ข้ามไปเนื้อหา

รัตนา จงสุทธานามณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัตนา จงสุทธานามณี
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2547 – 12 เมษายน พ.ศ. 2555
ถัดไปสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 มกราคม พ.ศ. 2507 (60 ปี)
อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
คู่สมรสวันชัย จงสุทธานามณี

รัตนา จงสุทธานามณี (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2507) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (อุตตม สาวนายน) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลชวน หลีกภัย[1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย

ประวัติ

[แก้]

รัตนา จงสุทธานามณี เกิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2507 ที่จังหวัดเชียงราย สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2538[2]สมรสกับ นาย วันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย มีบุตรชื่อ ร้อยตำรวจเอก ดร. ธนรัช จงสุทธานามณี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

การเมือง

[แก้]

รัตนา จงสุทธนามณี เริ่มทำงานในตำแหน่งเทศมนตรีฝ่ายการศึกษา เทศบาลเมืองเชียงราย หลังจากนั้นจึงได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงราย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนา เป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งอีกในสมัยต่อมา หลังจากนั้นได้หันมาทำงานการเมืองท้องถิ่นในนามอิสระ[3] โดยได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายสองสมัย ในปี พ.ศ. 2547 ชนะนางสลักจฤฎดิ์ (ชื่อเดิม สลักจิต) ติยะไพรัช ภรรยานายยงยุทธ ติยะไพรัช และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายปี พ.ศ. 2555 รัตนาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งโดยแข่งกับนางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช [4] โดยนางสลักจฤฎดิ์ได้รับเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามนางสลักจฤฎดิ์ได้กระทำความผิดตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาจำคุกและเพิกถอนสิทธิทางการเมือง นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ในข้อหาแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 137 ประมวลกฎหมายอาญา และกระทำการอันเป็นเท็จตาม พรบ.เลือกตั้งสภาท้องถิ่นหรือบริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 114[5]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 รัตนา จงสุทธานามณี ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[6]

การทำงาน

[แก้]

ในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย (สลากกินแบ่งรัฐบาล) และเมื่อดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ได้จัดตั้ง "โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย" เป็นโรงเรียนในสังกัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้โมเดลการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบหรือโรงเรียนแห่งการคิด(Thinking School) เปิดคู่กับหลักสูตรกีฬา[7] จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ อบจ.เชียงราย (Discovery Center) และศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี

นอกเหนือจากนั้นเป็นผู้ริเริ่มจัดงานเชียงรายดอกไม้งาม โดยนำดอกไม้จากเกษตรกรจังหวัดเพื่อส่งเสริมให้สามารถปลูกพืชและดอกไม้เมืองหนาวที่มีมูลค่าสูง[8] และได้จัดตั้งสวนไม่งามริมน้ำกก อันเป็นสถานที่จัดงานเรื่อยมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๕/๒๕๔๒ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางรัตนา จงสุทธนามณี)
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2012-01-07.
  3. พลังประชาชน...ร่ายมนต์เมืองเหนือ! แต่ยังแพ้"จงสุทธนามณี"และเมืองชาละวัน [ลิงก์เสีย]
  4. ข่าวสด
  5. คุก5ปี ถอนสิทธิเลือกตั้ง10ปีเมียยงยุทธ ติยะไพรัช ไทยรัฐ
  6. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 20 สิงหาคม 2562
  7. โรงเรียนอบจ.
  8. เทศกาลเชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ 9[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๕๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