วิทย์ รายนานนท์
วิทย์ รายนานนท์ | |
---|---|
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 13 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ |
ถัดไป | ธวัช วิชัยดิษฐ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มีนาคม พ.ศ. 2485 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงนันทนา รายนานนท์ |
นายวิทย์ รายนานนท์ (2 มีนาคม 2485 -) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน และอดีตเอกอัคราชทูตชาวไทย
ประวัติ
[แก้]นายวิทย์ รายนานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2485ถวิล รายนานนท์กับหม่อมหลวงเพ็ญศรี รายนานนท์ สมรสกับคุณหญิงนันทนา รายนานนท์ มีบุตรสาว 2 คนคือ สุวินชา รายนานนท์ และนาขวัญ รายนานนท์
เป็นบุตร พลเรือเอกการศึกษา
[แก้]- จบมัธยมปลายโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต (การทูต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ระดับปริญญาโท Master of Urban Studies Howard University ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ประกาศนียบัตร Certificate, in Diplomatic Practice and Procedure ประเทศออสเตรเลีย
- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 35
การทำงาน
[แก้]นายวิทย์ รายนานนท์ เริ่มรับราชการในตำแหน่ง นายเวร กองกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2510 จากนั้นในปี พ.ศ. 2514 จึงได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขานุการตรี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานเรื่อยมา จนได้รับตำแหน่งกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการไปดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
ในปี พ.ศ. 2534 นายวิทย์ รายนานนท์ ได้รับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2535[1] ในรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน
ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2535 จึงได้กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ และดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงแบร์น ในปี พ.ศ. 2536 และเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน พ.ศ. 2537[2] และได้รับรางวัลครุฑทองคำ ในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาปี พ.ศ. 2547 เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2549 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2550 เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นหนึ่งในกรรมการ ป.ป.ท. ที่มีความสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑๐/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายวิทย์ รายนานนท์)
- ↑ ประวัติเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ วิทย์ มือปราบบทุจริต[ลิงก์เสีย]จาก กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ
- นักการเมืองไทย
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา