เวียง นฤมล
เวียง นฤมล | |
---|---|
![]() | |
เกิด | นฤมล พลพุทธา 11 มกราคม พ.ศ. 2535 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด |
การศึกษา | สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ |
อาชีพ | นักร้อง |
บิดามารดา | เหรียญทอง พลพุทธา สุวรรณ พลพุทธา |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง ● ป็อป ● หมอลำ |
เครื่องดนตรี | ขับร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | แกรมมี่โกลด์ |
นฤมล พลพุทธา หรือชื่อในวงการคือ เวียง นฤมล (11 มกราคม พ.ศ. 2535–) เป็นนักร้องลูกทุ่งและหมอลำหญิงชาวไทยสังกัดแกรมมี่โกลด์
เธอเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เธอซึมซับการเป็นศิลปินมาจากบิดาและครอบครัว และเธอได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติมจากฉวีวรรณ ดำเนิน จนเมื่อเธอจบปริญญาตรี เธอได้พบกับอำไพ มณีวงษ์ นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำชื่อดัง อำไพได้พาเธอไปพบกับสลา คุณวุฒิและเธอได้เป็นศิลปินในโครงการ น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2 และบันทึกเสียงผลงานเพลงในโครงการคือ ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง และ น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม และหลังจากนั้นเธอจึงได้เป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]
เธอเกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2535 ที่ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด[1] เป็นบุตรีของนางเหรียญทองและนายสุวรรณ พลพุทธา (เสียชีวิตแล้ว)[2] เธอสำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนบ้านสีแก้ว ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และระดับปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์[1]
ชีวิตในวงการบันเทิง[แก้]
เธอซึมซับการเป็นนักร้องมาจากครอบครัว เธอมีศักดิ์เป็นหลานลุงของร้อยเอ็ด เพชรสยาม[1] และหลานป้าของวรรณภา สารคามซึ่งเป็นนักร้องหมอลำของคณะนกยูงทอง[1] ประกอบกับบิดานั้นเป็นหมอลำ ทำให้เธอติดตามบิดาและมารดาพร้อมครอบครัวไปในงานแสดงของบิดาทุกครั้ง จนกระทั่งเธอศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เธอได้เป็นหางเครื่องของวงดนตรีของบิดา และต่อมารุ่นพี่ได้ชักชวนเธอไปเป็นหางเครื่องและหมอลำตัวประกอบในคณะนกเอี้ยงโมง เมื่อเธอจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เธอได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และเธอได้พบกับฉวีวรรณ ดำเนิน ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมาสอนหมอลำที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด[1] เธอได้รับการอบรมและฝึกฝนในการเป็นหมอลำจากฉวีวรรณ ทั้งลำทำนองขอนแก่น ลำทำนองมหาสารคาม ลำทำนองอุบล หรือแม้แต่ลำทำนองจากประเทศลาว อาทิ ลำสาละวัน ลำตั้งหวาย เป็นต้น[1]
เธอเริ่มเห็นว่า เธอมีพรสวรรค์และหลงไหลในด้านการร้องเพลง[1] เธอได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จนจบปริญญาตรี ต่อมาเธอได้พบกับอำไพ มณีวงษ์ นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำที่มีชื่อเสียง อำไพพบว่าเธอมีแววและความสามารถ จึงให้เธอบันทึกเสียงการร้องหมอลำเอาไว้ หลังจากนั้นได้นำไปให้สลา คุณวุฒิ จนกระทั่งผ่านไปเป็นปี สลาได้ติดต่อเธอให้ไปบันทึกเสียงจากเพลงในโครงการ น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2[3] ในเพลง ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง และ น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม จากนั้นเธอกลายเป็นศิลปินสังกัดแกรมมี่โกลด์ นับแต่นั้นเป็นต้นมา มีผลงานอันเป็นที่รู้จักหลังจากนี้อาทิ วอนปู่ลำโขง, วัยอกหัก[4], ฮักแล้วคือบ่ฮักเลย[5] เป็นต้น
ใน พ.ศ. 2563 เธอได้ร่วมงานกับเบียร์ พร้อมพงษ์ ในเพลง เรวัตตะฮักนะลีลาวดี และ เรวัตตะลาฮัก[6] ใน พ.ศ. 2564 เธอเริ่มเป็นที่รู้จักจากซิงเกิลแนวหมอลำของเธอคือ งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า[7] ซึ่งประพันธ์โดยดอย อินทนนท์ โดยใช้ทำนอง งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว ของบานเย็น รากแก่น และผลงานล่าสุดของเธอคือ กะคนบ่ฮักกัน ซึ่งขับร้องและประพันธ์โดยเธอเอง[8]
