การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศพม่า
แผนที่การแพร่ระบาดในประเทศพม่า (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2020)
  ≥100000 คน
  10000–99999 คน
  5000–9999 คน
  1000–4999 คน
  500–999 คน
  100–499 คน
  50–99 คน
  10–49 คน
  1–9 คน
โรคโควิด-19
สายพันธุ์ไวรัสไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
สถานที่ประเทศพม่า
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหาเตดิม รัฐชีน[1]
ผู้ป่วยยืนยันสะสม543,511 คน
หาย499,264 คน[2]
เสียชีวิต19,310 คน
อัตราการเสียชีวิต3.61 เปอร์เซ็นต์

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศพม่า เป็นส่วนหนึ่งของการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2) ไวรัสดังกล่าวได้รับการยืนยันว่าแพร่ระบาดไปถึงประเทศพม่าในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 2020[3] กระทั่งวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2020 คณะกรรมการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นำโดยรองประธานาธิบดีที่หนึ่ง มหยิ่นซเว และประกอบด้วยสมาชิกจากกระทรวงต่าง ๆ ของกระทรวงสหภาพ ได้รับการก่อตั้งโดยประธานาธิบดี วี่น-มหยิ่น เพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศ[4]

แม้ว่ารัฐบาลจะดำเนินมาตรการกักกันและการตอบสนองด้านสาธารณสุขอย่างรวดเร็ว แต่ประเทศก็ประสบกับการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปลาย ค.ศ. 2020[5][6] องค์การสหประชาชาติตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับความเปราะบางของประเทศพม่าต่อการระบาดทั่วเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านบริการสุขภาพที่บกพร่องหลังจากการมอบอำนาจหน้าที่ที่ย่ำแย่กว่าหกทศวรรษของการปกครองของทหาร รวมถึงความขัดแย้งภายในที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง[7]

การระบาดทั่วทำให้เศรษฐกิจของประเทศหยุดชะงักลงอย่างมาก และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของพม่าหดตัวลง 5 เปอร์เซ็นต์ใน ค.ศ. 2020[8] ส่วนรัฐประหาร ค.ศ. 2021 และการประท้วง รวมถึงขบวนการอารยะขัดขืนในเวลาต่อมา ซึ่งบางส่วนนำโดยเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ ได้ทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างรุนแรงต่อการตอบสนองด้านสาธารณสุขของประเทศ และทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากยิ่งขึ้น[9][10][11][12] นอกจากนี้ ระบบการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการฉีดวัคซีนของประเทศคาดว่าจะพังลงในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.irrawaddy.com/specials/myanmar-covid-19/myanmars-first-covid-19-patient-recovers-leaves-hospital.html
  2. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Surveillance Dashboard (Myanmar)". Ministry of Health and Sports (Myanmar). สืบค้นเมื่อ 2021-12-04.
  3. hermesauto (2020-03-24). "Myanmar confirms first two coronavirus cases". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 2020-04-01.
  4. "Myanmar leader forms new anti-COVID-19 committee". The Myanmar Times. 2020-03-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-01.
  5. Traill, Ashwini Deshpande, Khaing Thandar Hnin, and Tom (2020-12-01). "Myanmar's response to the COVID-19 pandemic". Brookings. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  6. "Myanmar locks down Yangon region after record jump in COVID cases". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  7. "UN raises concerns over Myanmar's Covid-19 situation - UCA News". ucanews.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  8. "Myanmar's Economy Hit Hard by Second Wave of COVID-19: Report". World Bank. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  9. Nachemson, Andrew. "Medics in Myanmar on strike against military amid COVID-19 crisis". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  10. "Food and fuel prices soar in Myanmar as coup exacerbates Covid-19 crisis". the Guardian. 2021-03-16. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  11. 11.0 11.1 Staff, Reuters (2021-02-09). "Coronavirus testing collapses in Myanmar after coup". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2021-03-21.
  12. Mahase, Elisabeth (2021-03-12). "Covid-19: Military coup in Myanmar sees virus response crumble as doctors are arrested". BMJ. 372: n704. doi:10.1136/bmj.n704. ISSN 1756-1833. PMID 33712414. S2CID 232199858.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]