ภาษาทมิฬ
ภาษาทมิฬ | |
---|---|
Tamiḻ | |
தமிழ் | |
ศัพท์ "ทมิฬ" ในอักษรทมิฬ | |
ออกเสียง | [t̪amiɻ]; |
ประเทศที่มีการพูด | อินเดียและศรีลังกา |
ภูมิภาค | รัฐทมิฬนาฑู[a] (อินเดีย) จังหวัดตอนเหนือและตะวันออก (ศรีลังกา) |
ชาติพันธุ์ | ชาวทมิฬ |
จำนวนผู้พูด | 75 ล้านคน (2011–2019)[1][2] ผู้พูดภาษาที่สอง: 8 ล้านคน (2011)[1] |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | |
ระบบการเขียน | ทมิฬ (อักษรพราหมี) ทมิฬ-พราหมี (อดีต) ครันถะ (อดีต) วัตเตลุตตุ (อดีต) ปัลลวะ (อดีต) Kolezhuthu (อดีต) อาร์วี (อักษรไร้สระ) อักษรเบรลล์ทมิฬ (Bharati) ละติน (ไม่ทางการ) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย ศรีลังกา[5] สิงคโปร์[6] องค์กร อาเซียน[7] |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | มาเลเซีย[8] แอฟริกาใต้[b][9] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ta |
ISO 639-2 | tam |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง:tam – Modern Tamiloty – Old Tamil |
นักภาษาศาสตร์ | oty Old Tamil |
Linguasphere | 49-EBE-a |
ภาษาทมิฬ (ทมิฬ: தமிழ், Tamiḻ, [t̪amiɻ], ) เป็นภาษาดราวิเดียนคลาสสิกที่พูดโดยชาวทมิฬในอนุทวีปอินเดีย และชาวมัวร์ศรีลังกา ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการในรัฐทมิฬนาฑูของประเทศอินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์[10][6] และในดินแดนสหภาพปุฑุเจรี ภาษานี้ยังเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐอินเดียตอนใต้ 4 รัฐ คือ รัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐอานธรประเทศ และรัฐเตลังคานา กับดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดเป็นชาวทมิฬพลัดถิ่นในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย, พม่า, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, แคนาดา, ออสเตรเลีย และมอริเชียส ภาษานี้ได้รับการบรรจุลงในหนึ่ง 22 ภาษาในกำหนดของรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาษาทมิฬเป็นภาษาแรกที่ได้รับการจัดประเภทเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย
ภาษาทมิฬเป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกที่คงอยู่นานที่สุดในโลก[11][12][13] A. K. Ramanujan กล่าวถึงภาษานี้เป็น "ภาษาเดียวในอินเดียสมัยใหม่ที่สืบต่ออย่างต่อเนื่องจากอดีต"[14] รูปแบบและคุณภาพของวรรณกรรมทมิฬคลาสสิกทำให้มีการกล่าวถึงเป็น "หนึ่งในธรรมเนียมและวรรณกรรมคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก"[15] โดยมีการบันทึกวรรณกรรมทมิฬมากกว่า 2000 ปี[16] Sangam literature วรรณกรรมภาษาทมิฬยุคแรกสุด มีอายุ ป. 300 ปีก่อนคริสตศักราชถึง ค.ศ. 300[17][18] มีวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน[12] บันทึกคำจารึกแรกสุดที่พบบนศิลาจารึกและศิลาวีรบุรุษ สืบต้นตอประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[19][20] กรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดียระบุว่าจากจารึกที่พบ 100,000 อัน มี 6,000 อันอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู และในจำนวนนั้นส่วนใหญเขียนด้วยภาษาทมิฬ โดยมีภาษาอื่น ๆ เพียงประมาณ 5%[21] นอกจากนี้ ยังมีผู้พบจารึกภาษาทมิฬที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในประเทศศรีลังกา และในสินค้าที่ประเทศไทยและอียิปต์[22][23] เอกสารตัวเขียนแรกสุดสองอันจากอินเดีย[24][25] ที่ทางความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโกให้การยอมรับและบรรจุใน ค.ศ. 1997 และ 2005 เขียนด้วยภาษาทมิฬ[26]
ใน ค.ศ. 1578 มิชชันนารีชาวโปรตุเกสตีพิมพ์ Thambiran Vanakkam หนังสือสวดมนต์ภาษาทมิฬในอักษรทมิฬเก่า ทำให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาอินเดียภาษาแรกที่มีการพิมพ์และตีพิมพ์[27] Tamil Lexicon ที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยมัทราส เป็นหนึ่งในพจนานุกรมรุ่นแรกในบรรดาภาษาอินเดีย[28] ตามรายงานจากการสำราจใน ค.ศ. 2001 มีหนังสือพิมพ์ 1,863 ฉบับที่ตีพิมพ์ในภาษาทมิฬ ในจำนวนนี้มี 353 ฉบับที่ตีพิมพ์ทุกวัน[29]
