ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคประชาธิปัตย์"

พิกัด: 13°46′58″N 100°32′01″E / 13.78283°N 100.533475°E / 13.78283; 100.533475
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
gcache removed this entry
Rotlink (คุย | ส่วนร่วม)
gcache removed this entry
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
{{บทความหลัก|คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553)}}
{{บทความหลัก|คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553)}}


[[อภิชาต สุขัคคานนท์]] [[นายทะเบียนพรรคการเมือง]] ได้ยื่น[[คำร้อง]]ต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]] กล่าวหาว่า ใน [[พ.ศ. 2548]] พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาค จำนวนสองร้อยห้าสิบแปดล้านบาท จาก [[บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)]] แต่ไม่แจ้ง[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] ทราบ และใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จาก[[กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง]] ขัดต่อ [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 66 อนุมาตรา (2) และ (3) จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตาม [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550]] มาตรา 98<ref name = "Thairath-6May10"> (2553, 6 พฤษภาคม). ''กกต. เตรียมเชือดบุญจง แจกเบี้ยยังชีพ.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:MxGtqDKbU0oJ:www.thairath.co.th/content/pol/4110+%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%95.%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94+%22%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%88%E0%B8%87%22+%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th&client=firefox-a ลิงก์]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).</ref><ref name = "Thairath-3Jan10"> (2553, 3 มกราคม). ''สำนวนหลวม กกต.พริ้ว คดีเงินบริจาคปชป.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[https://archive.is/20121121071253/www.thairath.co.th/content/pol/56599 ลิงก์]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).</ref>
[[อภิชาต สุขัคคานนท์]] [[นายทะเบียนพรรคการเมือง]] ได้ยื่น[[คำร้อง]]ต่อ[[ศาลรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)|ศาลรัฐธรรมนูญ]] กล่าวหาว่า ใน [[พ.ศ. 2548]] พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาค จำนวนสองร้อยห้าสิบแปดล้านบาท จาก [[บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน)]] แต่ไม่แจ้ง[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)|คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] ทราบ และใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จาก[[กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง]] ขัดต่อ [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 66 อนุมาตรา (2) และ (3) จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตาม [[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550]] มาตรา 98<ref name = "Thairath-6May10"> (2553, 6 พฤษภาคม). ''กกต. เตรียมเชือดบุญจง แจกเบี้ยยังชีพ.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[http://web.archive.org/web/20090510092241/http://www.thairath.co.th/content/pol/4110 ลิงก์]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).</ref><ref name = "Thairath-3Jan10"> (2553, 3 มกราคม). ''สำนวนหลวม กกต.พริ้ว คดีเงินบริจาคปชป.'' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <[https://archive.is/20121121071253/www.thairath.co.th/content/pol/56599 ลิงก์]>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).</ref>


คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง<ref> (30 พฤศจิกายน 2553). [http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNVE13TVRFMU13PT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB6TUE9PQ== บัญญัติปัดวุ่น-รู้4:2 ปชป.รอด โต้ 2มาตรฐาน]. ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 30-11-2553.</ref>
คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง<ref> (30 พฤศจิกายน 2553). [http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNVE13TVRFMU13PT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNUzB6TUE9PQ== บัญญัติปัดวุ่น-รู้4:2 ปชป.รอด โต้ 2มาตรฐาน]. ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 30-11-2553.</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:23, 25 พฤษภาคม 2557

พรรคประชาธิปัตย์
หัวหน้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เลขาธิการจุติ ไกรฤกษ์
โฆษกชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
คำขวัญสจฺจํเว อมตา วาจา
(คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย)
ก่อตั้ง5 เมษายน พ.ศ. 2489 (78 ปี)
ที่ทำการ67 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
สีสีฟ้า
เว็บไซต์
http://www.democrat.or.th/
อุดมการณ์ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ, เสรีนิยมคลาสสิก, เสรีนิยมอนุรักษ์
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อ: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[1] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 2,884,574 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย และมีสาขาพรรคจำนวน 179 สาขา[2]

