจ้าหญิงทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งไอซ์แลนด์จนกระทั่งปีพ.ศ. 2467 เจ้าหญิงจึงมีพระนามเป็นภาษาไอซ์แลนด์ตามโบราณราชประเพณี คือ ธอร์ฮิลดูร์ (Þórhildur)[3](สะกดตามลักษณะตัวอักษร "thorn" ในภาษาไอซ์แลนด์ ที่เที่ยบเท่ากับ "th")
เมื่อเจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระชนมายุ 4 ชันษาในปีพ.ศ. 2487 พระขนิษฐาพระองค์แรกประสูติคือ เจ้าหญิงเบเนดิกเทอแห่งเดนมาร์ก ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงเบเนดิกเทอทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายริชาร์ดที่ 6 แห่งไซน์-วิตเกนสไตน์-เบอร์เลบูร์กและบางครั้งทรงพำนักที่เยอรมนี พระขนิษฐาองค์สุดท้องคือ เจ้าหญิงแอนน์-มารีแห่งเดนมาร์ก ประสูติในปีพ.ศ. 2489 ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ และปัจจุบันทรงพำนักอยู่ที่ลอนดอน
ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2490 พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 เสด็จสวรรคตและพระราชบิดาของเจ้าหญิงมาร์เกรเธอได้ครองราชบัลลังก์สืบต่อในพระนาม "พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก"
รัชทายาทโดยสันนิษฐาน[แก้]

เมื่อครั้งประสูติ พระราชวงศ์ฝ่ายชายสามารถสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กได้ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์ที่มีการประกาศใช้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1850 เมื่อสายราชสกุลกลึคส์บูร์กได้รับเลือกให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากราชวงศ์โอลเดนบวร์ก ในฐานะที่เจ้าหญิงมาร์เกรเธอไม่มีพระเชษฐาหรือพระอนุชา ได้มีการสันนิษฐานว่าพระปิตุลาของเจ้าหญิงคือ เจ้าชายคนุด รัชทายาทแห่งเดนมาร์ก จะได้สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในวันใดวันหนึ่ง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญได้เริ่มต้นในปีพ.ศ. 2490 ไม่นานหลังจากพระราชบิดาทรงครองราชบัลลังก์และกลายเป็นที่เข้าใจว่าสมเด็จพระราชินีอิงกริดไม่มีพระประสูติกาลพระบุตรมากไปกว่านี้อีกแล้ว ด้วยกระแสความนิยมในพระเจ้าเฟรเดอริคและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์และบทบาทของสตรีในสังคมเดนมาร์กได้ปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ได้มีการเริ่มต้นกระบวนการที่ซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอได้มีการผ่านเข้ารัฐสภาทั้งสองและจากนั้นด้วยการลงประชามติ ที่ซึ่งกำหนดขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กฉบับใหม่ได้อนุญาตให้สตรีสามารถสืบราชบัลลังก์เดนมาร์ก ตามที่สิทธิของบุตรหัวปี ซึ่งสตรีสามารถสืบราชบัลลงก์ได้ถ้าหากไม่มีพระเชษฐาหรือพระอนุชา เจ้าหญิงมาร์เกรเธอในขณะนั้นจึงทรงกลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน
ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 18 พรรษาของเจ้าหญิง ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2501 เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงได้รับตำแหน่งในสภาองคมนตรีเดนมาร์ก เจ้าหญิงทรงเป็นประธานในการประชุมสภาในช่วงที่พระมหากษัตริย์ทรงติดพระราชกิจ
ในช่วงกลางปีพ.ศ. 2503 เจ้าหญิงทรงร่วมกับเหล่าเจ้าหญิงแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ เจ้าหญิงเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งรวมทั้งเสด็จเยือนลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และเสด็จไปที่พาราเมาต์พิกเจอส์ ที่ซึ่งทุกพระองค์ทรงพบปะกับเหล่าคนดังจำนวนมากรวมทั้ง ดีน มาร์ติน, เจอร์รี ลิวอิส และเอลวิส เพรสลีย์
การศึกษา[แก้]
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงใช้เวลาหนึ่งปีในการเข้าศึกษาที่โรงเรียนนอร์ทฟอร์แลนด์ล็อดจ์ เป็นโรงเรียนประจำสำหรับเด็กผู้หญิงที่แฮมป์เชอร์, อังกฤษ[4] และจากนั้นทรงศึกษาในวิชาโบราณคดีสาขายุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เกอร์ตันคอลลีจ, แคมบริดจ์ในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2503 ถึงพ.ศ. 2504 ทรงศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยอาร์ฮุสในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2504 และพ.ศ. 2505 ทรงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีสในปีพ.ศ. 2506 และทรงเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอนในปีพ.ศ. 2508 เจ้าหญิงทรงเป็นผู้สนับสนุนและเข้าร่วมสมาคมโบราณวัตถุลอนดอน
