ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศออสเตรเลีย

พิกัด: 25°S 133°E / 25°S 133°E / -25; 133
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ออสเตรเลีย)
เครือรัฐออสเตรเลีย

เครือรัฐออสเตรเลีย รวมดินแดนอ้างสิทธิในแอนตาร์กติกา
เครือรัฐออสเตรเลีย รวมดินแดนอ้างสิทธิในแอนตาร์กติกา
เมืองหลวงแคนเบอร์รา
35°18′29″S 149°07′28″E / 35.30806°S 149.12444°E / -35.30806; 149.12444
เมืองใหญ่สุดซิดนีย์ (เขตมหานคร)
เมลเบิร์น (เขตเมือง)
ภาษาราชการไม่มีในระดับสหพันธรัฐ
ภาษาประจำชาติอังกฤษ[N 2]
ศาสนา
(2016)[3]
เดมะนิม
การปกครองสหพันธ์ ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
เดวิด เฮอร์ลีย์
แอนโทนี แอลบานีส
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เป็นเอกราช 
1 มกราคม ค.ศ. 1901
9 ตุลาคม ค.ศ. 1942 (มีผล
ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939)
3 มีนาคม ค.ศ. 1986
พื้นที่
• รวม
7,692,024 ตารางกิโลเมตร (2,969,907 ตารางไมล์) (อันดับที่ 6)
1.79 (ใน ค.ศ. 2015)[6]
ประชากร
• 2024 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 26,495,200[7] (อันดับที่ 53)
• สำมะโนประชากร 2016
23,401,892[8]
3.4 ต่อตารางกิโลเมตร (8.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 192)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.416 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 18)
เพิ่มขึ้น 54,891 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 17)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.61 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 12)
เพิ่มขึ้น 62,728 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 9)
จีนี (2018)positive decrease 32.5[10]
ปานกลาง · อันดับที่ 16
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.944[11]
สูงมาก · อันดับที่ 8
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ($) (AUD)
เขตเวลาUTC+8; +9.5; +10 (หลายแบบ[N 4])
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+8; +9.5; +10;
+10.5; +11
(หลายแบบ[N 4])
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ปปปป-ดด-วว[12]
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+61
รหัส ISO 3166AU
โดเมนบนสุด.au

ออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australia) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เครือรัฐออสเตรเลีย (อังกฤษ: Commonwealth of Australia)[13] เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด มีประเทศเพื่อนบ้านประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรราว 27 ล้านคน ด้วยขนาดพื้นที่ 7,617,930 ตารางกิโลเมตร (2,941,300 ตารางไมล์)[14] มีลักษณะเป็นสังคมเมืองสูงโดยประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณชายฝั่งตะวันออก[15] เมืองหลวงของประเทศคือแคนเบอร์รา ในขณะที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดคือซิดนีย์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดและยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ เมืองที่มีประชากรรองลงมา ได้แก่ เมลเบิร์น, บริสเบน, เพิร์ท และแอดิเลด

ออสเตรเลียเป็นสหพันธรัฐซึ่งปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วย 6 รัฐ และ 10 ดินแดนสหพันธ์ และยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ประกอบไปด้วยผู้พลัดถิ่นจำนวนมาก โดยคิดเป็นอัตราส่วนสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด[16] และกว่าครึ่งหนึ่งของพลเมืองออสเตรเลียกำเนิดจากบิดาหรือมารดาซึ่งกำเนิดในต่างประเทศ[17] ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุด[18] มีลักษณะแบนราบที่สุด[19] และเป็นทวีปที่แห้งแล้งที่สุดที่มีผู้คนอาศัยอยู่[20][21] โดยมีปริมาณของดินอุดมสมบูรณ์ในระดับต่ำ และออสเตรเลียยังเป็นประเทศที่มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยมีทะเลทรายอยู่ตรงกลาง มีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทิวเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณทั้งหมดยังเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง

ชาวพื้นเมืองออสเตรเลียอาศัยอยู่ในทวีปนี้เมื่อประมาณ 65,000 ปีมาแล้ว[22] ก่อนการมาถึงครั้งแรกของนักสำรวจชาวดัตช์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ซึ่งตั้งชื่อดินแดนนี้ว่านิวฮอลแลนด์ ต่อมา ครึ่งหนึ่งของฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียถูกอ้างว่าเป็นของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1770 และเริ่มใช้บริเวณนี้เป็นทัณฑนิคม โดยทำการขนส่งนักโทษมายังนิวเซาธ์เวลส์ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1788 และถือเป็นวันชาติของออสเตรเลียมาถึงปัจจุบัน[23] จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกหลายทศวรรษต่อมา ซึ่งทวีปออสเตรเลียได้ถูกสำรวจและอีกห้าอาณานิคมปกครองตนเองของพระมหากษัตริย์ได้ถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ทั้งหกอาณานิคมถูกตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์ รวมตัวกันเป็นเครือรัฐออสเตรเลียตั้งแต่นั้นมา ออสเตรเลียยังคงรักษาระบบการเมืองเสรีนิยมประชาธิปไตยที่มั่นคงที่ทำหน้าที่เป็นรัฐสภาประชาธิปไตยของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ สหพันธ์ประกอบด้วยหกรัฐ และอีกหลายพื้นที่[24]

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่พัฒนาสูง ถือเป็นประเทศอำนาจปานกลาง และมีขนาดเศรษฐกิจโดยวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นอันดับ 13 ของโลก, มีรายได้ต่อหัวอันดับ 10 ของโลก[25] และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ติด 1 ใน 10 ของโลก ค่าใช้จ่ายทางการทหารของออสเตรเลียยังมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก ออสเตรเลียยังถูกจัดอยู่ในอันดับสูงในด้านคุณภาพชีวิต, สุขภาพ, การศึกษา, เสรีภาพทางเศรษฐกิจ, เสรีภาพของพลเมือง และสิทธิทางการเมือง[26] มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรม, การท่องเที่ยว และ การส่งออก รวมถึงโทรคมนาคม, การธนาคาร, การผลิต และการศึกษาระหว่างประเทศ โดยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักศึกษาต่างชาตินิยมมาศึกษาต่อมากที่สุดในโลก[27][28] ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ, กลุ่ม 20, เครือจักรภพแห่งชาติ, สนธิสัญญาแอนซัส, องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, องค์การการค้าโลก, ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก, ประชาคมแปซิฟิก และมีสถานะเป็นพันธมิตรหลักนอกเนโท

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ชื่อประเทศออสเตรเลีย (ออกเสียงว่า /əˈstreɪliə/ ในภาษาอังกฤษ-ออสเตรเลีย)[29] มาจากภาษาละติน Terra Australis หมายถึง "ดินแดนทางใต้" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกทวีปสมมติในซีกโลกใต้ตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อชาวยุโรปเริ่มมาเยือนและทำแผนที่ออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 ชื่อ Terra Australis จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 19 ออสเตรเลียเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "นิวฮอลแลนด์" ซึ่งเป็นชื่อแรกที่ใช้โดยนักสำรวจชาวดัตช์ อาเบิล ตัสมัน ใน ค.ศ. 1644 (ในชื่อ Nieuw-Holland) แต่ชื่อ Terra Australis ยังคงเห็นการใช้งานเป็นครั้งคราว เช่น ในตำราทางวิทยาศาสตร์ ต่อมา ชื่อออสเตรเลีย (Australia) ได้เริ่มเป็นที่นิยมโดยมีที่มาจากนักเดินเรือชาวอังกฤษ แมทธิว ฟลินเดอรส์ ซึ่งกล่าวว่า "เป็นชื่อที่ไพเราะกว่า"[30] ซึ่งนักทำแผนที่และนักสำรวจได้ใช้ชื่อนี้ต่อเนื่องมายาวนาน ก่อนที่ชื่อออสเตรเลียจะปรากฏในงานวิชาการครั้งแรกในหนังสือดาราศาสตร์ของ Cyriaco Jacob zum Barth ซึ่งตีพิมพ์ในแฟรงค์เฟิร์ตอัมไมน์ใน ค.ศ. 1545[31]

ภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศ

[แก้]
ออสเตรเลียแบ่งออกเป็นสีที่แตกต่างกันแสดงให้เห็นเขตภูมิอากาศของประเทศ
เขตภูมิอากาศในประเทศออสเตรเลีย ตามการแบ่งประเภทภูมิอากาศ Köppen

ประเทศออสเตรเลียมีขนาด 7,617,930 ตารางกิโลเมตร (2,941,300 ตารางไมล์)[32] ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลก อินโด-ออสเตรเลีย ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออก[N 5] ถูกแยกออกจากเอเชียโดยทะเลอาราฟูรา และทะเลติมอร์ ที่มีแนวปะการังทะเลเรียงรายอยู่นอกชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์, และทะเลแทสมันนอนอยู่ระหว่างประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จัดเป็นทวีปเล็กที่สุดในโลก[34] และอันดับหกของประเทศที่ใหญ่ที่สุดโดยพื้นที่ทั้งหมด,[35] เนื่องจากขนาดและโดดเดี่ยว ทวีปนี้มักจะถูกขนานนามว่า "ทวีปเกาะ"[36] และบางครั้งถือว่าเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก[37] ประเทศออสเตรเลียมีชายฝั่งยาว 34,218 กิโลเมตร (21,262 ไมล์) (ไม่รวมเกาะนอกชายฝั่งทั้งหมด)[38] และอ้างสิทธิเหนือเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาด 8,148,250 ตารางกิโลเมตร (3,146,060 ตารางไมล์) เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ไม่รวมถึงดินแดนขั้วโลกใต้ของออสเตรเลีย[39] และไม่รวม Macquarie Island ออสเตรเลียอยู่ระหว่างละติจูด 9° และ 44°S, และ ลองจิจูด 112° และ 154°E

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ แนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก[40] อยู่ห่างออกไปจากชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือและขยายไปยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร (1,240 ไมล์). ภูเขาออกัสตัส เป็นหินใหญ่ก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[41] ตั้งอยู่ในออสเตรเลียตะวันตกที่ความสูง 2,228 เมตร (7,310 ฟุต) ภูเขา Kosciuszko บน Great Dividing Range เป็นภูเขาที่สูงที่สุดบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีภูเขาสูงอื่น ๆ คือ Mawson Peak (ที่ 2,745 เมตรหรือ 9,006 ฟุต), บนดินแดนที่ห่างไกลของออสเตรเลียที่เรียกว่า Heard Island, และใน Australian Antarctic Territory, ภูเขา McClintock และภูเขา Menzies ที่ความสูง 3,492 เมตร (11,457 ฟุต) และ 3,355 เมตร (11,007 ฟุต) ตามลำดับ[42]

Everlastings บนภูเขา Hotham ตั้งอยู่ในรัฐวิกตอเรีย

เนื่องด้วยขนาดที่กว้างขวางของประเทศออสเตรเลียส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางภูมิประเทศ, ที่มีป่าฝนเขตร้อนทางตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูเขาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออก และทะเลทรายแห้งในภาคกลาง[43] ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่ราบเรียบ[44] ที่มีผืนดินที่เก่าแก่ที่สุดและดินอุดมสมบูรณ์นัอยที่สุด[45][46] ทะเลทรายหรือที่ดินกึ่งแห้งแล้งที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นชนบททำให้เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของที่ดิน[47] ทวีปที่มีอาศัยอยู่ที่แห้งที่สุด เฉพาะทางตะวันออกเฉียงใต้และมุมทางตะวันตกเฉียงใต้เท่านั้นที่มีอากาศเย็น.[48] ความหนาแน่นของประชากร, ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร อยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก[49] ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่ของประชากรจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอุณหภูมิดีพอสมควร[50]

ภาคตะวันออกของออสเตรเลียถูกทำเครื่องหมายโดย Great Dividing Range ที่วิ่งขนานไปกับชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์, นิวเซาธ์เวลส์และบริเวณกว้างใหญ่ของวิกตอเรีย ชื่อ Great Dividing Range ประกอบด้วยเนินเขาเตี้ย ๆ และที่ราบสูงมักจะสูงไม่เกิน 1,600 เมตร (5,249 ฟุต).[51] บริเวณที่สูงชายฝั่งและเข็มขัดของทุ่งหญ้า Brigalow อยู่ระหว่างชายฝั่งและภูเขา ในขณะที่แผ่นดินด้านในของ dividing range เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของทุ่งหญ้า.[51][52] เหล่านี้รวมถึงที่ราบทางตะวันตกของนิวเซาธ์เวลส์ และ Einasleigh Uplands, Barkly Tableland และ Mulga Lands ของรัฐควีนส์แลนด์ จุด เหนือสุดของชายฝั่งตะวันออกเป็นคาบสมุทร Cape York ที่เป็นเขตป่าฝนเขตร้อน[53][54][55][56]

แผนที่แสดงภูมิประเทศของออสเตรเลีย แสดงให้เห็นระดับความสูงบางระดับในภาคตะวันตกและระดับความสูงมากในกลุ่มภูเขาทางตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิทัศน์ทางตอนเหนือของประเทศที่เรียกว่า the Top End และ the Gulf Country ด้านหลัง the Gulf of Carpentaria ที่มีภูมิอากาศเขตร้อน ประกอบด้วย ป่าไม้, ทุ่งหญ้า และทะเลทราย[57][58][59] ที่มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปมีหน้าผาหินทราย และ ซอกเขา ของ คิมเบอร์ลีและ ด้านล่างเป็น Pilbara ไปทางใต้ของบริเวณเหล่านี้และเข้าไปในแผ่นดิน จะมีพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้ามากขึ้น ที่มีชื่อว่า the Ord Victoria Plain และ the Western Australian Mulga shrublands[60][61][62] ที่ใจกลางของประเทศมีพื้นที่สูงของภาคกลางออสเตรเลีย ซึ่งเป็นลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นของภาคกลาง[63][64]

