ผ่องศรี ธาราภูมิ
ผ่องศรี ธาราภูมิ | |
---|---|
![]() ผ่องศรี ใน พ.ศ. 2553 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
เขตเลือกตั้ง | อำเภอบ้านหมี่ อำเภอท่าวุ้ง อำเภอเมืองลพบุรี และ อำเภอพัฒนานิคม |
คะแนนเสียง | 88,288 (38.84%) |
นายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | อัญชลี วานิช เทพบุตร |
ถัดไป | วิรัช ร่มเย็น |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มกราคม พ.ศ. 2502 อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2539–ปัจจุบัน) |
ผ่องศรี ธาราภูมิ (เกิด 22 มกราคม พ.ศ. 2502) อดีตนายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เป็นผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ชวน หลีกภัย)[2]
การศึกษา
[แก้]สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนวินิตศึกษาฯ ระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ จากกรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) ศึกษาศาสตร์–เกษตร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU.37) และระดับปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) เกษตรศาสตร์ (โรคพืช) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทำงาน
[แก้]ก่อนเข้าสู่วงการเมือง ผ่องศรี รับราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดลพบุรี ได้รับรางวัลครูดีเด่นหลายครั้งก่อนจะลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2539 เพื่อทำงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2550 ต่อมาในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 ผ่องศรีพ่ายให้กับพิชัย เกียรติวินัยสกุลจากพรรคเพื่อไทย[3]
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ในการประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ ผ่องศรี ธาราภูมิได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[4][5] ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2556 เธอได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ให้ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์[6]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- ครูเกษตรดีเด่นจังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ. 2531
- ครูเกษตรดีเด่น เขตการศึกษา 6 ปี พ.ศ. 2532
- ข้าราชการครูดีเด่น โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ปีพ.ศ. 2536,2537 และ 2538
- ครูคุรุสภาดีเด่น กรมสามัญศึกษา จังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ. 2539
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
- ↑ เกี่ยวกับนายชวน หลีกภัย
- ↑ รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดลพบุรี (อย่างไม่เป็นทางการ)[ลิงก์เสีย]กกต. จังหวัดลพบุรี
- ↑ เลือกกรรมการปชป.ขานคะแนนผิด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ ผ่องศรี รับ ทาบ"สมชัย"ซบ ปชป.เป็นสมาชิกพรรค ยังไม่ชัดลง ส.ส.หรือไม่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองลพบุรี
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ
- บุคคลจากโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.