การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศทาจิกิสถาน
การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศทาจิกิสถาน พ.ศ. 2563 | |
---|---|
พื้นที่ระบาดในประเทศทาจิกิสถานตามจำนวนผู้ป่วย (วันที่ 13 กันยายน 2563)
| |
โรค | โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
สถานที่ | ประเทศทาจิกิสถาน |
การระบาดครั้งแรก | อู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน |
ผู้ป่วยต้นปัญหา | ดูชานเบ คูจานด์ |
วันแรกมาถึง | 30 เมษายน พ.ศ. 2563 (4 ปี 7 เดือน 25 วัน) |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 7,871 คน (12 สิงหาคม 2563)[1] |
หาย | 6,653 คน (12 สิงหาคม 2563) |
เสียชีวิต | 63 คน (12 สิงหาคม 2563)[1] |
covid |
การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ได้เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศทาจิกิสถาน โดยกรณีผู้ป่วยต้นปัญหาในดูชานเบและคูจานด์ได้รับการยืนยัน เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563[2]
ภูมิหลัง
[แก้]เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เป็นสาเหตุของอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยจำนวนมากในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งได้มีรายงานเหตุต่อองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[3][4] อัตราป่วยตายของผู้ป่วยโรค COVID-19 นั้นต่ำกว่าโรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 มาก[5][6] แต่การแพร่เชื้อมีมากกว่า โดยมีจำนวนรวมของผู้เสียชีวิตมากอย่างมีนัยสำคัญ[7][5]
เส้นเวลา
[แก้]กุมภาพันธ์ 2563
[แก้]ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เที่ยวบินเช่าเหมาลำของสายการบิน ซอมอนแอร์ (ทาจิก: Сомон Эйр) บินไปยังนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน เพื่ออพยพพลเมืองห้าสิบสี่คนของทาจิกิสถาน โดยเที่ยวบินขาไปได้ขนส่งสินค้าเพื่อมนุษยธรรมรวมทั้งเวชภัณฑ์จากทาจิกิสถานไปยังอู่ฮั่น[8] ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์มีการพิมพ์เผยแพร่แนวทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลก 13,000 ฉบับเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนาให้กับประชาชนทาจิกิสถาน ในเวลานั้นประชาชนกว่า 900 คนที่เดินทางมาถึงทาจิกิสถานจากประเทศจีน ได้รับการดูแลโดยแพทย์ในโรงพยาบาลของทาจิกิสถาน ไม่มีรายงานผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนา[9] เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีเอมอมาลี ราห์มอน (ทาจิก: Эмомалӣ Раҳмон) ได้รับข้อความจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งประเทศจีน กล่าวขอบคุณ ราห์มอนที่ให้การสนับสนุนในความเกี่ยวเนื่องกับการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา[10] เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ประชาชนทาจิกิสถาน 1,066 คนที่เดินทางมาจากประเทศจีนหลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลโรคติดเชื้อเพื่อกักกัน ซึ่ง 577 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ไม่มีกรณียืนยันของผู้ป่วยไวรัสโคโรนาในการกักกัน[11] ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พลเมืองทาจิกิสถานหกสิบสามคน (นักเรียนชาวทาจิกิสถานสี่สิบหกคนจากอู่ฮั่นและลูกเรือสิบเจ็ดคนของเที่ยวบินเช่าเหมาลำของ ซอมอนแอร์ ที่ถูกส่งไปดำเนินการอพยพในวันที่ 11 กุมภาพันธ์) ได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลที่ถูกกักกัน ไม่มีผู้ใดที่แสดงอาการของโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ประชาชนชาวทาจิกิสถาน 1,148 คนที่เดินทางมาถึงทาจิกิสถานจากประเทศจีนถูกกักกัน ซึ่ง 955 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว[12]
มีนาคม
[แก้]ทาจิกิสถานในขั้นต้น ห้ามการเดินทางเข้าประเทศของประชาชนใน 35 ประเทศรวมถึงสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และแคนาดา[13] ในวันที่ 3 มีนาคม 2563 ทาจิกิสถานผ่อนปรนมาตรการห้ามลงเหลือเพียงห้าประเทศ ได้แก่ จีน อิหร่าน อัฟกานิสถาน เกาหลีใต้ และอิตาลี[14] วันที่ 4 มีนาคมมีสุเหร่าบางส่วนในเมืองหลวงดูชานเบได้ขอให้ผู้ละหมาดไม่เข้าร่วมในพิธีละหมาดวันศุกร์[15] ความเร่งรีบในการกักตุนอาหารนำไปสู่การปรับขึ้นราคาและการขาดแคลนแป้งสาลีและสินค้าหลักอื่น ๆ วันที่ 5 มีนาคมกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมกล่าวว่า มีอาหารในทาจิกิสถานเพียงพอเพื่อเลี้ยงประชากรของประเทศเป็นเวลาสองปี[16] ประธานาธิบดีเอมอมาลี ราห์มอน