สภาพภูมิอากาศของออสเตรเลียได้รับอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญจากกระแสน้ำในมหาสมุทร รวมทั้ง Dipole และ El Niño–Southern Oscillation จากมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความแห้งแล้งตามฤดู และระบบความดันต่ำในเขตร้อนตามฤดูกาลที่ผลิตพายุไซโคลนในภาคเหนือของออสเตรเลีย[65][66] ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทุกปี พื้นที่จำนวนมากทางตอนเหนือของประเทศมีสภาพภูมิอากาศเขตร้อน, ส่วนใหญ่เป็นฝนฤดูร้อน (มรสุม)[67] มุมตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมีภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน[68] พื้นที่จำนวนมากของตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้ง แทสเมเนีย) เป็นเขตเมืองหนาว[67]

ประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่ประเทศออสเตรเลียที่มีลูกศรเป็นสีต่างๆแสดงเส้นทางของนักสำรวจตอนต้นรอบๆชายฝั่งของออสเตรเลียและเกาะรอบๆ การสำรวจของบริเวณที่แต่ก่อนเรียกว่า New Holland โดยชาวยุโรปจนถึงปี 1812
  1616 Dirk Hartog
≥≥≈≈≈
  1644 Abel Tasman
  1770 James Cook
  1797–1799 George Bass
  1801–1803 Matthew Flinders
ภาพเขียนของกัปตัน James Cook, ชาวยุโรปคนแรกที่ทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1770

ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป คือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งชนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา[69] ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนอยู่ในออสเตรเลียใน พ.ศ. 2331[70]

การตั้งถิ่นฐาน

[แก้]

การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1606 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่าง ค.ศ. 1606 ถึง 1770 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลียซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์[71] ใน ค.ศ. 1770 เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม[71] กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ใน ค.ศ. 1787 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันชาติออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาใน ค.ศ. 1793 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ใน ค.ศ. 1803 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งใน ค.ศ. 1825 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกใน ค.ศ. 1829 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ[71] ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง[72][73] เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ใน 1848 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน[74] การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และ ค.ศ. 1868 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย[72]

ใน ค.ศ. 1851 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย[75] ใน ค.ศ. 1901 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1911 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราใน ค.ศ. 1927[76] ใน ค.ศ. 1911 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน[69]

การปกครองตนเอง

[แก้]

ออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ใน ค.ศ. 1942 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน ค.ศ. 1939[77] ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์[78] ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน[79] ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีค.ศ. 1973[80] พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ใน ค.ศ. 1999 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ[81]

การเมืองการปกครอง

[แก้]
พิธีเปิดรัฐสภาแห่งออสเตรเลีย

ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth[82]

ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลียเป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินีนาถ และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถ"[83] อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย[83] ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี[84] สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน[85] รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

ซิดนีย์ในปี 1894
เดวิด เฮอร์ลีย์, ผู้สำเร็จราชการประเทศออสเตรเลีย
แอนโทนี แอลบานีส, นายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย

บริหาร

[แก้]

กระทรวง

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อกระทรวงภาษาไทย ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ
1 กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำ Department of Agriculture and Water Resources
2 สำนักอัยการสูงสุด Attorney-General's Department
3 กระทรวงการสื่อสารและศิลปกรรม Department of Communications and the Arts
4 กระทรวงกลาโหม Department of Defence
5 กระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรม Department of Education and Training
6 กระทรวงการจัดหางาน Department of Employment
7 กระทรวงสิ่งแวดล้อม Department of the Environment
8 กระทรวงการคลัง Department of Finance
9 กระทรวงการต่างประเทศและการค้า Department of Foreign Affairs and Trade
10 กระทรวงสาธารณสุข Department of Health
11 กระทรวงบริการมนุษย์ Department of Human Services
12 กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและป้องกันชายแดน Department of Immigration and Border Protection
13 กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาภูมิภาค Department of Infrastructure and Regional Development
14 กระทรวงอุตสาหกรรม นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์ Department of Industry, Innovation and Science
15 สำนักนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี Department of the Prime Minister and Cabinet
16 กระทรวงประชาสงเคราะห์ Department of Social Services
17 กระทรวงธนารักษ์ Department of the Treasury
18 กระทรวงกิจการทหารผ่านศึก Department of Veterans' Affairs

นิติบัญญัติ

[แก้]
อาคารรัฐสภาในแคนเบอร์รา เปิดใช้แทนอาคารหลังเดิมในปี พ.ศ. 2531

ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน[86] ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด

ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ[87] ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริซัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 2018 มาจากพรรคเสรีนิยม พรรคอื่น ๆ ที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา

ตุลาการ

[แก้]

รัฐและดินแดน

[แก้]
แผนที่รัฐและดินแดนของออสเตรเลีย

ออสเตรเลียแบ่งออกเป็น 6 รัฐ ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีมณฑลหลัก ๆ บนแผ่นดินใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (มณฑลนครหลวงออสเตรเลีย) และดินแดนเล็กน้อยอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ดินแดนนั้นมีลักษณะเดียวกับรัฐ แต่รัฐสภากลางสามารถค้านกฎหมายใดก็ได้จากสภาของดินแดน [88]ในขณะที่ในระดับรัฐ กฎหมายสหพันธ์จะค้านกับกฎหมายรัฐได้เพียงในบางด้านตามมาตรา 51 ของรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติอื่น ๆ นั้นเป็นของรัฐสภาของแต่ละรัฐ

แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า "governor" และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทหาร

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของออสเตรเลียได้รับการผลักดันจากการใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาผ่านข้อตกลง ANZUS และความปรารถนาที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับเอเชียและแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาเซียน และหมู่เกาะแปซิฟิกฟอรั่ม ใน ค.ศ. 2005 ออสเตรเลียร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ต่อจากการเข้าร่วมสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใน ค.ศ. 2011 ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกครั้งที่หก ออสเตรเลียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งประชาชาติ[89]

กลุ่มของทหารออสเตรเลียพร้อมปืนไรเฟิลส์เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางในพื้นที่ป่า, ทหารกองทัพออสเตรเลียดำเนินการลาดตระเวนเดินเท้าระหว่างการฝึกซ้อมร่วมกับกองกำลังสหรัฐใน Shoalwater เบย์ (2007)

ออสเตรเลียมีส่วนร่วมในการเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ[90][91][92] นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มแครนส์ และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก[93][94] ออสเตรเลียเป็นสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และองค์การการค้าโลก[95][96] และมีการดำเนินการที่สำคัญหลายอย่างตามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี รวมถึงข้อตกลงการค้าเสรีของสหรัฐ[97] และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกับนิวซีแลนด์[98] ข้อตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ ที่กำลังเจรจาต่อรองกับจีน ได้แก่ข้อตกลงเขตการค้าเสรีออสเตรเลีย-จีน และยังมีข้อตกลงร่วมกับญี่ปุ่น[99] รวมถึงเกาหลีใต้ใน ค.ศ. 2011[100][101] ข้อตกลงเขตการค้าเสรีชิลี, เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจทรานส์-แปซิฟิก ก็ได้รับการดำเนินการเช่นกัน

ออสเตรเลียมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะเป็นสมาชิกพหุภาคี[102] และรักษานโยบายความช่วยเหลือระหว่างประเทศ ภายใต้โปรแกรมซึ่งมี 60 ประเทศได้รับความช่วยเหลือ งบประมาณใน ค.ศ. 2005-06 จำนวนกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐถูกจัดสรรเพื่อความช่วยเหลือและการพัฒนาด้านต่างประเทศ[103] ออสเตรเลียอยู่ในอันดับเจ็ดโดยรวมด้านดัชนีความมุ่งมั่นในการพัฒนาปี 2008 ของศูนย์การพัฒนาทั่วโลก[104]

กองกำลังติดอาวุธของออสเตรเลียชื่อ The Australian Defence Force (ADF) ประกอบด้วยราชนาวี (RAN), กองทัพบก และกองทัพอากาศ (RAAF) รวม 80,561 นาย (รวม 55,068 ประจำการ และอีก 25,493 กองหนุน)[105] บทบาทในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดตกเป็นของผู้นำประเทศ และผู้แต่งตั้งหัวหน้ากองกำลังป้องกัน[106] ในขณะที่การบริหารและการกำหนดนโยบายดำเนินการโดยกระทรวงกลาโหม

ในงบประมาณระหว่าง ค.ศ. 2010-11 การใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศมีจำนวน 25.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย[107] เป็นอันดับที่ 13 ของงบประมาณด้านการทหารที่ใหญ่ที่สุดของโลก[108] ออสเตรเลียมีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพ, การบรรเทาภัยพิบัติและความขัดแย้งที่ใช้อาวุธของสหประชาชาติและของภูมิภาค ปัจจุบันได้มีการวางกำลังมหารประมาณ 3,330 ในภารกิจในติมอร์-เลสเต, หมู่เกาะโซโลมอน และอัฟกานิสถาน[109]

สิ่งแวดล้อม

[แก้]

แม้ว่าบริเวณส่วนใหญ่ของออสเตรเลียจะเป็นแบบกึ่งแห้งแล้ง หรือทะเลทราย แต่ก็มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัยมาก ตั้งแต่ต้นไม้เตี้ยเป็นพุ่มที่ขึ้นตามทุ่งแบบอัลไพน์จนถึงป่าฝนเขตร้อน เชื้อราเป็นสัญลักษณ์ความหลากหลายนั้น จำนวนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในประเทศออสเตรเลียรวมถึงพวกที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบ มีการคาดการณ์ที่ประมาณ 250,000 ชนิด ในจำนวนนั้นมีประมาณ 5% ที่สามารถจำแนกได้[110] เพราะความเก่าแก่ของทวีป รูปแบบสภาพอากาศแปรเปลี่ยนอย่างสุดขั้วและการอยู่โดดเดียวทางภูมิศาสตร์ในระยะยาว ทำให้สิ่งมีชีวิตในออสเตรเลียจำนวนมากเป็นเอกลักษณ์และมีความหลากหลาย ประมาณ 85% ของพืชดอก, 84% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, กว่า 45% ของนกและ 89% ของสัตว์บก และปลาเป็นสัญลักษณ์ประจำถิ่น[111] ออสเตรเลียมีสัตว์เลื้อยคลานจำนวนมากที่สุด (755 สายพันธุ์)[112]

หมีโคอาลาที่เกาะอยู่บนต้นยูคาลิปตัส ที่หัวของมันหันไปข้างหลังทำให้เราสามารถมองเห็นดวงตาทั้งสองข้างได้ หมีโคอาลาและยูคาลิปตัสเป็นสัญลักษณ์คู่ของออสเตรเลีย

ป่าออสเตรเลียส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากสายพันธุ์ที่เขียวชอุ่มตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นยูคาลิปตัสในดินแดนแห้งแล้ง ไม้สนต่าง ๆ เป็นสายพันธุ์ที่โดดเด่นมากที่สุด[113] ท่ามกลางสัตว์ในออสเตรเลียที่รู้จักกันดี คือสัตว์ประเภท monotremes (ตัวตุ่นและตุ่นปากเป็ด); สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องเลี้ยงลูก รวมถึง จิงโจ้, โคอาล่า และ วอมแบต และนก เช่น นกอีมู[113] ออสเตรเลียเป็นบ้านของสัตว์ที่เป็นอันตรายจำนวนมากรวมทั้งงูที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลก[114] หมาป่าดิงโกได้รับการแนะนำโดยคน Austronesian ที่ค้าขายกับชาวพื้นเมืองประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[115] พืชและสัตว์หลายสายพันธุ์ได้สูญพันธุ์ไปในไม่ช้าหลังจากการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์คนแรก[116] รวมทั้งพันธุ์สัตว์ท้องถิ่นออสเตรเลียได้หายไปตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานชาวยุโรป เช่น ไทลาซีน[117][118]

จิงโจ้ สัตว์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศออสเตรเลีย

หลายภูมิภาคเผชิญปัญหาสิ่งมีชีวิตถูกคุกคามจากกิจกรรมของมนุษย์[119] พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของรัฐบาลกลาง ค.ศ. 1999 เป็นกรอบกฎหมายสำหรับการป้องกันภัยคุกคามของพืชและสัตว์[120] พื้นที่หลายแห่งได้รับการป้องกันภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อการอนุรักษ์ของความหลากหลายทางชีวภาพ[121][122] โดยกว่า 65 พื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ภายใต้อนุสัญญาแรมซาร์,[123] และ 16 แหล่งมรดกโลกธรรมชาติได้รับการดูแล[124] ออสเตรเลียเป็นอันดับที่ 51 จาก 163 ประเทศทั่วโลกในดัชนีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมปี 2010[125]

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นความกังวลที่เพิ่มขึ้นในประเทศ และการป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นปัญหาทางการเมืองที่สำคัญ[126][127] ในปี 2007 รัฐบาลได้ลงนามในตราสารการให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของออสเตรเลียต่อหัวอยู่ในกลุ่มที่สูงที่สุดในโลกที่ ต่ำกว่าเพียงไม่กี่ประเทศอุตสาหกรรมอื่น ๆ[128] ปริมาณฝนที่ตกในประเทศได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณกว่าสองในสี่ส่วนของประเทศ[129] จากอ้างอิงถึงของสำนักอุตุนิยมวิทยา ออสเตรเลียมีอุณหภูมิในปี 2011 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยในรอบสิบปียังคงแสดงให้เห็นถึง แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ เนื่องจากการจำกัดเรื่องน้ำในหลายภูมิภาค และการเพิ่มขึ้นของประชากรในเมืองและภัยแล้งในท้องถิ่น[130][131] พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปนี้ยังเกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยครั้ง[132][133]

เศรษฐกิจ

[แก้]
เหมืองแบบเปิดหน้าดิน มองลงไปจะเห็นบางถนนอยู่ด้านล่าง สิ่งสกปรกมองเห็นเป็นสี สนิม
หลุมเหมืองทองขนาดใหญ่ใน Kalgoorlie เป็นเหมืองแบบเปิดหน้าดินที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย.[134]