การจัดอันดับ
[แก้]ภาษาทมิฬอยู่ในสาขาทางใต้ของตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นตระกูลที่มีภาษาประมาณ 26 ภาษาในอนุทวีปอินเดีย[30] และยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของภาษากลุ่มทมิฬ เนื่องจากเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์-ภาษาประมาณ 35 กลุ่ม[31] เช่น Irula และ Yerukula (ดู SIL Ethnologue)
ญาติหลักที่ใกล้ชิดที่สุดของภาษาทมิฬคือภาษามลยาฬัม โดยสองภาษานี้เริ่มแยกจากกันประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 9[32] ถึงแม้ว่าความแตกต่างหลายอย่างระหว่างภาษาทมิฬและมลยาฬัมแสดงให้เห็นถึงการแยกในอดีตของภาษาย่อยตะวันตก[33] ภาษามลยาฬัมยังไม่เป็นภาษาของตนเองจนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือ 14[34]
ประวัติ
[แก้]Bhadriraju Krishnamurti รายงานว่า ภาษาทมิฬสืบทอดจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม จากการฟื้นฟูทางภาษาศาสตร์ (Linguistic reconstruction) กล่าวแนะว่าภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีผู้พูดประมาณสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชในภูมิภาครอบ ๆ ลุ่มแม่น้ำโคทาวรีตอนล่างในคาบสมุทรอินเดีย พยานวัตถุในบริเวณนั้นกล่าวแนะว่าผู้พูดภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับยุคหินใหม่ในอินเดียตอนใต้[35] บันทึกแรกสุดในภาษาทมิฬเก่าคือจารึกสั้นใน 905 ถึง 696 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่ Adichanallur[36][37]
ในบรรดาภาษาอินเดีย ภาษาทมิฬมีวรรณคดีอินเดียที่ไม่ใช่ภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุด[38] นักวิชาการแบ่งประวัติภาษานี้ออกเป็นสามช่วง: ทมิฬเก่า (600 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 700), ทมิฬกลาง (ค.ศ. 700 – 1600) และทมิฬใหม่ (ค.ศ. 1600 – ปัจจุบัน)[39] ใยเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 จากการขุดค้นที่ Quseir-al-Qadim เผยให้เห็นเครื่องปั้นดินเผาอียิปต์ที่มีจารึกภาษาทมิฬพราหมีที่สืบต้นกำเนิดถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[22] มีจำนวนคำยืมภาษาทมิฬในภาษาฮีบรูไบเบิลปรากฎอย่างชัดเจนที่สืบถึงก่อน 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นการรับรองภาษาที่เก่าแก่ที่สุด[40] จอห์น กายกล่าวว่า ภาษาทมิฬเคยเป็นภาษากลางของนักเดินเรือจากอินเดียช่วงแรก[41]
ในช่วง ค.ศ. 2017 ถึง 2018 มีการพบโบราณวัตถุ 5,820 ชิ่นที่ Keezhadi โดยมีการส่งโบราณวัตถุไปยัง Beta Analytic ที่ไมแอมี รัฐฟลอริดา เพื่อหาปีที่ผลิตด้วย Accelerator Mass Spectrometry (AMS) ตัวอย่างหนึ่งมีจารึกภาษาทมิฬ-พราหมีที่อ้างว่าสร้างขึ้นประมาณ 580 ปีก่อนคริสต์ศักราช[42][43]
ตำนาน
[แก้]รายงานจากตำนานฮินดู พระศิวะทรงสร้างชาวทมิฬ หรือในบุคลาธิษฐานของ Tamil Thāi (มารดาทมิฬ) พระมุรุกันได้รับการยกย่องเป็นเทพของชาวทมิฬ กับฤๅษี Agastya นำภาษานี้ให้กับประชาชน[44]
ภาษาทมิฬโบราณ
[แก้]จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี[45] ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 – 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง
ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่
ภาษาทมิฬยุคกลาง
[แก้]ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19–21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤตมากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา
ภาษาทมิฬยุคใหม่
[แก้]ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
[แก้]ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยชนกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่อื่น ๆ ของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา
จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย[46] ไทย[47] มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้ และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟีจี ซูรินาม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน[48] แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตก
สถานะทางกฎหมาย
[แก้]ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาในกำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย[49] ภาษานี้เป็นภาษาราชการร่วมในดินแดนสหภาพปุฑุเจรีและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์[50][51] ภาษาทมิฬยังเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศศรีลังการ่วมกับภาษาสิงหล[10] ภาษาทมิฬเคยมีสถานะทางการในรัฐหรยาณา ถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้พูดภาษาทมิฬในรัฐนี้ ภายหลังเปลี่ยนไปใช้ภาษาปัญจาบใน ค.ศ. 2010[52] ในประเทศมาเลเซีย มีโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ[53]
นอกจากนี้ หลังการจัดตั้งสถานะทางกฎหมายสำหรับภาษาคลาสสิกโดยรัฐบาลอินเดียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 และหลังการรณรงค์ทางการเมืองที่สมาคมทมิฬบางส่วนสนับสนุน[54][55] ภาษาทมิฬกลายเป็นภาษาแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นภาษาคลาสสิกตามกฎหมายของอินเดีย ซึ่งประกาศโดยอับดุล กลาม ประธานาธิบดีอินเดียที่มีชาวทมิฬเอง ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2004[56][57][58]
สำเนียง
[แก้]ความแปรผันของคำยืม
[แก้]สำเนียงของภาษาทมิฬในรัฐเกรละมีคำยืมจากภาษามลยาฬัมมาก และได้รับอิทธิพลจากการเรียงประโยคของภาษามลยาฬัม สำเนียงของกลุ่มผู้นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งอพยพไปอยู่รัฐกรณาฏกะได้พัฒนาสำเนียงเป็นของตนเอง ภาษาทมิฬในศรีลังกามีคำยืมจากภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษาดัตช์ด้วย
ความผันแปรของท้องถิ่น
[แก้]ความแตกต่างของภาษาทมิฬขึ้นกับการเปลี่ยยนแปลงการออกเสียงที่ต่างไปจากภาษาทมิฬโบราณ เช่นคำว่า ที่นี่ (iṅku) ในสำเนียงคลาสสิกกลายเป็น iṅkū ในสำเนียงโกนคู inga ในสำเนียงธันชวูร์ และ iṅkai ในบางสำเนียงของศรีลังกา คำว่า iṅkaṇ ในภาษาทมิฬโบราณเป็นแหล่งที่มาของ iṅkane ในสำเนียงติรูเนลเวลี ภาษาทมิฬโบราณ iṅkaṭṭu เป็นที่มาของ iṅkuṭṭu ในสำเนียงมาดูไร และ iṅkaṭe ในสำเนียงทางเหนืออื่น ๆ แม้ว่าปัจจุบันในโจอิมบาตอเรจะเป็นปกติที่จะได้ยิน akkaṭṭa ซึ่งหมายถึงสถานที่นี้ สำเนียงของภาษาทมิฬไม่ได้ต่างกันทางด้านคำศัพท์มากนัก สำเนียงในศรีลังกายังคงรักษาคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์ที่ไม่พบในการพูดในชีวิตประจำวันในอินเดียและใช้คำบางคำต่างไปบ้าง
ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน
[แก้]ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฎูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฎูนตามิฬ[59]
ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฎูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนตร์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฎูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา[60] แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา
ระบบการเขียน
[แก้]อักษรทมิฬมีสระ 12 ตัว พยัญชนะ 18 ตัวและเครื่องหมายพิเศษคืออายตัม สระและพยัญชนะประสมกันได้รูปแบบผสม 216 แบบ ทำให้มีทั้งหมด 247 แบบ พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็น /อะ/ ซึ่งเอาออกได้โดยเติมปุลลิซึ่งเป็นจุดอยู่ใต้พยัญชนะ ไม่มีการแยกเสียงโฆษะและอโฆษะ นอกจากอักษรมาตรฐานแล้ว ยังมีอักษรอีก 6 ตัวมาจากอักษรครันถ์ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในหมู่ชาวทมิฬ และใช้แสดงเสียงที่ไม่ใช่เสียงพื้นฐานของภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาอื่น ๆ
สระ
[แก้]สระในภาษาทมิฬเรียกอูยิเรฬุตตุ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น (กุริล) 5 เสียง เสียงยาว 5 เสียงและสระประสม (/ไอ/และ/เอา/) และสระที่ถูกทำให้สั้น (กุรริยัล) 3 เสียง สระเสียงยาว (เนฏิล) มีเสียงยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น สระประสมออกเสียงเป็น 1.5 เท่าของสระเสียงสั้น แต่ในตำราไวยากรณ์มักเอาไปรวมกับสระเสียงยาว
