สกอตต์ มอร์ริซัน
สกอตต์ มอร์ริซัน | |
---|---|
Scott Morrison | |
มอรืริซันใน ค.ศ. 2021 | |
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 30 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 | |
กษัตริย์ | เอลิซาเบทที่ 2 |
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
รอง | |
ก่อนหน้า | แมลคัม เทิร์นบุลล์ |
ถัดไป | แอนโทนี แอลบานีส |
หัวหน้าพรรคเสรีนิยม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 | |
รอง | จอช ไฟรเดินเบิร์ก |
ก่อนหน้า | แมลคัม เทิร์นบุลล์ |
ถัดไป | ปีเตอร์ ดัตตัน แม่แบบ:Collapse infobox section begin |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ พลังงาน และทรัพยากร[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน ค.ศ. 2021 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ คริสเตียน พอร์เตอร์ (2021); เมลิซซา ไพรส์ในฐานะวิทยาศาสตร์และพลังงาน (2021–2022); แองกัส เทย์เลอร์ในฐานะอุตสาหกรรม (2021–2022) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | คริสเตียน พอร์เตอร์ |
ถัดไป | แมเดอลีน คิง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ แคเรน แอนดรูว์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | แคเรน แอนดรูว์ |
ถัดไป | แคลร์ โอนีล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มีนาคม ค.ศ. 2020 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาเทียส คอร์มันน์ (2020); ไซมอน เบอร์มิงแฮม (2020–2022) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | ไซมอน เบอร์มิงแฮม |
ถัดไป | เคที แกลลาเกอร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม ค.ศ. 2020 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เกรก ฮันต์ | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | เกรก ฮันต์ |
ถัดไป | มาร์ก บัตเลอร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการสาธารณะ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 2021 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | มาเทียส คอร์มันน์ |
ถัดไป | เบ็น มอร์ตัน |
เหรัญญิกแห่งออสเตรเลีย[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน ค.ศ. 2015 – 28 สิงหาคม ค.ศ. 2018 | |
นายกรัฐมนตรี | แมลคัม เทิร์นบุลล์ |
ก่อนหน้า | โจ ฮ็อกกี |
ถัดไป | จอช ไฟรเดินเบิร์ก |
ดำรงตำแหน่ง 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จอช ไฟรเดินเบิร์ก | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | จอช ไฟรเดินเบิร์ก |
ถัดไป | จิม ชาลเมอส์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม ค.ศ. 2014 – 21 กันยายน ค.ศ. 2015 | |
นายกรัฐมนตรี |
|
ก่อนหน้า | เควิน แอนดรูว์ |
ถัดไป | คริสเตียน พอร์เตอร์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและคุ้มครองชายแดน | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน ค.ศ. 2013 – 23 ธันวาคม ค.ศ. 2014 | |
นายกรัฐมนตรี | โทนี แอบบ็อตต์ |
ก่อนหน้า | โทนี เบิร์ก |
ถัดไป | ปีเตอร์ ดัตตัน แม่แบบ:Collapse infobox section end |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย สำหรับคุก | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 | |
ก่อนหน้า | บรูซ แบร์ด |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สกอตต์ จอห์น มอร์ริซัน 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1968 ซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย |
พรรคการเมือง | พรรคเสรีนิยม |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พันธมิตร |
คู่สมรส | เจนนี วอร์เรน (สมรส 1990) |
บุตร | 2 |
บุพการี |
|
การศึกษา | มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (BSc Hons)[1] |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | scottmorrison |
ชื่อเล่น | ScoMo[2] |
สกอตต์ จอห์น มอร์ริซัน (อังกฤษ: Scott John Morrison, นามสกุลออกเสียงว่า /ˈmɒrɪsən/;[3] 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1968) เป็นนักการเมืองชาวออสเตรเลียที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 30 ใน ค.ศ. 2018 ถึง 2022 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตคุกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ตั้งแต่ ค.ศ. 2007
มอร์ริซันเกิดที่ซิดนีย์และศึกษาวิชาภูมิเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬานิวซีแลนด์ใน ค.ศ. 1998 ถึง 2000 และเป็นกรรมการผู้จัดการในการท่องเที่ยวออสเตรเลียเมื่อ ค.ศ. 2004 ถึง 2006 มอร์ริซันเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการรัฐแห่งพรรคเสรีนิยมนิวเซท์เวลส์ใน ค.ศ. 2000 ถึง 2004 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลียครั้งแรกในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2007 ในฐานะตั้งแทนเขตคุกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ และได้รับเลือกเป็นคณะรัฐมนตรีเงา
