ข้ามไปเนื้อหา

แกรนด์พรินเซส (เรือ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกรนด์พรินเซส ที่ชายฝั่งเมืองสปลิท โครเอเชียแสดงส่วนท้ายที่ปรับปรุงใหม่
ประวัติ
ชื่อแกรนด์พรินเซส
เจ้าของ
  • พีแอนด์โอ พรินเซสครูซเซส (P&O Princess Cruises, 2541-2546) เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น
  • บมจ.คาร์นิวัล คอร์ปอเรชัน (Carnival plc, 2546–ปัจจุบัน)
ผู้ให้บริการพรินเซสครูซเซส
ท่าเรือจดทะเบียน
Ordered8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
อู่เรือบ. ฟินกันติเอริ (Fincantieri)
มูลค่าสร้าง$450 ล้านเหรียญสหรัฐ
Yard numberมอนฟัลโกเน (Monfalcone), 5956
เดินเรือแรก22 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
Christened29 กันยายน พ.ศ. 2541 โดย โอลิเวีย เดอ แฮวีลันด์
สร้างเสร็จ3 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
Maiden voyage27 พฤษภาคม พ.ศ. 2541
Refitพฤษภาคม พ.ศ. 2554, มีนาคม พ.ศ. 2562
รหัสระบุ
สถานะกักกันโรค (Quarantined)
หมายเหตุVessel Details and Current Position[1]
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือสำราญชั้น แกรนด์คลาส (Grand-class)
ขนาด (ตัน): 107,517 ตันกรอส
ความยาว: 289.86 m (951 ft 0 in)
ความกว้าง: 35.97 m (118 ft 0 in)
ความสูง: 61.26 m (201 ft 0 in)
กินน้ำลึก: 7.92 m (26 ft 0 in)
ดาดฟ้า: 17
ระบบขับเคลื่อน: สองใบจักร แบบปีกปรับมุมบิดไม่ได้
ขับโดยเครื่องยนต์กำเนิดกำลังดีเซล Sulzer 16ZAV40S, 11,520 kW (15,450 hp) จำนวน 6 เครื่อง
ความเร็ว: 22.5 นอต (41.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 25.9 ไมล์ต่อชั่วโมง) (cruising)
จำนวนเรือและอากาศยาน: เรือเล็กอเนกประสงค์ 6 ลำ
ความจุ:
  • ที่พักผู้โดยสารไม่เกิน 2,590 ที่
  • ผู้โดยสารสูงสุด 3,100 คน
ลูกเรือ: 1,100 คน
หมายเหตุ: Vessel Details and Current Position[1]

แกรนด์พรินเซส (Grand Princess) เป็นเรือสำราญชั้นแกรนด์คลาส ของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซส ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541 โดยอู่ต่อเรือ ฟินกันติเอรี (Fincantieri Cantieri Navali Italiani) ในเมือง มอนฟัลโกเน (Monfalcone) ประเทศอิตาลี ด้วยหมายเลขอู่ต่อเรือ 5956 ในราคาประมาณ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แกรนด์พรินเซสเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดและแพงที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาในเวลานั้น เป็นเรือธงของกองเรือ พรินเซสครูซเซส จนกระทั่งถูกแทนที่โดยเรือลำใหม่คือ รอยัลพรินเซส ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556

การออกแบบ

[แก้]

แกรนด์พรินเซส เป็นเรือลำแรกของเรือสำราญในชั้นแกรนด์คลาส และมีรูปแบบการตกแต่งที่แตกต่างกับเรือพี่น้องในชั้น โดยใช้ไม้สีเข้มและการตกแต่งภายในมีความคล้ายคลึงกับเรือชั้นซันคลาส ซึ่งเป็นชั้นเล็กกว่า เมื่อเปิดตัวเรือแกรนด์พรินเซส เอกสารแนะนำเรือของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซส แสดงฐานะเรืออยู่ในชั้นซันคลาส จนกระทั่งการเปิดตัวในช่วงต่อมาของเรือโกลเดนพรินเซส จึงปรากฏชั้นแกรนด์คลาสในจุลสารประชาสัมพันธ์