สัญลักษณ์ของพรรค

  • ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่สอง ได้บัญญัติชื่อ "พรรคประชาธิปัตย์" โดยมีความหมายว่า "ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย" หรือ "ประชาชนผู้ถืออำนาจอธิปไตย" และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Democrat Party โดยหมายจะให้เป็นพรรคของคนจน เช่นเดียวกับพรรคเดโมแครตของสหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ "ประชาธิปัตย์" ได้มีกลุ่มบุคคลพยายามจดทะเบียนชื่อพรรคก่อนหน้า ม.ร.ว.เสนีย์ แต่รวบรวมเสียงได้น้อยกว่า จึงจดทะเบียนไม่สำเร็จ[3] เนื่องจากในปีนั้น เพิ่งมีกฎหมายจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการออกมาเป็นครั้งแรก โดยที่ก่อนหน้านั้น สถานภาพพรรคการเมืองในประเทศไทยยังไม่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เพียงแต่กฎหมายให้การรับรองไว้เท่านั้น
  • สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม มีฟ่อนข้าวประดับอยู่เป็นขอบ โดยมีความหมายว่า พระแม่ธรณีบีบมวยผม หมายถึง การเอาชนะมารหรือความชั่วร้ายต่าง ๆ ฟ่อนข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้แม่พระธรณีเป็นสัญลักษณ์ของพรรค ตั้งแต่วันก่อตั้งพรรค เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 ส่วนเหตุผลที่เลือกแม่พระธรณีเป็นสัญลักษณ์นั้นไม่แน่ชัด บางกล่าวว่าในวันที่ประชุมเพื่อก่อตั้งพรรคมีคนถามว่า จะเอาสัญลักษณ์ใดมาเป็นของพรรค แต่ไม่มีคนเสนอประธานในที่ประชุมเลยเสนอเอารูปแม่พระธรณี เพราะบังเอิญเหลือบไปเห็นปฏิทินที่มีรูปแม่พระธรณีบิดมวยผมอยู่ ปรากฏว่า ในที่ประชุมเห็นชอบ เพราะมีความหมายดีกล่าว คือ ให้ความร่มเย็นแก่ประชาชน นอกจากนั้น จากบทความ “ย้อนอดีตแม่พระธรณี” ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวันได้ระบุว่า เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2525 ภายหลังจากนายพิชัย รัตตกุล ขึ้นรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และได้ย้ายที่ทำการพรรคจากสวนรื่นฤดีมาที่ถนนเศรษฐกิจ ที่ตั้งปัจจุบัน จึงมีความคิดว่าน่าจะมีสัญลักษณ์พรรค เมื่อมีที่ทำการใหม่จึงให้บรรดาสมาชิกช่วยกันคิด และคนที่ชื่อปราโมทย์ สุขุม ส.ส.กรุงเทพฯ เป็นผู้เสนอให้ใช้ “แม่พระธรณีบิดมวยผม” จากนั้น ก็มีการหล่อองค์แม่พระธรณีเป็นทองเหลือง ประดิษฐานไว้ที่หน้าที่ทำการพรรคมานานกว่า 10 ปี จนมีตะไคร่จับองค์แม่พระธรณี ต้องมีการซ่อมแซมมาโดยตลอด และมีคนทักท้วงว่า พระแม่องค์นี้อยู่ในท่าปาง “ปราบมาร” ท่านั่งชันเข่า ไม่ตรงกับลักษณะข้อเท็จจริง จึงมีการเรี่ยไรเงินสมาชิกพรรคเพื่อสร้างองค์ใหม่ในปาง “ เบญจกัลยาณี” และย้ายมาประดิษฐานที่บริเวณลานประชาธิปไตย หน้าอาคารมูลนิธิควง อภัยวงศ์ อย่างไรก็ดี ได้มีความคิดที่จะเปลี่ยนองค์แม่พระธรณีจากทองเหลืองมาเป็นหินอ่อนแกะสลักโดยมีช่างฝีมือช่างเชียงราย แต่เกิดอุบัติเหตุขณะเคลื่อนย้ายเสียก่อน จึงได้มีการอัญเชิญแม่พระธรณีองค์เดิมที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่ ขึ้นประดิษฐานบนแท่นที่สร้างขึ้นใหม่ บริเวณด้านหน้าอาคารมูลนิธิควง อภัยวงศ์ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของสมาชิกพรรคและผู้คนที่ผ่านไปมา นับแต่นั้นเป็นต้นมา[4]
  • สีประจำพรรค คือ สีฟ้า

