ที่ราบสูงโกลัน
ที่ราบสูงโกลัน هَضْبَة الجَوْلَان רָמַת הַגּוֹלָן | |
---|---|
ที่ตั้งของที่ราบสูงโกลัน | |
พิกัด: 33°00′N 35°45′E / 33.000°N 35.750°E | |
สถานภาพ | นานาชาติถือเป็นพื้นที่ของซีเรียที่ถูกอิสราเอลยึดครอง[1][2][a][b] |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,800 ตร.กม. (700 ตร.ไมล์) |
• ยึดครองโดยอิสราเอล | 1,200 ตร.กม. (500 ตร.ไมล์) |
• ควบคุมโดยซีเรีย (รวมเขต UNDOF โดยนิตินัย 235 km2 (91 sq mi)) | 600 ตร.กม. (200 ตร.ไมล์) |
ความสูงจุดสูงสุด | 2,814 เมตร (9,232 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | −212 เมตร (−696 ฟุต) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 40,000–50,000+ คน คน |
• อาหรับ (เกือบทั้งหมดเป็นดรูซ) | 20,000–25,700 คน |
• ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวอิสราเอล | ป. 25,000 คน |
เขตเวลา | UTC+2 |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 |
ที่ราบสูงโกลัน (อาหรับ: هَضْبَةُ الْجَوْلَانِ, อักษรโรมัน: Haḍbatu l-Jawlān หรือ مُرْتَفَعَاتُ الْجَوْلَانِ, Murtafaʻātu l-Jawlān; ฮีบรู: רמת הגולן, Ramat HaGolan, ) เป็นภูมิภาคในลิแวนต์ที่มีเนื้อที่ราว 1,800 ตารางกิโลเมตร (690 ตารางไมล์) ความหมายของที่ราบสูงโกลันแตกต่างไปตามสาขาวิชา ในทางธรณีวิทยาและชีวภูมิศาสตร์ ที่ราบสูงโกลันหมายถึงที่ราบสูงหินบะซอลต์ที่มีอาณาบริเวณแม่น้ำยาร์มุกทางใต้ ทะเลกาลิลีและหุบเขาฮูลาทางตะวันตก เทือกเขาแอนติเลบานอนและภูเขาเฮอร์มอนทางเหนือ และ Ruqqad ทางตะวันออก ขณะที่ในทางภูมิรัฐศาสตร์จะหมายถึงพื้นที่ของซีเรียที่ถูกอิสราเอลยึดครองในสงครามหกวันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และปกครองโดยอิสราเอลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981
หลักฐานแรกสุดที่ชี้ว่ามนุษย์ตั้งถิ่นฐานในที่ราบสูงโกลันอยู่ในช่วงปลายยุคหิน[9] ในยุคเหล็ก ที่ราบสูงแห่งนี้เป็นที่ตั้งของเกชูร์ตามพระคัมภีร์ ซึ่งภายหลังถูกผนวกเข้ากับอารัม-ดามัสกัส[10][11] หลังการปกครองของอัสซีเรีย, บาบิโลเนีย และเปอร์เซีย ภูมิภาคนี้จึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอะเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปีก่อน ค.ศ.[12][13] ต่อมา อาณาจักรอิตูเรียและราชวงศ์ฮัสโมเนียนเข้าคอรบครองโกลันชั่วครู่ จากนั้นจักรวรรดิโรมันเข้าควบคุมพื้นที่นี้ ในตอนแรกผ่านราชวงศ์เฮโรดแล้วเข้าควบคุมโดยตรง[14][15][16] หลังจากนั้นอาณาจักรฆอสซานิดที่เป็นพันธมิตรกับไบแซนไทน์ปกครองพื้นที่นี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 จนกระทั่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูนเข้าผนวกในช่วงการพิชิตลิแวนต์ของมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 7 รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์, รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์, รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ และรัฐสุลต่านมัมลูกเข้าควบคุมพื้นที่นี้ตามลำดับ จนกระทั่งจักรวรรดิออตโตมันเข้าพิชิตในคริสต์ศตวรรษที่ 16[17] โดยเป็นส่วนหนึ่งของซีเรียวีลาเยตในซีเรียของออตโตมัน[18] หลังจากนั้นจึงกลายเป้นส่วนหนึ่งของซีเรียภายใต้อาณัติของฝรั่งเศสและรัฐดามากัส[19] เมื่อยุบเลิกอาณัติใน ค.ศ. 1946 พื้นที่นี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอาหรับซีเรียที่กินพื้นที่ประมาณ 1,800 km2 (690 sq mi)
นับตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อ ค.ศ. 1967 พื้นที่ทางตะวันตกสองในสามของที่ราบสูงโกลันถูกยึดและปกครองโดยอิสราเอล[1][2] ขณะที่พื้นที่ทางตะวันออกอยู่ใต้การปกครองของซีเรีย ซีเรียปฏิเสธที่จะเจรจากับอิสราเอลตามข้อมติคาร์ทูมหลังสงคราม[20] ใน ค.ศ. 1974 มีการจัดตั้งพื้นที่กันชนที่ดูแลโดยกองกำลังสังเกตการณ์การถอนกำลังแห่งสหประชาชาติ (UNDOF) ระหว่างอิสราเอล–ซีเรีย[21] ด้านอิสราเอลปกครองส่วนที่ยึดได้ด้วยกำลังทหารจนกระทั่งมีการผ่านกฎหมายปกครองในปี ค.ศ. 1981 ซึ่งบางฝ่ายมองว่าเป็นการผนวกดินแดน[22] ฝ่ายคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประณามการผ่านกฎหมายนี้ โดยกล่าวว่า "การตัดสินใจของอิสราเอลในการบังคับใช้กฎหมาย เขตอำนาจ และการจัดการการปกครองที่ราบสูงโกลันที่ยึดครองจากซีเรียถือเป็นโมฆะ และไม่มีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ"[23] คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังเน้นย้ำถึง "การถือครองดินแดนด้วยสงครามเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้" ตามข้อมติที่ 242 ซึ่งอิสราเอลก็อ้างสิทธิ์ในการถือครองที่ราบสูงนี้ตามข้อมติเดียวกันที่เรียกร้องให้มี "เขตแดนที่ปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับ ปลอดจากภัยคุกคามและกำลังทหาร"[24] เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองซีเรียในปี ค.ศ. 2011 การปกครองที่ราบสูงโกลันของซีเรียแตกออกเป็นฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน และกลายเป็นสมรภูมิรบของทั้งสองฝ่ายจนในปี ค.ศ. 2018 ฝ่ายรัฐบาลก็มีชัยและควบคุมฝั่งตะวันออกไว้ได้[25]
ในปี ค.ศ. 2019 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศยอมรับที่ราบสูงโกลันเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล ทำให้สหรัฐกลายเป็นชาติแรกที่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงนี้[26] ด้านสหภาพยุโรปประกาศไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของอิสราเอลเหนือที่ราบสูงโกลัน[27] ขณะที่อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "สถานภาพของที่ราบสูงโกลันนั้นไม่เปลี่ยนแปลง"[28]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อoccupiedSyrian
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อkorman_condemned
- ↑ Trump signs decree recognizing Israeli sovereignty over Golan Heights, Reuters, 25 March 2019
- ↑ Lee, Matthew; Riechmann, Deb (2019-03-25). "Trump signs declaration reversing US policy on Golan Heights". AP NEWS. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
- ↑ "Israel approves plan to double settler population in Golan Heights". France 24. 26 December 2021.
- ↑ "Israel to send 250,000 settlers to occupied Golan". www.aa.com.tr.
- ↑ Statistical Abstract of Israel 2018, 2.17 เก็บถาวร 20 พฤศจิกายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Israel Central Bureau of Statistics.
- ↑ Golan Heights profile เก็บถาวร 17 มิถุนายน 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 25 March 2019 BBC
- ↑ Tina Shepardson. Stones and Stories: Reconstructing the Christianization of the Golan, เก็บถาวร 15 เมษายน 2001 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Biblisches Forum, 1999.
