คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56
คณะรัฐมนตรีสุรยุทธ์ | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 56 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2549 - 2551 | |
วันแต่งตั้ง | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549[1] |
วันสิ้นสุด | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (1 ปี 121 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
จำนวนรัฐมนตรี | 35 |
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | – |
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี | – |
สภานิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติแห่งชาติ |
วาระสภานิติบัญญัติ | ไม่ได้กำหนดไว้ |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 55 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 57 |
รัฐบาลพลเรือน ที่ตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 อาศัยอำนาจตามความใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี (จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการ รัฐมนตรีช่วยว่าการ รัฐมนตรีลอย | ||
ออกจากตำแหน่ง | |||
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย | |||
แต่งตั้งเพิ่ม |
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 โดยมีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2]
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่หนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายสมหมาย ภาษี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[3]
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่สอง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯแต่งตั้งนางอรนุช โอสถานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายวรากรณ์ สามโกเศศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550[4]
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่สาม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่จำนวน 4 ตำแหน่ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 หลังจากหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ลาออกจากตำแหน่ง มีผลเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550[5]
การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งที่สี่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่จำนวน 3 ตำแหน่ง [6]
รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
วันที่ 20 กันยายน 2550 นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ลาออกจากตำแหน่ง หลังปปช. ระบุว่าเป็นหนึ่งในสามรัฐมนตรีที่ถือครองหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเกินกว่าร้อยละ 5 ใบลาออกมีผลวันที่ 30 กันยายน 2550
วันที่ 23 กันยายน 2550 นางอรนุช โอสถานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลาออกจากตำแหน่ง ตามนายสิทธิชัย
ตุลาคม 2550 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลาออกตามนายสิทธิชัย และนางอรนุช
วันที่ 13 ธันวาคม 2550 นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากตำแหน่ง หลังจากศาลอาญามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้มีคุณสมบัติต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
รายนามคณะรัฐมนตรี
- พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รับตำแหน่ง เพิ่ม 3 ต.ค. 50)[7]
- นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม - รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รับตำแหน่ง เพิ่ม 7 มี.ค. 50)[8]
- นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ - รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน - รองนายกรัฐมนตรี (1 ต.ค. 50[9])
- คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล - รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (18 พ.ย. 49-21 พ.ค. 50)
- พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (7 มี.ค. 50)
- นายสมหมาย ภาษี - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (18 พ.ย. 49-13 ธ.ค. 50)
- นายสุวิทย์ ยอดมณี - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- นายณัฐ อินทรปาณ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (27 เม.ย. 50)
- นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (7 มี.ค. 50)
- นายนิตย์ พิบูลสงคราม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายสวนิต คงสิริ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายธีระ สูตะบุตร - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นายสิทธิชัย โภไคยอุดม - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ลาออก 20 ก.ย. 50)
- นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- นายเกริกไกร จีระแพทย์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นางอรนุช โอสถานนท์ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (1 ก.พ. 50)[10]
- นายอารีย์ วงศ์อารยะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ลาออก ต.ค. 50)