Short | Long | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
Front | Central | Back | Front | Central | Back | |
Close | i | u | iː | uː | ||
இ | உ | ஈ | ஊ | |||
Mid | e | o | eː | oː | ||
எ | ஒ | ஏ | ஓ | |||
Open | a | (ai) | aː | (aw) | ||
அ | ஐ | ஆ | ஒள |
พยัญชนะ
[แก้]พยัญชนะในภาษาทมิฬเรียกว่าเมยเยฬุตตุ แบ่งเป็นสามหมวดคือ เสียงหนัก (วาลิณัม) เสียงเบาหรือเสียงนาสิก (เมลลิณัม) และเสียงกลาง (อิฏายิณัม) ภาษาทมิฬต่างจากภาษาอื่นๆในอินเดียที่ไม่แยกเสียงมีลมและไม่มีลม เสียงนาสิกส่วนมากเป็นเสียงโฆษะ ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้น (ฬ) ซึ่งในตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วยกันพบในภาษามลยาฬัม หายไปจากการออกเสียงภาษากันนาดาเมื่อราว พ.ศ. 1543 แต่ยังมีอักษรใช้อยู่ และไม่พบในภาษาเตลูกู[61]
Labial | Dental | Alveolar | Retroflex | Palatal | Velar | |
---|---|---|---|---|---|---|
Plosives | p (b) | t̪ (d̪) | ʈ (ɖ) | tʃ (dʒ) | k (ɡ) | |
ப | த | ட | ச | க | ||
Nasals | m | n̪ | n | ɳ | ɲ | ŋ |
ம | ந | ன | ண | ஞ | ங | |
Tap | ɾ̪ | |||||
ர | ||||||
Trill | r | |||||
ற | ||||||
Central approximants | ʋ | ɻ | j | |||
வ | ழ | ய | ||||
Lateral approximants | l̪ | ɭ | ||||
ல | ள |
อายตัม
[แก้]ในภาษาทมิฬคลาสสิก มีหน่วยเสียงอายตัม เขียนเป็น ‘ஃ' ซึ่งไวยากรณ์ในยุคนั้นแยกเป็นหน่วยเสียงหนึ่ง[62] แต่พบน้อยในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ในตำราไวยากรณ์ยุคคลาสสิกกล่าวว่าอายตัมเปลี่ยนเสียงที่เข้ารวมด้วยให้เป็นเสียงจากเส้นเสียงหรือใช้เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ส่วนในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ใช้เปลี่ยน pa เป็น fa เมื่อเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรทมิฬ
ตัวเลขและเครื่องหมายอื่น ๆ
[แก้]0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 100 | 1000 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
௦ | ௧ | ௨ | ௩ | ௪ | ௫ | ௬ | ௭ | ௮ | ௯ | ௰ | ௱ | ௲ |
วัน | เดือน | ปี | debit | credit | เหมือนข้างบน | รูปี | numeral |
---|---|---|---|---|---|---|---|
௳ | ௴ | ௵ | ௶ | ௷ | ௸ | ௹ | ௺ |
ไวยากรณ์
[แก้]บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ
ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nannūl ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, yāppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี
ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับตระกูลภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1 ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้
คำศัพท์
[แก้]คำศัพท์ภาษาทมิฬสมัยใหม่ ส่วนมากมาจากภาษาทมิฬโบราณ คำยืมจากภาษาสันสกฤตพบได้ทั่วไป นอกจากนั้นมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายในอดีต ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 25 เริ่มมีคำยืมจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะศัพท์เทคนิค มีการกำหนดศัพท์เทคนิคที่มาจากภาษาทมิฬเช่นกันโดยรัฐบาลศรีลังกาหรือมหาวิทยาลัยทมิฬวิชัล
ตัวอย่าง
[แก้]นี่คือตัวอย่างข้อความภาษาทมิฬแบบเขียนในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1:
ภาษาทมิฬในอักษรทมิฬ:
- உறுப்புரை 1: மனிதப் பிறவியினர் சகலரும் சுதந்திரமாகவே பிறக்கின்றனர்; அவர்கள் மதிப்பிலும், உரிமைகளிலும் சமமானவர்கள், அவர்கள் நியாயத்தையும் மனச்சாட்சியையும் இயற்பண்பாகப் பெற்றவர்கள். அவர்கள் ஒருவருடனொருவர் சகோதர உணர்வுப் பாங்கில் நடந்துகொள்ளல் வேண்டும்.।
ถอดเป็นอักษรโรมัน:
- Uṟuppurai 1: Maṉitap piṟaviyiṉar cakalarum cutantiramākavē piṟakkiṉṟaṉar; avarkaḷ matippilum, urimaikaḷilum camamāṉavarkaḷ, avarkaḷ niyāyattaiyum maṉaccāṭciyaiyum iyaṟpaṇpākap peṟṟavarkaḷ. Avarkaḷ oruvaruṭaṉoruvar cakōtara uṇarvup pāṅkil naṭantukoḷḷal vēṇṭum.
- urupːurai ond̺rʉ | mənid̪ə piriʋijinər səgələrum sud̪ən̪d̪irəmaːgəʋeː pirəkːin̺d̺ranər | əvərgəɭ məd̪ipːilum uriməigəɭilum səməmaːnəʋərgəɭ | əvərgəɭ nijaːjatːəijum mənətt͡ʃaːʈt͡ʃijəijum ijərpəɳbaːgə pet̺rəʋərgəɭ | əvərgəɭ oruʋəruɖənoruʋər sagoːdəɾə uɳərʋɨ paːŋgil nəɖən̪d̪ʉkoɭɭəl veːɳɖum |
แปล:
- ข้อ 1: มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เช่นเดียวกันกับอำเภอปุฑุเจรีกับKaraikal ในดินแดนสหภาพปุฑุเจรี
- ↑ ภาษาที่ได้รับการป้องกัน
- ↑ 1.0 1.1 ภาษาทมิฬ ที่ Ethnologue (24th ed., 2021)
- ↑ "Scheduled Languages in descending order of speaker's strength - 2011" (PDF). Registrar General and Census Commissioner of India. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2018. สืบค้นเมื่อ 28 June 2018.
- ↑ Official languages of Tamil Nadu, Tamil Nadu Government, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2012, สืบค้นเมื่อ 1 May 2007
- ↑ Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India: 50th report (delivered to the Lokh Sabha in 2014) (PDF), National Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India, p. 155, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 กรกฎาคม 2016, สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2017
- ↑ "Official Languages Policy". languagesdept.gov.lk. Department of Official Languages. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-12. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021.
- ↑ 6.0 6.1 Republic of Singapore Independence Act 1965 (No. 9 of 1965, 1985 Rev. Ed.), s7.
- ↑ Languages of ASEAN, สืบค้นเมื่อ 7 August 2017
- ↑ School languages, LINGUAMON, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2015, สืบค้นเมื่อ 26 March 2016
- ↑ "Constitution of the Republic of South Africa, 1996 – Chapter 1: Founding Provisions", www.gov.za, South African Government
- ↑ 10.0 10.1 Department of Official Languages, Government of Sri Lanka, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15, สืบค้นเมื่อ 13 September 2012
- ↑ "Tamil to be a classical language". The Hindu. New Delhi. 18 September 2004. สืบค้นเมื่อ 14 December 2020.
