ข้ามไปเนื้อหา

คริสตจักรแห่งอังกฤษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คริสตจักรแห่งอังกฤษ
อักษรย่อC of E
กลุ่มแองกลิคัน
ความโน้มเอียงคริสตจักรกลาง (รวมทั้งคริสตจักรชั้นสูง คริสตจักรกลาง และคริสตจักรระดับล่าง)
เทววิทยาลัทธิแองกลิกัน
แผนการปกครองการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล
ประมุขสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
ไพรเมตจัสติน เวลบี
สมาคมแองกลิคันคอมมิวเนียน
ปอร์วูคอมมิวเนียน
สภาคริสตจักรโลก[1]
ภูมิภาคอังกฤษ, เวลส์ (ข้ามพรมแดน)
ไอล์ออฟแมน
หมู่เกาะแชเนิล
ยุโรปภาคพื้นทวีป
โมร็อกโก
ศูนย์กลางเชิร์ชเฮาส์ เวสต์มินสเตอร์ อังกฤษ
ผู้ก่อตั้ง
แยกตัวจากโรมันคาทอลิก
(1534)
แยกออกผู้คัดค้านชาวอังกฤษ
(1534 เป็นต้นไป)
พิวริตัน (ศตวรรษที่ 17)
นิกายเมโทดิสต์ (ศตวรรษที่ 18)
Plymouth Brethren (คริสต์ทศวรรษ 1820)
ฟรีคริสตจักรแห่งอังกฤษ (1844)
Ordinariate of Our Lady of Walsingham (2011)
สมาชิก26 ล้านคน (พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน)
ชื่ออื่นคริสตจักรแองกลิคัน
เว็บไซต์ทางการwww.churchofengland.org

ภาคแคนเทอร์เบอรี (สีเหลือง) และภาคยอร์ก (สีชมพู)

คริสตจักรแห่งอังกฤษ[2] (อังกฤษ: Church of England) เป็นคริสตจักรประจำชาติ[3] ของอังกฤษ[2] และเป็นคริสตจักรแม่ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก

ในช่วงแรกคริสตจักรในอังกฤษยังเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิก แต่เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษตัดสินพระทัยหย่าขาดกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอนซึ่งฝ่าฝืนคำสั่งของพระสันตะปาปาไป พระองค์ก็มีพระราชโองการให้คริสตจักรแห่งอังกฤษแยกตัวจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี ค.ศ. 1534 แล้วออกพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนาซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ แต่พอถึงรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษก็ทรงนำคริสตจักรแห่งอังกฤษกลับไปรวมกับคริสตจักรคาทอลิกอีกในปี ค.ศ. 1555 จนกระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุดทางศาสนา ค.ศ. 1558 ปฏิเสธอำนาจของพระสันตะปาปาในคริสตจักรแห่งอังกฤษอีก ทั้งฝ่ายคาทอลิกและฝ่ายปฏิรูปต่างพยายามรูปแบบหลักความเชื่อและพิธีกรรมให้เป็นไปตามแบบของตนตลอดมา จนความขัดแย้งมาสิ้นสุดเมื่อมีข้อตกลงเอลิซาเบธันโดยกำหนดว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นทั้งแบบคาทอลิกและปฏิรูป[4]

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เกิดความขัดแย้งทางศาสนาและการเมืองขึ้นอีก ทำให้ฝ่ายพิวริตันและเพรสไบทีเรียนได้ขึ้นมามีอำนาจในคริสตจักร แต่ก็หมดอำนาจไปเมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษได้คืนสู่ราชบัลลังก์ ปัจจุบันในคริสตจักรมีแนวความเชื่ออยู่หลายแบบ แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือกลุ่มแองโกล-คาทอลิกและกลุ่มอีแวนเจลิคัล ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขัดแย้งกันมาตั้งแต่การปฏิรูปช่วงแรก นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งใหม่เกิดขึ้นอีกในปัจจุบันระหว่างฝ่ายอนุรักษนิยมกับฝ่ายพิพัฒนาการนิยมอันเนื่องมาจากประเด็นการบวชสตรีและทัศนะต่อคนรักร่วมเพศ ทั้งนี้คริสตจักรแห่งอังกฤษได้บวชสตรีเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 และปัจจุบันอยู่ระหว่างผลักดันให้มีการอภิเษกบิชอปหญิง

คริสตจักรแห่งอังกฤษแบ่งเขตปกครองออกเป็นเขตแพริช หลายเขตแพริชรวมกันเป็นมุขมณฑลซึ่งมีบิชอปเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีคือไพรเมตแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษทั้งหมด และเป็นศูนย์กลางเพื่อเอกภาพของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก เจเนอรัลซิโนดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นที่ประชุมของคริสตจักรและบรรดาบิชอป เคลอจี และฆราวาส มีอำนาจในการออกนโยบายต่าง ๆ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรในขั้นสุดท้าย

ภาคคริสตจักร

[แก้]

คริสตจักรแห่งอังกฤษแบ่งการปกครองออกเป็นสองภาคคริสตจักร คือภาคแคนเทอร์เบอรีและภาคยอร์ก แต่ละภาคมีอาร์ชบิชอปเป็นประมุข ภาคคริสตจักรประกอบด้วยหลายมุขมณฑลซึ่งมีบิชอปเป็นประมุข

อ้างอิง

[แก้]
  1. Church of England at World Council of Churches
  2. 2.0 2.1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 44-5
  3. "The History of the Church of England". The Archbishops' Council of the Church of England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2006-05-24.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-30.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2012-05-30.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูล

[แก้]