สันติ ดวงสว่าง
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
สันติ ดวงสว่าง (จเร ภู่ทอง) | |
---|---|
เกิด | จเร ภู่ทอง 10 มกราคม พ.ศ. 2511 จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 (48 ปี) จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | โรคเบาหวาน • เส้นเลือดในสมองแตก |
อาชีพ | นักร้อง • นักแสดง |
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2526–2559 |
บุตร | 1 คน |
บิดามารดา |
|
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง |
เครื่องดนตรี | ขับร้อง |
ค่ายเพลง | อาร์เอส • รวงข้าวเรคคอร์ด • แสงระวี เอนเตอร์เทนเมนท์ • โรส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น |
สันติ ดวงสว่าง ชื่ออื่น เสน่ห์ สุดหล่อ,กำธร เทวดา หรือชื่อเดิม จเร ภู่ทอง (10 มกราคม พ.ศ. 2511 – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) เจ้าพ่อเพลงหวานที่มีผลงานเพลงดังมากมาย เช่น จูบไม่หวาน, ถอนคำสาบาน, รักนี้มีกรรม, น้ำกรดแช่เย็น, ลูกชาวบ้าน[1]
ประวัติ
[แก้]สันติ ดวงสว่าง หรือชื่อเดิม จเร ภู่ทอง เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2511 เป็นคนหมู่ที่ 6 ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร (ขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพิจิตร) เป็นบุตรของ นายจำรูญ ภู่ทอง และนางวรรณา ศรีประเสริฐ พ่อแม่มีอาชีพทำนา เดิมทีคุณแม่เป็นช่างเสริมสวย โดยเป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 5 คน[2] ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่สมัยเด็ก เดินสายสมัครร้องเพลงตามงานต่าง ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด และมักได้รับรางวัลชนะเลิศแทบทุกครั้ง[3]
จนต่อมาเมื่อปี 2529 แอ๊ด เทวดา ได้เห็นแววพรสวรรค์ของสันติ จึงชวนสันติไปอัดเสียงในเพลงแรกของเขาคือเพลง "แม่จ๋าพ่ออยู่ไหน" ตั้งแต่ตอนนั้นสันติมีความมั่นใจในฝีมือการร้องเพลงมากขึ้นจึงได้ไปร้องเพลงในห้องอาหารที่แม่กลอง จนกระทั่งได้ไปสมัครประกวดร้องเพลงในรายการลูกทุ่งสิบทิศ ทางช่อง 5 และได้เข้าฝากเนื้อฝากตัวกับครู"มนต์ เมืองเหนือ"และได้นำเพลงเก่ามารีมาตส์เตอร์เช่นเพลง จูบไม่หวาน ที่ทำให้เขาโด่งดังและเขาเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกในค่ายอาร์เอสและเป็นนักร้องคนแรกในโครงการอัลบั้ม "ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน" ในโครงการนี้เขาทำไว้มากที่สุดถึง "24 อัลบั้ม" เขาเป็นนักร้องที่เขาห้องอัดร้องเพลงวันละ 20-30 เพลงต่อวันเลยทีเดียว และเขายังได้รับรางวัลในบทเพลง"ดวงดาวชาวนา"อีกด้วย จึงทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปและกลายมาเป็นเจ้าพ่อเพลงหวานจนถึงทุกวันนี้[4]
บั้นปลายชีวิตสันติได้ทำค่ายเพลงไว้ค่ายหนึ่งตามที่ฝันนั้นคือค่าย "รวงข้าวเรคคอร์ด" ก่อนเสียชีวิตสันติ ดวงสว่างได้บันทึกเพลงเอาไว้กับค่ายแสงรวีนั้นคือเพลง รักสาวม.2, เดือนจ๋า, ไอ้หนุ่มนาดอน, ลาสาวเข้าโบสถ์, อดีตรักงานงิ้ว และ คำสุดท้าย
สันติ ดวงสว่างป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคไตอันเนื่องมาจากการขาดยาและไม่ได้รับการพักผ่อน โดยก่อนหน้านั้น 1 ปีสันติเคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน อาการกำเริบหนักช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559[5] และเสียชีวิตอย่างสงบด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 รวมอายุได้ 48 ปี[6][7][8] ได้สวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศล ณ วัดมูลจินดาราม จังหวัดปทุมธานี เป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดท่าคล้อ จังหวัดพิจิตร บ้านเกิด และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ วัดท่าคล้อ อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร[9]
ผลงาน
[แก้]อัลบั้มในโครงการ ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
[แก้]- ชุดที่ 1 จูบไม่หวาน (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ค. 2533)
- ชุดที่ 2 บุพเพสันนิวาส (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป 2533)
- ชุดที่ 3 คนสวยใจดำ (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป 2534)
- ชุดที่ 4 ทหารใหม่ไปกอง (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป 2534)
- ชุดที่ 5 คนอกหักพักบ้านนี้ (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป มิ.ย. 2534)
- ชุดที่ 6 ข้าด้อยเพียงดิน (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ย. 2534)
- ชุดที่ 7 รู้ว่าเขาหลอก (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป พ.ย. 2534)
- ชุดที่ 8 จดหมายจากแม่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มี.ค. 2535)
- ชุดที่ 9 ยินดีรับเดน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มี.ค. 2535)
- ชุดที่ 10 ถอนคำสาบาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) เม.ย. 2535)
- ชุดที่ 11 น้ำกรดแช่เย็น (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2535)
- ชุดที่ 12 หิ้วกระเป๋า (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2535)
- ชุดที่ 13 ร้องไห้กับเดือน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2535)
- ชุดที่ 14 โธ่คนอย่างเรา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2536)
- ชุดที่ 15 กลับเชียงรายเถิดน้อง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2536)
