ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลโกองค์การอนามัยโลก ผู้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (อังกฤษ: public health emergency of international concern : PHEIC) คือการประกาศอย่างเป็นทางการโดยองค์การอนามัยโลกซึ่งเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อนานาประเทศ จากการแพร่ระบาดระหว่างประเทศและต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือกับเหตุการณ์นั้น ๆ[1][2] ภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005 (International Health Regulations : IHR) รัฐมีหน้าที่ต้องตอบสนองทันทีต่อภาวะฉุกเฉินดังกล่าว[2]

การประกาศภาวะฯ ได้รับการเผยแพร่โดยคณะกรรมการฉุกเฉิน (EC) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่ดำเนินงานภายใต้ IHR [3] ภายหลังการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี 2002[4]

ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา องค์การอนามัยโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินฯ ทั้งสิ้น 6 ครั้ง[5] ประกอบด้วย การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009, การระบาดของโรคโปลิโอ 2014, การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก 2014, การระบาดของไวรัสซิกา 2015–16[6], การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู[7] และการระบาดทั่วของโควิด-19[8] การประกาศถือว่าเป็นการชั่วคราวที่ต้องได้รับการทบทวนทุก ๆ สามเดือน[2]

สรุปการประกาศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "กฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations : IHR) (การเตรียมความพร้อมด้านสารเคมี กัมมันตรังสีและนิวเคลียร์)". กระทรวงสาธารณสุข. กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-04. สืบค้นเมื่อ 4 Feruary 2020. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 "WHO | International Health Regulations and Emergency Committees". WHO. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
  3. "Strengthening health security by implementing the International Health Regulations (2005); About IHR". WHO. WHO. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
  4. Hoffman, Steven J.; Silverberg, Sarah L. (18 January 2018). "Delays in Global Disease Outbreak Responses: Lessons from H1N1, Ebola, and Zika". American Journal of Public Health. 108 (3): 329–333. doi:10.2105/AJPH.2017.304245. ISSN 0090-0036. PMC 5803810. PMID 29345996.
  5. Pillinger, Mara (2 February 2016). "WHO declared a public health emergency about Zika's effects. Here are three takeaways". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.(ต้องรับบริการ)
  6. Hunger, Iris (2018). Coping with Public Health Emergencies of International Concern (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Vol. 1. Oxford University Press. doi:10.1093/oso/9780198828945.003.0004. ISBN 9780191867422.(ต้องรับบริการ)
  7. "Statement on the meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee for Ebola virus disease in the Democratic Republic of the Congo on 18 October 2019". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Statement on the second meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV)". World Health Organisation (ภาษาอังกฤษ). 2020-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)