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงมีความถนัดในภาษาเดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, สวีเดนและเยอรมัน[5]
อภิเษกสมรส[แก้]
ในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงอภิเษกสมรสกับนักการทูตชาวฝรั่งเศสคือ เคานท์อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซา ณ โบสถ์โฮลเมนในโคเปนเฮเกน อ็องรี เดอ ลาบอร์ด เดอ มงเปอซาได้รับพระอิสริยยศว่า "ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก" (His Royal Highness Prince Henrik of Denmark) เนื่องจากฐานะใหม่ของพระองค์คือเป็นพระราชสวามีในเจ้าหญิงรัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์เดนมาร์ก
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอมีพระประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์แรกในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ตามโบราณราชประเพณี พระมหากษัตริย์เดนมาร์กต้องทรงผลัดกันเลือกพระนามว่า เฟรเดอริก หรือ คริสเตียน เจ้าหญิงยังทรงคงฐานะนี้ไว้ โดยทรงสมมติว่าพระนามของพระนางคือ คริสเตียน และดังนั้นทรงตั้งพระนามของพระราชโอรสพระองค์โตว่า เจ้าชายเฟรเดอริก พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ได้รับการตั้งพระนามว่า เจ้าชายโจอาคิม ซึ่งประสูติในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2512
รัชกาล[แก้]
สืบราชบัลลังก์[แก้]

เพียงระยะเวลาอันสั้น หลังจากพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 มีพระราชดำรัสในวโรกาสวันปีใหม่ของประเทศในช่วงปลายปีพ.ศ. 2514 ถึงต้นปีพ.ศ. 2515 พระองค์ก็ทรงพระประชวร คล้ายไข้หวัด หลังจากเสด็จกลับมาประทับผ่อนคลายอิริยาบถเพียงไม่กี่วัน พระองค์มีพระหทัยวายและทรงถูกนำพระองค์มาที่โรงพยาบาลเทศบาลในวันที่ 3 มกราคม หลังจากการรักษาที่เห็นได้ชัด พระอาการของพระเจ้าเฟรเดอริกทรงทรุดลงในวันที่ 11 มกราคม และพระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 14 มกราคม
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และทรงกลายเป็นพระประมุขสตรีพระองค์แรกภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระนางทรงได้รับการประกาศเป็นสมเด็จพระราชินีนาถ ณ มุขเด็จแห่งพระราชวังคริสเตียนบอร์กโดยนายกรัฐมนตรีเจนส์ ออตโต คร้าก ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2515 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "พระมหากษัตริย์สวรรคต สมเด็จพระราชินีทรงพระเจริญ" (The King is dead, long live the Queen!) สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงสละพระอิสริยยศทุกตำแหน่งของอดีตพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ยกเว้นพระอิสริยยศในเดนมาร์ก ดังนั้นทรงขนานพระนามว่า ด้วยพระคุณของพระเจ้า, สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก (ภาษาเดนมาร์ก : Margrethe den Anden, af Guds Nåde Danmarks Dronning) สมเด็จพระราชินีนาถทรงเลือกคติพจน์ประจำรัชกาลว่า
“ | ความช่วยเหลือของพระเจ้า ความรักของประชาชน ความแข็งแกร่งของเดนมาร์ก (Guds hjælp, folkets kærlighed, Danmarks styrke)[5] | ” |
พระนางมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 มีพระราชดำรัสว่า
“ | พระราชบิดาอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า พระมหากษัตริย์ของพวกเราเสด็จสวรรคต ภาระทุกอย่างที่พระราชบิดาของข้าพเจ้าทรงแบกรับมานานเกือบ 25 ปีในตอนนี้บ่าของข้าพเจ้าได้แบกรับแทนพระองค์ ข้าพเจ้าของสวดวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าให้พระองค์โปรดช่วยเหลือข้าพเจ้าและทรงมอบความแข็งแกร่งที่จะแบกรับมรดกของชาติที่ยิ่งใหญ่ ขอให้ความไว้วางใจที่ได้ทรงมอบให้แก่พระราชบิดาของข้าพเจ้าได้โปรดประทานให้แก่ข้าพเจ้า[6] | ” |
บทบาทตามรัฐธรรมนูญ[แก้]

พระราชกรณียกิจหลักของสมเด็จพระราชินีนาถคือ ทรงเป็นตัวแทนของราชอาณาจักรในการเสด็จเยือนต่างประเทศและจะทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทั้งชาติในประเทศ พระนางมีพระราชกรณียกิจในการเสด็จออกรับเหล่าคณะทูตจากต่างประเทศและทรงรับรางวัลและเหรียญเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีนาถทรงดำเนินการต่าง ๆ โดยทรงตอบรับคำเชิญที่จะให้พระองค์เสด็จไปเปิดนิทรรศการ, ทรงเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ, พิธีเปิดสะพานอย่างเป็นทางการ เป็นต้น
ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสาธารณะที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง สมเด็จพระราชินีไม่ทรงมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองและไม่ทรงแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใด ๆ แม้ว่าพระนางจะทรงมีสิทธิในการเลือกตั้ง แต่พระนางไม่ทรงทำเช่นนั้นแม้กระทั่งการแสดงพระองค์เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
หลังจากการเลือกตั้งที่ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้รับเสียงข้างมาก สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงใช้สิทธิในการ "ดรอนนิงเกอรุนด์" (Dronningerunde, Queen's meeting, การเข้าเฝ้าพระราชินี) ที่ซึ่งพระนางจะทรงพบปะกับหัวหน้าของแต่ละพรรคการเมืองเดนมาร์ก[7]
แต่ละพรรคมีทางเลือกที่จะเข้าสู่กระบวนการพระราชวินิจฉัย ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาต่อรองหรือทางเลือกเดียว โดยให้นายกรัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันได้ดำเนินการรัฐบาลของเขาต่อ ในทางทฤษฎีแต่ละพรรคสามารถเลือกผู้นำของตนเองในพระราชวินิจฉัย พรรคสังคมเสรีนิยมเดนมาร์กได้ทำเช่นนี้ในปีพ.ศ. 2549 แต่มักจะเป็นเพียงหนึ่งในพระราชวินิจฉัยซึ่งได้เลือกนายกรัฐมนตรีรวมก่อนที่จะทำการเลือกตั้ง ผู้นำที่ซึ่งในการประชุมสามารถรักษาเสียงข้างมากในโฟลเกททิงจะได้รับพระบรมราชโองการด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ (มันไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ซึ่งพรรคใดพรรคหนึ่งสามารถได้รับเสียงข้างมากด้วยตัวเองได้)
เมื่อจัดตั้งรัฐบาลขึ้น จะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากสมเด็จพระราชินี โดยพิธีการ สมเด็จพระราชินีนาถจะทรงดำรงเป็นหัวหน้ารัฐบาล และพระนางจะทรงเป็นประธานในการประชุมรัฐสภา ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายที่ได้รับการผ่านโดยรัฐสภาจะทำการลงนามในกฎหมาย อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ รัฐสภาเป็นผู้ใช้พระราชอำนาจอย่างเป็นทางการเกือบทั้งหมดของสมเด็จพระราชินีจและพระนางจะทรงมีหน้าที่ทำตามคำแนะนำจากที่ประชุม
นอกเหนือไปจากบทบาทของพระนางในประเทศของพระนางเอง สมเด็จพระราชินียังทรงเป็นพันเอกผู้บัญชาการแห่งกองพันทหารหลวงเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นกองพันทหารราบแห่งกองทัพบริติช ตามธรรมเนียมของพระราชวงศ์ของพระนาง
พระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี[แก้]
ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงจัดพระราชพิธีครองสิริราชสมบัติครบ 40 ปี (Ruby Jubilee)[8] พระราชพิธีนี้ประกอบด้วยขบวนรถม้าและการสัมภาษณ์จากโทรทัศน์จำนวนมาก พระราชอาคันตุกะที่มาร่วมพระราชพิธีนี้รวมทั้ง สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์และสวีเดน อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ และประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์ เป็นต้น [9]
พระชนมชีพส่วนพระองค์และความสนพระราชหฤทัย[แก้]
ที่ประทับอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระราชินีนาถและพระราชสวามีคือพระราชวังอามาเลียนบอร์กในโคเปนเฮเกน และพระราชวังฟรีเดนส์บอร์ก ที่ประทับในฤดูร้อนของทั้งสองพระองค์คือ พระราชวังกราสเต็นใกล้กับชอนเดนบอร์ก เป็นอดีตที่ประทับของพระราชชนนี สมเด็จพระราชินีอิงกริดซึ่งสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2543