รับรองว่าทาจิกิสถานไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนกซื้ออาหาร แต่การกักตุนยังคงดำเนินต่อไป ทาจิกิสถานขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการชุมนุมสาธารณะและการเข้าร่วมพิธีในมัสยิด[17] ณ วันที่ 10 มีนาคม พลเมืองทาจิกิสถาน 1,583 คนที่มาจากประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อิตาลี อิหร่าน และอัฟกานิสถานหลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถูกกักกัน ซึ่ง 1,147 คนได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวแล้ว ไม่มีการยืนยันกรณีผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาในประเทศ[18]
เมื่อวันที่ 18 มีนาคมไม่มีกรณีผู้ป่วยยืนยันที่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถาน และกำหนดที่จะเฉลิมฉลองปีใหม่หรือเทศกาลเนารูซ (ทาจิก: Наврӯз) ไม่ได้ถูกยกเลิก[19] ในช่วงปลายเดือนมีนาคมการปิดชายแดนในรัสเซียและเอเชียกลาง ทำให้แรงงานอพยพตามฤดูกาลชาวทาจิกิสถานไม่สามารถไปทำงานได้[20] ณ วันที่ 18 มีนาคมมีพลเมืองชาวทาจิกิสถานจำนวน 1,890 คนที่เดินทางมาจากต่างประเทศหลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถูกกักกันซึ่ง 1,426 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว กระทรวงสาธารณสุขเรียกร้องให้ประชาชนของประเทศ "ไม่ต้องเชื่อเรื่องเท็จใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันกรณีผู้ป่วยไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถาน"[21] เมื่อวันที่ 23 มีนาคม มีประชาชนเดินทางมาจากต่างประเทศจำนวน 5,038 คนที่ถูกนำเข้าสู่กระบวนการกักกันและ 1,981 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล โดยมี 3,057 คน (รวม 107 คนที่มีสัญชาติต่างประเทศ) ถูกกักกัน ไม่มีการยืนยันกรณีผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาในประเทศ[22] ศูนย์สุขภาพในเมืองอิสติกลอล (ทาจิก: Истиқлол) ทางตอนเหนือของทาจิกิสถานกำลังเตรียมการกักกันชาวทาจิกิสถานที่เดินทางมาจากต่างประเทศ[23] หมายเลขสายด่วน 24 ชั่วโมง (511) ถูกเปิดใช้งานโดยศูนย์ข้อมูลป้องกันการเกิดวิกฤตภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและการคุ้มครองทางสังคม เพื่อตอบคำถามทั่วไปจากประชาชนทาจิกิสถานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาจากไวรัสโคโรนา[24] ในวันที่ 26 และ 27 มีนาคมมีการจัดประชุมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ณ วันที่ 30 มีนาคม ประชาชน 6,159 คนทาจิกิสถานที่เดินทางมาจากต่างประเทศถูกกักกัน โดย 2,146 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว 4,013 ราย ไม่มีการยืนยันกรณีผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาในประเทศ[25] ในช่วงปลายเดือนมีนาคมมีรายงานที่ประธานาธิบดี เอมอมาลี ราห์มอน เข้าร่วมในงานชุมนุมขนาดใหญ่
เมษายน
[แก้]ณ วันที่ 2 เมษายนมีรายงานยอดผู้ที่เดินทางเข้าประเทศทาจิกิสถาน 6,272 คนถูกกักกัน ซึ่ง 2,359 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้ว และ 3,913 คนยังคงถูกกักกัน ไม่มีการยืนยันกรณีผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาในประเทศ[26] เมื่อ 3 เมษายนแม้ว่าจะไม่มีคำสั่งตามกฎหมาย แต่การสวมใส่หน้ากากอนามัยกลายเป็นภาพที่คุ้นเคยในทาจิกิสถานรวมถึงในชนบทห่างไกล และโรงเรียนได้เปิดทำการหลังจากวันหยุดฤดูใบไม้ผลิ[27] ในวันเดียวกันนั้นประธานาธิบดี ราห์มอน และประธานาธิบดีแห่งอุซเบกิสถาน ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ได้สนทนาทางโทรศัพท์รวมถึงได้พิจารณาในเรื่องการประสานงานเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา[28] ผู้ป่วยที่ถูกกักกันอายุ 60 ปีได้เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมในโรงพยาบาลกลางแห่งพื้นที่ จับบอร์ ราซุลอฟ (ทาจิก: Ҷаббор Расулов) ในแคว้นซุกด์ (ทาจิก: Вилояти Суғд) และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยได้รับการกักกัน ทำให้เกิดข่าวลือทางออนไลน์ว่าผู้ป่วยเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนา แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลกล่าวว่าก่อนเสียชีวิตผู้ป่วยมีผลทดสอบเป็นลบสำหรับไวรัสโคโรนา เมื่อวันที่ 6 เมษายน ผู้คนที่เดินทางมาถึงทาจิกิสถานจากต่างประเทศจำนวน 7,041 คนถูกกักตัว ซึ่ง 4,291 คนได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้วเหลือ 2,730 คนที่ยังถูกกักกัน เกือบ 3,000 คนได้รับการทดสอบสำหรับไวรัสโคโรนา ทุกคนมีผลตรวจเป็นลบ ไม่มีการยืนยันไวรัสโคโรนาในประเทศ[29] สิบสามคนซึ่งถูกกักตัวในพื้นที่ จับบอร์ ราซุลอฟ ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนก็มีผลทดสอบไวรัสโคโรนาเป็นลบ โรงพยาบาลหกแห่งในเมืองคูจานด์ (ทาจิก: Хуҷанд) และอีกสิบสองแห่งในพื้นที่อื่นได้ถูกเตรียมไว้สำหรับกักกัน และการทดสอบไวรัสโคโรนาซึ่งทั้งหมดจะต้องดำเนินการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย[30] ในวันที่ 9 เมษายน ประธานาธิบดี ราห์มอน ได้โทรศัพท์ถึงประธานาธิบดีแห่งคาซัคสถาน ฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ โดยกล่าวถึงหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงไวรัสโคโรนา ซึ่งคาซัคสถานระบุว่าตกลงจะส่งแป้งสาลีห้าหมื่นตันไปยังทาจิกิสถาน[28][31][32] ในวันเดียวกันนั้นประธานาธิบดี ราห์มอน และประธานาธิบดีแห่งอุซเบกิสถาน มีร์ซีโยเยฟ จัดการสนทนาทางโทรศัพท์อีกครั้งรวมถึงอภิปรายเกี่ยวกับการประสานงานในเรื่องไวรัสโคโรนา[28] เมื่อวันที่ 10 เมษายนผู้คนที่เดินทางมาถึงทาจิกิสถาน 7,367 คนจากต่างประเทศถูกกักตัวซึ่ง 5,482 ได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลแล้วเหลือ 1,880 คนที่ยังถูกกักกันอยู่[33] เมื่อวันที่ 13 เมษายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซิราจิดิน อัซลอฟ (ทาจิก: Сироҷидин Аслов) พบกับหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศทาจิกิสถาน มาริลีน โจเซฟสัน (สวีเดน: Marilyn Josefson) ซึ่งประกาศแผนการที่จะให้ความช่วยเหลือทาจิกิสถานเป็นจำนวน 48 ล้านยูโรเพื่อบรรเทาผลกระทบของการระบาด[34] วันที่ 14 เมษายน นายนาซิม อาลิมซอดา (ทาจิก: Насим Олимзода) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและการคุ้มครองทางสังคมกล่าวว่าไม่มีการตรวจพบไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถาน อาลิมซอดาอธิบายถึงการขาดการยืนยันผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถานนั้น เป็นผลมาจากการกักกันอย่างต่อเนื่องกับทุกคนจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าสู่ทาจิกิสถาน อันเนื่องมาจากอันตรายจากการแพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ[35] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินของอุซเบกิสถานได้ส่งมอบความช่วยเหลือแก่ทาจิกิสถานซึ่งรวมถึง แป้งสาลีหนึ่งพันตัน น้ำยาฆ่าเชื้อ และยาปฏิชีวนะ ชุดป้องกันทางการแพทย์ ถุงมือ หน้ากาก รองเท้า แว่นตา และเครื่องช่วยหายใจ[36] บริษัทพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ทาจิกกิดราอิเล็กทรามอนทาช (ทาจิก: Тоҷикгидроэлектромонтаж) บริจาคชุดทดสอบไวรัสโคโรนา 20,000 ชุด เครื่องช่วยหายใจ 10 เครื่องและชุดป้องกันสำหรับแพทย์ 500 ชุด ให้กับหน่วยงานสาธารณสุขของดูชานเบ รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านซอมอนี (ทาจิก: Сомонӣ)[37]
เมื่อวันที่ 17 เมษายน มีผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 7,871 คนได้ถูกกักกัน ซึ่ง 6,438 คนได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวแล้วและมี 1,523 คนยังคงถูกกักกัน ไม่มีการยืนยันกรณีป่วยจากไวรัสโคโรนาในบุคคลที่ถูกกักกัน โรคอื่น ๆ ที่มีการระบุในประชากรทั่วไป ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่, ปอดบวม, ARVI (acute respiratory viral infection - การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจเฉียบพลัน), โรคหอบหืด และไทฟอยด์[38] ประธานาธิบดีราห์มอนกล่าวสุนทรพจน์ต่อสมาชิกสมัชชาแห่งชาติทาจิกิสถาน ที่ได้รับการเลือกตั้งและได้รับการแต่งตั้งใหม่ ถึงการเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา[39] จาลอลิดดิน อับดุลจับบาร์ซอดา (ทาจิก: Ҷалолиддин Абдуҷабборзода) หัวหน้าแผนกกิจการภายในสำนักงานอัยการของดูชานเบ ล้มป่วยเมื่อวันที่ 15 เมษายนและเสียชีวิตในวันที่ 19 เมษายน กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าเขาเสียชีวิตด้วยเชื้อ H1N1 และชี้ขาดอย่างชัดเจนว่าการเสียชีวิตไม่ได้เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จากการรายงานของสถานีวิทยุ Radio Free Europe/Radio Liberty ภาคภาษาทาจิก (ทาจิก: Радиои Озодӣ) ร่างของอับดุลจับบาร์ซอดาได้ถูกดำเนินพิธีฝังโดยบุคลากรทางการแพทย์ในชุดอุปกรณ์ป้องกันพิเศษ[40] แรงงานอพยพทาจิกิสถานในรัสเซียซึ่งปกติส่งรายได้ไปให้ครอบครัวของพวกเขาในทาจิกิสถาน จะไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้างเนื่องจากเหตุการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในรัสเซีย อิมาร์มุดดิน ซัตตารอฟ (ทาจิก: Имомуддин Сатторов) เอกอัครราชทูตประเทศทาจิกิสถานประจำรัสเซีย