- ชุดที่ 16 มนต์รักดอนหอยหลอด (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) ต.ค. 2536)
- ชุดที่ 17 รักเก่าที่บ้านเกิด (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) ต.ค. 2536)
- ชุดที่ 18 ช่วยบอกล่วงหน้าถ้าไม่รัก (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) ม.ค. 2537)
- ชุดที่ 19 จดหมายเปื้อนน้ำตา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2537)
- ชุดที่ 20 ความผิดหวังยังคอยฉันอยู่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2537)
- ชุดที่ 21 รักแล้วไม่ลืม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2537)
- ชุดที่ 22 นกแก้วนกขุนทอง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
- ชุดที่ 23 รักนี้มีกรรม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
- ชุดที่ 24 ข่าวเศร้าจากเจ็ดสี (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
- ชุดที่ 1 ครูดงเด็กดอย (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2531)
- ชุดที่ 2 จูบไม่หวาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2531)
- ชุดที่ 3 ห่วงแฟน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2532)
- ชุดที่ 4 ผู้เสียสละ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ย. 2532)
- ชุดที่ 5 ความรักเหมือนยาขม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2532)
- ชุดที่ 6 หนุ่มโรงงาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป 2533)
- ชุดที่ 7 จริงหรือไม่จริง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
- ชุดที่ 8 รักนี้มีกรรม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2538)
- ชุดที่ 9 พี่ช้ำวันนี้ น้องช้ำวันหน้า (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2539)
- ชุดที่ 10 วอนหลวงพ่อช่วยที (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2539)
- ชุดที่ 11 คนขี้อาย (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2540)
- ชุดที่ 12 ให้ฉันตายก่อนที่รัก (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2540)
- ชุดที่ 13 มาลัยเปื้อนน้ำตา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2540)
- ชุดที่ 14 จดหมายจากน้องตู่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2541)
- ชุดที่ 15 แม่หงษ์ทอง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2541)
- ชุดที่ 16 สอนน้อง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2541)
- ชุดที่ 17 ฝากใจใส่กระทง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2542)
- ชุดที่ 18 โรตีแผ่นใหม่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มิ.ย. 2543)
- ชุดที่ 19 ลูกชาวบ้าน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มิ.ย. 2543)
- ชุดที่ 20 ไม่นานเกินรอ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) มี.ค. 2544)
- ชุดที่ 21 หนุ่มน้อยคาเฟ่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (1992) 2545)
- ชุดที่ 22 แผลเป็นที่ใจ (อาร์ สยาม 2545)
- ชุดที่ 23 เพ็ญจ๋าลาก่อน (อาร์ สยาม มี.ค. 2546)
- ชุดที่ 24 ดวงดาวชาวนา (อาร์ สยาม 2547)
- ชุดที่ 25 น้ำตาลหวาน (อาร์ สยาม เม.ย. 2548)
- ชุดที่ 26 คืนพี่คอย (อาร์ สยาม ธ.ค. 2549)
- ชุดที่ 27 หัวใจเรียกหา (อาร์ สยาม ก.ย. 2550)
- ชุดพิเศษ 2 ทศวรรษเจ้าพ่อเพลงหวาน นางลอยนางลืม (อาร์ สยาม ม.ค. 2553)
- ชุดพิเศษ 2 ทศวรรษเจ้าพ่อเพลงหวาน 2 หวานไม่เป็น (อาร์ สยาม เม.ย. 2553)
ผลงานจากสังกัดอื่นๆ
[แก้]- ที่สุดแห่งรัก (ค่าย เอ็นดี พ.ค. 2556)
- ลูกทุ่งเพลงเอก (ค่าย โรส มีเดีย พ.ค. 2557)
การแสดงภาพยนตร์
[แก้]- เพลงรักสวรรค์บ้านนา (2537)
- หนุ่มนาข้าว สาวลำน้ำมูล (2538) รับบท โดม
การแสดงละครโทรทัศน์
[แก้]- มนต์รักลูกทุ่ง (2538) ช่อง 7
หนังสือ
[แก้]- ลูกทุ่งเพื่อชีวิต Vol.6
รางวัล
[แก้]- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 4 สาขานักร้องชายยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม คืนพี่คอย
- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 5 สาขานักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลง ยอมยกธง
- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 8 สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม
- เพชรในเพลง สาขาประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง ดวงดาวชาวนา
- คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10 สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม, เรียบเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม จากเพลง ช้ำเพียงใดใจยังรัก
- เพชรในเพลง สาขาผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลง หวานไม่เป็น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อาลัย สันติ ดวงสว่าง ศิลปินต้นแบบเพลงลูกทุ่ง เจ้าของเพลงฮิต จูบไม่หวาน
- ↑ สันติ ดวงสว่าง นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง เสียชีวิตแล้ว
- ↑ เปิดชีวิตสันติ ดวงสว่าง เป็นเด็กรับจ้าร้องเพลง 5-10 บาท
- ↑ "ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-22.
- ↑ สันติ ดวงสว่าง สมองหยุดทำงานอาการยังน่าห่วง
- ↑ 4 พ.ย. 2559 ไวไปนะฟ้า สันติ ดวงสว่าง ลาโลกกลับดาว
- ↑ ปิดตำนานเจ้าพ่อเพลงหวาน "สันติ ดวงสว่าง" เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 48 ปี
- ↑ "สันติ ดวงสว่าง" เสียชีวิตแล้วอย่างสงบ
- ↑ มิตรรักแฟนเพลง ล้นหลาม ร่วมส่งวิญญาณ “ สันติ ดวงสว่าง ”เจ้าพ่อเพลงหวาน