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง[135][136][137] และจีดีพีต่อหัวของประชากรที่ค่อนข้างสูง และอัตราของความยากจนที่ค่อนข้างต่ำ ในแง่ของความมั่งคั่งเฉลี่ย เศรษฐกิจออสเตรเลียเป็นอันดับสองในโลกตามหลังสวิตเซอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2013 แม้ว่าอัตราความยากจนของประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 10.2 เปอร์เซนต์ในปี 2000 เป็น 11.8 เปอร์เซนต์ใน ค.ศ. 2013[138][139] ออสเตรเลียได้รับการระบุโดยสถาบันวิจัยเครดิตสวิสว่าเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก และความมั่งคั่งเฉลี่ยสูงสุดในประชากรผู้ใหญ่เป็นอันดับสองใน ค.ศ. 2013[138]

เงินดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นสกุลเงินของประเทศ รวมทั้งของเกาะคริสมาสต์, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) และเกาะนอร์โฟล์ค เช่นเดียวกับรัฐอิสระเกาะแปซิฟิกของประเทศคิริบาติ, นาอูรู และ ตูวาลู การควบรวมกิจการของตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียและตลาดอนาคตซิดนีย์ใน ค.ศ. 2006 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับเก้าในโลก[140]

ออสเตรเลียได้รับการจัดอันดับในอันดับสามด้านดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (ค.ศ. 2010),[141] เศรษฐกิจประเทศใหญ่ที่สุดอันดับสิบสองของโลกและ มี GDP ต่อหัว (ประมาณ) ที่สูงที่สุดเป็นอันดับห้าที่ และเป็นอันดับที่สองในด้านดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ ค.ศ. 2011 และเป็นที่หนึ่งในดัชนีเจริญรุ่งเรืองของ Legatum ค.ศ. 2008[142] เมืองใหญ่ทั้งหมดของออสเตรเลียมีอันดับที่ดีในการสำรวจความน่าอยู่[143] เมลเบิร์นเป็นเมืองอันดับหนึ่งจากการจัดโดยหนังสือ The Economist ในปี ค.ศ. 2011,[144] 2012[145] และ 2013 ในรายชื่อเมืองที่น่าอยู่ที่สุดของโลก ตามด้วย แอดิเลด, ซิดนีย์ และ เพิร์ธ ในอันดับที่ห้า, เจ็ด และเก้าตามลำดับ[146] หนี้ภาครัฐรวมในประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ประมาณ $190 พันล้าน[147] - 20% ของ GDP ใน ค.ศ. 2010.[148] ออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีราคาบ้านสูงที่สุด และมีจำนวนหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงในทศวรรษที่ผ่านมา[149]

แผนที่โลกแสดงการกระจาย สินค้าของออสเตรเลีย
ปลายทางและมูลค่าการส่งออกของออสเตรเลียในปี 2006[150]

ออสเตรเลียมีความสมดุลของการชำระเงินที่มีมากขึ้นกว่า 7% ของจีดีพี และมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีขนาดใหญ่นานกว่า 50 ปี[151] ออสเตรเลียมีการเติบโตเศรษฐกิจในอัตราเฉลี่ย 3.6% ต่อปีในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ในการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยประจำปีของกลุ่มประเทศ OECD ที่ 2.5%[151] ออสเตรเลียเป็นประเทศเศรษฐกิจขั้นสูงประเทศเดียวที่ไม่ประสบกับภาวะถดถอยเนื่องจากการชะลอตัวทางการเงินระดับโลกในปี 2008-09[152] อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของหกประเทศคู่ค้าที่สำคัญของออสเตรเลียอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศออสเตรเลียอย่างมีนัยสำคัญที่ขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา[153][154] จาก ปี 2012 ถึงต้นปี 2013 เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลียเติบโต แต่ในบางรัฐที่ไม่ได้ทำเหมืองแร่ และรัฐที่เศรษฐกิจหลักที่ไม่ได้มาจากการทำเหมืองแร่ประสบกับภาวะถดถอย[155][156][157] ในระบบภาษีของออสเตรเลีย ภาษี รายได้ส่วนบุคคลและบริษัทเป็นแหล่งที่มาหลักของรายได้ของรัฐบาล[158]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 มีลูกจ้าง 11,537,900 คน (ทั้งแบบเต็มเวลาและไม่เต็มเวลา) และอัตราการว่างงานที่ 5.1%[159] การว่างงานเยาวชน (อายุ 15-24) อยู่ที่ 11.2%[159] ข้อมูลที่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้รับสวัสดิการได้เติบโตขึ้นถึง 55% ใน ค.ศ. 2007

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อมักจะอยู่ที่ 2-3% และอัตราดอกเบี้ยฐานที่ 5-6% ภาคบริการของเศรษฐกิจรวมทั้ง การท่องเที่ยว, การศึกษาและการบริการทางการเงิน มีประมาณ 70% ของ จีดีพี[160] ออสเตรเลียอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวสาลีและขนสัตว์ รวมถึงแร่ธาตุ เช่นเหล็กและทอง และพลังงานในรูปแบบของก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน การส่งออกสินค้าเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติมีมูลค่า 3% และ 5% ของจีดีพีตามลำดับ ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน, สหรัฐ, เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์[161] ออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกไวน์และอุตสาหกรรมไวน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก มูลค่ากว่า 5.5 พันล้านเหรียญต่อปี[162]

การท่องเที่ยว

[แก้]
โรงอุปรากรซิดนีย์

ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ผลการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจัดทำโดย Tourism Australia พบว่า ในปี 2016 ออสเตรเลียมีภาพลักษณ์เป็นจุดหมายทางการท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในแง่ความปลอดภัย โดยรัฐบาลออสเตรเลียมีความพยายามในการผลักดันให้ออสเตรเลียเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกผ่านมาตรการรักษาความปลอดภัยและบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม ในปี 2011 รัฐบาลออสเตรเลียได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระยะยาว ‘Tourism 2020’ เป็นกรอบนโยบายระดับชาติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออสเตรเลีย และเพื่อผลักดันให้การท่องเที่ยวของออสเตรเลียเติบโตได้ตามศักยภาพสูงสุด ทั้งนี้ การกำหนดแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวระยะยาวในครั้งนี้เป็นความพยายามของรัฐบาลในการฟื้นฟูจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศที่ลดลงในช่วงก่อนหน้า โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือ สำนักงานการพาณิชย์และการลงทุนออสเตรเลีย (Austrade) และการท่องเที่ยวออสเตรเลีย (Tourism Australia)[163]

การท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้แก่ออสเตรเลีย และจากการที่มีสภาพภูมิประเทศและอากาศที่หลากหลาย ส่งผลให้ออสเตรเลียมีแหล่งท่องเที่ยวทุกรูปแบบที่ได้รับความนิยม ออสเตรเลียขึ้นชื่อเรื่องชายหาดและทะเลที่งดงาม มีหลายรัฐที่เต็มไปด้วยชายหาดหลายแห่งที่ได้รับความนิยม[164] เช่น ควีนส์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ พืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก และ เพิร์ท เมืองท่าซึ่งมีทัศนียภาพงดงาม สถานที่อื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ โรงอุปรากรซิดนีย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของการท่องเที่ยวออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์, สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ สะพานระนาบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[165], อุทยานแห่งชาติ Blue Mountains, เมืองเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรีย ซึ่งขึ้นชื่อในด้านอากาศที่ดีและการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ นักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนในสวนสาธารณะอันร่มรื่นตลอดวัน

การท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ การทัวร์ปลาฉลาม[166][167] เป็นการนำนักท่องเที่ยวเข้าไปในกรงเหล็กซึ่งมีความปลอดภัย ก่อนจะหย่อนกรงจากเรือลงไปในมหาสมุทรเพื่อสัมผัสปลาฉลามอย่างใกล้ชิด โดยสถานที่ ๆ มีชื่อเสียงที่สุดของออสเตรเลียในการทัวร์ปลาฉลามคือ พอร์ทลินคอล์น[168][169] แม้จะสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่นแต่ก็ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการก่อกวนฉลามและอาจกระตุ้นสัญชาติการล่าเหยื่อให้ปลาฉลามทำร้ายมนุษย์ ซึ่งโดยปกติแล้วมนุษย์ไม่ใช่อาหารหลักของฉลาม

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

[แก้]

ชาวออสเตรเลียมีประวัติด้านความสำเร็จและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในสาขาการแพทย์ เทคโนโลยี กสิกรรม เหมืองแร่และการอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ผู้ประสบความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ยังได้รับรางวัลชาวออสเตรเลียประจำปี (Australian of the Year Awards)[170] ใน ค.ศ. 2005 ผู้ได้รับรางวัลนี้คือ ศาสตราจารย์ ฟิโอนา วูด (Professor Fiona Wood) ผู้พัฒนาการทำผิวหนังเทียมที่พ่นลงไปบนผิวผู้ที่ถูกไฟลวก ใน ค.ศ. 2006 ผู้ที่ได้รับรางวัลคือศาสตราจารย์ เอียน เฟรเซอร์ (Professor Ian Frazer) ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ส่วนใน ค.ศ. 2007 ศาสตราจารย์ ทิม แฟลนเนอรีย์ (Professor Tim Flannery) ได้รับรางวัลในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมชั้นนำ

ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานและประสบความสำเร็จในการวิจัยการเกษตร ออสเตรเลียกลายมาเป็นศูนย์กลางของโลกในด้านการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร[171] และเป็นผู้ส่งออกภาคการเกษตรรายใหญ่อันดับต้น ๆ เป็นประจำทุกปี รัฐบาลออสเตรเลียลงทุนมากกว่า 600 ล้านเหรียญออสเตรเลียต่อปี ในการวิจัยและพัฒนาการเกษตร และสนับสนุนการริเริ่มสหพันธ์เกษตรกรแห่งชาติ ในการขยายเกษตรกรรมของออสเตรเลียไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์ภายในปี 2030

คมนาคม และ โทรคมนาคม

[แก้]
แอร์บัส เอ380-800 ของควอนตัส สายการบินประจำชาติของออสเตรเลีย

ออสเตรเลียมีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดชาติหนึ่งในทุกช่องทาง[172] เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวาง การวางระบบการขนส่งจึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาด้านการสร้างเรือมีประวัติที่ยาวนานไม่ว่าจะเป็นการสร้างเรือเพื่อการป้องกันประเทศ, เรือเพื่อการพาณิชย์หรือการดูแลรักษาและซ่อมแซม ซึ่งออสเตรเลียได้รับการยอมรับในทุกด้านที่กล่าวมา ออสเตรเลียยังมีความโดดเด่นด้านการออกแบบ, การวิจัยและการพัฒนาตั้งแต่แผนแม่บท, การวิศวกรรม, การก่อสร้างและระบบไอทีในการสร้างสนามบิน

ออสเตรเลียยังได้รับการยอมรับว่ามีระบบรางที่ทันสมัยที่สุดประเทศหนึ่งของโลกอีกด้วย[173][174] นวัตกรรมทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในออสเตรเลียแสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการก้าวข้ามความท้าทายในรูปแบบต่างๆทั้งทางสภาพแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจและความท้าทายด้านเทคนิค และเป็นเหตุให้ทั่วโลกให้ความสนใจในศักยภาพของออสเตรเลีย[175] ทางรถไฟสำหรับการขนส่งระบบรางหนักในประเทศออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นทางผ่านของรถไฟสินค้าหนักที่ขบวนยาวที่สุดและบรรทุกสินค้าได้น้ำหนักมากที่สุดอีกด้วย ในขณะเดียวกัน ทางด้านระบบรางเบา ออสเตรเลียก็มีชื่อตั้งแต่การเริ่มต้นวางแผนโครงการ, งานวิศวกรรมก่อสร้าง, ระบบควบคุมการปฏิบัติการ ตลอดจนการดูแลรักษาเพื่อความประหยัดและปลอดภัยสูงสุด ออสเตรเลียเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านระบบรางหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ควบคุมรถไฟทางไกล (remotely located train control centres) หรือรถไฟสินค้าหนักอัตโนมัติ (Heavy haul and freight rail)

ท่าอากาศยานนานาชาติคิงส์ฟอร์ดสมิธ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของจำนวนผู้โดยสาร[176][177] ตั้งอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และเป็นฐานการบินหลักของสายการบินควอนตัส ซึ่งเป็นสายการบินประจำชาติและยังเป็นสายการบินเก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของโลกที่ยังให้บริการอยู่[178] รองลงมาได้แก่ ท่าอากาศยานเมลเบิร์น และท่าอากาศยานบริสเบน

พลังงาน

[แก้]

ในปี 2003 แหล่งพลังงานของออสเตรเลีย ได้แก่ ถ่านหิน (58.4%) ไฟฟ้าพลังน้ำ (19.1%) ก๊าซธรรมชาติ (13.5%) โรงงานเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว/ก๊าซ (5.4%) น้ำมัน (2.9%) และทรัพยากรหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวภาพ (0.7%) ในช่วงศตวรรษที่ 21 ออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะผลิตพลังงานมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและใช้พลังงานน้อยลงโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล[179] ในปี 2020 ออสเตรเลียใช้ถ่านหินเป็นสัดส่วน 62% ของพลังงานทั้งหมด (เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับปี 2013) พลังงานลม 9.9% (เพิ่มขึ้น 9.5%) ก๊าซธรรมชาติ 9.9% (ลดลง 3.6%) พลังงานแสงอาทิตย์ 9.9% (9.8% เพิ่มขึ้น), ไฟฟ้าพลังน้ำ 6.4% (ลดลง 12.7%), พลังงานชีวภาพ 1.4% (เพิ่มขึ้น 1.2%) และแหล่งอื่น ๆ เช่น น้ำมันและของเสียจากเหมืองถ่านหิน คิดเป็น 0.5% ในเดือนสิงหาคม 2009 รัฐบาลออสเตรเลียตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุถึง 20% ของพลังงานทั้งหมดในประเทศจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2020 และพวกเขาบรรลุเป้าหมายนี้ เนื่องจากทรัพยากรหมุนเวียนคิดเป็น 27.7% ของพลังงานของออสเตรเลียในปีดังกล่าว[180] บริษัทด้านพลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศได้แก่ EnergyAustralia (TRUenergy)

