จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์)
จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – 9 ธันวาคม 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 เมษายน พ.ศ. 2515 (51 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2542 — ปัจจุบัน)

นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2515) อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่ตำบลทุ่งมะพร้าว อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา เป็นบุตรของนายวีระ กับนางละเอียด ลักษณวิศิษฎ์ และเป็นน้องชายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร [2]

งานการเมือง[แก้]

จุฤทธิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2548) ไม่ได้รับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2550

ปี พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 46 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับเลือกตั้งแค่ 44 คน ต่อมา นายปัญญวัฒน์ บุญมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำดับที่ 26 ได้เสียชีวิตลง จึงได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นแทน

ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 47[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดพังงา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพังงา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ (เลื่อนแทน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. "ประวัติ สภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-11.
  3. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