หลังพันธมิตรระหว่างพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2013 มอร์ริซันจึงได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและคุ้มครองชายแดนในรัฐบาลแอบบ็อตต์ ซึ่งเขามีส่วนร่วมในการดำเนินการ Operation Sovereign Borders ปีถัดมา เขากลายเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงบริการสังคม จากนั้นจึงเลือกขั้นไปดำรงตำแหน่งเหรัญญิกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 หลังแมลคัม เทิร์นบุลล์กลายเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากแอบบ็อตต์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ปีเตอร์ ดัตตันประสบความล้มเหลวในการท้าทายเทิร์นบุลล์ในการเป็นหัวหน้าพรรคเสรีนิยม ทำให้เกิดความตึงเครียดต่อไป และทางพรรคได้ลงคะแนนเลือกตั้งหัวหน้าพรรคครั้งที่สองในไม่กี่วันต่อมา โดยที่เทิร์นบุลล์ไม่ลงหาเสียง ในการลงคะแนนเสียง มอร์ริซันถูกมองเป็นผู้สมัครที่ประนีประนอมและเอาชนะทั้งดัตตันและจูลี บิชอป แล้วกลายเป็นหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018
มอร์ริซันได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองหลังทำให้พรรคพันธมิตรฯ ชนะแบบพลิกล็อกในการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2019[4] เขาเกือบถูกรวมประณามจากการลาพักร้อนในช่วงฤดูไฟป่าออสเตรเลียใน ค.ศ. 2019–20 และจากการตอบสนองภัยพิบัติของรัฐบาล[5] มอร์ริซันก็ถูกวิจารณ์จากการตอบสนองต่อข้อกล่าวหาประพฤติผิดทางเพศในรัฐสภา ค.ศ. 2021[6] ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 มอร์ริซันได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีแห่งชาติ และในช่วง ค.ศ. 2020 ออสเตรเลียได้รับเสียงชื่นชมจากการเป็นหนึ่งในประเทศตะวันตกไม่กี่ประเทศที่สามารถยับยั้งไวรัสได้สำเร็จ[7] แม้ว่าจะถูกวิจารณ์จากการแจกจ่ายวัคซีนล่าช้าก็ตาม[8] ในด้านนโยบายต่างประเทศ มอร์ริซันทำหน้าที่ควบคุมดูแลการลงนามความป้องกัน AUKUS และเกิดความตึงเครียดระหว่างออสเตรเลียกับจีน[9] และออสเตรเลียกับฝรั่งเศสที่มากขึ้น[10] มอร์ริซันยังสนับสนุนด้านโลจิสติกแก่ยูเครนโดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศต่อรัสเซียในช่วงต้นของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ค.ศ. 2022 มอร์ริซันถูกวิจารณ์จากการตอบสนองต่อน้ำท่วมออสเตรเลียตะวันออก ค.ศ. 2022[11][12][13] และการรับรู้ถึงความเฉยเมยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[14][15] รัฐบาลมอร์ริซันพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสหพันธรัฐในออสเตรเลีย ค.ศ. 2022 ทำให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งครบสมัยนับตั้งแต่จอห์น โฮเวิร์ด หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้ง มอร์ริซันประกาศว่าเขาจะลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเสรีนิยม และให้ปีเตอร์ ดัตตันดำรงตำแหน่งหัวหน้าแทนที่เขา[16][17]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]มอร์ริซันเกิดที่ชานเมืองเวเวอร์ลีย์ในซิดนีย์[18][19] เขาเป็นลูกชายคนที่สองจากลูกชายสองคนของ Marion (สกุลเดิม Smith) กับจอห์น ดักลาส มอร์ริซัน (1934–2020).[20] พ่อของเขาเคยเป็นตำรวจประจำสภาเทศบาลเวเวอร์ลีย์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกสมัยเดียว[21] ตาของมอร์ริซันเกิดที่นิวซีแลนด์[22] ย่าของเขาเป็นหลานสาวของแมรี กิลมอร์ นักกวีชาวออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 2012 ตอนครบปีเสียชีวิต 50 ปี เขาทำพิธีรำลึกเธอในรัฐสภาออสเตรเลีย[23] มอร์ริซันสืบตระกูลจากวิลเลียม รอเบิตส์ นักโทษที่ถูกตั้งข้อหาขโมยเส้นด้ายและถูกส่งไปยังออสเตรเลียด้วยกองเรือแรกใน ค.ศ. 1788[24]
มอร์ริซันเติบโตในชานเมืองบรอนต์ เขาเคยมีอาชีพเป้นนักแสดงเด็กที่ปรากฏในโฆษณาโทรทัศน์และมีบทบาทไม่มากในรายการท้องที่[25] มอร์ริซันเข้าศึกษาที่ Sydney Boys High School ก่อได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.) สาขาภูมิเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์[1][26][27]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 แม่แบบ:Cite Au Parliament
- ↑ "Scott Morrison or ScoMo — is it time he retired the nickname now he's Prime Minister?". ABC News. September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
- ↑ "morrison". The Free Dictionary (ภาษาอังกฤษ). n.d. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 March 2021.