ประชากร

[แก้]
ชายหาดที่ลาดลงจากพื้นหญ้าด้านซ้ายไปยังทะเลที่อยู่ด้านขวา, เมืองที่สามารถมองเห็นได้ในเส้นขอบฟ้า, เกือบสามในสี่ของชาวออสเตรเลียอาศัยอยู่ในเขตเมืองและพื้นที่ชายฝั่งทะเล ชายหาดเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของชาวออสเตรเลีย.[181]

เป็นเวลาเกือบสองศตวรรษ ที่ผู้ตั้งถิ่นฐานและผู้อพยพย้ายมาจากเกาะอังกฤษ เป็นผลให้ผู้คนในประเทศออสเตรเลียเป็นชาวอังกฤษและ/หรือชาติกำเนิดไอริชเป็นหลัก การสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2011 ได้ถามผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับบรรพบุรุษของชาวออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวอังกฤษ (36.1%) ตามด้วยออสเตรเลีย (35.4%),[182] ไอริช (10.4%), สก็อต (8.9%), อิตาลี (4.6%), เยอรมัน (4.5%), จีน (4.3%), อินเดีย (2.0%), กรีก (1.9%) และ เนเธอร์แลนด์ (1.7%)[183] และชาวออสเตรเลียเชื้อสายเอเซียคิดเป็น 12% ของประชากรทั้งหมด[184]

ประชากรของออสเตรเลียได้เพิ่มเป็นสี่เท่าตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[185] แต่ความหนาแน่นของประชากร ที่ 2.8 ประชากรต่อตารางกิโลเมตร ยังคงอยู่ในกลุ่มที่ต่ำที่สุดในโลก[49] ประชากรที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากมาจากการอพยพเข้าเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึง ค.ศ. 2000 เกือบ 5.9 ล้านคนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศโดยเป็นผู้อพยพใหม่ ซึ่งหมายความว่าเกือบสองในเจ็ดของชาวออสเตรเลียได้เกิดในประเทศอื่น[186] ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นแรงงานมีฝีมือ[187] ใน ค.ศ. 2050 ประชากรของออสเตรเลียเป็นที่คาดการณ์ว่าจะมีถึงประมาณ 42 ล้านคน.[188]

ใน ค.ศ. 2011, 24.6% ของชาวออสเตรเลียเกิดจากที่อื่น และ 43.1% ของประชาชนมีอย่างน้อยหนึ่งผู้ปกครองที่เกิดในต่างประเทศ,[189] กลุ่มผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดเป็นผู้ที่มาจากสหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์, จีน, อินเดีย, อิตาลี, เวียดนามและฟิลิปปินส์[190]

กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากรมีเชื้อสายยุโรป ที่เหลือเป็นคนเอเชียเก่าแก่ที่มีชนกลุ่มน้อยขนาดเล็กเป็นบรรพบุรุษ หลังจากการยกเลิกนโยบายคนออสเตรเลียขาวใน ค.ศ. 1973 โครงการของรัฐบาลจำนวนมากได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสามัคคีเชื้อชาติด้วยวัฒนธรรมหลากหลาย[191] ใน ค.ศ. 2005-06 มากกว่า 131,000 คน อพยพไปอยู่ออสเตรเลียส่วนใหญ่มาจากเอเชียและโอเชียเนีย.[192] เป้าหมายสำหรับการย้ายถิ่น ค.ศ. 2012-13 อยู่ที่ 190,000 คน[193] เมื่อเทียบกับ 67,900 คนใน ค.ศ. 1998-99.[194]

มุมมองทางอากาศของท้องทุ่งทำการเกษตรสลับกับถนน, ป่าขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ด้านหน้าของภาพ. Barossa Valley เป็นภูมิภาคที่ผลิตในไวน์ในออสเตรเลียใต้

ประชากรในชนบทของออสเตรเลียใน ค.ศ. 2012 มี 2,420,731 คน (10.66% ของประชากรทั้งหมด)[195] ประชากรชาวพื้นเมือง ได้แก่พวกอะบอริจินส์ และชาวเกาะช่องแคบทอร์เรถูกนับได้ที่ 548,370 คน (2.5% ของประชากรทั้งหมด) ใน ค.ศ. 2011[196] เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 115,953 คนในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 1976[197] การเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเนื่องจากหลายคนที่มีมรดกทางวัฒนธรรมพื้นเมืองก่อนหน้านี้ได้ถูกมองข้ามโดยการสำรวจสำมะโนประชากร เนื่องจากมีการนับขาดไปและหลายกรณีที่สถานะทางพื้นเมืองของพวกเขาไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในแบบฟอร์ม

ชาวออสเตรเลียพื้นเมืองมีประสบการณ์การถูกจำคุกและการว่างงาน สูงกว่าอัตราเฉลี่ย และการศึกษาอยู่ในระดับต่ำ และมีอายุขัยโดยรวมต่ำกว่าถึง 11-17 ปีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง.[161][198][199] ชุมชนท้องถิ่นที่ห่างไกลบางแห่งมีสภาพเหมือน "รัฐล้มเหลว"[200][201][202][203][204] เนื่องจากยังอยู่ห่างไกลความเจริญ

เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วชาติอื่น ๆ ออสเตรเลียกำลังประสบการเปลี่ยนแปลงประชากรไปเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีผู้เกษียณอายุมากขึ้นและคนในวัยทำงานน้อยลง ใน ค.ศ. 2004 อายุเฉลี่ยของประชากรพลเรือนอยู่ที่ 38.8 ปี[205] ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (759,849 คนระหว่าง ค.ศ. 2002-03;[206] 1 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมดใน ค.ศ. 2005[207]) อาศัยอยู่นอกประเทศบ้านเกิด

ภาษา

[แก้]

แม้ว่าออสเตรเลียจะไม่มีภาษาราชการ แต่ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาประจำชาติโดยพฤตินัย[2] ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียมีความหลากหลายด้วยสำเนียงและคำศัพท์ที่โดดเด่น,[208] และแตกต่างเล็กน้อยจากความหลากหลายอื่น ๆ ของภาษาอังกฤษด้านไวยากรณ์และการสะกดคำ[209] จากผลของการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2011, ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเดียวที่พูดกันทั่วไปเกือบ 81% ของประชากร ภาษาที่พบพูดมากที่สุดต่อไปคือ ภาษาจีนกลาง (1.7%), อิตาลี (1.5%), อาหรับ (1.4%), กวางตุ้ง (1.3%), กรีก (1.3%) และ เวียดนาม (1.2%);[190] การศึกษาระหว่าง ค.ศ. 2010-2011 โดย Australia Early Development Index พบว่า ภาษาที่พูดโดยเด็กและเยาวชนที่พบมากที่สุดหลังจากอังกฤษ เป็นภาษาอาหรับ ตามด้วยเวียดนาม, กรีก, จีนและภาษาฮินดี[210][211]

ระหว่าง 200 ถึง 300 ภาษาออสเตรเลียพื้นเมืองถูกคิดว่าน่าจะใช้กันในช่วงเวลาของการติดต่อกับยุโรปครั้งแรก ซึ่งมีเพียงประมาณ 70 ภาษาเท่านั้นที่ยังคงใช้ในปัจจุบัน หลายภาษาเหล่านี้จะถูกพูดเฉพาะผู้สูงอายุ มีเพียง 18 ภาษาพื้นเมืองเท่านั้นที่ยังคงถูกพูดโดยทุกกลุ่มอายุ[212] ในช่วงเวลาของการสำรวจสำมะโนประชากรปี ค.ศ. 2006, 52,000 ชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย, คิดเป็น 12% ของประชากรพื้นเมืองที่รายงานว่าพวกเขาพูดภาษาพื้นเมืองที่บ้าน[213] ออสเตรเลียมีภาษามือที่เป็นที่รู้จักกันคือ Auslan ซึ่งเป็นภาษาหลักของคนหูหนวกประมาณ 5,500 คน[214]

ศาสนา

[แก้]
แม่แบบ:Bar percentโปรเตสแตนท์แม่แบบ:Bar percentโรมันคาทอลิก
ศาสนาในประเทศออสเตรเลีย[190]
ศาสนา เปอร์เซนต์
แองกลิคันและคริสเตียนอื่นๆ
  
18.7%
อิสลาม
  
2.6%
พุทธ
  
2.5%
ฮินดู
  
1.3%
ยิว
  
0.5%
อื่นๆ
  
0.8%
ไม่มีศาสนา
  
22.3%
ไม่ตอบ
  
9.4%

ออสเตรเลียไม่มีศาสนาแห่งรัฐ; มาตรา 116 ของรัฐธรรมนูญของออสเตรเลียห้ามไม่ให้รัฐบาลกลางออกกฎหมายใด ๆ ที่จะสร้างศาสนาใด ๆ, กำหนดพิธีทางศาสนาใด ๆ หรือห้ามกิจกรรมอิสระ ของศาสนาใด ๆ[215] ในการสำรวจสำมะโนประชากรปี 2011 61.1% ของชาวออสเตรเลียถูกนับเป็นคริสเตียน 25.3% เป็นโรมันคาทอลิก และ 17.1% เป็นแองกลิกัน; 22.3% ของประชากรมีการรายงานว่า "ไม่มีศาสนา"; 7.2% ระบุว่านับถือศาสนาอื่น ๆที่ไม่ใช่คริสเตียน โดยเป็นมุสลิม (2.6%) ตามด้วย พุทธ (2.5%), ศาสนาฮินดู (1.3%) และ ยูดาย (0.5%) ส่วนที่เหลืออีก 9.4% ของประชากรไม่ได้ให้ข้อมูลที่เพียงพอ[190]

W R โทมัส ผู้สนับสนุนแห่งออสเตรเลียใต้, ปี 1864, หอศิลป์แห่งรัฐออสเตรเลียใต้ ชาวออสเตรเลียอะบอริจินได้พัฒนาศาสนาของนักวิญญาณนิยมแห่ง'ดรีมไทม์'

ก่อนที่จะมีการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในออสเตรเลีย ความเชื่อของนักวิญญาณนิยมในคนพื้นเมืองของออสเตรเลียได้รับการปฏิบัติมานานนับพันปี ในกรณีของชาวออสเตรเลียอะบอริจินแผ่นดินใหญ่ จิตวิญญาณและประเพณีได้สะท้อนให้เห็นต้นกำเนิดของ เมลานีเซีย การสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 1996 มีผู้ตอบแบบสอบถามได้มากกว่า 7,000 คนที่เป็นสาวกของศาสนาอะบอริจินดั้งเดิม[216]

วิหารคาทอลิกเซนต์แมรี่ส์ในซิดนีย์, สร้างขึ้นจากการออกแบบของวิลเลียม Wardell. ประมาณหนึ่งในสี่ของชาวออสเตรเลียนับถือศาสนาโรมันคาทอลิก

ตั้งแต่การมาถึงของกองทัพเรืออังกฤษใน ค.ศ. 1788 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลัก ก่อให้เกิดเทศกาลของศาสนาเช่น คริสมาสต์ และอีสเตอร์ อาคารหลายแห่งถูกประดับด้วยยอดแหลมของโบสถ์และวิหาร และโบสถ์คริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษา สุขภาพและสวัสดิการในประเทศ ระบบการศึกษาคาทอลิกดำเนินการเป็นผู้ให้การศึกษาซึ่งไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด (ประมาณ 21%) องค์กรสวัสดิการคริสเตียนยังมีบทบาทที่โดดเด่นในสังคม และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง โดยในธนบัตรของออสเตรเลียมีการปรากฏรูปของบุคคลสำคัญมากมาย อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคริสเตียน รวมถึงนักเทศน์ และนักประพันธ์พื้นเมืองชื่อดัง เดวิด อูนายพอน ($50); ผู้ก่อตั้งบริการหมอกองบิน จอห์น ฟลินน์ ($ 20 ); และ แคทเธอรี เฮเลน Spence ($5) ผู้สมัครหญิงคนแรกของออสเตรเลียสำหรับสำนักงานทางการเมือง บุคคลสำคัญทางศาสนาอื่น ๆ รวมถึง แมรี แม็คคิลลอป ชาวออสเตรเลียคนแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นนักบุญโดยคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ค.ศ. 2010) และบาทหลวง เซอร์ ดักลาส คอลส์แห่งคริสตจักรของพระคริสต์ ผู้ซึ่งเปรียบเสมือน มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ นำการเคลื่อนไหวต่อต้านความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติในประเทศออสเตรเลียและยังเป็นชาวพื้นเมืองคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ

คริสตจักรแห่งอังกฤษ (เป็นที่รู้จักในนามคริสตจักรแองกลิกันของออสเตรเลีย) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุด แต่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนอพยพได้มีส่วนร่วมที่ทำให้อิทธิพลของคริสตจักรลดลง อย่างไรก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกยังได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศ และกลายเป็นศาสนากลุ่มใหญ่ที่สุด ในทำนองเดียวกัน ศาสนาอิสลาม, พุทธ, ศาสนาฮินดู, และศาสนายิว ได้รับการขยายตัวในทศวรรษที่ผ่านมา[217] ศาสนาขนาดเล็กอื่น ๆ รวมทั้งศรัทธาบาไฮ, ศาสนาซิกข์ยังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในการสำรวจสำมะโนประชากรใน ค.ศ. 2001 มี 17,381 เป็นชาวซิกข์, 11,037 คนนับถือบาไฮ, 10,632 Pagans และ 8,755 Wiccans ในประเทศ[218]

การสำรวจระหว่างประเทศโดยภาคเอกชน และนักวิชาการที่ไม่แสวงหาผลกำไร พบว่า "ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศเคร่งศาสนาน้อยในโลกตะวันตก เข้ามาอันดับที่ 17 ใน 21 ประเทศที่สำรวจ" และพบว่า "เกือบสามในสี่ของชาวออสเตรเลีย กล่าวว่าพวกเขามีทั้งที่ไม่ได้เคร่งศาสนาเลยหรือศาสนาไม่ได้มีบทบาทสำคัญในชีวิตของพวกเขา"[219] ในขณะที่ การเข้าร่วมปฏิบัติศาสนกิจประจำสัปดาห์ใน ค.ศ. 2001 มีเพียง 1.5 ล้าน[220] (ประมาณ 7.8% ของประชากร),[221] การสำรวจความคิดเห็นของชาวออสเตรเลีย 1,718 คนโดยสมาคมวิจัยคริสเตียน ปลาย ค.ศ. 2009 ชี้ให้เห็นว่า จำนวนของคนที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่อเดือนได้ลดลงจาก 23% ใน ค.ศ. 1993 เป็น 16%[222]