- ↑ 12.0 12.1 Stein, B. (1977), "Circulation and the Historical Geography of Tamil Country", The Journal of Asian Studies, 37 (1): 7–26, doi:10.2307/2053325, JSTOR 2053325, S2CID 144599197
- ↑ Steever 1998, pp. 6–9
- ↑ Zvelebil, Kamil (1973), The Smile of Murugan, BRILL, pp. 11–12, ISBN 978-90-04-03591-1
- ↑ Hart, George L. "Statement on the Status of Tamil as a Classical Language" เก็บถาวร 10 พฤศจิกายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, University of California, Berkeley, Department of South Asian Studies – Tamil
- ↑ Zvelebil 1992, p. 12: "...the most acceptable periodisation which has so far been suggested for the development of Tamil writing seems to me to be that of A Chidambaranatha Chettiar (1907–1967): 1. Sangam Literature – 200BC to AD 200; 2. Post Sangam literature – AD 200 – AD 600; 3. Early Medieval literature – AD 600 to AD 1200; 4. Later Medieval literature – AD 1200 to AD 1800; 5. Pre-Modern literature – AD 1800 to 1900"
- ↑ Definitive Editions of Ancient Tamil Works. Classical Tamil, Government of India
- ↑ Abraham, S.A. (2003), "Chera, Chola, Pandya: Using Archaeological Evidence to Identify the Tamil Kingdoms of Early Historic South India" (PDF), Asian Perspectives, 42 (2): 207, doi:10.1353/asi.2003.0031, hdl:10125/17189, S2CID 153420843
- ↑ Maloney, C. (1970), "The Beginnings of Civilization in South India", The Journal of Asian Studies, 29 (3): 603–616, doi:10.2307/2943246, JSTOR 2943246, S2CID 162291987 at p. 610
- ↑ Subramaniam, T.S. (29 August 2011), "Palani excavation triggers fresh debate", The Hindu, Chennai, India
- ↑ "Students get glimpse of heritage", The Hindu, Chennai, India, 22 November 2005, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2006
- ↑ 22.0 22.1 "Tamil Brahmi script in Egypt", The Hindu, 21 November 2007, สืบค้นเมื่อ 5 January 2015
- ↑ Mahadevan, Iravatham (24 June 2010), "An epigraphic perspective on the antiquity of Tamil", The Hindu, Chennai, India
- ↑ The I.A.S. Tamil Medical Manuscript Collection, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 13 September 2012
- ↑ Saiva Manuscript in Pondicherry, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 13 September 2012
- ↑ Memory of the World Register: India, UNESCO, สืบค้นเมื่อ 13 September 2012
- ↑ Karthik Madhavan (2010-06-20), "Tamil saw its first book in 1578", The Hindu
- ↑ Kolappan, B. (22 June 2014), "Delay, howlers in Tamil Lexicon embarrass scholars", The Hindu, Chennai, สืบค้นเมื่อ 25 December 2014
- ↑ India 2001: A Reference Annual 2001. Compiled and edited by Research, Reference and Training Division, Publications Division, New Delhi: Government of India, Ministry of Information and Broadcasting.
- ↑ Krishnamurti 2003, p. 19 harvnb error: multiple targets (2×): CITEREFKrishnamurti2003 (help)
- ↑ Perumal, A. K. (2005) Manorama Yearbook (Tamil), pp. 302–318.
- ↑ Concise Encyclopedia of Languages of the World, Elsevier, 2010, p. 297
- ↑ Menon, A. G. (2009), "Some observations on the sub-group Tamil-Malayalam: Differential realizations of the cluster * ṉt", Bulletin of the School of Oriental and African Studies, 53: 87, doi:10.1017/S0041977X00021285, S2CID 131480876
- ↑ Andronov 1970, p. 21
- ↑ Southworth 2005, pp. 249–250
- ↑ Christy, Agatha (2019). "A Study About Archaeological Survey in Adichanallur" (PDF). International Journal of Research in Engineering, Science and Management. 2: 158–169.
- ↑ "CATALOGUE OF THE PREHISTORIC ANTIQUITIES FROM ADICHANALLUR AND PERUMBAIR" (PDF). 1915.
- ↑ Sivathamby, K (1974), "Early South Indian Society and Economy: The Tinai Concept", Social Scientist, 3 (5): 20–37, doi:10.2307/3516448, JSTOR 3516448
- ↑ Lehmann 1998, pp. 75–76
- ↑ Rabin, C. Proceedings of the Second International Conference Seminar of Tamil Studies, p. 438
- ↑ Scroll.in – News. Politics. Culture., scroll.in
- ↑ "KEELADI". Government of Tamil Nadu Department of Archeology.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Magazine, Smithsonian; Gershon, Livia. "Archaeologists Unearth Ancient Dagger Linked to Enigmatic Indian Civilization". Smithsonian Magazine. สืบค้นเมื่อ 2022-01-29.
- ↑ Ramaswamy 1997, p. 87.