- ↑ Belot, Henry (19 May 2019). "Federal election result: Scott Morrison says 'I have always believed in miracles' as Coalition retains power". Australian Broadcasting Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 18 May 2019.
- ↑ Remeikis, Amy (21 December 2019). "Scott Morrison's Hawaii horror show: how a PR disaster unfolded". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
- ↑ Mao, Frances (2 March 2021). "How rape allegations have rocked Australian politics". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2021.
- ↑ "Australia has almost eliminated the coronavirus — by putting faith in science". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
- ↑ Topsfield, Jewel (30 May 2021). "Why has the vaccine rollout been so slow?". The Sydney Morning Herald.
- ↑ Hadley, Erin (29 December 2021). "Australia-China relations continued to sour in 2021. What can we expect in 2022?". ABC News. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
- ↑ "Aukus: French minister condemns US and Australia 'lies' over security pact". BBC News. 19 September 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2021.
- ↑ Karp, Paul (4 April 2022). "Liberal MP accuses Scott Morrison of 'ruthless bullying' and scheming at the expense of flood victims". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 April 2022.
- ↑ Haslam, Alex (11 March 2022). "Scott Morrison's tone-deaf leadership is the last thing traumatised flood victims need. Here are two ways he can do better". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 12 March 2022.
- ↑ Henriques-Gomes, Luke (15 April 2022). "Coalition faces criticism for limiting 'top-up' payment to Lismore flood victims only". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 April 2022.
- ↑ RN Breakfast (8 November 2021). "Scott Morrison accused of failing to understand the 'urgency' of climate change". ABC News. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ Victor, Daniel; Cave, Damien (3 November 2021). "Australia's climate pledges fall short, again, critics say". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ "Live: Morrison calls Albanese to concede electoral defeat as Labor, independents unseat Coalition". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ "Peter Dutton elected new Liberal Party leader, Sussan Ley becomes deputy leader". ABC News. 30 May 2022.
- ↑ "Scott Morrison: fast facts". National Archives of Australia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2021. สืบค้นเมื่อ 31 December 2021.
- ↑ "Key facts about Scott Morrison, Australia's new prime minister". Australian Financial Review. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2018.
- ↑ "Scott Morrison's father John, a former policeman and mayor, dies aged 84". ABC News. 23 January 2020. Retrieved 23 May 2022.
- ↑ Nick Bryant (February 2012). "Scott Morrison: So Who the Bloody Hell Are You?". The Monthly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
- ↑ "Members' statements in relation to citizenship: Scott Morrison". Parliament of Australia. เก็บถาวร 14 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 7 February 2018.
- ↑ Hansard, 29 November 2012 เก็บถาวร 10 สิงหาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 13 February 2019
- ↑ "Scott Morrison speaks of convict ancestry as he welcomes new citizens". The Sydney Morning Herald. 26 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.
- ↑ Deborah Snow (30 April 2016). "Scott Morrison's relentless rise to power". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
- ↑ "Key facts about Scott Morrison, Australia's new prime minister". Australian Financial Review. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
- ↑ "Who is Scott Morrison? Meet Australia's new Prime Minister". SBS News. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.