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ถูกจัดอันดับให้เป็นสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุดในประเทศ

การเข้าเรียนที่โรงเรียนหรือการลงทะเบียนการศึกษาที่บ้าน[223][224] เป็นภาคบังคับทั่วประเทศออสเตรเลีย การศึกษาเป็นความรับผิดชอบของแต่ละรัฐและดินแดน[225] ดังนั้น กฎระเบียบจึงแตกต่างกันในแต่ละรัฐ, แต่โดยทั่วไป เด็กจะต้องเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุประมาณ 5 ขึ้นไปจนถึงอายุ 16.[226][227] ในบางรัฐ (เช่น WA}[228] NT,[229] และ NS,[230][231]) เด็กอายุ 16-17 จะต้องไปโรงเรียน หรือมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมวิชาชีพ เช่นการฝึกงาน

ออสเตรเลียมีอัตราการรู้หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นที่คาดกันว่าจะเป็น 99% ในปี 2003.[232] อย่างไรก็ตามการ รายงานสำหรับสำนักงานสถิติออสเตรเลียของปี 2011-12 รายงานว่า ทัสมาเนีย มีอัตราการรู้หนังสือและการคำนวณเพียง 50%.[233] ในโปรแกรมสำหรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ, ออสเตรเลียได้คะแนนอย่างสม่ำเสมออยู่ในกลุ่มสูงสุดห้าในสามสิบประเทศที่พัฒนาแล้วที่สำคัญ (ประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) การศึกษาคาทอลิกนับว่าเป็นภาคที่ไม่ใช่รัฐบาลที่ใหญ่ที่สุด

ออสเตรเลียมี 37 มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และสองมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น เดียวกับสถาบันผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ จำนวนมาก ที่จัดให้หลักสูตรที่ได้รับการอนุมัติในระดับการศึกษา ที่สูงขึ้น[234] มหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1850 ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในสามปีต่อมา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ รวมถึงบรรดาของกลุ่มแปดสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแอดิเลด (ซึ่งมีความสัมพันธ์กับห้ารางวัลโนเบล), มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของ Canberra, มหาวิทยาลัย Monash และมหาวิทยาลัยแห่งนิวเซาเวลส์

OECD ได้วางตำแหน่งออสเตรเลียอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศที่มีราคาแพงที่สุดในการเข้ามหาวิทยาลัย[235] มีระบบของรัฐที่ใช้ในการฝึกอบรมวิชาชีพ หรือที่เรียกว่า TAFE, และธุรกิจการค้าจำนวนมากได้ ดำเนินการฝึกอบรมและฝึกงานให้กับพ่อค้าใหม่[236] ประมาณ 58% ของชาวออสเตรเลียวัย 25-64 มีคุณสมบัติทางอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษา[161] และอัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ 49%, สูงที่สุดในกลุ่มประเทศโออีซีดี อัตราส่วนของนักศึกษาต่างประเทศต่อนักศึกษาท้องถิ่นในการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศออสเตรเลียสูงที่สุดในกลุ่มประเทศดังกล่าวเช่นกัน[237]

ออสเตรเลียมีอัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อหัวประชากรสูงที่สุดในโลก กว่า 812,000 คนลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษาของประเทศในปี 2019[238] ดังนั้นในปี 2019 นักศึกษาต่างชาติจึงมีสัดส่วนเฉลี่ย 26.7% ของจำนวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมด การศึกษาระหว่างประเทศจึงเป็นหนึ่งในภาคการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและมีอิทธิพลอย่างเด่นชัดต่อประชากรของประเทศ

สุขภาพ

[แก้]

ออสเตรเลียมีอายุขัยสูงที่สุดเป็นอันดับสี่รองจาก ไอซ์แลนด์, ญี่ปุ่น และฮ่องกง[239] อายุขัยในประเทศออสเตรเลียใน ค.ศ. 2010 อยู่ที่ 79.5 ปีสำหรับผู้ชาย และ 84.0 ปีสำหรับผู้หญิง.[240] ออสเตรเลียมีอัตราโรคมะเร็งผิวหนังที่สูงที่สุดในโลก โดยมีข้อมูลแสดงว่ามีผู้ป่วยเกือบล้านรายในปี 2015[241] ในขณะที่การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการตายและโรคที่ป้องกันได้ที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 7.8% ของการเสียชีวิตโดยรวม โรคที่ป้องกันได้ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตรองลงมาอีกสองอันดับคือความดันโลหิตสูงที่ 7.6% และโรคอ้วนที่ 7.5%[242][243] ออสเตรเลียอยู่ในอันดับ 35 ในโลก[244] และอยู่ใกล้กับอันดับสูงสุดของประเทศพัฒนาแล้วสำหรับสัดส่วนของผู้ใหญ่ที่มีภาวะอ้วน[245]

ค่าใช้จ่ายรวมสำหรับการดูแลสุขภาพ (รวมถึงการใช้จ่ายภาคเอกชน) อยู่ที่ประมาณ 9.8% ของ GDP ทั้งหมด[246] ออสเตรเลียเปิดตัวระบบการดูแลสุขภาพแบบถ้วนหน้าใน ค.ศ. 1975.[247] รู้จักกันในชื่อ เมดิแคร์ ได้รับทุนสนับสนุนโดยคิดค่าใช้จ่ายภาษีรายได้ หรือที่เรียกว่า การจัดเก็บเมดิแคร์ปัจจุบันคิดที่ 1.5%.[248] รัฐเป็นฝ่ายจัดการด้านโรงพยาบาลและบริการผู้ป่วยนอก ในขณะที่รัฐบาลกลางจ่ายเงินอุดหนุนแผนสวัสดิการเภสัชกรรม (อุดหนุนค่าใช้จ่ายของยา) และการปฏิบัติทั่วไป.[247]

เมืองใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย

[แก้]


วัฒนธรรม

[แก้]

วัฒนธรรมของออสเตรเลียมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษหรือแองโกล-เคลติก แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมและชนพื้นเมือง ในระยะหลัง วัฒนธรรมของออสเตรเลียยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน

วรรณกรรม

[แก้]
เฮนรีย์ ลอว์สัน นักเขียนชื่อดังซึ่งเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมออสเตรเลีย

ออสเตรเลียมีประเพณีด้านวรรณกรรมที่แข็งแกร่งซึ่งเริ่มมาจากการเล่าเรื่องของชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย และต่อด้วยการเล่าเรื่องของนักโทษที่มาถึงในตอนปลายศตวรรษที่ 18 งานเขียนในตอนต้น ๆ ของออสเตรเลียส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ‘บุช’ หรือ พื้นที่ห่างไกลความเจริญ และความยากลำบากของชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ทุรกันดาร

นักเขียนเช่น เฮนรีย์ ลอว์สัน (Henry Lawson) และไมล์ส แฟรงคลิน (Miles Franklin) ได้เขียนบทกลอนและเรื่องราวเกี่ยวกับบุช และวีถีชีวิตของชาวออสเตรเลียเอาไว้ นักเขียนนวนิยายชาวออสเตรเลียชื่อ แพทริค ไวท์ (Patrick White) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1973[250][251] นักเขียนนวนิยายออสเตรเลียสมัยใหม่คนอื่นที่มีชื่อเสียงได้แก่ ปีเตอร์ แครีย์ (Peter Carey) คอลลีน แม็คคัลลอฟ (Colleen McCullough) และ ทิม วินตัน (Tim Winton)[252][253]

อาหาร

[แก้]
เค้กแพฟโลวา ของหวานที่ได้รับความนิยมที่สุดในทวีปออสเตรเลีย

กลุ่มชนพื้นเมืองของออสเตรเลียส่วนใหญ่ดำรงชีวิตด้วยอาหารที่เรียบง่ายตามวิถินักล่าในสมัยโบราณ เริ่มมีการรวบรวมอาหารที่ทำโดยเนื้อสัตว์พื้นเมืองและพืชพันธุ์ท้องถิ่นในเวลาต่อมา หรือเรียกอีกอย่างว่าบุชทัคเกอร์[254] ผู้ตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกได้แนะนำอาหารอังกฤษมาสู่ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ถือว่าเป็นอาหารออสเตรเลียทั่วไป เช่น เนื้อย่าง การย้ายถิ่นฐานจากหลากหลายวัฒนธรรมได้เปลี่ยนโฉมอาหารออสเตรเลีย ผู้อพยพชาวยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่วยสร้างวัฒนธรรมกาแฟที่เฟื่องฟู พายเนื้อและแพฟโลวา (แป้งเค้กทำจากไข่ขาวตีกับน้ำตาล) เป็นของหวานสองชนิดที่มีชื่อเสียงที่สุดในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาหารเอเชียจากชาติ อื่น ๆ เป็นที่นิยมในออสเตรเลียตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาจากการมีชาวเอเชียย้ายไปตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา[255] เมืองใหญ่ได้แก่ ซิดนีย์ เมลเบิร์น เพิร์ท และบริสเบน มักปรากฏร้านอาหารจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เวียดนาม และไทยมากมาย[256]

อาหารเช้าได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก[257] เช่น เบคอน แฮม ไข่ ทานกับขนมปัง น้ำผึ้ง ซีเรียล โยเกิร์ต และน้ำผลไม้ อาหารกลางวันและอาหารเย็นแตกต่างกันตามรสนิยมและภูมิภาค[258] โดยมากนิยมทานเนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่คู่กับผักสลัด รวมถึงอาหารจานด่วนทั่วไป เช่น แฮมเบอร์เกอร์ ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ พิซซา

ไวน์ของออสเตรเลียส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในภาคใต้และส่วนที่มีอากาศเย็นของประเทศ[259] ออสเตรเลียยังขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมร้านกาแฟและกาแฟในใจกลางเมือง ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมกาแฟในต่างประเทศ รวมทั้งนครนิวยอร์กด้วย ออสเตรเลียอ้างว่าตนเองเป็นชาติต้นกำเนิดของ แฟลต ไวท์ (เครื่องดื่มกาแฟที่ประกอบด้วยเอสเปรสโซพร้อมสตรีมนมสด)

ดนตรี

[แก้]

  ชาวอะบอริจินเป็นนักดนตรีกลุ่มแรกของทวีปออสเตรเลียซึ่งส่งผ่านมรดกทางวัฒนธรรมของตนในรูปบทเพลงต่าง ๆ และเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ขลุ่ยไม้ Didgeridoo ดนตรีต่างถิ่นแรก ๆ ของออสเตรเลียมีรากเหง้ามาจากดนตรีพื้นบ้าน[260] โดยในยุคแรกมีลักษณะเป็นเพลงแบบบรรยายโวหาร คร่ำครวญถึงความยากลำบากและความโดดเดี่ยวของดินแดนใหม่ ผู้ตั้งถิ่นฐานที่หลั่งไหลมายังออสเตรเลียในเวลาต่อมา เริ่มจากนักโทษชาวอังกฤษ ไอริช และสก็อต ได้เป็นผู้สืบสานประเพณีนี้ ต่อมา ดนตรีแนวคันทรีเติบโตมาจากพื้นฐานประเพณีทางดนตรีดังกล่าวนี้ จนเมื่อล่วงมาถึงช่วงทศวรรษ 1930 ดนตรีแนวคันทรีได้กลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตชนบทในออสเตรเลีย ดนตรีแจ๊ซเริ่มเข้ามาในออสเตรเลียระหว่างช่วงทศวรรษ 1920 และต่อมาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในด้านดนตรีร็อคและป็อปแบบดั้งเดิม[261]

อุปรากรในออสเตรเลียเริ่มมีการแสดงในต้นศตวรรษที่ 19[262][263] และปัจจุบัน Opera Australia เป็นคณะละครเพลงที่มีรอบการแสดงต่อปีมากที่สุดคณะหนึ่งของโลก[264] โดยมีโรงอุปรากรซิดนีย์อเป็นสำนักงานใหญ่[265] รัฐและเขตปกครองทั้งแปดของออสเตรเลียต่างมีวงดุริยางค์ซิมโฟนีประจำรัฐหรือเขตของตนเอง ส่วนวงที่มีขนาดเล็กลงมาเช่น Australian Brandenburg Orchestra และ Australian Chamber Orchestra ต่างก็ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยนักดนตรีหลายคนคือผู้อพยพจากราว 200 ประเทศทั่วโลกซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลีย

สื่อสารมวลชน และวงการบันเทิง

[แก้]
นิโคล คิดแมน ได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

The Story of the Kelly Gang (1906) ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องยาวเรื่องแรกของโลกที่กระตุ้นความเฟื่องฟูวงการภาพยนตร์ในยุคภาพยนตร์เงียบ[266] หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮอลลีวูดได้ผูกขาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในออสเตรเลีย และในช่วงทศวรรษ 1960 การผลิตภาพยนตร์ของออสเตรเลียก็ยุติลงจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ต่อมา ผู้กำกับคลื่นลูกใหม่ของออสเตรเลียในปี 1970 ได้นำความสำเร็จมาสู่วงการภาพยนตร์ในประเทศ โดยมีภาพยนตร์เกี่ยวกับอัตลักษณ์ประจำชาติ[267] เช่น Wake in Fright และ Gallipoli ในขณะที่ซีรีส์เรื่อง Crocodile Dundee และ Mad Max ติดอันดับในบล็อกบัสเตอร์ ในตลาดภาพยนตร์สากลที่เต็มไปด้วยการแข่งขันจากภาพยนตร์ต่างประเทศ ภาพยนตร์ของออสเตรเลียมีส่วนแบ่ง 7.7% ของบ็อกซ์ออฟฟิศท้องถิ่นในปี 2015[268] AACTAs เป็นรางวัลภาพยนตร์และโทรทัศน์ชั้นนำของออสเตรเลีย ผู้ได้รับรางวัลออสการ์ที่มีชื่อเสียงจากออสเตรเลีย ได้แก่[269] เจฟฟรีย์ รัช, นิโคล คิดแมน, เคต แบลนเชตต์ และ ฮีธ เลดเจอร์

ออสเตรเลียมีผู้แพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะสองบริษัทใหญ่ (Australian Broadcasting Corporation และ Multicultural Special Broadcasting Service) และยังมีเครือข่ายโทรทัศน์เชิงพาณิชย์สามเครือข่าย และสถานีโทรทัศน์และวิทยุสาธารณะที่ไม่หวังผลกำไรจำนวนมาก เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีหนังสือพิมพ์รายวันประจำถิ่นอย่างน้อยหนึ่งฉบับ[270] และมีหนังสือพิมพ์รายวันระดับประเทศสองฉบับคือ The Australian และ The Australian Financial Review ในปี 2020 ออสเตรเลียได้อันดับ 25 จาก 180 ประเทศที่จัดอันดับด้านการให้เสรีภาพสื่อ[271] รองจากนิวซีแลนด์ (8) แต่นำหน้าสหราชอาณาจักร (33) และสหรัฐอเมริกา (44) สื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของ News Corporation และ Nine Entertainment Co.