- ↑ Mahadevan 2003, pp. 90–95
- ↑ Ramstedt 243
- ↑ Kesavapany 60
- ↑ McMahon, Suzanne. "Overview of the South Asian Diaspora". University of California, Berkeley. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
- ↑ "8th Schedule of Indian Constitution - 22 Official Languages". BYJUS (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
- ↑ Ramamoorthy, L (February 2004), Multilingualism and Second Language Acquisition and Learning in Pondicherry, Language in India, สืบค้นเมื่อ 16 August 2007
- ↑ Sunwani, Vijay K (February 2007), Amazing Andamans and North-East India: A Panoramic View of States, Societies and Cultures (PDF), Language in India, สืบค้นเมื่อ 16 August 2007
- ↑ Bharadwaj, Ajay (7 March 2010) Punjabi edges out Tamil in Haryana. DNA India
- ↑ Language Shift in the Tamil Communities of Malaysia and Singapore: the Paradox of Egalitarian Language Policy, Ccat.sas.upenn.edu, สืบค้นเมื่อ 13 September 2012
- ↑ Dutta, Sujan (28 September 2004), "Classic case of politics of language", The Telegraph, Kolkata, India, สืบค้นเมื่อ 20 April 2007,
Members of the committee felt that the pressure was being brought on it because of the compulsions of the Congress and the UPA government to appease its ally, M. Karunanidhi's DMK.
- ↑ Viswanathan, S. (October 2004), "Recognising a classic", The Hindu, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2007
- ↑ Thirumalai, MS (November 2004), "Tradition, Modernity and Impact of Globalization – Whither Will Tamil Go?", Language in India, 4, สืบค้นเมื่อ 17 November 2007
- ↑ India sets up classical languages. BBC. 17 August 2004.
- ↑ "Sanskrit to be declared classical language". The Hindu. 28 October 2005.
- ↑ Harold Schiffman, "Diglossia as a Sociolinguistic Situation", in Florian Coulmas (ed.), The Handbook of Sociolinguistics. London: Basil Blackwell, Ltd., 1997 at pp. 205 et seq.
- ↑ Harold Schiffman, "Standardization or restandardization: The case for ‘Standard' Spoken Tamil". Language in Society 27 (1998), pp. 359–385.
- ↑ V. S. Rajam. "A Reference Grammar of Classical Tamil Poetry: 150 B.C.-Pre-Fifth/Sixth Century A.D." สืบค้นเมื่อ 2007-06-01.
- ↑ Krishnamurti, Bhadriraju (2003). The Dravidian Languages. Cambridge Language Surveys. Cambridge University Press. p. 154. ISBN 0521771110.
ข้อมูล
[แก้]- Andronov, M.S. (1970), Dravidian Languages, Nauka Publishing House
- Annamalai, E.; Steever, S.B. (1998), "Modern Tamil", ใน Steever, Sanford (บ.ก.), The Dravidian Languages, London: Routledge, pp. 100–128, ISBN 978-0-415-10023-6
- Caldwell, Robert (1974) [1856], A Comparative Grammar of the Dravidian or South-Indian Family of Languages, New Delhi: Oriental Books Reprint Corp., ISBN 8170690382
- Hart, George L. (1975), The poems of ancient Tamil : their milieu and their Sanskrit counterparts, Berkeley: University of California Press, ISBN 978-0-520-02672-8
- Krishnamurti, Bhadriraju (2003), The Dravidian Languages, Cambridge Language Surveys, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-77111-5
- Kesavapany, K.; Mani, A; Ramasamy, Palanisamy (2008), Rising India and Indian Communities in East Asia, Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, ISBN 978-981-230-799-6
- Kuiper, F. B. J. (1958), "Two problems of old Tamil phonology I. The old Tamil āytam (with an appendix by K. Zvelebil)", Indo-Iranian Journal, 2 (3): 191–224, doi:10.1163/000000058790082452, S2CID 161402102
- Lehmann, Thomas (1998), "Old Tamil", ใน Steever, Sanford (บ.ก.), The Dravidian Languages, London: Routledge, pp. 75–99, ISBN 978-0-415-10023-6
- Mahadevan, Iravatham (2003), Early Tamil Epigraphy from the Earliest Times to the Sixth Century A.D, Harvard Oriental Series vol. 62, Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press, ISBN 978-0-674-01227-1