ประวัติ

นายควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2489[3] โดยการประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของนายควง ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านคานอำนาจของ นายปรีดี พนมยงค์[3] ต่อมานายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังถูกกดดันจากกรณีสวรรคต ร.8 และรัฐสภาลงคะแนนให้ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ใกล้ชิดนายปรีดี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ

ในช่วงปี พ.ศ. 2489 ที่ประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.ร.ต.ถวัลย์ ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน รวมถึงการหาเสียงในเดือนสิงหาคมด้วย [3] ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ถูกนายทหารฝ่ายจอมพล ป. ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารยึดอำนาจ นายควงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ และมีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก

หลังจากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีก 6 ครั้งจนถึงปัจจุบัน คือในปี พ.ศ. 2518, 2519 (2 ครั้ง) , 2535, 2540 และ 2551 ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล 4 ครั้ง และเป็นพรรคฝ่ายค้านอีกรวม 16 ครั้ง โดยเป็นพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในกรุงเทพมหานครทันที และครองจำนวนที่นั่งในกรุงเทพมหานครจนถึงปี พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ประชาธิปัตย์ยังเป็นพรรคแรกที่หาเสียงด้วยวิธีการปราศรัยด้วย โดยเริ่มใช้ตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2489[3]

ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดทำ "โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย" (Thailand Strategy Project หรือ TSP) ขึ้น โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางวิชาการใน 19 ยุทธศาสตร์หลัก ใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนานโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะกับชุมชนวิชาการและประชาชนที่สนใจทั่วไป ผ่านทางเว็บไซต์ และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ

ในปี พ.ศ. 2551 ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็น "พรรคฝ่ายค้านพรรคเดียว" เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา ขึ้นตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบรัฐบาลเงาในระบบเวสต์มินสเตอร์ของประเทศอังกฤษ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[5]

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลัง พรรคพลังประชาชน ถูกพิพากษายุบพรรคจาก คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 ทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย จาก การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548

ไฟล์:55520590 c725e38368.jpg
โปสเตอร์หาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีคะแนนเสียงอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีจำนวนที่นั่ง 96 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง) มีฐานเสียงใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงจากภาคใต้ถึง 52 ที่นั่งจาก 54 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามพรรคไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ (ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร ที่คะแนนเสียงแปรผันไปตามสถานการณ์ทางการเมืองแต่ละสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พรรคฯ ได้เสียงจากกรุงเทพเพียง 4 ที่นั่ง จาก 37 ที่นั่ง โดยที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ได้ถึง 32 ที่นั่ง) ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับพรรคเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรที่ผู้สนับสนุนอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จะอยู่ในแคว้นสก็อตแลนด์ คือเป็นลักษณะภูมิภาคนิยม ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนสูงถึง 136 ที่นั่ง แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่งเท่านั้น

  • ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน จากประชาชนทั่วประเทศ ในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 7,210,742 เสียง
  • โดยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้แนวทางการหาเสียงว่า "เลือกให้ถึง 201 ที่นั่ง" และ "ทวงคืนประเทศไทย" อันเนื่องจากต้องการสัดส่วนที่นั่งในสภาฯให้ถึง 200 ที่ เพื่อที่ต้องการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 นั่นเอง
  • หลังการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ 6 คณะ คือ

คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมอีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา โดยไม่ชอบธรรม และต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ เนื่องจาก กกต. จัดการเลือกตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มีการหันคูหาเลือกตั้งที่ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นการลงคะแนนลับ

