พงษ์เทพ เทศประทีป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พงษ์เทพ เทศประทีป
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้านพ. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
ถัดไปธีรพล นพรัมภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 (79 ปี)
อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางปริตา เทศประทีป

พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] และอดีตเลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษพล.อ. เปรม ติณสูลานนท์[2]

ประวัติ[แก้]

พล.อ. พงษ์เทพ เทศประทีป เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2487 ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายพุฒ กับนางทวี เทศประทีป สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร ในปี พ.ศ. 2506 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2511 นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

พล.อ. พงษ์เทพ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในราชการทหารสังกัดกรมทหารราบที่ 3 อาทิ

  • เสนาธิการกรมทหารราบที่ 3
  • ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 3
  • รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ในปี พ.ศ. 2541 เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ในปี พ.ศ. 2542 และตำแหน่งสูงสุด คือ เสนาธิการทหารบก ในปี พ.ศ. 2546-2548

จากนั้นในปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์) ในรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549

พล.อ. พงษ์เทพ เป็นนายกสมาคมคลองไทยเพื่อการศึกษาและพัฒนา และสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการขุดคลองไทยบริเวณคอคอดกระ[3][4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อดีตเสนาธิการทหารบก อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  2. คนสนิทยันป๋าเปรมยังแข็งแรง
  3. ดัน”คลองไทย” เป็นนโยบายรัฐ คาด1ปีได้คำตอบ
  4. ประชุมและแถลงการณ์ดำเนินงานคลองไทย (พลเอก พงษ์เทพ เทศประทีป)
  5. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๗ กันยายน ๒๕๑๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๓๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๓ เมษายน ๒๕๑๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๙, ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