ประจวบ บุนนาค
ประจวบ บุนนาค | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 | |
นายกรัฐมนตรี | ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | แสง สุทธิพงศ์ |
ถัดไป | พลเรือตรี เล็ก สุมิตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2464 อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2527 (63 ปี) |
คู่สมรส | นางสุพรรณ บุนนาค |
บุตร | 4 คน |
ประจวบ บุนนาค เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 4 สมัย เป็นสมาชิกกรรมการราษฎร อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์[1]
ประวัติ
[แก้]ประจวบ บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2464 ในตระกูลบุนนาค เป็นบุตรของพระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) กับคุณหญิงเจียน ศรีธรรมศกราช เป็นพี่ชายของพลเอกบรรจบ บุนนาค สมรสกับนางสุพรรณ บุนนาค มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน
การทำงาน
[แก้]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นายประจวบได้เข้าร่วมกองทัพสยามไปราชการสงครามในตำแหน่ง ล่ามประจำกองทหารบกรถยนตร์ ในยศจ่านายสิบชั่วคราว เมื่อกลับถึงสยามได้รับพระราชทานเหรียญทองช้างเผือก
ต่อมา ประจวบ บุนนาค เข้ารับราชการในกรมวิทยาศาสตร์ ตำแหน่งผู้ช่วยแยกธาตุ ชั้น 1 เข้ารับพระราชทานยศเป็น "รองอำมาตย์เอก" และเลื่อนตำแหน่งเป็นนักเคมีเอก หัวหน้ากองเภสัชกรรม ต่อมาเป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์
ในปีพ.ศ. 2485 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ[2]
ประจวบ บุนนาค เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[3]
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487[4] และได้รับแต่งตั้งอีก 3 สมัยต่อเนื่อง ในรัฐบาลของนายทวี บุญยเกตุ[5] รัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[6] และรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์อีกครั้งหนึ่ง[7]
ในปี พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เกียรติยศ
[แก้]เหรียญ
[แก้]- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ แจ้งความกระทรวงการอุตสาหกรรม เรื่อง ให้นายประจวบ บุนนาค พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิต
- ↑ รุ่งมณี เมฆโสภณ. อำนาจ 2 : ต่อสู้กู้ชาติ เอกราษฎร์ อธิปไตย. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์, 2555. 183 หน้า. ISBN 9786165360791
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายโป - ระ สมาหาร, นายประจวบ บุนนาค, พันเอกเรือง เรืองวีระยุทธ, นายทองอิน ภูริพัธน์, พลอากาศตรี กาพย์ เทวฤทธิ์พันลึก ทัตตานนท์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๒ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์