เรือ แกรนด์พรินเซส และ แปซิฟิกพรินเซส บริเวณชายฝั่งเมืองสปลิท เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2554

แกรนด์พรินเซสเป็นเรือพี่น้องของ สตาร์พรินเซส และ โกลเดนพรินเซส ซึ่งเรือแกรนด์พรินเซส เคยเป็นฉากสำหรับภารกิจในซีรีย์ที่สองของรายการโทรทัศน์เรียลลิตีโชว์ ดิแอปเพรนทิซ (The Apprentice)

แกรนด์พรินเซส มีโรงละครขนาดใหญ่, โถงสังสรรค์ที่มีเวทีแสดงกลางขนาดใหญ่ และเลานจ์แสดงท้ายเรือ

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 แกรนด์พรินเซสได้รับการปรับปรุงในอู่แห้งอย่างครอบคลุมที่สุดในประวัติของสายการเดินเรือพรินเซสครูซเซส ซึ่งรวมถึงการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์และการรื้อถอนโถงสังสรรค์ผู้โดยสารออกจากท้ายเรือ[2] สิ่งนี้ทำให้เรือมีแนวหัวเรือที่สูงขึ้นขณะแล่น ซึ่งทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 3-4% แนวหัวเรือที่สูงเป็นเรื่องเฉพาะสำหรับแกรนด์พรินเซส และไม่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อเรือชั้นแกรนด์คลาสอื่น ๆ (หรือชั้นเรือที่เล็กกว่า) ซึ่งเรือเหล่านั้นแตกต่างจากแกรนด์พรินเซส โดยมีดาดฟ้าชั้นบนทำด้วยวัสดุอะลูมิเนียม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 แกรนด์พรินเซสกลับเข้ารับการตกแต่งในอู่แห้งอีกครั้ง

ท่าเรือแวะพัก

[แก้]

จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 แกรนด์พรินเซสมีท่าแวะพักตลอดทั้งปีในซานฟรานซิสโก แคลิฟอร์เนีย โดยกำหนดล่องเรือในเส้นทางระหว่าง อลาสกา ฮาวาย เม็กซิกันริเวียรา และชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย[3]

ปูมเรือที่สำคัญ

[แก้]

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560 มีการพบวาฬตายบริเวณหัวเรือในขณะที่จอดที่เมืองเคตชิแกน ในอลาสกา[4]

เหตุการณ์จากการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562-2563

[แก้]
หน่วยบินกู้ภัยที่ 129 กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของรัฐแคลิฟอร์เนีย ปฏิบัติการทางอากาศส่งมอบชุดทดสอบการติดเชื้อไวรัสโรค COVID-19 ให้กับเรือ แกรนด์พรินเซส

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 มีรายงานว่าผู้โดยสารสองคนซึ่งล่องเรือไปยังเม็กซิโกเมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) และหนึ่งในนั้นเสียชีวิต[5][6] การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเรือเข้าใกล้ซานฟรานซิสโก โดยมีผู้โดยสาร 2,500 คนบนเรือ บางคนรายงานอาการที่สอดคล้องกับโรค และเรือได้ถูกกักไว้นอกชายฝั่งโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อกักกันโรคและตรวจสอบผู้โดยสารและลูกเรือ[6]

เช่นเดียวกับ ไดมอนด์พรินเซสซึ่งเป็นเรือชั้นแกรนด์คลาส ของสายการเดินเรือ พรินเซสครูซเซสอีกลำหนึ่ง ก็ประสบกับการระบาดของโรคในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 และถูกกักกันโรคเกือบหนึ่งเดือนในท่าเรือโยโกฮามะ ประเทศญี่ปุ่น[7]

