ซาปาร์มือรัต นือยาซอว์
ฯพณฯ ท่าน ตืร์กเมนบาชือ ซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ | |
---|---|
Saparmyrat Ataýewiç Nyýazow | |
นือยาซอว์เมื่อปี 1998 | |
ประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 | |
นายกรัฐมนตรี | ฮัน อาห์เมโดว์ (1990–1992) |
รองประธานาธิบดี |
|
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง |
ถัดไป | กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ |
เลขาธิการคนที่ 1 ประจำคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เติร์กเมนิสถาน | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 – 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | |
ก่อนหน้า | มูฮัมเม็ตนะซาร์ กาปือรอว์ |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
สมาชิกเต็มของโปลิตบูโรแห่งพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตสมัยที่ 28 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | |
หัวหน้าพรรคประชาธิปไตย | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม ค.ศ. 1991 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 | |
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง |
ถัดไป | กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ซาปาร์มือรัต อาตาเยวิช นือยาซอว์ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 กีปจัก, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเติร์กเมน, สหภาพโซเวียต |
เสียชีวิต | 21 ธันวาคม ค.ศ. 2006 อาชกาบัต ประเทศเติร์กเมนิสถาน | (66 ปี)
ศาสนา | อิสลามซุนนี |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปไตยเติร์กเมนิสถาน (1991–2006) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคคอมมิวนิสต์เติร์กเมนิสถาน (1962–1991) |
คู่สมรส | มือนา นิยาโซวา[1] |
บุตร |
|
การศึกษา | สถาบันพอลีเทคนิกเลนินกราด |
วิชาชีพ | วิศวกรไฟฟ้า |
ซาปาร์มือรัต อาตาเยวิช นือยาซอว์ (เติร์กเมน: Saparmyrat Ataýewiç Nyýazow, Cyrillic: Сапармырат Атаевич Ныязов; Saparmurat Atayevich Niyazov 19 กุมภาพันธ์ 1940 – 21 ธันวาคม 2006) หรือรู้จักในนาม ตืร์กเมนบาชือ (Türkmenbaşy / Түркменбашы; ผู้นำแห่งเติร์กเมนิสถาน) หรือ เบยิกตืร์กเมนบาชือ (Beýik Türkmenbaşy / Бейик Түркменбашы; ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่แห่งเติร์กเมนิสถาน) เป็นนักการเมืองชาวเติร์กเมนผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำแห่งเติร์กเมนิสถานตั้งแต่ปี 1985 ถึงปี 2006 ที่ซึ่งเขาเสียชีวิต เขาเป็นเลขาธิการคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์เติร์กเมน ตั้งแต่ปี 1985 ถึงปี 1991 และมีส่วนช่วยสนับสนุนในความพยายามรัฐประหารโซเวียต 1991 เขาปกครองประเทศเติร์กเมนิสถานเป็นเวลาอีก 15 ปี ภายหลังเติร์กเมนสิถานได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียตในปี 1991
สื่อเติร์กเมนิสถานนิยมเรียกขานเขาด้วยชื่อ "ฯพณฯ ท่าน ซาปาร์มือรัต ตืร์กเมนบาชือ ประธานาธิบดีแห่งเติร์กเมนิสถาน หัวหน้าคณะรัฐมนตรี"[2] คำเรียกชื่อตนเองที่เขาแต่งตั้งให้ตนเอง ตืร์กเมนบาชือ (Türkmenbaşy) แปลว่า ประมุขแห่งเติร์กเมน อันหมายถึงตำแหน่งของเขาในฐานะผู้ก่อตั้งและประธานของสมาคมชาวเติร์กเมนทั้งปวงแห่งโลก[3] ในปี 1999 รัฐสภาเติร์กเมนิสถานได้ประกาศให้นือยาโซว์เป็นประธานาธิบดีตลอดกาลของเติร์กเมนิสถาน
ในสมัยการปกครองของเขา เขาเป็นเผด็จการที่เบ็ดเสร็จและกดขี่ข่มเหงประชานมากที่สุดคนหนึ่งของโลก เขาสร้างลัทธิบูชาตัวเขาเองและสร้างบุคลิกที่เป็นพิศดารไปทั่วประเทศ เช่น การเปลี่ยนชื่อเดือนและสัปดาห์ในประเทศเติร์กเมนิสถานให้เป็นไปตามอัตชีวประวัติของเขา รูห์นามา[4] เขาให้การอ่าน รูห์นามา เป็นเรื่องบังคับต้องทำในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐใหม่จะต้องถูกทดสอบเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ระหว่างการสัมภาษณ์งานและในข้อสอบ รวมถึงมีการสอบเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ปรากฏในการสอบใบขับขี่ด้วย เมื่อปี 2005 เขาสั่งปิดห้องสมุดและโรงพยาบาลในพื้นที่ชนบททั้งหมดนอกเมืองหลวง อาชกาบัต ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นประชากรเกินครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยในพื้นที่ชนบท[5] เพื่อว่า "ถ้าใครป่วย ก็ให้เข้ามาที่อาชกาบัต"[6] ในสมัยการปกครองของเขา เติร์กเมนสิถานมีการคาดการณ์ชีวิตต่ำที่สุดในเอเชียกลาง องค์กรสิทธิมนุษยชนจากลอนดอน กลอบอล วิทเนสส์ รายงานว่าเงินภายใต้การควบคุมของนือยาโซว์และที่เชามีอยู่ในต่างประเทศอาจมากเกิน 3 พันล้าน US$3 ในจำนวนนี้ราว $1.8–$2.6 พันล้าน พบว่าถูกนำไปเก็บไว้ในกองทุนระหว่างประเทศของดอยช์แบงก์ในประเทศเยอรมนี[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Наследником Туркменбаши может стать следователь московской прокуратуры (ภาษารัสเซีย). Komsomolskaya Pravda. 2006-12-22. สืบค้นเมื่อ 2006-12-22.
- ↑ The Telegraph, "A date with destiny for Turkmen leader", 09 August, 2002
- ↑ "Turkmenistan Fact Sheet, Government & Politics-President". Embassy of Turkmenistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-08-13. สืบค้นเมื่อ 2006-12-22.
- ↑ BBC News, "Turkmen go back to old calendar", 24 April 2008.
- ↑ "Rural population (% of total population): Turkmenistan". World Bank.
- ↑ BBC News, "Turkmen leader closes hospitals", 1 March, 2005.
- ↑ "It's a Gas: Funny Business in the Turkmen-Ukraine Gas Trade" (PDF). Global Witness Limited. April 2006. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.