ในช่วงเวลาเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการฟ้องร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ให้ดำเนินคดียุบพรรคไทยรักไทย เนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยมีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ร้อยละ 20 ตามกฎหมาย และพรรคประชาธิปัตย์มีพยานบุคคลจากพรรคเล็กยืนยัน แต่ต่อมาพยานดังกล่าวได้กลับคำให้การกลางคัน และพรรคไทยรักไทยที่เป็นผู้ต้องหาในคดีกลับฟ้องร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยกล่าวหาว่ามีการจ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และมีพฤติกรรมที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงมีการนำคดีขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ต่อมาภายหลังการ รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คปค. ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายตุลาการคือ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น รับโอนอรรถคดีจากศาลรัฐธรรมนูญมาดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จนกระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และมีมติให้ยุบ พรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กที่ถูกฟ้องร่วมในคดี และวินิจฉัยให้ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กทั้งหมด เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ว่ากรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งจริง และขณะเดียวกันไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยหรือมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองตามฟ้องแต่อย่างใด

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ถูกงดกิจกรรมทางการเมืองชั่วคราว จนกระทั่งได้มีกำหนดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอนโยบายบริหารประเทศชื่อว่า "วาระประชาชน" ใจความสำคัญว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" ในการรณรงค์เลือกตั้ง โดยได้เสนอต่อสาธารณะนับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีกลุ่มนโยบาย 4 หัวข้อใหญ่

ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับ 2 รวม 165 ที่นั่ง รองจากพลังประชาชนได้คะแนนอันดับ 1 ที่ได้ 232 ที่นั่ง โดยพรรคประชาธิปัตย์แบ่งตามภาคได้ดังนี้

เขตพื้นที่ จำนวนที่นั่ง ได้
กรุงเทพมหานคร 36 27
กลาง 98 35
ตะวันออกเฉียงเหนือ 135 5
ใต้ 56 49
เหนือ 75 16
สัดส่วน 80 33
รวม 480 165

พรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง]

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลเงา" หรือ "ครม.เงา" เพื่อตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบ "คณะรัฐมนตรีเงา" ใน "ระบบเวสมินสเตอร์" ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[6] โดยมีเว็บไซต์ www.shadowdp.com ในการเผยแพร่การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.เงา

รัฐบาลผสม

ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย) และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งส่งผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย และพรรคกิจสังคม (ภายหลังพรรคมาตุภูมิได้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน) พร้อมกับสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ชนะพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 เสียง

คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2553

อภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า ใน พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาค จำนวนสองร้อยห้าสิบแปดล้านบาท จาก บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แต่ไม่แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทราบ และใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ขัดต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 อนุมาตรา (2) และ (3) จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98[7][8]

คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ มว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง[9]

หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554

หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศ ยุบสภาในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้จัดตั้งการเลือกตั้งทั่วไป และหลังจากที่ พรรคประชาธิปัตย์ได้แพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และเป็นเหตุให้คณะเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด หลังจากนั้นได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ และผลออกมาในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังนายอภิสิทธิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับเลือกให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง พ.ศ. 2556

บุคลากร

หัวหน้าพรรค

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1 ไฟล์:43760n 3l.jpg พันตรี ควง อภัยวงศ์
(17 พฤษภาคม พ.ศ. 2445 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2511)
พ.ศ. 2489 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 (ถึงแก่อสัญกรรม) • อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย
2 ไฟล์:M.R.Seni pramoj.jpg หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
(26 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)
พ.ศ. 2511 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 • อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย
3 พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์
(9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 — )
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 3 เมษายน พ.ศ. 2525 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
• ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน
4 ไฟล์:Bhichai Rattakul.jpg นายพิชัย รัตตกุล
(16 กันยายน พ.ศ. 2469 — )
3 เมษายน พ.ศ. 2525 26 มกราคม พ.ศ. 2534 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 3 สมัย
• อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
5 ไฟล์:Chuan.jpg นายชวน หลีกภัย
(28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 — )
26 มกราคม พ.ศ. 2534 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 • อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย
• อดีตรมต.หลายกระทรวง
6 ไฟล์:Banyat Bantadtan.jpg นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
(7 กันยายน พ.ศ. 2485 — )
20 เมษายน พ.ศ. 2546 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (ลาออก) • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรมต.หลายกระทรวง
7
(1 - 4)
ไฟล์:Abhisit vejjajiva.jpg นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 — )
5 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปัจจุบัน • อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 27
• อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
• ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร 3 สมัย ปี 2549, 2551, 2554
* อดีต อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 4 สมัย

เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

รายนามเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1 ไฟล์:Kukrit pramoj.jpg พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
(20 เมษายน พ.ศ. 2454 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538)
6 เมษายน พ.ศ. 2489 16 กันยายน พ.ศ. 2491 • อดีตนายกรัฐมนตรี
2 นายเทพ โชตินุชิต
(20 มกราคม พ.ศ. 2450 - 6 เมษายน พ.ศ. 2517)
17 กันยายน พ.ศ. 2491 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
3 นายชวลิต อภัยวงศ์
1 มิถุนายน พ.ศ. 2492 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
4 ไฟล์:ใหญ่ ศวิตชาติ.jpg นายใหญ่ ศวิตชาติ
(7 ตุลาคม พ.ศ. 2450 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2520)
30 กันยายน พ.ศ. 2498 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
พ.ศ. 2511 26 กันยายน พ.ศ. 2513
5 ไฟล์:ธรรมนูญ เทียนเงิน1.gif นายธรรมนูญ เทียนเงิน
(10 มกราคม พ.ศ. 2473 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2551)
26 กันยายน พ.ศ. 2513 6 ตุลาคม พ.ศ. 2518 • อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
• อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
6 นายดำรง ลัทธพิพัฒน์
(29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528)
13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7 นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
(10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
8 ไฟล์:Marud.jpg ศาสตราจารย์ (พิเศษ) มารุต บุนนาค
(21 สิงหาคม พ.ศ. 2467 - )
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 3 เมษายน พ.ศ. 2525 • อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร
9 ไฟล์:Lekk Nana.jpg นายเล็ก นานา
(18 มีนาคม พ.ศ. 2467 - 1 เมษายน พ.ศ. 2553)
3 เมษายน พ.ศ. 2525 5 เมษายน พ.ศ. 2529 • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10 ไฟล์:Weera TruthToday.jpg นายวีระ มุสิกพงศ์
(24 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 - )
5 เมษายน พ.ศ. 2529[10] 10 มกราคม พ.ศ. 2530 • อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
11 ไฟล์:สนั่น ขจรประศาสน์.gif พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
(7 กันยายน พ.ศ. 2478 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 )
10 มกราคม พ.ศ. 2530[11] 17 กันยายน พ.ศ. 2543 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
12 ไฟล์:อนันต์ อนันตกูล.jpg นายอนันต์ อนันตกูล
(22 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - )
17 กันยายน พ.ศ. 2543[12] 20 เมษายน พ.ศ. 2546 • อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
• อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
13 ไฟล์:Pradit. P.jpg นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
(25 ธันวาคม พ.ศ. 2498 - )
20 เมษายน พ.ศ. 2546[13] 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 • อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
14 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
(7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 - )
5 มีนาคม พ.ศ. 2548[14] 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
15 ไฟล์:เฉลิมชัย ศรีอ่อน.jpg นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
(7 มีนาคม พ.ศ. 2508 - )
6 สิงหาคม พ.ศ. 2554[15] 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
16 ไฟล์:จุติ ไกรฤกษ์.jpg นายจุติ ไกรฤกษ์
(14 ธันวาคม พ.ศ. 2499 - )
17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

คณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน

ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่เพื่อคัดเลือกผู้บริหารพรรคชุดใหม่ 37 คน ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ปรากฏว่าผลการคัดเลือก ได้แก่

นายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์

ชื่อ–สกุล ภาพ วาระดำรงตำแหน่ง
ควง อภัยวงศ์ 2489; 2490-2491
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 2518; 2519
ชวน หลีกภัย 2535-2538; 2540-2544
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 2551-2554

