สุวโรช พะลัง
สุวโรช พะลัง | |
---|---|
![]() สุวโรช ใน พ.ศ. 2552 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2535 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 เมษายน พ.ศ. 2497 อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554 (57 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2534–2554) |
คู่สมรส | สิรินทร์นาถ พะลัง |
สุวโรช พะลัง (29 เมษายน พ.ศ. 2497 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554) ชื่อเล่น นก อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]สุวโรช เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2497[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปี 2519 และระดับปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สุวโรช มีน้องชายเป็นนักการเมืองเช่นเดียวกันคือ ฉัตรชัย พะลัง อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จ.ชุมพร เมื่อ ปี พ.ศ. 2549 ได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่ง ชนะ พลเอก ไพโรจน์ นาคฉัตรีย์ น้องชายของ ปริญญา นาคฉัตรีย์ กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่ไม่ได้รับการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งจาก กกต. จนมีการฟ้องร้องดำเนินคดี พลตำรวจเอก วาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. รวมทั้ง ปริญญา นาคฉัตรีย์ และวีระชัย แนวบุญเนียร กกต. เป็นจำเลยในความผิด ฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มาตรา 24 และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
สุวโรช ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 12.50 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคมะเร็งปอดที่เจ้าตัวรักษามานาน สิริอายุได้ 57 ปี โดยถือเป็นการถึงแก่กรรมระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปในปีเดียวกันด้วย โดยที่สุวโรชเป็นผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคลำดับที่ 24[2]
การทำงาน
[แก้]ก่อนเข้าสู่วงการเมืองประกอบอาชีพเป็น ทนายความ และเริ่มต้นชีวิตการเมือง จากการเมืองท้องถิ่นมาก่อน นายสุวโรชมีชื่อเรียกโดยสื่อมวลชนทั่วไปว่า "เสี่ยนก"
สุวโรช เคยดำรงตำแหน่งเทศมนตรี และนายกเทศมนตรีตำบลหลังสวน ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 สมัย (2535/2, 2538, 2539, 2544 และ 2548) เคยดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ได้แก่ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2535) ประธานกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยนชน สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานคณะทำงานติดตามสถานการณ์ของโรคไข้หวัดนก (พ.ศ. 2547) และเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ในตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และกรรมการคัดสรรผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[3] แต่เสียชีวิตก่อนจะมีการเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2545 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พรรคประชาธิปัตย์ เศร้า มะเร็งปอดคร่าชีวิต สุวโรช พะลัง จากไทยรัฐ
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2564
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2566
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2554
- บุคคลจากอำเภอสวี
- ทนายความชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดชุมพร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชุมพร
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดชุมพร
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนปทุมคงคา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- เสียชีวิตจากมะเร็งปอด