ได้ร้องขอต่อผู้นำของบริษัทต่าง ๆ ในรัสเซีย เพื่อละเว้นการเลิกจ้างพนักงานชาวทาจิกิสถาน[41] ประธานาธิบดีราห์มอน เรียกร้องให้ชาวมุสลิมในทาจิกิสถานไม่ถือศีลอดสำหรับเดือนรอมฎอน เพราะว่าการอดอาหารจะทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อมากขึ้น[42][43] เมื่อวันที่ 23 เมษายนทาจิกิสถานปิดโรงเรียนเป็นเวลาสองสัปดาห์เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา และห้ามส่งออกธัญพืชชั่วคราวซึ่งเป็นมาตรการที่มุ่งคงระดับอุปทานภายในประเทศ ไม่มีรายงานผู้ป่วยไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถาน ในเวลานั้นเขตแดนและมัสยิดของทาจิกิสถานถูกปิดลง[44] ถึงวันที่ 27 เมษายนมีการทดสอบการติดเชิ้อสำหรับไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถานแล้ว 4,100 กรณี[45] กาลินา เพอร์ฟิลเยวา (รัสเซีย: Галина Перфильева) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกในดูชานเบ ซึ่งได้เคยยืนยันสถานะในขั้นต้น ที่รัฐบาลทาจิกิสถานแสดงว่าประเทศยังคงปลอดจากไวรัสโคโรนา ได้กล่าวว่า "เป็นไปไม่ได้ที่จะสรุปได้อย่างแน่นอนว่าไม่มีการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถาน"[46]
ทาจิกิสถานเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ดำเนินการแข่งขันกีฬาอาชีพในช่วงที่มีการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา ซึ่งในหลายประเทศถูกยกเลิก[47] อย่างไรก็ตามในวันที่ 27 เมษายน 2563 การแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของทาจิกิสถานได้ถูกระงับ[48]
วันที่ 30 เมษายน กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานว่า มีผู้ป่วยยืนยันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 15 ราย ณ วันที่ 29 เมษายน โดย 10 คนจากคูจานด์ และ 5 คนในดูชานเบ[2][49] โดยก่อนหน้านั้น มีคำถามเกี่ยวกับการขาดรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาในทาจิกิสถาน ถูกหยิบยกขึ้นมาในสื่อมวลชน[50][51][52]
พฤษภาคม
[แก้]ในวันที่ 1 พฤษภาคมมีผู้ได้รับการยืนยันการติดเชื้อ 32 ราย โดย 17 รายอยู่ในดูชานเบ, 5 รายในเมืองในเขตการปกครองของสาธารณรัฐ (ทาจิก: Ноҳияҳои тобеи ҷумҳурӣ) และอีก 10 รายอยู่ในแคว้นซุกด์ (ทาจิก: Вилояти Суғд)[53]
วันที่ 2 พฤษภาคม มีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้ว 76 รายและผู้เสียชีวิตสองราย ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้าน[54] วันที่ 3 พฤษภาคม นายกเทศมนตรีเมืองดูชานเบกล่าวว่ามีแผนจะสร้างโรงพยาบาลชั่วคราวซึ่งรักษาผู้ป่วยได้ 3,000 คน[55] ในวันที่ 4 พฤษภาคม มีกรณีผู้ป่วยผู้ยืนยันเพิ่ม 102 ราย ซึ่งส่งผลให้มีผู้ป่วยยืนยันรวม 230 ราย โดยแบ่งเป็น 110 รายในดูชานเบ, 22 รายในเมืองในเขตการปกครองของสาธารณรัฐ, 7 รายในแคว้นปกครองตนเอง คูฮิสตอนี บาดัคชาน (ทาจิก: Вилояти Мухтори Кӯҳистони Бадахшон), 21 รายในแคว้นคัตลอน (ทาจิก: Вилояти Хатлон), 70 รายในแคว้นซุกด์ ทำให้มีผู้ป่วยยืนยันในทุกภูมิภาคของประเทศ[56]
ในวันที่ 6 พฤษภาคม สหพันธ์ฟุตบอลทาจิกิสถาน (ทาจิก: Федеросиюни футболи Тоҷикистон) ได้ยืดเวลาหยุดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด[57]
มิถุนายน
[แก้]วันที่ 8 มิถุนายน โยดการ์ ไฟซอฟ (ทาจิก: Ёдгор Файзов) ผู้บริหารของเขตปกครองตนเองคูฮิสตอนี บาดัคชาน ประกาศในการแถลงข่าว ณ ที่ทำการประจำภูมิภาคว่า จนถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิต 22 คนจากโรคติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่[58] จำนวนนี้คิดเป็น 46% ของจำนวนผู้เสียชีวิตรวมทั้งประเทศทาจิกิสถาน
กรกฎาคม
[แก้]เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมในการแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นที่สำนักทะเบียนราษฎรแคว้นซุกด์ มีการรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม 203 คน และเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคปอดอื่น ๆ 109 คน ในภูมิภาคในช่วงหกเดือนแรกของปี ในขณะเดียวกันมีการตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงเวลาดังกล่าว "ไม่มีบันทึกทางการแพทย์ใดระบุว่าโควิด -19 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต"[59]
การแถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม หน่วยงานสาธารณสุขของแคว้นซุกด์ระบุว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนานับตั้งแต่การเริ่มต้นของการแพร่ระบาดภายในแคว้นซุกด์ 1,938 ราย ซึ่งหายป่วยแล้ว 1,891 ราย กำลังได้รับการรักษา 31 ราย และมีผู้เสียชีวิต 16 ราย[60]