- ↑ Kochavi, Moshe (1989). "The Land of Geshur Project: Regional Archaeology of the Southern Golan (1987–1988 Seasons)". Israel Exploration Journal. 39 (1/2): 3. ISSN 0021-2059. JSTOR 27926133.
- ↑ Michael Avi-Yonah (1979). The Holy Land – from the Persian to the Arab Conquests (536 B.C. to A.D. 640) A Historical Geography, Grand Rapids, Michigan, p. 170 ISBN 978-0-8010-0010-2
- ↑ HaReuveni, Immanuel (1999). Lexicon of the Land of Israel (in Hebrew). Miskal – Yedioth Ahronoth Books and Chemed Books. pp. 662–663 ISBN 978-965-448-413-8.
- ↑ Vitto, Fanny, Ancient Synagogue at Rehov, Israel Antiquities Authority, Jerusalem 1974
- ↑ Gevirtz, Gila (2008). Jewish History: The Big Picture (ภาษาอังกฤษ). Behrman House, Inc. p. 25. ISBN 978-0-87441-838-5.
- ↑ Avraham Negev; Shimon Gibson (2005). Archaeological Encyclopedia of the Holy Land (Paperback ed.). Continuum. p. 249. ISBN 978-0-8264-8571-7.
- ↑ Syon, Danny (2014). Gamla III: The Shmarya Gutmann Excavations, 1976–1989. Finds and Studies[ลิงก์เสีย] (PDF). Vol. 1. Jerusalem: Israel Antiquities Authority Reports, No. 56. ISBN 978-965-406-503-0. p. 4 "Scholarly consensus holds that the Golan became populated by Jews following the conquests of Jannaeus in c. 80 BCE and as a direct result of these conquests."
- ↑ Butcher, Kevin (2003). Roman Syria and the Near East (ภาษาอังกฤษ). Getty Publications. ISBN 978-0-89236-715-3.
- ↑ Michael J. Cohen (1989). The Origins and Evolution of the Arab-Zionist Conflict. University of California Press. p. 21. ISBN 978-0-520-90914-4.
- ↑ The French Mandate in Syria, 1925–26, New York: Editorial Information Service of the Foreign Policy Association, 1925, สืบค้นเมื่อ 16 November 2020
- ↑ "This Week in History: The Arab League Three No's". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
- ↑ "Agreement on Disengagement between Israeli and Syrian Force". Report of the Secretary-General concerning the Agreement on Disengagement between Israeli and Syrian Forces. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2012. สืบค้นเมื่อ 29 November 2011.
- ↑ Rabinowitz, Dan (28 March 2012). "17: Identity, the State and Borderline Disorder". ใน Thomas M. Wilson and Hastings Donnan (บ.ก.). A Companion to Border Studies. John Wiley & Sons. pp. 307–308. ISBN 978-1-118-25525-4.
- ↑ UN Security Council Resolution 497
- ↑ Y.Z Blum "Secure Boundaries and Middle East Peace in the Light of International Law and Practice" (1971) pages 24–46
- ↑ AP and TOI staff (2018-07-31). "Syria boots IS from Golan Heights, retaking full control of frontier with Israel". www.timesofisrael.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
- ↑ Trump, Donald J. (2019-03-25). "Proclamation on Recognizing the Golan Heights as Part of the State of Israel". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-29. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
- ↑ Stone, Jon (March 28, 2019). "EU member states unanimously reject Israel's sovereignty over Golan Heights, defying Trump and Netanyahu". The Independent. สืบค้นเมื่อ November 1, 2020.
- ↑ "U.N. chief clear that Golan status has not changed: spokesman". March 25, 2019 – โดยทาง www.reuters.com.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Syrian Golan – Permanent Mission of the Syrian Arab Republic to the United Nations
- Jawlan.org เก็บถาวร 29 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาอาหรับ)
- Gaulonitis in The unedited full text of the 1906 Jewish Encyclopedia
- Golan, Gaulonitis in the International Standard Bible Encyclopedia
- Qatzrin
- What is the dispute over the Golan Heights? เก็บถาวร 24 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A View From Damascus: Internal Refugees From Golan's 244 Destroyed Syrian Villages from Washington Report