ข้ามไปเนื้อหา

อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2535–2545)
ไทยรักไทย (2545–2550)
เพื่อไทย (2555–2561, 2566–ปัจจุบัน)
เพื่อคนไทย (2561–2566)
คู่สมรสแนบเนียน ทรัพยสิทธิ์

อรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ เป็นอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม 6 สมัย

ประวัติ

[แก้]

อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2492[1] ที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม และนิติศาสตรบัณฑิต และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายหลังยังได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหวิทยาลัยรามคำแหงเช่นเดียวกัน ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางแนบเนียน ทรัพยสิทธิ์ (ปุณรังษี) มีบุตร 2 คน

การทำงาน

[แก้]

นายอรรถสิทธิ์ เดิมประกอบอาชีพเป็นครูที่โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จังหวัดนครพนม รวมทั้งเป็นนิติกร ที่ศาลากลางจังหวัดนครพนม โดยก่อนจะเริ่มทำงานการเมืองเคยเป็นนักจัดรายการวิทยุชื่อรายการ "นายคันคาย กระจายข่าว" ซึ่งได้รับความนิยมในพื้นที่จังหวัดนครพนมและจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งในประเทศ สปป.ลาว จนนำฉายา นายคันคาย นี้มาใช้เป็นชื่อกลาง

อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งในนามพรรคความหวังใหม่เรื่อยมา จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ซึ่งต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี

อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา[2]

ในปี พ.ศ. 2555 เขาพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกจำนวนมาก ได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[3] ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ย้ายไปสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อคนไทย รับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[4] และลงสมัครรับเลือกตั้งอยู่ในบัญชีรายชื่อลำดับที่ 5 ของการเลือกตั้ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562[5][6] โดยมีน้องชายที่เป็นนักการเมืองท้องถิ่นคือ นายเข็มชาติ ทรัพยสิทธิ์ และนายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์ เข้าร่วมเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเดียวกัน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาและน้องชายได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้การสนับสนุนน้องชายคือนายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์ เป็นตัวแทนลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัดนครพนมของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยมีคะแนนมาเป็นอันดับ 2

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครพนม สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๙๔/๒๕๓๘ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการเมือง (นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล, นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์, นายเรืองวิทย์ ดุษฎีสุรพจน์, นายอำนาจ ชนะวงศ์)
  3. "สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยื่นใบสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
  4. “อดีตส.ว.นครพนม” ประกาศตั้งพรรค เพื่อคนไทย ตั้งเป้าได้ที่นั่ง 7 คน
  5. พรรคเพื่อคนไทยประกาศพร้อมสู้ศึกเลือกตั้ง -เห็นชอบเสนอ ‘วิทยา’ นั่งนายก
  6. รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