การสงเคราะห์ด้านมนุษยธรรม
[แก้]ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
[แก้]ประเทศเยอรมัน
[แก้]ตามคำร้องขออย่างเป็นทางการของกระทรวงสาธารณสุขและการคุ้มครองประชากรทางสังคมแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน (ทาจิก: Вазорати тандурустӣ ва ҳифзи иҷтимоии аҳолии Ҷумҳурии Тоҷикистон) และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมัน: BMZ) สาขาของกรรมาธิการฝ่ายสังคม ภายใต้สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งเยอรมันในทาจิกิสถาน (เยอรมัน: Caritas Deutschland) ได้มอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมูลค่าเกือบ 33,500 ยูโรแก่ 16 เมืองและเขตในประเทศทาจิกิสถาน
การบริจาคประกอบด้วยชุดสวมป้องกัน 2,000 ชุด, ชุดอุปกรณ์สุขอนามัย 810 ชุด และชุดอาหาร 400 ชุดเพื่อเสริมสร้างมาตรการป้องกันโรคโควิด-19[61]
ประเทศจีน
[แก้]จีนได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ทาจิกิสถาน เพื่อสนับสนุนความพยายามของทาจิกิสถานในการบรรเทาและป้องกันโรค
พิธีส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจัดขึ้นที่ชายแดนทาจิกิสถานในเขตปกครองตนเองคูฮิสตอนี บาดัคชาน ทาจิก: ВМКБ) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563
รายงานของกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศทาจิกิสถาน ระบุว่าการให้ความช่วยเหลือนี้รวมถึงชุดน้ำยาทดสอบกรดนิวคลีอิก 2,000 ชุด เพื่อตรวจหาไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคโควิด-19, หน้ากากครอบป้องกันทางการแพทย์ 1,000 ชุด, เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส 500 เครื่อง, ถุงมือและที่คลุมรองเท้าทางการแพทย์แบบใช้ครั้งเดียวอีก 1,000 ชุด[62]
ประเทศคาซัคสถาน
[แก้]ในบริบทของวิกฤตโควิด -19 คาซัคสถานได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เพื่อนบ้านในเอเชียกลางอย่างคีร์กีซสถานและทาจิกิสถาน โดยตอบรับการร้องขอจากทั้งสองประเทศ
เมษายน พ.ศ. 2563 ประธานาธิบดีแห่งคาซัคสถาน ฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ ได้ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านทั้งสอง ซึ่งรวมถึงมอบแป้งสาลี 5,000 ตันสำหรับแต่ละประเทศ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ และการจัดหาอาหาร
ทั้งคีร์กีซสถานและทาจิกิสถานได้ยื่นขอสินเชื่อฉุกเฉินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ของ IMF กล่าวว่าทาจิกิสถานอาจได้รับความช่วยเหลือเทียบเท่ากับโควตาของ IMF ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 240 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนบ้านคีร์กีซสถาน ซึ่งได้รับเงินจากกองทุนไปแล้ว 121 ล้านเหรียญสหรัฐได้ขอให้เพิ่มทุนเป็นสองเท่าให้เท่ากับโควตาของประเทศเช่นกัน[63]
ประเทศอุซเบกิสถาน
[แก้]อุซเบกิสถานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ทาจิกิสถานประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์ โดยส่งขบวนรถไฟสิบแปดตู้ที่บรรทุกแป้งสาลี 1,000 ตันและอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ รวมถึงน้ำยาฆ่าเชื้อ, เสื้อคลุม, ถุงมือ, แว่นตา และหน้ากากทางการแพทย์แบบใช้ครั้งเดียว เดินทางถึงกรุงดูชานเบ เมื่อวันที่ 9 เมษายน[64][65]
ตามคำสั่งของประธานาธิบดี ในวันที่ 8 พฤษภาคม นักวิทยาไวรัสชาวอุซเบก 8 คนและอุปกรณ์ทางการแพทย์น้ำหนักรวม 10 ตันรวมทั้งเครื่องช่วยหายใจ 10 เครื่องถูกส่งไปยังทาจิกิสถาน[66]
ในวันที่ 9 พฤษภาคม มีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์สำหรับเป็นหน่วยบริบาลทางการแพทย์จำนวน 144 ตู้โดยทางรถไฟจากอุซเบกิสถาน ไปยังโรงพยาบาลชั่วคราวที่สนามกีฬาบอฟานดา (ทาจิก: Варзишгоҳи Бофанда) ในเมืองดูชานเบ[67]
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่เชื่อว่ามาจากในประเทศ
[แก้]มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดในประเด็น “ความช่วยเหลือเพื่อการกุศล” กับเวชภัณฑ์จาก "กลุ่มบริษัท อาเวสโต (ทาจิก: Авесто Групп)" ซึ่งเป็นบริษัทในท้องถิ่น โดยความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของจีนสำหรับทาจิกิสถานที่ถูกจัดส่งมาเป็นตู้สินค้า ได้ถูกเผยแพร่เป็นภาพวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งตราสัญลักษณ์มิตรภาพทาจิกิสถาน-จีนซึ่งเป็นของกลุ่มบริษัทดังกล่าวได้ปรากฏบนกล่องบรรเทาทุกข์
ผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมตกอยู่ในความขุ่นเคืองและการวิจารณ์อย่างรุนแรงต่อกลุ่มบริษัทดังกล่าว ซึ่งในความเห็นของฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองระบุว่า ส่วนหนึ่งของการกระทำนั้นเป็นของผู้ใกล้ชิดของประธานาธิบดี และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานของวุฒิสภาทาจิกิสถาน (ทาจิก: Маҷлиси Миллии)[68]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Портали ягонаи миллӣ оид ба коронавирус (COVID-19)" [Single National Coronavirus Portal (COVID-19)] (ภาษาทาจิก). สืบค้นเมื่อ 12 August 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 "Таджикистан официально признал наличие коронавируса COVID-19 в стране" (ภาษารัสเซีย). Avesta. 30 April 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
- ↑ "Novel Coronavirus Information Center". Elsevier Connect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ Reynolds, Matt (4 March 2020). "What is coronavirus and how close is it to becoming a pandemic?". Wired UK. ISSN 1357-0978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
- ↑ 5.0 5.1 "Crunching the numbers for coronavirus". Imperial News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ "High consequence infectious diseases (HCID); Guidance and information about high consequence infectious diseases and their management in England". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
- ↑ "World Federation Of Societies of Anaesthesiologists – Coronavirus". www.wfsahq.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2020. สืบค้นเมื่อ 15 March 2020.
- ↑ "TAJIK CITIZENS WILL BE EVACUATED FROM CHINESE CITY OF WUHAN". Ministry of Health (Tajikistan). 11 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "PUBLICATION OF 13 THOUSAND COPIES OF WHO GUIDELINES AND RECOMMENDATIONS FOR REDUCING THE RISK OF CORONAVIRUS INFECTION". Ministry of Health (Tajikistan). 13 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-26. สืบค้นเมื่อ 27 April 2020.
- ↑ "XI JINPING THANKS EMOMALI RAHMON FOR SUPPORT AND AID". Ministry of Health (Tajikistan). 21 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-21. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
- ↑ "OVER THOUSAND CITIZENS, WHO ARRIVED IN TAJIKISTAN FROM CHINA, ARE IN INFECTIOUS DISEASES HOSPITALS". Ministry of Health (Tajikistan). 21 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-23. สืบค้นเมื่อ 23 April 2020.
- ↑ "63 CITIZENS DISCHARGE HOME FOLLOWING 14 DAYS QUARANTINE". Ministry of Health (Tajikistan). 27 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-25. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ Catherine Putz (4 March 2020). "Tajikistan Blocks Entry of Citizens From 35 Countries Over Coronavirus Fears". The Diplomat. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ "Tajikistan Scales Down Coronavirus-Related Travel Ban". U.S. News & World Report. 3 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ "Some Mosques In Dushanbe Suspend Mass Prayers To Keep Coronavirus At Bay". Radio Free Europe/Radio Liberty. 4 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ "Coronavirus Fears Trigger Panic-Buying In Tajikistan". Radio Free Europe/Radio Liberty. 5 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ Nathan Paul Southern; Lindsey Kennedy (20 March 2020). "Central Asian States Can't Hide the Coronavirus Any Longer". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ "436 PEOPLE ARE QUARANTINED". Ministry of Health (Tajikistan). 12 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
- ↑ "Central Asian Countries Use Different Strategies To Deal With Coronavirus Crisis". Radio Free Europe/Radio Liberty. 18 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ Zarangez Navruzshoh (18 March 2020). "Tajik Workers Face Dire Future As Russia Closes Borders Over Coronavirus". Radio Free Europe/Radio Liberty. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ "1890 HAVE BEEN QUARANTINED". Ministry of Health (Tajikistan). 19 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020.