- Meenakshisundaran, T.P. (1965), A History of Tamil Language, Poona: Deccan College, OCLC 246076230
- Murthy, Srinivasa; Rao, Surendra; Veluthat, Kesavan; Bari, S.A. (1990), Essays on Indian History and culture: Felicitation volume in Honour of Professor B. Sheik Ali, New Delhi: Mittal, ISBN 978-81-7099-211-0
- Ramstedt, Martin (2004), Hinduism in modern Indonesia, London: Routledge, ISBN 978-0-7007-1533-6
- Rajam, VS (1992), A Reference Grammar of Classical Tamil Poetry, Philadelphia: The American Philosophical Society, ISBN 978-0-87169-199-6
- Ramaswamy, Sumathy (1997), "Laboring for language", Passions of the Tongue: Language Devotion in Tamil India, 1891–1970, Berkeley: University of California Press, ISBN 978-0-585-10600-7
- Shapiro, Michael C.; Schiffman, Harold F. (1983), Language and society in South Asia, Dordrecht: Foris, ISBN 978-90-70176-55-6
- Schiffman, Harold F. (1999), A Reference Grammar of Spoken Tamil, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-64074-9
- Southworth, Franklin C. (1998), "On the Origin of the word tamiz", International Journal of Dravidian Linguistics, 27 (1): 129–132
- Southworth, Franklin C. (2005), Linguistic archaeology of South Asia, Routledge, ISBN 978-0-415-33323-8
- Steever, Sanford (1998), "Introduction", ใน Steever, Sanford (บ.ก.), The Dravidian Languages, London: Routledge, pp. 1–39, ISBN 978-0-415-10023-6
- Steever, Sanford (2005), The Tamil auxiliary verb system, London: Routledge, ISBN 978-0-415-34672-6
- Tharu, Susie; Lalita, K., บ.ก. (1991), Women Writing in India: 600 B.C. to the present – Vol. 1: 600 B.C. to the early twentieth century, Feminist Press, ISBN 978-1-55861-027-9
- Talbot, Cynthia (2001), Precolonial India in practice: Society, Region and Identity in Medieval Andhra, New York: Oxford University Press, ISBN 978-0-19-513661-6
- Tieken, Herman (2001), Kavya in South India: Old Tamil Cankam Poetry, Gonda Indological Studies, Volume X, Groningen: Egbert Forsten Publishing, ISBN 978-90-6980-134-6
- Varadarajan, Mu. (1988), A History of Tamil Literature, แปลโดย E.Sa. Viswanathan, New Delhi: Sahitya Akademi, OCLC 20170197
- Zvelebil, Kamil (1992), Companion studies to the history of Tamil literature, Leiden: Brill, ISBN 978-90-04-09365-2
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Fabricius, Johann Philip (1933 and 1972), Tamil and English Dictionary. based on J.P. Fabricius Malabar-English Dictionary, 3rd and 4th Edition Revised and Enlarged by David Bexell. Evangelical Lutheran Mission Publishing House, Tranquebar; called Tranquebar Dictionary.
- Freeman, Rich (February 1998), "Rubies and Coral: The Lapidary Crafting of Language in Kerala", The Journal of Asian Studies, 57 (1): 38–65, doi:10.2307/2659023, JSTOR 2659023, S2CID 162294036
- Keane, Elinor (2004), "Tamil", Journal of the International Phonetic Association, 34 (1): 111–116, doi:10.1017/S0025100304001549
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาษาทมิฬ ที่เว็บไซต์ Curlie
- ภาษาทมิฬ ใน Encyclopædia Britannica
- Tamil Language & Literature
- นิยามแบบพจนานุกรมของ ภาษาทมิฬ ที่วิกิพจนานุกรม
- Tamil language ที่วิกิตำรา
- คู่มือการท่องเที่ยว ภาษาทมิฬ จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Language articles citing Ethnologue 24
- ภาษาทมิฬ
- ภาษารูปคำติดต่อ
- ภาษาคลาสสิกในประเทศอินเดีย
- ตระกูลภาษาดราวิเดียน
- ภาษาในรัฐอานธรประเทศ
- ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย
- ภาษาในรัฐกรณาฏกะ
- ภาษาในรัฐเกรละ
- ภาษาในประเทศมาเลเซีย
- ภาษาในประเทศมอริเชียส
- ภาษาในปุฑุเจรี
- ภาษาในประเทศแอฟริกาใต้
- ภาษาในประเทศสิงคโปร์
- ภาษาในประเทศศรีลังกา
- ภาษาในรัฐทมิฬนาฑู
- ภาษาทางการของประเทศอินเดีย
- ภาษาประธาน–กรรม–กริยา