วันหยุด

[แก้]

ประเทศออสเตรเลียจะฉลองวันพิเศษในแต่ละปีซึ่งก็คือวันสำคัญของประเทศ[272] และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ[273] ซึ่งบางวันอาจมีการจัดงานพิเศษต่าง ๆ ด้วย เกือบทุกรัฐมีวันหยุดราชการวันเดียวกัน แต่บางรัฐก็มีวันหยุดพิเศษเป็นของตนเองเพิ่มอีก ในนครใหญ่หลายแห่งนั้น ร้านค้า ร้านอาหาร และระบบขนส่งสาธารณะมักจะเปิดให้บริการ ส่วนในเมืองที่มีขนาดเล็กกว่านั้น ร้านค้าและร้านอาหารส่วนใหญ่จะปิดบริการ

วันหยุดราชการของออสเตรเลียมีดังนี้: วันชาติออสเตรเลีย คือวันที่ 26 มกราคม เป็นวันที่ฉลองแด่ความเป็นประเทศ วันนี้เป็นวันหยุดราชการเพื่อระลึกถึงการก่อตั้งถิ่นฐานในทวีปนี้เป็นครั้งแรกโดยชาวยุโรป, วันแอนแซค คือวันที่ 25 เมษายน เป็นวันที่กองทัพของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZAC) ยกพลขึ้นบกที่เมืองกาลิโปลีในประเทศตุรกีเมื่อ ค.ศ. 1915 ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 วันนี้มีเพื่อระลึกถึงเหล่าผู้ที่สู้รบและเสียชีวิตในสงคราม ในวันนี้จะมีพิธีฉลองและการเดินสวนสนามของทหาร, วันราชินี (Queen’s Birthday) จะฉลองให้แก่วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร จะฉลองกันในวันจันทร์ (ปกติในเดือนมิถุนายน), วันบ๊อกซิ่งเดย์ (Boxing Day) คือวันที่ 26 ธันวาคม ถัดจากวันคริสต์มาส จะมีการแจกเงินและสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่ผู้ยากไร้, วันขึ้นปีใหม่สากล คือวันที่ 1 มกราคม จะมีงานเทศกาลและงานสังสรรค์จัดขึ้นทั่วประเทศ, วันแรงงาน แต่ละพื้นที่ของออสเตรเลียจะมีวันแรงงาน (Labor Day) ของตัวเองแตกต่างกันไป วันแรงงานถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นวันหยุดให้แก่ "คนทำงาน" และเพื่อระลึกถึงต้นกำเนิดของการเรียกร้องของสหภาพแรงงานและสิทธิด้านแรงงาน และมีวันสำคัญทางศาสนา ได้แก่วันคริสต์มาส วันกู๊ดไฟร์เดย์ วันอีสเตอร์ซาเทอร์เดย์ อีสเตอร์ซันเดย์ และอีสเตอร์มันเดย์

กีฬา

[แก้]

คริกเกตและฟุตบอลเป็นสองกีฬาหลักในออสเตรเลียในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวตามลำดับ[274] ออสเตรเลียน รูลส์ ฟุตบอลมีต้นกำเนิดในเมลเบิร์นในช่วงทศวรรษ 1850 เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทุกรัฐ ยกเว้นนิวเซาธ์เวลส์และควีนส์แลนด์ที่ลีกรักบี้เป็นกีฬาหลัก คริกเก็ตเป็นที่นิยมในทุกพื้นที่และได้รับการยอมรับจากชาวออสเตรเลียจำนวนมากว่าเป็นกีฬาประจำชาติ คริกเก็ตทีมชาติออสเตรเลียแข่งขันกับอังกฤษในการแข่งขันนัดทดสอบครั้งแรก (1877) และการแข่งขันทางการระหว่างประเทศครั้งแรก (1971) และกับนิวซีแลนด์ในการแข่งขัน Twenty20 International (2004) ครั้งแรก โดยชนะทั้งสามเกม นอกจากนี้ยังได้เข้าร่วมการแข่งขันคริกเกตชิงแชมป์โลกทุกรุ่น และคว้าแชมป์ได้ 5 สมัย[275]

ออสเตรเลียยังมีชื่อเสียงในด้านกีฬาทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ และกระดานโต้คลื่น ขบวนการช่วยชีวิตนักโต้คลื่นมีต้นกำเนิดในออสเตรเลีย และอาสาสมัครช่วยชีวิตเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศ กีฬายอดนิยมอื่น ๆ ได้แก่ การแข่งม้า บาสเกตบอล และการแข่งรถ การแข่งม้าประจำปีของเมลเบิร์นคัพ และการแข่งเรือยอทช์ระหว่างซิดนีย์ไปโฮบาร์ตดึงดูดความสนใจอย่างมาก ในปี 2016 คณะกรรมาธิการกีฬาแห่งออสเตรเลียเปิดเผยว่าการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และฟุตบอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุด 3 อันดับแรก

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้งในยุคสมัยใหม่ และเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกสองครั้ง: 1956 ในเมลเบิร์นและ 2000 ในซิดนีย์ และเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2032 ที่เมืองบริสเบนอีกด้วย[276] ออสเตรเลียยังได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพทุกครั้งซึ่งเป็นเจ้าภาพในปี 1938, 1962, 1982, 2006 และ 2018 ออสเตรเลียร่วมการแข่งขัน แปซิฟิกเกมส์ครั้งแรก ในปี 2015 และฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลีย ร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 5 ครั้ง ชนะการแข่งขัน โอเอฟซีเนชันส์คัพ 4 สมัย และเอเชียนคัพ 1 สมัย ซึ่งถือเป็นชาติเดียวที่ชนะการแข่งขันรายการฟีฟ่าในสองทวีปที่แตกต่างกัน ในเดือนมิถุนายน 2020 ออสเตรเลียได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ฟุตบอลโลกหญิง 2023 ร่วมกับนิวซีแลนด์[277][278]

ทีมบาสเกตบอลออสเตรเลียยังมีฝีมือระดับต้น ๆ ของโลก และร่วมแข่งขันโอลิมปืกอย่างสม่ำเสมอ เป็นหนึ่งในทีมดังร่วมกับสหรัฐอเมริกา สเปน อาร์เจนตินา และฝรั่งเศส งานกีฬาระดับนานาชาติที่สำคัญอื่น ๆ ที่จัดขึ้นในออสเตรเลีย ได้แก่ การแข่งขันเทนนิสแกรนด์สแลมออสเตรเลียนโอเพน การแข่งขันคริกเกตนานาชาติ และการแข่งขัน Formula One Grand Prix รายการโทรทัศน์ที่เป็นที่นิยมสูงสุด ได้แก่ รายการกีฬา เช่น โอลิมปิกฤดูร้อน และการถ่ายทอดฟุตบอล

