เรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์ เดินทางถึงลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563

ในระหว่างสถานการณ์การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในสหรัฐ พ.ศ. 2563 เรือพยาบาลของกองทัพเรือสหรัฐสองลำได้รับมอบหมายภารกิจ โดยเรือ ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์ (USNS Mercy [en]) ประจำการที่ท่าเรือนครลอสแองเจลิส และเรือ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต (USNS Comfort [en]) ปฏิบัติหน้าที่ที่ท่าเรือมหานครนิวยอร์ก เรือพยาบาลของอินโดนีเซีย กาแอรอี ดอกแตร์ ซูฮารโซ (KPI Dr Soeharso [en]) ได้รับมอบหมายภารกิจในการขนย้ายผู้โดยสารชาวอินโดนีเซียจากเรือสำราญ เวิลด์ดรีม และ ไดมอนด์พรินเซส ซึ่งมีผู้ติดเชื้อไวรัสบนเรือดังกล่าว กลับสู่ประเทศในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2563

เรือกาแอรอี ดอกแตร์ ซูฮารโซ[แก้]

เรือกาแอรอี ดอกแตร์ ซูฮารโซ

เรือ ดอกแตร์ ซูฮารโซ ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย (Kapal Republik Indonesia Dokter Soeharso) ปฏิบัติภารกิจอพยพลูกเรือชาวอินโดนีเซีย 188 คนจาก เรือสำราญ เวิลด์ดรีม ในช่องแคบดูเรียน (Selat Durian [sv]) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรือได้นำพวกเขาไปที่เกาะเซบารู เกะจิล (Sebaru Kecil [en]) นอกชายฝั่งเกาะชวา และทำการกักกันโรค[1]

ดอกแตร์ ซูฮารโซ อพยพลูกเรือจำนวน 89 คนของเรือสำราญ ไดมอนต์พรินเซส จากท่าเรือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอินดรามายู ในเมืองอินดรามายู (Indramayu [en]) จังหวัดชวาตะวันตก หลังจากลูกเรือได้รับใบรับรองสุขภาพจากญี่ปุ่นและบินมาที่ ท่าอากาศยานนานาชาติกรตายาตี จากนั้นพวกเขาเดินทางโดยรถโดยสารเพื่อไปยังท่าเรือ ทางการอินโดนีเซียให้พวกเขาทำการทดสอบเชื้อครั้งที่สองระหว่างเดินทาง ซึ่งลูกเรือคนใดมีผลตรวจเป็นบวกต่อโรค COVID-19 จะถูกนำเข้ารับการรักษาในกรุงจาการ์ตา และลูกเรือ 68 คนของ ไดมอนต์พรินเซส ได้ถูกนำส่งที่เกาะเซบารู เกะจิล โดยผู้ที่มาจากเรือ เวิลด์ดรีม และผู้ที่มาจากเรือ ไดมอนด์พรินเซส ถูกแยกพื้นที่/อาคารที่พักออกจากกัน[2][3]

เรือ ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์[แก้]

ยูเอสเอ็นเอส เมอร์ซีย์ ของกองทัพเรือสหรัฐ (United States Naval Ship Mercy) เดินทางมาปฏิบัติหน้าที่ที่นครลอสแองเจลิสเพื่อเป็นโรงพยาบาลสนับสนุน ในระหว่างสถานการณ์การระบาดทั่วของโรคติดเชื้อ COVID-19[4] เรือเดินทางมาถึงและเทียบท่าที่ท่าเรือลอสแองเจลิสเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563[5] ภารกิจที่ได้รับมอบหมายคือรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้ป่วยจากโรค COVID-19 เพื่อให้โรงพยาบาลในเมืองสามารถรองรับสถานการณ์โรคระบาดจากไวรัสโคโรนา[6] เช่นเดียวกับที่เรือ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต ปฏิบัติในนครนิวยอร์ก[7] เมื่อวันที่ 2 เมษายน โรงพยาบาลเรือ เมอร์ซีย์ ได้รับการรักษาผู้ป่วยใน 15 ราย ซึ่งต่อมาห้ารายสามารถให้ออกจากโรงพยาบาลได้[8]

ในขณะที่เรือจอดเทียบท่า รถไฟบรรทุกสินค้าสายแปซิฟิกฮาร์เบอร์ ถูกทำให้ตกรางโดยวิศวกรรถไฟโดยมุ่งเป้าโจมตีเรือใน "ความพยายามที่ผิดปกติในการเปิดเผยทฤษฎีสมคบคิด" โดยเขาได้บอกตำรวจว่า เขามีความสงสัยเรือและเชื่อว่าเรือไม่ได้ "ทำหน้าที่อย่างที่ได้ประกาศไว้" ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บและเรือก็ไม่ได้รับอันตราย โดยวิศวกรผู้นั้นถูกตั้งข้อหาทำลายรถไฟ[9]

เรือ ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต[แก้]

เรือยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต มุ่งหน้าไปยังแม่น้ำฮัดสัน