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ทรงเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จ และทรงจัดแสดงภาพวาดฝีพระหัตถ์มากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา[10] ภาพประกอบของพระนางภายใต้นามแฝงว่า "อินกาฮิลด์ กราธเมอร์" เคยนำมาใช้ประกอบในนวนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับภาษาเดนมาร์กที่ตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2520 และตีพิมพ์ใหม่ในปีพ.ศ. 2545 ในปีพ.ศ. 2543 พระนางทรงใส่ภาพประกอบลงในหนังสือ Cantabile ซึ่งเป็นหนังสือรวบรวมบทกวีที่พระราชนิพนธ์ขึ้นโดยเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี พระนางยังคงประสบความสำเร็จในฐานะนักแปลและทรงมีส่วนร่วมในการแปลนวนิยายเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในภาษาเดนมาร์ก[10] ทักษะอื่น ๆ นอกำจากนี้ที่ทรงมีคือการออกแบบเครื่องแต่งกาย ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายในคณะบัลเล่ต์หลวงเดนมาร์กในเรื่องA Folk Taleและในปีพ.ศ. 2552 ทรงออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับภาพยนตร์เรื่อง "De vilde svaner" (the Wild Swans; ห่านป่า) ของผู้กำกับปีเตอร์ ฟลินธ์[11]

พระนางยังทรงออกแบบฉลองพระองค์ของพระนางเองด้วยและเป็นที่รู้จักสำหรับฉลองพระองค์ของพระนางที่มีสีสันและบางครั้งทรงเลือกฉลองพระองค์แปลก ๆ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอยังทรงฉลองพระองค์ที่ออกแบบโดยอดีตดีไซนเนอร์ของปิแยร์ บาลเมนคือ อีริค มอร์เทนเซน, จอร์เกน เบนเดอร์, และเบอร์จิเต ทูโลว์[12] พระนางทรงได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 50 คนที่สวมชุดได้ดีที่สุดในช่วงวัย 50 ปีขึ้นไปของนิตยสารการ์เดียนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556[13]
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอทรงเป็นผู้สูบบุหรี่จัด และพระนางทรงมีชื่อเสียงจากพฤติกรรมยาสูบของพระนาง[14] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 หนังสือพิมพ์ บี.ที. ของเดนมาร์กได้รายงานว่ามีประกาศจากสำนักพระราชวังที่ระบุว่าในอนาคตสมเด็จพระราชินีจะทรงสูบบุหรี่เฉพาะในเวลาส่วนพระองค์เท่านั้น
แถลงการณ์ในปีพ.ศ. 2548 ได้อนุญาตชีวประวัติของสมเด็จพระราชินี (ในชื่อว่า "Margrethe") ได้มุ่งเน้นไปที่ทรรศนะของพระนางต่อศาสนาอิสลามว่า
“ | เรากำลังถูกท้าทายในศาสนาอิสลามปีนี้ ทั่วโลกเช่นเดียวกับประเทศเรา มีบางอย่างที่น่าประทับใจเกี่ยวกับผู้คนผู้ซึ่งศาสนาได้ซึมซับการดำรงอยู่ของพวกเขา จากพลบค่ำถึงรุ่งอรุณ จากแปลเด็กสู่หลุมฝังศพ นอกจากนี้ยังมีชาวคริสต์ที่รู้สึกแบบนี้ มีบางอย่างที่เป็นที่รักเกี่ยวกับผู้คนผู้ซึ่งให้ตนเองมุ่งขึ้นสู่ความสมบูรณ์ของความศรัทธาของพวกเขา แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่น่ากลัวเหมือนกันเกี่ยวกับสิ่งทั้งหมดดังกล่าวที่ซึ่งยังคงเป็นคุณลักษณะของศาสนาอิสลาม การถ่วงดุลจะต้องมีการค้นพบและหนึ่งบางครั้งมีความเสี่ยงของการตรงไปตรงมาที่ติดอยู่บนตัวคุณ เพราะมีบางสิ่งบางอย่างสำหรับการแสดงที่ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และเมื่อเรามีความใจกว้าง เราจะต้องรู้ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกหรือความเชื่อมั่น[15] | ” |
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงได้รับแรงสนับสนุนให้ใส่ภาพประกอบในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 พระนางทรงส่งภาพทั้งหมดไปให้เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ซึ่งตกตะลึงเพราะความคล้ายคลึงกันของภาพวาดของพระนางกับแบบของเขาเอง ภาพของสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ได้ตีพิมพ์ในฉบับแปลภาษาเดนมาร์ก ซึ่งวาดขึ้นใหม่โดยอีริค ฟราเซอร์ จิตรกรชาวอังกฤษ
พระราชโอรส[แก้]
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าชายเฮนริกมีพระราชโอรสร่วมกัน 2 พระองค์ได้แก่
พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | พระวรชายา/พระชายา และพระโอรส-ธิดา | |
![]() |
เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก | พ.ศ. 2511 |
26 พฤษภาคมยังทรงพระชนม์ | อภิเษกสมรส วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 กับ แมรี เอลิซาเบธ โดนัลด์สัน มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายคริสเตียนแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงอิซาเบลลาแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายวินเซนต์แห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงโจเซฟินแห่งเดนมาร์ก |
![]() |
เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก | พ.ศ. 2512 |
