มุน แจ-อิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุน แจ-อิน
문재인
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
นายกรัฐมนตรีฮวัง กโย-อัน
ยู อิล-โฮ (รักษาการ)
ลี นัก-ยอน
ช็อง เซ-กยุน
ฮง นัม-กี (รักษาการ)
คิม บูคยุม
ก่อนหน้าฮวัง กโย-อัน
(รักษาการ)
ถัดไปยุน ซ็อก-ย็อล
หัวหน้าพรรคประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
9 กมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 – 27 มกราคม พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าอัน ช็อล-ซู, คิม ฮัน-กิล
ถัดไปคิม ช็อง-อิน
(รักษาการ)
สมาชิกรัฐสภา
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าชัง เจ-ว็อน
ถัดไปชัง เจ-ว็อน
เขตเลือกตั้งซาซัง (ปูซาน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 มกราคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
คยอเจ จังหวัดคย็องซังใต้ สาธารณรัฐเกาหลี
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตย
คู่สมรสคิม จ็อง-ซุก
บุตรลูกสาว 1, ลูกชาย 1
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยคย็องฮี (กฎหมาย)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ เกาหลีใต้
สังกัด กองทัพสาธารณรัฐเกาหลี
ประจำการพ.ศ. 2518–2521
ยศบย็องจัง
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
문재인
ฮันจา
อาร์อาร์Mun Jaein
เอ็มอาร์Mun Chaein

มุน แจ-อิน (เกาหลี문재인; ฮันจา文在寅, เสียงอ่านภาษาเกาหลี: /mun.dʑɛ.in/;[a]; เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2496) เป็นอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน พรรคมินจู ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2559 เขาเคยเป็นนักกฎหมาย และหัวหน้าคณะทำงานของอดีตประธานาธิบดี โน มู-ฮย็อน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555 เขาชนะการเลือกตั้งในเขตซาแซง, ปูซาน ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555 มุนได้รับเลือกเป็นตัวแทนของพรรครวมประชาธิปไตย ให้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในปี 2555 หลังจากได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งขั้นต้นของพรรค แต่เขาก็พ่ายแพ้ให้แก่ประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย ในการเลือกตั้งครั้งนั้น

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา[แก้]

เกิดที่คอเจ, เกาหลีใต้ มุน แจ-อิน เป็นบุตรชายคนแรกของมุน ยง-ฮย็อง (บิดา) และ คัง ฮัน-อ๊ก (มารดา) มีพี่น้องทั้งหมดห้าคน บิดาของเขาเป็นผู้ลี้ภัยจากจังหวัดฮัมคย็องใต้ โดยบิดาของมุนหลบหนีออกมาจากเมืองเกิด ฮัมฮึง ระหว่างการล่าถอยฮัมฮึง บิดาของเขามาตั้งรกรากที่เมืองคอเจ โดยเป็นแรงงานที่ค่ายนักโทษสงครามคอเจ และในที่สุดแล้วครอบครัวของเขาก็ได้มาตั้งรกรากกันที่ปูซาน และมุนเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมคย็องนัม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ตั้งอยู่นอกโซล ต่อมาเขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคย็องฮี ในสาขากฎหมาย โดยเขาถูกจับกุมและขับไล่ออกจากมหาวิทยาลัย ซึ่งในข้อหาที่เขาเป็นผู้จัดการนักศึกษาเพื่อประท้วงต่อต้านรัฐธรรมนูญยูซิน ต่อมาเขาถูกบังคับให้เข้าระดมพลในกองทัพ และถูกเกณฑ์เข้าไปอยู่ในหน่วยรบพิเศษ ที่ซึ่งเขาเข้ามีส่วนร่วมในปฏิบัติการทางทหารระหว่างเหตุการณ์การฆาตกรรมโดยใช้ขวาน ภายหลังปลดประจำการ เขาสำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิต และได้รับการตอบรับเข้าสู่สถาบันวิจัยทางตุลาการ และฝึกอบรม โดยเขาได้รับคะแนนสูงสุดเป็นลำดับสองในรุ่น แม้ว่าเขาจะทำคะแนนได้อย่างดีเยี่ยมในการอบรม แต่เขาไม่ได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นผู้พิพากษา เนื่องจากเขาเคยเป็นผู้จัดการการประท้วงของนักศึกษา[1] และเขาได้เลือกที่จะเป็นทนายความแทน และในปี พ.ศ. 2559 เขาได้ก้าวลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคมินจู

อาชีพ[แก้]

ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน[แก้]

เมื่อมุน แจ-อิน เป็นทนายความ เขาเป็นหุ้นส่วนและทำงานร่วมกับ โน มู-ฮย็อน[2] พวกเขาเป็นเพื่อนกันจนกระทั่งการถึงแก่อสัญกรรมของโน ในปี พ.ศ. 2552 ระหว่างทำงานร่วมกันโน เขาได้ทำคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง เขาเป็นสมาชิกของมินบย็อน (กลุ่มทนายความเพื่อสังคมประชาธิปไตย) และประธานกลุ่มสิทธิมุษยชนที่เนติบัณฑิตยสภาปูซาน

ฮันคยอเร[แก้]

เขาเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้า ฮันคยอเร ในปี 2531[3]

การหาเสียงของโน มู-ฮย็อน[แก้]

เนื่องจากการยืนกรานของโน เขาจึงกลายเป็นผู้จัดการการหาเสียงของโน ในช่วงที่โนเสนอตัวชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[4]

สมัยประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน[แก้]

ภายหลังจากโนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี เขากลายเป็นหัวหน้าคณะทำงานและกลายเป็นผู้ใกล้ชิด