ในวันที่ 5-6 มีนาคม พ.ศ. 2563 ขณะที่เรือกำลังแล่นใกล้ชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย หน่วยบินกู้ภัยที่ 129 กองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการบินเพื่อหย่อนและรับกลับชุดทดสอบการติดเชื้อโคโรนาไวรัส[8][9] เมื่อวันที่ 6 มีนาคม มี 46 คนบนเรือได้รับการทดสอบโดย 21 คนมีผลการทดสอบเป็นบวก ซึ่งเป็นลูกเรือ 19 คนและผู้โดยสาร 2 คน ส่วนการทดสอบในรายอื่นอีก 25 คน ผลของการทดสอบหนึ่งสรุปไม่ได้และการทดสอบอื่น ๆ นั้นผลเป็นลบ[10] แกรนด์พรินเซส ได้รับอนุญาตให้จอดที่ท่าเรืออุตสาหกรรมของเมืองโอกแลนด์ แคลิฟอร์เนียในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 และผู้โดยสารจำนวนหนึ่งได้ทยอยขึ้นฝั่ง เริ่มด้วยผู้ที่ต้องการการรักษาทางการแพทย์ที่เร่งด่วน[11][12] ลูกเรือยังถูกกักตัวไว้บนเรือเพื่อกักกันโรคและเพื่อการรักษา ผู้โดยสารที่ขึ้นจากเรือทั้งหมดได้ถูกทดสอบการติดเชื้อโคโรนาไวรัส และเคลื่อนย้ายโดยเครื่องบินหรือรถโดยสารไปยังฐานทัพต่าง ๆ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย, เท็กซัส และจอร์เจีย เพื่อกักกันโรค ขณะที่มีจำนวนเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและแพทย์อนุญาตให้กลับได้ ได้ถูกย้ายไปที่โรงแรมต่าง ๆ[11] ในวันที่ 10 มีนาคม แคนาดาได้นำผู้โดยสารเรือที่เป็นชาวแคนาดาขึ้นเครื่องบินไปยังฐานทัพทหารซีเอฟบี เทรนตัน (CFB Trenton) ในออนแทรีโอ เพื่อกักกันโรคที่นั่น[13] ในวันที่ 11 มีนาคมมีรายงานว่า หนึ่งในชาวแคนาดาที่ถูกส่งตัวกลับประเทศมีผลการทดสอบหาเชื้อไวรัสเป็นบวกภายหลังจากที่ได้ขึ้นฝั่ง[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Grand Princess Vessel Details and Current Position". Marine Traffic. 2012. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
  2. Peter Knego (10 February 2011). "Grand Princess To Lose Her 'Handle'". MaritimeMatters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 29 April 2012.
  3. "2019 Cruise Schedule at the Port of San Francisco" (PDF). sfport.com.
  4. Joling, Dan (9 August 2017). "Dead whale found on bow of cruise ship entering Alaska port". The Canadian Press. สืบค้นเมื่อ 9 August 2017.
  5. "Report: Two former guests form a U.S. based cruise ship have COVID-19". The Maritime Executive. 3 March 2020. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.
  6. 6.0 6.1 "Coronavirus: What happens when cruise ship with exposed passengers reaches San Francisco?". The Mercury News. 5 March 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  7. "COVID-19 Coronavirus Outbreak". worldometers.info. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  8. "Video: See Air National Guard members board a cruise ship with coronavirus test kits". MilitaryTimes. 6 March 2020. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  9. Rodriguez, Olga R. (7 March 2020). "21 positive for coronavirus on cruise ship off California". Anchorage Daily News. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  10. Fuller, Thomas; Mervosh, Sarah; Arango, Tim & Gross, Jenny (6 March 2020). "21 Coronavirus Cases on Cruise Ship Near California". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  11. 11.0 11.1 Rodriguez, Tristi; Thorn, Dan (7 March 2020). "Grand Princess cruise ship will dock at Port of Oakland". KRON 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-09. สืบค้นเมื่อ 2020-03-08.
  12. 12.0 12.1 Hines, Morgan & Oliver, David (11 March 2020). "Coronavirus: More than 1,000 passengers await their turn to leave Grand Princess, begin quarantine". USA Today. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.
  13. "Canada to repatriate citizens on coronavirus-hit cruise ship in California". CBC News. 8 March 2020. สืบค้นเมื่อ 13 March 2020.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]