- ↑ "5038 PEOPLE HAVE BEEN QUARANTINED". Ministry of Health (Tajikistan). 25 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 March 2020. สืบค้นเมื่อ 25 March 2020.
- ↑ "ISTIKLOL IS PREPARING FOR CITIZENS QUARANTINE". Ministry of Health (Tajikistan). 25 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
- ↑ "MINISTRY ACTIVATES HOTLINE ON CORONAVIRUS ISSUES". Ministry of Health (Tajikistan). 27 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
- ↑ "4013 ARE IN QUARANTINE". Ministry of Health (Tajikistan). 30 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2020.
To date, no coronavirus cases have been confirmed in Tajikistan.
- ↑ "3913 PEOPLE ARE STILL IN QUARANTINE". Ministry of Health (Tajikistan). 3 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2020. สืบค้นเมื่อ 6 April 2020.
To date, no coronavirus case has been registered in Tajikistan, the ministry said.
- ↑ Farangis Najibullah (3 April 2020). "Despite Zero Reported Cases, Coronavirus On Everyone's Mind In Tajikistan". Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
Schools have reopened after the spring holidays {...}Face masks have become a familiar sight even in remote villages, although there has been no official order or requirement for people to cover their mouths and noses.{...}Local designers in Dushanbe have begun creating face masks from the traditional colorful "adrac" fabric as the demand for masks among people soars in one of the 19 countries on Earth where no cases of coronavirus infection have been reported as of April 2.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 Catherine Putz (10 April 2020). "Tajik President Discusses Coronavirus Via Phone With Regional Leaders". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "PRESS STATEMENT OF THE MINISTRY OF HEALTH AND SOCIAL PROTECTION OF THE POPULATION OF TAJIKISTAN". Ministry of Health (Tajikistan). 6 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-09. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
The ministry informs that to date, no coronavirus case has been registered in Tajikistan.
- ↑ "MARUFJON HOJIBOEV: TO DATE, NO CASES OF CORONAVIRUS INFECTION HAVE BEEN REPORTED IN SUGHD PROVINCE". Ministry of Health (Tajikistan). 6 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-09. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
- ↑ "Telephone conversation with President of Kazakhstan Kassym-Jomart Tokayev". President of the Republic of Tajikistan. 9 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "Kassym-Jomart Tokayev had a telephone conversation with President of Tajikistan Emomali Rahmon". Official Site of the President of the Republic of Kazakhstan. 9 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "REGULAR MEETING OF THE MINISTRY'S STAFF ON CORONAVIRUS PREVENTION". Ministry of Health (Tajikistan). 14 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-06. สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
- ↑ "EU INTENDS TO PROVIDE TAJIKISTAN WITH €48 MILLION TO MITIGATE COVID-19 PANDEMIC CONSEQUENCES". Ministry of Health (Tajikistan). 14 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-14. สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
- ↑ "INTERVIEW OF MINISTER NASIM OLIMZODA WITH PRESSA.TJ ABOUT THE REAL SITUATION WITH CORONAVIRUS IN TAJIKISTAN (VIDEO)". Ministry of Health (Tajikistan). 14 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
In particular, Olimzoda told Pressa.tj that no symptoms of coronavirus have been registered in Tajikistan to dat.
- ↑ "HUMANITARIAN AID OF UZBEKISTAN TO TAJIKISTAN". Ministry of Health (Tajikistan). 14 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-06. สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
- ↑ "OVER 5 MILLION SOMONI ASSISTANCE PROVIDED TO DUSHANBE HEALTHCARE INSTITUTIONS FOR COVID-19 PREVENTION". Ministry of Health (Tajikistan). 18 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-19. สืบค้นเมื่อ 19 April 2020.
- ↑ "MINISTRY'S STAFF DISCUSSED PNEUMONIA SITUATION". Ministry of Health (Tajikistan). 20 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-20. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
- ↑ "PRESIDENT EMOMALI RAHMON ATTENDS FIRST SESSION OF SIXTH CONVOCATION OF NATIONAL ASSEMBLY". Ministry of Health (Tajikistan). 20 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-20. สืบค้นเมื่อ 20 April 2020.
- ↑ "Tajikistan says it has no COVID-19, attributes new death to swine flu". Eurasianet. 20 April 2020. สืบค้นเมื่อ 21 April 2020.
- ↑ "Coronavirus leaves Tajikistan's labor migrants high and dry". Eurasianet. 20 April 2020. สืบค้นเมื่อ 22 April 2020.
