การส่งออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การส่งออก (อังกฤษ: export) หมายถึง การจัดส่งสินค้าและบริการจากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ โดยผู้ส่งสินค้าหรือบริการออกเรียกว่า "ผู่ส่งออก" ส่วนในทางการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกหมายถึง การขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น (ตลาดสากล)

ในการส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าจะต้องมีหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยคือ กรมศุลกากร แม้ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตเองก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกรมศุลการกรด้วย และที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการนำเข้าและส่งออกของประเทศนั้น ๆ[1]

ความสำคัญของการส่งออกในประเทศไทย[แก้]

ในประเทศไทยมักพบว่าสินค้าทางการเกษตรเกินอุปทานของตลาดในประเทศอยู่เสมอ การส่งออกจึงเหมือนเป็นการลดปริมาณสินค้าที่เกินความต้องการของตลาดลง และในภาคอุตสาหกรรมมีบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ต่างประเทศต้องการโดยเฉพาะ อาทิ สินค้าทางเกษตรบางประเภท สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าไทยมีรายได้จากการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนออกสูงถึง 831,752.3 ล้านบาท โดยตลาดการส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน อาเซียนและยุโรป ดังนั้นการส่งออกจึงช่วยให้เกิดการขยายการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย[2][3]

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้[แก้]

1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงาน

2. ช่วยในการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ

3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากร (Value Added)

5. เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง (Economy of Scale)

6. ช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

7. ช่วยลดการพึ่งพิงสินค้าจากต่างประเทศ

การอ้างอิง[แก้]

  1. Joshi, Rakesh Mohan, (2005) International Marketing, Oxford University Press, New Delhi and New York ISBN 0-19-567123-6
  2. ความสำคัญของการส่งออกจากเว็บไซต์ Nidambe11.com เก็บถาวร 2012-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09.59 น.
  3. มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปีพ.ศ. 2555 จากเว็บไซต์ ThaiBiz.netสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.11 น.