การถึงแก่อสัญกรรมของโน มู-ฮย็อน[แก้]

เมื่อพนักงานอัยการเริ่มสืบสวนโน มู-ฮย็อน ในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวง มุนเป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายให้กับโน ภายหลังจากโนกระทำอัตวิบาต มุนได้รับผิดชอบในงานพิธีศพและจัดการเกี่ยวกับธุระส่วนตัว การเปิดตัวของเขาต่อสาธารณชนอย่างสง่างามและมีความน่าไว้วางใจในฐานะผู้ช่วยมือขวาของโน ได้สร้างความประทับใจให้แก่สาธารณชน และกลุ่มเสรีนิยมในเกาหลีใต้ได้หนุนมุนให้เข้าเป็นตัวแทนในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้กับพรรคแซนูรี ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งมีผู้แทนคือ พัก กึน-ฮเย

เข้าสู่การเมือง[แก้]

มุนเริ่มต้นทำงานของเขาโดยเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยเขาตีพิมพ์หนังสือบันทึกความทรงจำของเขามีชื่อว่า มุน แจ-อิน: พรหมลิขิต ซึ่งได้กลายเป็นหนังสือขายดีเล่มหนึ่ง[5] ต่อมาความนิยมของเขาเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆ ในการต่อสู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับ พัก กึน-ฮเย เช่น จากการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 มุนประสบความสำเร็จโดยได้รับความนิยมเท่ากันกับพัก[6]

มุนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากความเสื่อมความนิยมของพรรคอนุรักษ์นิยมท่านกลางเหตุการณ์อื้อฉาวเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง ดังที่ผู้เชี่ยวชาญผู้หนึ่งได้กล่าวไว้ว่า "มุนสามารถบรรยายตัวของเขาเองเป็นคนที่มีความคิดเห็นไม่รุนแรงและเป็นผู้นำที่มีเหตุผล ผู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังกลุ่มคนรุ่นใหม่[7] ในช่วงต้นปี 2555 มุนเสนอตัวเขาชิงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาและดำเนินการหาเสียงทางตะวันตกของปูซาน และเขายังลงรับสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี ก่อนจะพ่ายแพ้ให้แก่ พัก กึน-ฮเย บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี พัก ช็อง-ฮี[8]

ผู้นำฝ่ายค้าน[แก้]

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 มุนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคพันธมิตรการเมืองใหม่เพื่อประชาธิปไตย ภายหลังจากหัวหน้าพรรคคนเก่า และคู่แข่งในการลงสมัครคัดเลือกประธานาธิบดี อัน ช็อล-ซู ออกจากพรรคไป มุนได้มองหานักการเมืองที่มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายคน เช่น อดีตตำรวจ พโย ช็อง-ว็อน, นักวิจารย์การเมือง อี ช็อล-ฮี และอดีตเลขาธิการของประธานาธิบดีพัก โช อึง-ชุน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาในปี พ.ศ. 2559 ภายหลังจากสรรหาบุคคลต่างๆเข้าสู่พรรค เขาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อหลีกทางให้กับ คิม ช็อง-อิน[9]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

มุนสมรสแล้วและมีบุตรสาวหนึ่งคนและบุตรชายหนึ่งคน เขานับถือเป็นโรมันคาทอลิก

ประสบการณ์การทำงาน[แก้]

  • มกราคม พ.ศ. 2559 - ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน
  • ธันวาคม พ.ศ. 2555- ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ครั้งที่ 18
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - สมาชิกรัฐสภาเขตซาซัง, ปูซาน
  • สิงหาคม พ.ศ. 2550 - ประธานการส่งเสริมการประชุมสุดยอดเกาหลีเหนือ-ใต้ ครั้งที่ 2
  • มีนาคม พ.ศ. 2550 ~ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 - หัวหน้าคณะทำงานของประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน
  • มกราคม พ.ศ. 2548 ~ พฤษภาคม พ.ศ. 2549 - เลขานุการประธานาธิบดีอาวุโสสำหรับกิจการพลเรือน
  • พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ~ มกราคม พ.ศ. 2548 - เลขานุการประธานาธิบดีอาวุโสสำหรับกิจการสังคม
  • พ.ศ. 2546 ~ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 -เลขานุการประธานาธิบดีอาวุโสสำหรับกิจการพลเรือน

หมายเหตุ[แก้]

  1. แจ-อิน แบบเดี่ยวออกเสียงเป็น เสียงอ่านภาษาเกาหลี: /t͡ɕɛ.in/

อ้างอิง[แก้]

  1. "대선주자 인물탐구 민주통합당 문재인". 경남신문. 2012-08-13.
  2. http://www.tvreport.co.kr/?c=news&m=newsview&idx=188020"Tv report"
  3. UnMyeong (destiny). Seoul: Moon Jae In. 2011. pp. 196~205. ISBN 978-89-7777-188-8.
  4. UnMyeong (destiny). Seoul: Moon Jae In. 2011. pp. 196~205. ISBN 978-89-7777-188-8.
  5. Evan Ramstad Wall Street Journal, Moon Jae-in Steps Back Into the Spotlight, July 21, 2011
  6. "Presidential poll: Moon Jae-in neck-and-neck with Park Geun-hye Andy Jackson Feb 18, 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-07-20.
  7. "Moon rises in open South Korea presidential race Reuters". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-29. สืบค้นเมื่อ 2016-07-20.
  8. Associated Press (19 December 2012). "Dictator's daughter elected South Korea's first female president". National Post. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.
  9. Associated Press (19 December 2012). "Dictator's daughter elected South Korea's first female president". National Post. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]