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
ก.พ. 2500
31 / 283
เพิ่มขึ้น31 ที่นั่ง ควง อภัยวงศ์
ธ.ค. 2500
39 / 160
เพิ่มขึ้น9 ที่นั่ง
2512
57 / 219
เพิ่มขึ้น18 ที่นั่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
2518
72 / 269
3,176,398 17.2% เพิ่มขึ้น15 ที่นั่ง; พรรคร่วมรัฐบาล
2519
114 / 279
4,745,990 25.3% เพิ่มขึ้น43 ที่นั่ง; พรรคร่วมรัฐบาล
2522
33 / 301
2,865,248 14.6% ลดลง81 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์
2526
56 / 324
4,144,414 15.6% เพิ่มขึ้น23 ที่นั่ง; พรรคร่วมรัฐบาล พิชัย รัตตกุล
2529
100 / 347
8,477,701 22.5% เพิ่มขึ้น44 ที่นั่ง; พรรคร่วมรัฐบาล
2531
48 / 357
4,456,077 19.3% ลดลง52 ที่นั่ง; พรรคร่วมรัฐบาล
มี.ค. 2535
44 / 360
4,705,376 10.6% ลดลง4 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน ชวน หลีกภัย
ก.ย. 2535
79 / 360
9,703,672 21.0% เพิ่มขึ้น35 ที่นั่ง; พรรคร่วมรัฐบาล
2538
86 / 391
12,325,423 22.3% เพิ่มขึ้น7 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน
2539
123 / 393
18,087,006 31.8% เพิ่มขึ้น37 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน
2544
128 / 500
7,610,789 26.6% เพิ่มขึ้น5 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน
2548
96 / 500
4,018,286 16.1% ลดลง32 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน บัญญัติ บรรทัดฐาน
2549
0 / 500
0 0% คว่ำบาตร - เป็นโมฆะ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2550
165 / 480
14,084,265 39.63% เพิ่มขึ้น69 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน
2554
159 / 500
11,433,762 35.15% ลดลง14 ที่นั่ง; ฝ่ายค้าน

อ้างอิง

  1. ประวัติพรรคประชาธิปัตย์
  2. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 หนังสือชีวลิขิต โดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
  4. http://www.democrat.or.th/th/news-activity/article/detail.php?ID=5387
  5. amp;id_main=60&p=0&ca=62&mt=175.92.185.153.216.238.33.205& amp;st=172.102.168.190.167.250.47.206 "'ปชป.' แถลงรายชื่อ 'ครม.เงา' ย้ำ เพื่อติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชน". พรรคประชาธิปัตย์. 8 ก.พ. 2551. สืบค้นเมื่อ 10 ก.พ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)"
  6. "'ปชป.' แถลงรายชื่อ 'ครม.เงา' ย้ำ เพื่อติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชน". พรรคประชาธิปัตย์. 8 ก.พ. 2551. สืบค้นเมื่อ 10 ก.พ. 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. (2553, 6 พฤษภาคม). กกต. เตรียมเชือดบุญจง แจกเบี้ยยังชีพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  8. (2553, 3 มกราคม). สำนวนหลวม กกต.พริ้ว คดีเงินบริจาคปชป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
  9. (30 พฤศจิกายน 2553). บัญญัติปัดวุ่น-รู้4:2 ปชป.รอด โต้ 2มาตรฐาน. ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 30-11-2553.
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 82ก วันที่ 15 พฤษภาคม 2529
  11. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 47ก วันที่ 16 มีนาคม 2530
  12. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร พรรคประชาธิปัตย์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 110ง วันที่ 31 ตุลาคม 2543
  13. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 61ง วันที่ 30 พฤษภาคม 2546
  14. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 32ง วันที่ 21 เมษายน 2548
  15. “อภิสิทธิ์”นั่งหัวหน้า ปชป.-โหวต“เฉลิมชัย”เป็นเลขาธิการพรรค จากแนวหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น

13°46′58″N 100°32′01″E / 13.78283°N 100.533475°E / 13.78283; 100.533475

แม่แบบ:Link GA