ผลงานเพลง[แก้]
อัลบั้มเดี่ยว[แก้]
ปี | ชื่ออัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
2565 |
โอ้ ล่ะ หนอ...หมอลำ[แก้]
|
|
ซิงเกิ้ลเดี่ยว[แก้]
ปี | ชื่อเพลง | ค่าย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2559 | เล่าสู่หลานฟัง (ต้นฉบับ สลา คุณวุฒิ) | แกรมมี่โกลด์ | - |
2560 | ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง | เพลงในโปรเจกต์ น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2 จากเวทีฝันสู่ เวทีจริง | |
น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจทิ้ง | |||
2561 | วอนปู่ลำโขง | ||
2562 | ของอ้ายหรือของถิ่ม | Single แรกภายใต้สังกัดแกรมมี่โกลด์ | |
ฮักมาแต่ชาติก่อน (ต้นฉบับ ต่าย อรทัย) | เพลงในโปรเจกต์ บทเพลงของดอกหญ้า วัน - เวลา - บ่อาจลบ | ||
New Year เสียแฟน | - | ||
2563 | วัยอกหัก | ||
เสียงแคนจากแมนชั่น (ต้นฉบับ ไหมไทย ใจตะวัน) | เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 25ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ | ||
ฮักแล้วคือบ่ฮักเลย | - | ||
2564 | ฝากซองกินดองแฟน (ต้นฉบับ ศิริพร อำไพพงษ์) | เพลงในโปรเจกต์ ลุยโลดรถแห่ | |
งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า | - | ||
กะคนบ่ฮักกัน | |||
ปี่ลำข้าว |
เพลงที่ไปร่วมร้องกับศิลปินอื่น[แก้]
ปี | ชื่อเพลง | ศิลปินร่วม | ค่าย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2560 | ปีใหม่ทุกวัน | ร้องรวมทั้งสังกัด แกรมมี่ โกลด์ | แกรมมี่ โกลด์ | เพลงในโปรเจกต์พิเศษ 'ซิงเกิ้ลพิเศษต้อนรับปีใหม่ |
2562 | ฮักต้องบี้ | ตรี ชัยณรงค์ | เพลงประกอบภาพยนตร์ ฮักบี้บ้านบาก | |
2563 | เป็นใด๋แน | ครูสลา, เสถียร, ตรี, เบียร์, เจมส์, มนต์แคน, เล้ง และส้ม | - | |
เรวัตตะฮักนะลีลาวดี | เบียร์ พร้อมพงษ์ | |||
2564 | เรวัตตะลาฮัก |
เพลงในโปรเจกต์พิเศษ[แก้]
ปี | ชื่อโปรเจกต์ | เพลงที่มี เวียง นฤมล ร้อง |
---|---|---|
2560 |
น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2 จากเวทีฝันสู่เวทีจริง[แก้] |
|
ซิงเกิ้ลพิเศษต้อนรับปีใหม่ 2561[แก้] |
| |
2562 |
บทเพลงของดอกหญ้า วัน-เวลา-บ่อาจลบ[แก้] |
|
2563 |
25 ปี แกรมมี่ โกลด์ 25 ปี แห่งความผูกพัน ฉันและเธอ[แก้] |
|
2564 | ลุยโลดรถแห่ |
|
ผลงานการแสดง[แก้]
ละครโทรทัศน์[แก้]
เรื่อง | ปี | บทบาท | ออกอากาศ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
มงกุฎดอกหญ้า | 2563 | แพทย์หญิง ณัฐลี นาบุญหลาย (หมอลี) (พี่สาวของณัชชา) | ช่องวัน 31 | รับเชิญ |
มิวสิควีดีโอ[แก้]
- เพลง หนีช้ำมาลำซิ่ง ศิลปิน ส้ม พฤกษา (2560)
- เพลง สิเทน้อง ให้บอกแน ศิลปิน ต่าย อรทัย (2561)
- เพลง ของอ้ายหรือของถิ่ม (2562)
- เพลง New Year เสียแฟน (2562)
- เพลง วัยอกหัก (2563)
- เพลง ฮักแล้วคือบ่ฮักเลย (2563)
- เพลง เรวัตตะฮักนะลีลาวดี เบียร์ พร้อมพงษ์ และ เวียง นฤมล (2563)
- เพลง คิดฮอดจังภูลังกา (2565)
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต ดนตรีบำบัด คืนคนดีสู่สังคม ครั้งที่ 10 (2561)
- คอนเสิร์ต ดนตรีบำบัด คืนคนดีสู่สังคม ครั้งที่ 12 (2561)
- คอนเสิร์ต ดนตรีบำบัด คืนคนดีสู่สังคม ครั้งที่ 14 (2562)
- คอนเสิร์ต 25 ปี แกรมมี่ โกลด์ เส้นทางมิตรภาพโรดทัวร์ (2563 / รังสิต & อยุธยา)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 เวียง นฤมล – The IsanGate ประตูสู่อีสานบ้านเฮา
- ↑ แฟนคลับแห่ร่วมอาลัย “เวียง นฤมล” คุณพ่อจากไปอย่างสงบ
- ↑ "เปิดบันทึก รัก ลวง พราง! "เวียง นฤมล" น้องใหม่ไต่ดาว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-22.
- ↑ "เวียง นฤมล" ชวนลืมทุกเรื่องราวแล้วก้าวผ่าน "วัยอกหัก" ไปด้วยกัน
- ↑ ‘เวียง-นฤมล’สุดทน!!! หันหลังให้กับสิ่งเดิมๆ
- ↑ 'เบียร์-เวียง'คู่หวานคู่ใหม่ในตำนานรัก'เรวัตตะฮักนะลีลาวดี'
- ↑ ‘เวียง นฤมล’ขอสอบวิชาหมอลำใน ‘งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า’
- ↑ เจ้าแม่เพลงเศร้า! MV เพลงลูกทุ่งใหม่ กะคนบ่ฮักกัน เวียง นฤมล แต่งเองร้องเองเจ็บถึงใจจนติดเทรนด์ (มีคลิป)