เรือ คอมฟอร์ต (USNS Comfort) เริ่มเดินทางจากสถานีทหารเรือนอร์ฟอล์ก ในรัฐเวอร์จิเนียไปยังท่าเรือนิวยอร์กในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อช่วยจัดการกับผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19[10][11] เรือ คอมฟอร์ต มาถึงนิวยอร์กในวันที่ 30 มีนาคม[12][13] และเทียบท่าที่ท่าเรือ 90[14] แม้ว่าเรือจะมีเจ้าหน้าที่ 1,100 คนและมีความจุ 1,000 เตียง แต่ ณ วันที่ 3 เมษายนมีผู้ป่วยเพียง 22 คนเท่านั้น[8] ตัวเลขที่ต่ำนั้นเป็นผลมาจาก "ระบบราชการและอุปสรรคทางทหาร"[14]

ภารกิจของเรือคือการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ได้มาจากโรคติดเชื้อ COVID-19 เพื่อทำให้โรงพยาบาลที่อยู่บนบก สามารถให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส[12] และในขั้นต้นผู้ป่วยต้องมีผลทดสอบเป็นลบต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ก่อนที่จะขึ้นเรือ แต่ในวันที่ 3 เมษายนมีการเปลี่ยนกระบวนการ เป็นไม่จำเป็นต้องมีผลการทดสอบเป็นลบและยอมรับ "ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่ถูกคัดกรอง ที่จะถูกแยกและถูกทดสอบเชื้อทันทีเมื่อเดินทางมาถึง"[14] ในวันที่ 3 เมษายนผู้ป่วยหลายรายที่ติดเชื้อไวรัสใช้เวลาตลอดทั้งคืนบนเรือ โดยเป็นการถ่ายโอนที่ผิดพลาดไปยังเรือจากศูนย์การประชุม เจคอบ เค จวิตส์ (Jacob K. Javits Convention Center [en]) ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสนาม ผู้ป่วยได้ถูกส่งกลับไปที่ศูนย์การประชุมจวิตส์ หลังจากการทดสอบเชื้อให้ผลบวกสำหรับไวรัส[14]

ในวันที่ 17 เมษายนมีการประกาศว่า "ยูเอสเอ็นเอส คอมฟอร์ต เตรียมพร้อมที่จะรับผู้ป่วยภายในรัศมีหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางจากเรือ" และมีการเตรียมการเพื่อรับผู้ป่วยไวรัสโคโรนาจากฟิลาเดลเฟีย ได้มีการขนย้ายเตียงซึ่งในเรือมีหนึ่งพันเตียงออกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้สามารถแยกและรักษาผู้ป่วยไวรัสโคโรนาได้[15] เมื่อวันที่ 21 เมษายน ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก นายแอนดริว คูโอโม บอกกับประธานาธิบดีทรัมป์ ว่าไม่ต้องการเรือในนิวยอร์กอีกต่อไป โดยในขณะที่เรือจอดอยู่ในเมืองมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 179 คน[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Afifa, Laila (25 February 2020). "KRI Soeharso to Pick Up Indonesian Crew at World Dream Tomorrow". tempo.co. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
  2. "'Diamond Princess' evacuees to start separate quarantine on Sebaru island". The Jakarta Post. 2 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  3. "Another Diamond Princess Crew Member From Indonesia Suspected of Contracting Coronavirus". Jakarta Globe. 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  4. LaGrone, Sam (17 March 2020). "Pentagon Preparing Navy Hospital Ships Mercy, Comfort for Coronavirus Response". USNI News (Press release). United States Naval Institute.
  5. Correll, Diana Stancy (27 March 2020). "USNS Mercy arrives in Los Angeles to support Covid-19 response". Navy Times. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  6. Lloyd, Jonathan; Chang, Hetty (27 March 2020). "Help Arrives for Strained Hospitals When Navy Ship Mercy Docks at the Port of LA". NBC Los Angeles. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  7. "Crowds Greet USNS Comfort in NYC Monday; Ship to Help Hospitals With Non-Coronavirus Patients". NBC New York.
  8. 8.0 8.1 Stracqualursi, Veronica & Browne, Ryan. "Navy hospital ship deployed to NYC with 1,000 bed capacity is only treating 22 patients". publisher.
  9. Bill Chappell (2 April 2020). "Train Engineer Says He Crashed In Attempt To Attack Navy Hospital Ship In L.A." NPR.
  10. LaGrone, Sam (28 March 2020). "Trump Gives USNS Comfort a Send-Off as Hospital Ship Departs for New York" (Press release). United States Naval Institute. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
  11. Eckstein, Megan (26 March 2020). "USNS Comfort Will Depart for New York on Saturday with Trump, Modly in Attendance" (Press release). United States Naval Institute. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  12. 12.0 12.1 "Crowds Greet USNS Comfort in NYC Monday; Ship to Help Hospitals With Non-Coronavirus Patients". สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
  13. Helene Cooper & Thomas Gibbons-Neff (30 March 2020). "Navy Hospital Ship Reaches New York. But It's Not Made to Contain Coronavirus". New York Times.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Feuer, William (4 April 2020). "Coronavirus patients spend night on Navy hospital ship meant for non-infected New York patients". CNBC.
  15. "USNS Comfort hospital ship ready for Philly COVID-19 patients". WPVI-TV. 17 April 2020. สืบค้นเมื่อ 18 April 2020.
  16. "Gov. Cuomo Tells Trump USNS Comfort No Longer Needed in NYC". NBC New York. 22 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.