บรรยากาศการเชียร์กีฬาคริกเกตในสนามคริกเก็ตเมลเบิร์น

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เพลงสรรเสริญพระบารมีของออสเตรเลียคือ"ก็อดเซฟเดอะควีน" ซึ่งจะใช้เมื่อมีสมาชิกราชวงศ์เสด็จมาที่ออสเตรเลีย หรือในอีกแง่หนึ่ง จะมีการใช้เพลงชาติของออสเตรเลีย "แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์" เมื่ออยู่ในสถานการณ์ทั่วไป[1]
  2. ภาษาอังกฤษไม่ได้มีสถานะโดยนิตินัย[2]
  3. ในสำมะโน ศาสนาเป็นคำถามที่ไม่จำเป็น ดังนั้นจำนวนร้อยละอาจไม่ถึง 100%[3]
  4. 4.0 4.1 มีโซนเวลาย่อยจาก 3 โซนเวลาหลัก ดูเพิ่มที่เวลาในออสเตรเลีย
  5. ออสเตรเลียอธิบายว่าพื้นน้ำทางใต้ของแผ่นดินใหญ่ของตัวเองเป็นมหาสมุทรตอนใต้ แทนที่จะเป็นมหาสมุทรอินเดียตามนิยามของ International Hydrographic Organization (IHO). ในปี 2000, การลงคะแนนของประเทศสมาชิกของ iHO ได้นิยามคำว่า "มหาสมุทรตอนใต้" ว่าหมายถึงผืนน้ำระหว่างทวีปแอนตาร์กติกา และ เส้นรุ้งที่ 60 ใต้[33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Australian National Anthem". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2007.
    "16. Other matters – 16.3 Australian National Anthem". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015.
    "National Symbols" (PDF). Parliamentary Handbook of the Commonwealth of Australia (29th ed.). 2005 [2002]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2007. สืบค้นเมื่อ 7 June 2007.
  2. 2.0 2.1 "Pluralist Nations: Pluralist Language Policies?". 1995 Global Cultural Diversity Conference Proceedings, Sydney. Department of Immigration and Citizenship. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2008. สืบค้นเมื่อ 11 January 2009. "English has no de jure status but it is so entrenched as the common language that it is de facto the official language as well as the national language."
  3. 3.0 3.1 "Religion in Australia". Australian Bureau of Statistics. 28 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2021.
  4. See entry in the Macquarie Dictionary.
  5. Collins English Dictionary. Bishopbriggs, Glasgow: HarperCollins. 2009. p. 18. ISBN 978-0-00-786171-2.
  6. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  7. "Population clock". Australian Bureau of Statistics website. Commonwealth of Australia. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020. The population estimate shown is automatically calculated daily at 00:00 UTC and is based on data obtained from the population clock on the date shown in the citation.
  8. Australian Bureau of Statistics (27 June 2017). "Australia". 2016 Census QuickStats. แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Report for Selected Countries and Subjects: October 2020". International Monetary Fund. April 2021.
  10. "Income Distribution Database". stats.oecd.org (Database). Organisation for Economic Co-operation and Development. 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021.
  11. "Human Development Report 2020" (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  12. Style manual for authors, editors and printers (6th ed.). John Wiley & Sons Australia. 2002. p. 171. ISBN 978-0-7016-3647-0.
  13. "Constitution of Australia". ComLaw. 1 June 2003. สืบค้นเมื่อ 5 August 2011. 3. It shall be lawful for the Queen, with the advice of the Privy Council, to declare by proclamation that, on and after a day therein appointed, not being later than one year after the passing of this Act, the people of New South Wales, Victoria, South Australia, Queensland, and Tasmania, and also, if Her Majesty is satisfied that the people of Western Australia have agreed thereto, of Western Australia, shall be united in a Federal Commonwealth under the name of the Commonwealth of Australia.
  14. "Geoscience Australia - Fab Facts, Dimensions, Australia Compared". web.archive.org. 2007-03-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-24. สืบค้นเมื่อ 2014-04-14.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. Statistics, c=AU; o=Commonwealth of Australia; ou=Australian Bureau of (2012-05-24). "Main Features - Geographic distribution of the population". www.abs.gov.au (ภาษาอังกฤษ).
  16. "Migration, Australia, 2019-20 financial year | Australian Bureau of Statistics". www.abs.gov.au (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-17.
  17. "2021 Australia, Census All persons QuickStats | Australian Bureau of Statistics". www.abs.gov.au.
  18. Korsch RJ.; et al. (2011). "Australian island arcs through time: Geodynamic implications for the Archean and Proterozoic". Gondwana Research. 19 (3): 716–734.
  19. "Map from above shows Australia is a very flat place". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2005-01-22.
  20. Australia, c\=AU\;o\=Australia Government\;ou\=Geoscience (2014-05-15). "Deserts". www.ga.gov.au (ภาษาอังกฤษ).
  21. Agency, Digital Transformation. "The Australian continent". info.australia.gov.au (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  22. Clarkson, Chris; Jacobs, Zenobia; Marwick, Ben; Fullagar, Richard; Wallis, Lynley; Smith, Mike; Roberts, Richard G.; Hayes, Elspeth; Lowe, Kelsey; Carah, Xavier; Florin, S. Anna; McNeil, Jessica; Cox, Delyth; Arnold, Lee J.; Hua, Quan; Huntley, Jillian; Brand, Helen E. A.; Manne, Tiina; Fairbairn, Andrew; Shulmeister, James; Lyle, Lindsey; Salinas, Makiah; Page, Mara; Connell, Kate; Park, Gayoung; Norman, Kasih; Murphy, Tessa; Pardoe, Colin (2017). "Human occupation of northern Australia by 65,000 years ago". Nature. 547 (7663): 306–310.
  23. "Australia Day in NSW - About our national day". www.australiaday.com.au (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  24. "Geographic Distribution of the Population". สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  25. Data refer mostly to the year 2012. World Economic Outlook Database-October 2013, International Monetary Fund. Accessed on 8 October 2013.
  26. "Australia: World Audit Democracy Profile". WorldAudit.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2007. สืบค้นเมื่อ 5 January 2008.
  27. Karp, Paul; correspondent, Paul Karp Chief political (2024-04-02). "New record set for number of international students in Australia". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-09-23.
  28. "Australia to cap foreign student numbers at 270,000". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-08-27.
  29. Australian pronunciations: Macquarie Dictionary, Fourth Edition (2005) Melbourne, The Macquarie Library Pty Ltd. ISBN 1-876429-14-3
  30. Flinders, Matthew (1814) A Voyage to Terra Australis G. and W. Nicol
  31. Philip Clarke, "Putting 'Australia' on the map", The Conversation 10 August 2014
  32. "Australia's Size Compared". Geoscience Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
  33. Rosenberg, Matt (20 August 2009). "The New Fifth Ocean–The World's Newest Ocean – The Southern Ocean". About.com: Geography. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
  34. "Continents: What is a Continent?". National Geographic Society. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009. "Most people recognize seven continents—Asia, Africa, North America, South America, Antarctica, Europe, and Australia, from largest to smallest—although sometimes Europe and Asia are considered a single continent, Eurasia."
  35. "Australia". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 22 August 2009. "Smallest continent and sixth largest country (in area) on Earth, lying between the Pacific and Indian oceans."
  36. "Islands". Geoscience Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2010. "Being surrounded by ocean, Australia often is referred to as an island continent. As a continental landmass it is significantly larger than the many thousands of fringing islands ..."
  37. "Australia in Brief: The island continent". Department of Foreign Affairs and Trade. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2009. สืบค้นเมื่อ 29 May 2009. "Mainland Australia, with an area of 7.69 million square kilometres, is the Earth's largest island but smallest continent."
  38. "State of the Environment 2006". Department of the Environment and Water Resources. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
  39. "Oceans and Seas – Geoscience Australia". Geoscience Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2009.
  40. UNEP World Conservation Monitoring Centre (1980). "Protected Areas and World Heritage – Great Barrier Reef World Heritage Area". Department of the Environment and Heritage. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
  41. "Mount Augustus". The Sydney Morning Herald. 17 February 2005. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  42. "Highest Mountains". Geoscience Australia. สืบค้นเมื่อ 2 February 2012.
  43. "Parks and Reserves—Australia's National Landscapes". Environment.gov.au. 23 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-04. สืบค้นเมื่อ 4 January 2012.
  44. Macey, Richard (21 January 2005). "Map from above shows Australia is a very flat place". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
  45. Kelly, Karina (13 September 1995). "A Chat with Tim Flannery on Population Control". Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010. "Well, Australia has by far the world's least fertile soils".
  46. Grant, Cameron (August 2007). "Damaged Dirt" (PDF). The Advertiser. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010. Australia has the oldest, most highly weathered soils on the planet.
  47. Loffler, Ernst; Anneliese Loffler; A. J. Rose; Denis Warner (1983). Australia: Portrait of a continent. Richmond, Victoria: Hutchinson Group (Australia). pp. 37–39. ISBN 0-09-130460-1.
  48. "Australia – Climate of a Continent". Bureau of Meterorology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  49. 49.0 49.1 "Countries of the World (by lowest population density)". WorldAtlas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  50. "1301.0 – Year Book Australia, 2008". Australian Bureau of Statistics. 7 February 2008. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  51. 51.0 51.1 Johnson, David (2009). The Geology of Australia (2 ed.). Cambridge University Press. p. 202. ISBN 978-0-521-76741-5.
  52. Seabrooka, Leonie; McAlpinea, Clive; Fenshamb, Rod (2006). "Cattle, crops and clearing: Regional drivers of landscape change in the Brigalow Belt, Queensland, Australia, 1840–2004". Landscape and Urban Planning. 78 (4): 375–376. doi:10.1016/j.landurbplan.2005.11.00.
  53. "Einasleigh upland savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  54. "Mitchell grass downs". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  55. "Eastern Australia mulga shrublands". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  56. "Southeast Australia temperate savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  57. "Arnhem Land tropical savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  58. "Rangelands – Overview". Australian Natural Resources Atlas. Australian Government. 27 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  59. "Cape York Peninsula tropical savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  60. Van Driesum, Rob (2002). Outback Australia. Lonely Planet. p. 306. ISBN 1-86450-187-1.
  61. "Victoria Plains tropical savanna". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  62. "Western Australian Mulga shrublands". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  63. "Tirari-Sturt stony desert". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  64. "Great Sandy-Tanami desert". Terrestrial Ecoregions. World Wildlife Fund. สืบค้นเมื่อ 16 June 2010.
  65. Kleinman, Rachel (6 September 2007). "No more drought: it's a 'permanent dry'". The Age. Melbourne. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  66. Marks, Kathy (20 April 2007). "Australia's epic drought: The situation is grim". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  67. 67.0 67.1 "Australia – Climate of Our Continent". Bureau of Meteorology. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  68. "Climate of Western Australia". Bureau of Meteorology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 6 December 2009.
  69. 69.0 69.1 "Ancient heritage, modern society". Department of Foreign Affairs and Trade. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-22. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14. (อังกฤษ)
  70. "A Brief Aboriginal History". Aboriginal Heritage Office. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14. (อังกฤษ)
  71. 71.0 71.1 71.2 "European discovery and the colonisation of Australia". Culture and Recreation Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-14. (อังกฤษ)
  72. 72.0 72.1 "Convict Records". Public Record office of Victoria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-25. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  73. "State Records Office of Western Australia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-15. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  74. "Australian Bureau of Statistics 1998 Special Article". The State of New South Wales. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  75. "The Australian Gold Rush". Culture and Recreation Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
  76. "Chronology of the ACT". Canberra & District Historical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16. (อังกฤษ)
  77. "Australia - Statute of Westminster Adoption Act 1942". สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  78. "1939 - 'Australia is at war ...'". ANZAC Day Commemoration Committee. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
  79. "Second World War 1939–45". Australian War Memorial. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
  80. "Abolition of the 'White Australia' Policy". Australian Department of Immigration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
  81. "1999 Referendum Report and Statistic". Australian Electoral Commission. สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
  82. "Queen and Commonwealth". สืบค้นเมื่อ 2007-10-17. (อังกฤษ)
  83. 83.0 83.1 "Australian Constitution: Chapter 2 - The Executive Government". australianpolitics.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  84. "Governor-General's Role". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  85. "Federal Executive Council Handbook" (PDF). Federal Executive Council Secretariat. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  86. "Federal Parliament". australianpolitics.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18. (อังกฤษ)
  87. "An Overview of Australian Political Parties". australianpolitics.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-18.
  88. "555". Bill of rights and statehood symnosium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19. (อังกฤษ)
  89. "Commonwealth Heads of Government Meeting". Commonwealth website. Pall Mall, London: Commonwealth Secretariat. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2010. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010.
  90. "S Korean President backs anti-protectionism moves". Australian Broadcasting Corporation. 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  91. "Crean calls for Govt to 'mobilise anger' over US steel tariffs". Australian Broadcasting Corporation. 7 March 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  92. Crean, Simon. "The Triumph of Trade Liberalisation Over Protectionism". Department of Foreign Affairs and Trade. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-13. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  93. Gallagher, P. W. (1988). "Setting the agenda for trade negotiations: Australia and the Cairns group". Australian Journal of International Affairs. 42 (1 April 1988): 3–8. doi:10.1080/10357718808444955.
  94. "APEC and Australia". APEC 2007. 1 June 2007. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  95. "Australia:About". Organisation for Economic Co-operation and Development. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  96. "Australia – Member information". World Trade Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2010. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  97. "Australia-United States Free Trade Agreement". Canberra, ACT: Department of Foreign Affairs and Trade. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  98. "Closer Economic Relations". Canberra, ACT: Department of Foreign Affairs and Trade. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-08. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  99. "Japan-Australia Relations". Ministry of Foreign Affairs of Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2010. สืบค้นเมื่อ 19 June 2010.
  100. "Gillard confident of S Korean trade deal – ABC News (Australian Broadcasting Corporation)". Abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  101. "S. Korea, Australia set free-trade talks deadline". Nz.news.yahoo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  102. Arvanitakis, James; Tyler, Amy (3 June 2008). "In Defence of Multilateralism". Centre for Policy Development. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-17.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  103. Australian Government. (2005). Budget 2005–2006
  104. Center for Global Development. Commitment to Development Index: Australia, www.cgdev.org. Retrieved 5 January 2008.
  105. "Appendix 7: People: Defence actual staffing". Defence Annual Report 2008–09. Department of Defence. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
  106. Khosa, Raspal (2004). Australian Defence Almanac 2004–05. Canberra: Australian Strategic Policy Institute. p. 4.
  107. "Budget 2010–11: Portfolio budget overview". Australian Department of Defence. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 June 2010.
  108. Stockholm International Peace Research Institute (2011). The 15 major spender countries in 2011 เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  109. Australian Department of Defence. Global Operations. Retrieved 9 March 2009.
  110. Pascoe, I.G. (1991). History of systematic mycology in Australia. History of Systematic Botany in Australasia. Ed. by: P. Short. Australian Systematic Botany Society Inc. pp. 259–264.
  111. "About Biodiversity". Department of the Environment and Heritage. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-05. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007.
  112. Lambertini, Marco (2000). A Naturalist's Guide to the Tropics (excerpt). University of Chicago Press. ISBN 0-226-46828-3. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  113. 113.0 113.1 "About Australia: Flora and fauna". Department of Foreign Affairs and Trade website. Commonwealth of Australia. May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-11. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.
  114. "Snake Bite", The Australian Venom Compendium.
  115. PMID 15299143 (PMID 15299143)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  116. "Humans to blame for extinction of Australia's megafauna". The University of Melbourne. 8 June 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  117. "The Thylacine Museum - A Natural History of the Tasmanian Tiger". The Thylacine Museum. สืบค้นเมื่อ 14 October 2013.
  118. "National Threatened Species Day". Department of the Environment and Heritage, Australian Government. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2006. สืบค้นเมื่อ 21 November 2006.
  119. "Invasive species". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. 17 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  120. "About the EPBC Act". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2010. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  121. "National Strategy for the Conservation of Australia's Biological Diversity". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. 21 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-12. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  122. "Conservation of biological diversity across Australia". Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts. 19 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-13. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  123. "The List of Wetlands of International Importance" (PDF). Ramsar Convention. 22 May 2010. pp. 6–7. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  124. "Australia". UNESCO World Heritage Centre. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 5 September 2009.
  125. "2010 Environmental Performance Index". Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
  126. Atmosphere: Major issue: climate change, Australian State of the Environment Committee, 2006.
  127. ANU poll finds 'it's the environment, stupid', Australian National University. Retrieved 8 January 2008.
  128. Smith, Deborah (22 May 2007). "Australia's carbon dioxide emissions twice world rate". The Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  129. "Regional Rainfall Trends". Bureau of Meteorology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-04. สืบค้นเมื่อ 8 July 2009.
  130. "Saving Australia's water". BBC News. 23 April 2008. สืบค้นเมื่อ 1 June 2010.
  131. "National review of water restrictions in Australia". Australian Government National Water Commission. 15 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
  132. "Australia floods as big as 'two European countries'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  133. "Flood news headlines - 9News". www.9news.com.au.
  134. "Government to help Kalgoorlie quake victims". Australian Broadcasting Corporation. 20 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  135. Cassen, Robert (1982). Rich Country Interests and Third World Development. United Kingdom: Taylor & Francis. ISBN 0-7099-1930-1.
  136. "Australia, wealthiest nation in the world". 20 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 24 July 2012.
  137. "Australian's the world's wealthiest". The Sydney Morning Herald. 31 October 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2012.
  138. 138.0 138.1 Credit Suisse Research Institute (9 October 2013). "Global Wealth Reaches New All-Time High". The Financialist. Credit Suisse. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  139. AAP (12 October 2013). "Richest nation but poverty increasing". The Australian. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  140. "On the International Realignment of Exchanges and Related Trends in Self-Regulation – Australian Stock Exchange" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2010. สืบค้นเมื่อ 3 January 2010.
  141. "Australia". 2010 Index of Economic Freedom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2010.
  142. "Human Development Report 2010 – tables" (PDF). United Nations. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 April 2011. สืบค้นเมื่อ 25 April 2011.
  143. "Melbourne 'world's top city'". The Age. 6 February 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2009. สืบค้นเมื่อ 31 January 2009.
  144. "Liveability ranking: Melbourne storm". The Economist. 30 August 2011. สืบค้นเมื่อ 10 October 2010.
  145. "Liveability ranking: Australian gold". The Economist. 14 August 2012. สืบค้นเมื่อ 8 February 2014.
  146. "Daily chart: The Melbourne supremacy". The Economist. 28 August 2013. สืบค้นเมื่อ 8 February 2014.
  147. Hughes, Tim. "Australian dollar continues astronomical rise to 30-year highs as US dollar, euro tank". Courier Mail. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  148. "Australia Public debt – Economy". Indexmundi.com. 9 January 2012. สืบค้นเมื่อ 15 April 2012.
  149. "Nick Bryant's Australia: Australian affordablity". BBC. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  150. "5368.0 – International Trade in Goods and Services, Australia, April 2007". Australian Bureau of Statistics. 31 May 2007. สืบค้นเมื่อ 14 June 2010.
  151. 151.0 151.1 "Might Australia's economic fortunes turn?". The Economist. 29 March 2007. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  152. "World Economic Outlook (WEO) 2010 Rebalancing Growth". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  153. "Australia slashes immigration as recession looms". London: The Independent. 16 March 2009. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  154. Mclennan, David (12 April 2011). "Australian economy growing as new recession fears fade". The Canberra Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.
  155. "National economy grows but some non-mining states in recession". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
  156. Syvret, Paul (7 April 2012). "Mining punches through recession". Courier Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-16.
  157. "Non-mining states going backwards". ABC. สืบค้นเมื่อ 22 March 2013.
  158. "Part 1: Australian Government Budget Outcome". Budget 2008–09 – Australian Government. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  159. 159.0 159.1 Australian Bureau of Statistics. 6202.0 – Labour Force, Australia, April 2012 [1] เก็บถาวร 2016-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  160. "Australia. CIA – The World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2010. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
  161. 161.0 161.1 161.2 Australian Bureau of Statistics. Year Book Australia 2005.
  162. "Wine Australia". wineaustralia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2010. สืบค้นเมื่อ 22 October 2010.
  163. https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-australia-absolutely-safe/
  164. Australia, Tourism (2021-05-04). "Australia's beaches and islands - Tourism Australia". www.australia.com (ภาษาอังกฤษ).
  165. "Sydney Harbour Bridge". www.sydney.com (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  166. "Shark Cage and Sea Lion Diving with Calypso Star Charters, Port Lincoln". Calypso Shark Cage Diving (ภาษาอังกฤษ).
  167. Lincoln, Port. "Shark Cage Diving with Great White Sharks in Port Lincoln, South Australia". portlincoln.com.au (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  168. "Shark Cage Diving One Day Tour". southaustralia.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-09-24.
  169. Adrenaline. "Things To Do In Port Lincoln - Adrenaline". adrenaline.com.au (ภาษาอังกฤษ).
  170. "Recipients - Australian of the Year". www.australianoftheyear.org.au.
  171. "ออสเตรเลียขึ้นแท่นในฐานะผู้นำนวัตกรรมเพื่อการเกษตร 4.0". www.thaibusinessnews.com.
  172. Commission, Australian Trade. "Transport". www.austrade.gov.au.
  173. "Rail Network - Department for Infrastructure and Transport - South Australia". dpti.sa.gov.au.
  174. "Home". Rail Systems Australia (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  175. Department of Infrastructure, Transport (2021-05-26). "Rail". Department of Infrastructure, Transport, Regional Development and Communications, Australian Government (ภาษาอังกฤษ).
  176. "Largest airports and airlines in Australia". Worlddata.info (ภาษาอังกฤษ).
  177. "Top 100 busiest Airports in Australia and Oceania | GetToCenter.com". gettocenter.com.
  178. https://www.qantas.com/th/en.html
  179. https://assets.cleanenergycouncil.org.au/documents/resources/reports/clean-energy-australia/clean-energy-australia-report-2021.pdf
  180. "Clean Energy Report". Clean Energy Council (ภาษาอังกฤษ).
  181. "The Beach". Australian Government: Culture Portal. Department of the Environment, Water, Heritage and the Arts, Commonwealth of Australia. 17 March 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-26.
  182. The Australian Bureau of Statistics has stated that most who list "Australian" as their ancestry are part of the Anglo-Celtic group. [2]
  183. "Reflecting a Nation: Stories from the 2011 Census, 2012–2013". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  184. "Land of many cultures, ancestries and faiths". The Sydney Morning Herald. 22 June 2012.
  185. "3105.0.65.001—Australian Historical Population Statistics, 2006". Australian Bureau of Statistics. 23 May 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (XLS)เมื่อ 8 September 2007. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007. Australian population: (1919) 5,080,912; (2006) 20,209,993
  186. "Background note: Australia". US Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2007. สืบค้นเมื่อ 19 May 2007.
  187. "Fact Sheet 20 – Migration Program Planning Levels". Department of Immigration and Citizenship. 11 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2010. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  188. "Australia's population to grow to 42 million by 2050, modelling shows เก็บถาวร 2016-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". News.com.au. 17 April 2010
  189. "2011 Census reveals one in four Australians is born overseas". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  190. 190.0 190.1 190.2 190.3 "Cultural Diversity In Australia". Australian Bureau of Statistics. 16 April 2013. สืบค้นเมื่อ 11 January 2013.
  191. "The Evolution of Australia's Multicultural Policy". Department of Immigration and Multicultural and Indigenous Affairs. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2006. สืบค้นเมื่อ 18 September 2007.
  192. "Settler numbers on the rise". Minister for Immigration and Citizenship. 27 December 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2007. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
  193. "Targeted migration increase to fill skills gaps". Department of Immigration and Citizenship. 8 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2012.
  194. "Fact Sheet 2 – Key Facts In Immigration – Department of Immigration and Citizenship". Immi.gov.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 27 April 2013.
  195. "Rural population". Rural population refers to people living in rural areas as defined by national statistical offices. World Bank. สืบค้นเมื่อ 15 February 2014.
  196. "Aboriginal and Torres Strait Islander Australia revealed as 2011 Census data is released". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  197. "1301.0 – Year Book Australia, 2004". Australian Bureau of Statistics. 27 February 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2009. สืบค้นเมื่อ 24 April 2009.
  198. Lunn, Stephen (26 November 2008). "Life gap figures not black and white". The Australian. News Limited. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
  199. Gibson, Joel (10 April 2009). "Indigenous health gap closes by five years". The Sydney Morning Herald. Fairfax. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
  200. Grattan, Michelle (8 December 2006). "Australia hides a 'failed state'". Melbourne: The Age. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2008. สืบค้นเมื่อ 17 October 2008.
  201. Manne, Robert. "Extract: Dear Mr Rudd". Safecom. สืบค้นเมื่อ 17 October 2008.
  202. Skelton, Russell (17 March 2008). "Poor fellow, failed state". Melbourne: The Age. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
  203. "Remote Australia a 'failed state'". Australian Broadcasting Corporation. 15 September 2008. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
  204. "Remote Australia a failed state: Indigenous policy makers". Australian Broadcasting Corporation. 4 September 2008. สืบค้นเมื่อ 26 May 2010.
  205. Parliament of Australia, Parliamentary Library (7 March 2005). Australia's aging workforce.
  206. Parliament of Australia, Senate (2005). Inquiry into Australian Expatriates.
  207. Duncan, Macgregor; Leigh, Andrew; Madden, David and Tynan, Peter (2004). Imagining Australia. Allen & Unwin. p. 44. ISBN 978-1-74114-382-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  208. Moore, Bruce. "The Vocabulary Of Australian English" (PDF). National Museum of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-20. สืบค้นเมื่อ 5 April 2010.
  209. "The Macquarie Dictionary", Fourth Edition. The Macquarie Library Pty Ltd, 2005.
  210. A Snapshot of Early Childhood Development in Australia (PDF). Australian Government Department of Education, Employment and Workplace Relations. December 2009. p. 8. ISBN 978-0-9807246-0-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-08.
  211. Agence France-Presse/Jiji Press, "Arabic Australia's second language", The Japan Times, 16 April 2011, p. 4.
  212. "National Indigenous Languages Survey Report 2005". Department of Communications, Information Technology and the Arts. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2009. สืบค้นเมื่อ 5 September 2009.
  213. Australian Bureau of Statistics (4 May 2010). "4713.0 – Population Characteristics, Aboriginal and Torres Strait Islander Australians, 2006" (ภาษาอังกฤษ). Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
  214. Australian Bureau of Statistics (27 June 2007). "20680-Language Spoken at Home (full classification list) by Sex – Australia". 2006 Census Tables : Australia. Canberra: Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 7 December 2010.
  215. "About Australia: Religious Freedom". Dfat.gov.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  216. "Indigenous Traditions – Australian Aboriginal and Torres Strait Islanders". Abc.net.au. 14 December 1999. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  217. "2011 Census reveals Hinduism as the fastest growing religion in Australia". Australian Bureau of Statistics. 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2012.
  218. "Religious Affiliation – Australia: 2001 and 1996 Census" (PDF). Community Relations Commission for a multicultural NSW. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-21. สืบค้นเมื่อ 28 November 2012.
  219. Pope rests with piano and cat ahead of World Youth Day เก็บถาวร 2009-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. AFP. 13 July 2008 – mentioned in the last two sentences of article
  220. NCLS releases latest estimates of church attendance, National Church Life Survey, Media release, 28 February 2004.
  221. Australian population in 2001 was 19,358,000, according to Encyclopædia Britannica's Book of the Year 2002, World Data, p548.
  222. Painter, Stephanie; Ryan, Vivienne and Hiatt, Bethany (15 June 2010). "Australians losing the faith". The West Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-24. สืบค้นเมื่อ 10 June 2011.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  223. Ian Townsend (30 January 2012). "Thousands of parents illegally home schooling". ABC News. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  224. "Home Education Australia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-02. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013. (Includes links to relevant page on each state's education department website.)
  225. "Schooling Overview". Australian Government, Department of Education, Employment and Workplace Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-28.
  226. "Education". Department of Immigration and Citizenship. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-18. สืบค้นเมื่อ 14 January 2012.
  227. "Our system of education". Australian Government: Department of Foreign Affairs and Trade. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  228. "The Department of Education – Schools and You – Schooling". Det.wa.edu.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-21. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  229. "Education Act (NT) – Section 20". austlii.edu.au.
  230. "Education Act 1990 (NSW) – Section 21". austlii.edu.au.
  231. "Minimum school leaving age jumps to 17". The Age. 28 January 2009. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  232. "Literacy". CIA World Factbook. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-24. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  233. "A literacy deficit". abc.net.au. 22 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  234. "Australian Education | Australian Education System | Education | Study in Australia". Ausitaleem.com.pk. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  235. Education at a Glance 2006. Organisation for Economic Co-operation and Development
  236. "About Australian Apprenticeships". Australian Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-11. สืบค้นเมื่อ 23 April 2010.
  237. Education at Glance 2005 เก็บถาวร 2007-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by OECD: Percentage of foreign students in tertiary education.
  238. Fund, Unconventional EconomistLeith van Onselen is Chief Economist at the MB; Treasury, MB Super He is also a co-founder of MacroBusiness Leith has previously worked at the Australian; Treasury, Victorian; Sachs, Goldman (2019-10-31). "Australian universities double down on international students". MacroBusiness (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  239. How Australia compares เก็บถาวร 2011-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Australian Institute of Health and Welfare
  240. "Life expectancy". Australian Bureau of Statistics. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  241. "Skin cancer – key statistics". Department of Health and Ageing. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-15.
  242. Risks to health in Australia เก็บถาวร 2007-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Australian Institute of Health and Welfare
  243. Smoking – A Leading Cause of Death. The National Tobacco Campaign.
  244. % Global prevalence of adult obesity (BMI ≥ 30 kg/m²): country rankings 2012 เก็บถาวร 2012-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IASO
  245. "About Overweight and Obesity". Department of Health and Ageing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2010.
  246. "Health care in Australia". About Australia. Department of Foreign Affairs and Trade. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2010.
  247. 247.0 247.1 Biggs, Amanda (29 October 2004). "Medicare – Background Brief". Parliament of Australia: Parliamentary Library. Canberra, ACT: Commonwealth of Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2010. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010.
  248. Australian Taxation Office (19 June 2007). "What is the Medicare levy?". Australian Taxation Office website. Australian Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-10. สืบค้นเมื่อ 17 April 2010.
  249. "3218.0 – Regional Population Growth, Australia, 2011–12". Australian Bureau of Statistics. 30 April 2013. สืบค้นเมื่อ 2 May 2013.
  250. corporateName=National Museum of Australia; address=Lawson Crescent, Acton Peninsula. "National Museum of Australia - Patrick White wins Nobel Prize". www.nma.gov.au (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  251. "The Nobel Prize in Literature 1973". NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  252. "Tim Winton: 'Being called a misogynist stings a bit'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-06-26.
  253. "Tim Winton | Biography, Books, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  254. "BLL Blog". BLL Blog (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  255. "Australian food history timeline - New Asian food choices". Australian Food Timeline (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 1980-09-24.
  256. "The 10 Best Asian Restaurants in Melbourne - Tripadvisor". www.tripadvisor.com.au (ภาษาอังกฤษ).
  257. "Australian food and drink - Australia's Culture Portal". web.archive.org. 2010-03-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-26. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  258. "Modern Australian". Food (ภาษาอังกฤษ).
  259. "The new home of wine subscriptions in Australia". danmurphys.com.au.
  260. "Music in Australia". Music Australia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  261. "Australian Music History - Recording the Golden Age of Australian Live Music". Australian Music History (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  262. "A Brief History of Opera". Opera North (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  263. "opera | History & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  264. "Home | Opera Australia". Opera Australia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  265. "Opera Australia". Sydney Opera House (ภาษาอังกฤษ).
  266. "Return of the Kelly Gang | The UNESCO Courier | ISSN 1993-8616 | UNESCO.ORG". web.archive.org. 2010-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  267. "Film in Australia - Australia's Culture Portal". web.archive.org. 2011-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-27. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  268. Quinn, Karl (2015-12-04). "Australian film has had its biggest year at the box office ever. Why?". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  269. https://www.news.com.au/entertainment/awards/ten-great-australian-moments-at-the-oscars/story-e6frfpli-1226841441307
  270. "Australia country profile". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-09-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  271. "2020 World Press Freedom Index". RSF (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  272. "Australia Public Holidays 2021". PublicHolidays.com.au (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  273. "Public holidays | australia.gov.au". info.australia.gov.au (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  274. "2014: The Top 20 sports played by Aussies young and old(er)". Roy Morgan (ภาษาอังกฤษ).
  275. "Australia crush NZ to win World Cup". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  276. Hanai, Getty Images: Toru (2021-07-21). "Brisbane confirmed as 2032 Olympic Games host city". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  277. "FIFA". fifa.com (ภาษาอังกฤษ).
  278. "Official documents". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ).[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Denoon, Donald, et al. (2000). A History of Australia, New Zealand, and the Pacific. Oxford: Blackwell. ISBN 0-631-17962-3.
  • Goad, Philip and Julie Willis (eds.) (2011). The Encyclopedia of Australian Architecture. Port Melbourne, Victoria: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-88857-8.
  • Hughes, Robert (1986). The Fatal Shore: The Epic of Australia's Founding. Knopf. ISBN 0-394-50668-5.
  • Powell, J.M. (1988). An Historical Geography of Modern Australia: The Restive Fringe. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-25619-4
  • Robinson, G.M., Loughran, R.J., and Tranter, P.J. (2000). Australia and New Zealand: Economy, Society and Environment. London: Arnold; New York: Oxford University Press. ISBN 0-340-72033-6 paperback, ISBN 0-340-72032-8 hardback.
  • Brett, Judith (2019). From Secret Ballot to Democracy Sausage: How Australia Got Compulsory Voting. Text Publishing Co. ISBN 978-1-925603-84-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

25°S 133°E / 25°S 133°E / -25; 133