- ↑ "Coronavirus-free Tajikistan advises against Ramadan fasting". The Jakarta Post. 23 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
- ↑ "Coronavirus-free Tajikistan advises against fasting". Business Recorder. 24 April 2020. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
- ↑ Nazarali Pirnazarov; Olzhas Auyezov (25 April 2020). Ros Russell (บ.ก.). "Tajikistan closes schools, suspends food exports due to coronavirus". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
Tajikistan, which borders China, has reported no coronavirus cases, although its former Soviet republic neighbours have confirmed hundreds.
- ↑ "DO NOT IGNORE THE EFFORTS OF DOCTORS!". Ministry of Health (Tajikistan). 29 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020.
To date, 4,100 tests have been used in this laboratory, 800 of them were repeated.
- ↑ "Though It Has No Coronavirus Cases (Officially), Tajikistan Is Behaving As If It's Fighting A Pandemic". Radio Free Europe/Radio Liberty. 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2020.
- ↑ "Looking for a Full Sports Calendar? Try Nicaragua". 14 April 2020. สืบค้นเมื่อ 16 April 2020.
- ↑ "Чемпионат Таджикистана по футболу все-таки остановлен из-за угрозы коронавируса" (ภาษารัสเซีย). Asia-Plus. 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
- ↑ "ТАСДИҚ ШУДАНИ 15 ҲОДИСАИ БЕМОРИИ СИРОЯТИИ КОРОНАВИРУСИ НАВИ CОVID-19" (ภาษาทาจิก). Ministry of Health (Tajikistan). 30 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-20. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
- ↑ Catherine Putz (3 April 2020). "Where In the World Are There No Coronavirus Cases?". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
Tajik President Emomali Rahmon demonstrating in late March how *not* to social distance.{...
} - ↑ "Иштирок дар фестивали "Атлас ва адраси тоҷик-2020" дар Қасри Арбоб 26.03.2020". Flickr (ภาษาทาจิก). 26 March 2020. สืบค้นเมื่อ 4 April 2020.
- ↑ Catherine Putz (28 April 2020). "Are There Really No COVID-19 Cases in Tajikistan?". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
As the number of countries that have not reported any COVID-19 cases dwindles to a handful of small Pacific Island states and two hermit kingdoms — Turkmenistan and North Korea — Tajikistan’s denials ring hollow and its attempts at urging preventative measures seem belated and bumbling.
- ↑ "ХАБАРИ ФАВРӢ: Шумори ҳолатҳои тасдиқшудаи гирифторӣ ба коронавирус дар Тоҷикистон ба 32 адад расид". National Agency of Information of Tajikistan (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2 May 2020.
- ↑ "Власти Таджикистана официально подтвердили первые случаи летальных исходов от COVID-19 в стране". Avesta News Agency (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 3 May 2020.
- ↑ "Вазорат гуфт, теъдоди гирифторони СОVID-19 дар Тоҷикистон ба 128 нафар расид". Radio Ozodi (ภาษาทาจิก). สืบค้นเมื่อ 3 May 2020.
- ↑ "Coronavirus cases confirmed in all regions of Tajikistan". akipress.com. Akipress. Akipress. 4 May 2020. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020.
- ↑ "ФФТ ПРОДЛИЛА ПАУЗУ ВО ВСЕХ ФУТБОЛЬНЫХ СОРЕВНОВАНИЯХ В ТАДЖИКИСТАНЕ". fft.tj/ (ภาษารัสเซีย). Football Federation Tajikistan. 6 May 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ Агентии Миллии Иттилоотии Тоҷикистон (2020-06-08). "Бадахшон: Шумораи мубталоёни COVID-19 дар вилоят рӯ ба камшавӣ ниҳодааст". www.khovar.tj (ภาษาทาจิก). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-06-09.
- ↑ "Тӯли ним сол дар Суғд 6063 ҳолати фавт сабт шуда, лекин ягонтоаш аз COVID-19 нест" (ภาษาทาจิก). AsiaPlus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-15.
- ↑ "16 жителей Согдийской области стали жертвами коронавируса" (ภาษารัสเซีย). Азия-Плюс. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.
- ↑ SugdNEWS (2020-05-01). "Germany helps Tajikistan strengthen preventive measures against COVID-19". SugdNEWS (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ "China provides assistance to Tajikistan to combat COVID-19 | Tajikistan News ASIA-Plus". asiaplustj.info. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ "Kazakhstan provides humanitarian aid to Kyrgyzstan, Tajikistan". www.euractiv.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-04-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ "Uzbekistan provides humanitarian aid to Tajikistan to respond to COVID-19 infection | Tajikistan News ASIA-Plus". asiaplustj.info. สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ uz, Kun. "Uzbekistan sends humanitarian aid to Tajikistan". Kun.uz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ uz, Kun. "Uzbekistan sends another batch of humanitarian aid to Tajikistan". Kun.uz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ "Uzbekistan sends another batch of humanitarian aid to Tajikistan". Kun.uz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
- ↑ "Власти Таджикистана подверглись критике за показательные «гуманитарные» акции". Радио Озоди (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-05-30.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ COVID-19 pandemic in Tajikistan
- เว็บไซต์ทางการ – เว็บท่าสำหรับโควิด-19 (ในภาษาทาจิก, รัสเซีย)