7 มิถุนายนยังทรงพระชนม์ | อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 กับ อเล็กซันดรา คริสตินา มันลีย์ ทรงหย่าในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 มีพระโอรส 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายนิโคไลแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายเฟลิกซ์แห่งเดนมาร์ก อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กับ มารี อากัท โอดี กาวาลีเย มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงอธีนาแห่งเดนมาร์ก |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]


เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดนมาร์ก[แก้]
:
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง
:
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร์ก ชั้น Grand Commander
: เหรียญที่ระลึกครบรอบ 100 ปีพระบรมราชสมภพสมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 9
: เหรียญที่ระลึกครบรอบ 100 ปีพระบรมราชสมภพสมเด็จพระราชาธิบดีคริสเตียนที่ 10
: เหรียญที่ระลึกสมเด็จพระราชินีอิงกริด
: เหรียญที่ระลึกครบรอบ 50 ปีวาระที่สมเด็จพระราชินีอิงกริดเสด็จถึงเดนมาร์ก
: Home Guard fortjensttegn
: Home Guard 25-year mark
: เครื่องหมายสันนิบาตพลเรือนรุ่งโรจน์
: เหรียญตราสมาคมกองทุนสำรองเจ้าหน้าที่เดนมาร์ก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์กรีนแลนด์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
อาร์เจนตินา :
เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย
ออสเตรีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย (พ.ศ. 2507)[16]
เบลเยียม :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลโอโปลด์ [17]
บราซิล :
เครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนใต้
บัลแกเรีย : เครื่องอิสริยาภรณ์สตารา พลานินา
ชิลี :
เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์เกียรติคุณ
เอสโตเนีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์เทอร์รา มาเรียนา
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ : เครื่องราชอิสริยาภรณ์อัลคามาล
อียิปต์ :
เครื่องอิสริยาภรณ์แม่น้ำไนล์
ฟินแลนด์ :
เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวแห่งฟินแลนด์
ฝรั่งเศส :
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
เยอรมนี :
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
กรีซ :
เครื่องอิสริยาภรณ์พระมหาไถ่
กรีซ :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลกาและโซเฟีย
ไอซ์แลนด์ :
เครื่องอิสริยาภรณ์เหยี่ยว ชั้นมหากางเขน (พ.ศ. 2501) ชั้นมหากางเขนพร้อมสายสร้อย (พ.ศ. 2516)[18]
อิหร่าน :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เพลเอียเดสชั้นที่สอง
อิตาลี :
เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
ญี่ปุ่น :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎชั้นที่หนึ่ง มงกุฎดอกพอโลเนีย
ญี่ปุ่น :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ
จอร์แดน :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งจอร์แดน
ยูโกสลาเวีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งยูโกสลาฟ
ลัตเวีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์ตรีดารา
ลิทัวเนีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์พระเจ้าวีตัวนัสมหาราช (พ.ศ. 2539)[19]
ลักเซมเบิร์ก :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชสีห์ทองคำแห่งราชวงศ์นัสเซา
เม็กซิโก :
เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเอสแท็ค (พ.ศ. 2551)[20]
โมร็อกโก :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อูอิสซัม อเลาอุยเต
เนเธอร์แลนด์ :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชสีห์แห่งเนเธอร์แลนด์
เนปาล :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เนปาล ประทับ ภาสการา
นอร์เวย์ :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ
โปแลนด์ :
เครื่องอิสริยาภรณ์เหยี่ยวขาว
โปแลนด์ :
เครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์
โปรตุเกส :
เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายเฮนรี
โปรตุเกส :
เครื่องอิสริยาภรณ์นักบุญเจมส์ผู้ถือดาบ
โรมาเนีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งโรมาเนีย
ซาอุดีอาระเบีย :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อับดุลอาซิซ อัล ซาอูด
สโลวาเกีย :
เครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนขาวคู่[21]
สโลวีเนีย : เครื่องอิสริยาภรณ์เสรีภาพแห่งสาธารณรัฐสโลวีเนีย
สเปน :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ขนแกะทองคำ (พ.ศ. 2528)[22]
สเปน :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3 (พ.ศ. 2523)[23]
สวีเดน :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟิม
สวีเดน : เหรียญที่ระลึกเฉลิมฉลองสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 50 พรรษา (พ.ศ. 2539)[24]
สวีเดน : เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีครองราชสมบัติครบ 40 ปี สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ (พ.ศ. 2556)[25]
แอฟริกาใต้ :
เครื่องอิสริยาภรณ์แหลมกู๊ดโฮป
เกาหลีใต้ :
เครื่องอิสริยาภรณ์ดอกมูกุงฮวา[26]
ไทย :
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)[27]
ไทย :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.)[28] 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ในโอกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์
สหราชอาณาจักร :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์
สหราชอาณาจักร :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน
สหราชอาณาจักร :
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียนเชน
พระราชตระกูล[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
- ↑ "150 years of the House of Glücksborg". สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
- ↑ "Those Apprentice Kings and Queens Who May – One Day – Ascend a Throne," New York Times. 14 November 1971.
- ↑ The Illustrated London News, vol. 227, Issue 2 (1955), p. 552
- ↑ 5.0 5.1 "The Danish Monarchy". สืบค้นเมื่อ 11 May 2010.
- ↑ "radical royalist: January 2012". 13 January 2012. สืบค้นเมื่อ August 4, 2012.
- ↑ Bysted A/S. "The Monarchy today – The Danish Monarchy". Kongehuset.dk. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
- ↑ "Queen Margrethe II of Denmark marks 40 years on the throne". BBC News. Denmark. 12 January 2012.
- ↑ http://www.theroyalforums.com/34901-queen-margrethes-ruby-jubilee-festivities/
- ↑ 10.0 10.1 "Margrethe and Henrik Biography". Royalinsight.net. 1940-04-16. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
- ↑ http://www.imdb.com/title/tt1499643/
- ↑ "The Royal Order of Sartorial Splendor: Flashback Friday: Queen Margrethe's Style". Orderofsplendor.blogspot.com. 2012-01-13. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
- ↑ "The 50 best-dressed over 50s". The Guardian.
- ↑ "BBC News". BBC News. 2001-03-23. สืบค้นเมื่อ 2012-02-03.
- ↑ [1]
- ↑ "Reply to a parliamentary question about the Decoration of Honour" (pdf) (ภาษาเยอรมัน). p. 168. สืบค้นเมื่อ November 1, 2012.
- ↑ Photos : Albert II & Margrethe II, Group photo
- ↑ Icelandese Presidency Website , Margrethe
- ↑ Lithuanian Presidency, Lithuanian Orders searching form
- ↑ Official decree, 13/02/2008
- ↑ Photo of the Danish Royal couple with the Slovakian Presidential couple
- ↑ Boletín Oficial del Estado
- ↑ Boletín Oficial del Estado
- ↑ Gettyimages
- ↑ Ruby Jubilee in Sweden
- ↑ Noblesse et Royautes
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒, ตอน ๑๑๓ ง, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘, หน้า ๓๒๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ ๒ แห่งเดนมาร์ก เจ้าชายเฮนริก แห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี และเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑
- The Queen's Homepage
- The Official Website of The Danish Monarchy
- Tapestries for HM The Queen of Denmark
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 | ![]() |
![]() สมเด็จพระราชินีนาถแห่งเดนมาร์ก (15 มกราคม พ.ศ. 2515 - ปัจจุบัน) |
![]() |
ยังอยู่ในราชสมบัติ พระองค์ต่อไป เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมาร |
|
|
|