- นายบัญญัติ จันทน์เสนะ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (27 เม.ย. 50)[11]
- นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายอภัย จันทนจุลกะ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- นายวิจิตร ศรีสอ้าน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายวรากรณ์ สามโกเศศ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (1 ก.พ. 50)
- นายแพทย์มงคล ณ สงขลา - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายแพทย์มรกต กรเกษม - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (7 มี.ค. 50)
- นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (27 เม.ย. 50)
- นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ - รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
การปฏิบัติงานของรัฐบาล
- วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีงบประมาณส่วนกลาง 5000 ล้านบาท ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ประสานงานจากส่วนกลางสู่ชุมชน [12]
วัฒนธรรม
- ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด แต่สามารถโฆษณาได้ในเวลา22.00 น.เป็นต้นไป [13]
- ออกมาตรการคุมเข้มไม่ให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี เต้นโคโยตี้ [14]
สาธารณสุข
- ยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เปลี่ยนเป็น รักษาฟรีทุกโรค และให้คนไทยห่างไกลจากโรค [15]
พลังงาน
- ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและแก๊สธรรมชาติจากประเทศพม่า [16]
การศึกษา
- ให้โรงเรียนดัง 430 โรงเรียนทั่วประเทศ รับเด็กนักเรียนจากพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนครึ่งหนึ่ง ส่วนโรงเรียนอื่นจะต้องรับนักเรียนเข้าทั้งหมดโดยไม่มีการสอบ หากมีผู้สมัครเกินจำนวนที่รับ ให้ใช้วิธีจับสลาก [17]
สิทธิมนุษยชน
- ยกเลิกคำสั่งคณะปฏิรูปฯเรื่องห้ามการชุมนุมประท้วง แต่ยังไม่ยกเลิกกฎอัยการศึก [18]
- การสั่งห้ามคนขับรถแท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงเทพเข้าร่วมการประท้วงคณะเผด็จการ/รัฐบาลทหาร สมัชชาคนจนหลายพันคนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการประท้วงในกรุงเทพฯโดยอ้างว่าพวกเขาไม่มีใบอนุญาตให้เดินทางตามกฎอัยการศึก (ซึ่งยังมีผลครอบคลุม 30 กว่าจังหวัดในเวลานั้น) [19]
- สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลนีสารสนเทศและการสื่อสาร ภายใต้รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า การวิพากษ์วิจารณ์ประธานองคมนตรีถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ดังนั้น การปิดเว็บไซต์ที่มีข้อความวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเหมาะสม[20]
- รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ผลักดันกฎหมายที่ระบุว่า ผู้ที่พยายามเข้าเว็บไซต์ใดๆที่รัฐบาลได้เซ็นเซอร์ไว้หนึ่งหมื่นกว่าเว็บ จะต้องรับโทษตามกฎหมาย และเอาผิดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่เปิดเผยไอพีแอดเดรสของผู้ใช้แก่รัฐบาล[21]
- การปิดวิทยุชุมชนที่ต่อสายตรงสัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์หลังเกิดรัฐประหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยได้โทรทัศน์เข้ามาที่สถานีวิทยุชุมชนคลื่น 87.75FM และคลื่น 92.75FM วันต่อมา รัฐบาลทหาร กรมประชาสัมพันธ์ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในได้เข้ามาตรวจสอบวิทยุชุมชนแห่งนี้ ทำให้วิทยุชุมชนนี้งดออกอากาศ[22]
- การก่อตั้งเครือข่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารจำนวน 700,000 คนเพื่อสกัดกั้นผู้ประท้วงรัฐบาลทหาร ผบ.กอ.รมน. กล่าวว่า "เราต้องสกัดกั้นผู้ประท้วงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ถ้ามีผู้ประท้วงน้อยกว่า 50,000 คน ก็ไม่น่าจะเกิดปัญหาอะไร"[23]
- วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลทหารสั่งเซ็นเซอร์การแพร่ภาพการสัมภาษณ์ทักษิณ ชินวัตร ทาง CNN ในประเทศไทย[24]
สื่อสารมวลชน
- ได้ปิดสถานีโทรทัศน์ไอทีวีเมื่อวันพุธที่ 7 มีนาคม 2550
- ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2550 และปิดตัวลงเมื่อวันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2551 เวลา00.00 น.
- ได้เปิดสถานีโทรทัศน์ทีพีบีเอสก่อตั้งเมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม 2551 และ หลังจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2551 ใช้ชื่อว่าสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และได้ทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ 1 -14 กุมภาพันธ์ 2551 โดยยังไม่มีรายการข่าวและเปิดทำการออกอากาศเป็นครั้งแรกอย่างเต็มรูปแบบโดยภายใต้องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2551 โดยใช้สีประจำสถานีคือ สีส้ม
- จัดรายการที่ให้ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลให้แก่ประชาชน คือ รายการสายตรงทำเนียบ และรายการ เปิดบ้านพิษณุโลก ออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ฉายาของรัฐบาล
- ขิงแก่— เพราะคณะรัฐมนตรีล้วนเป็นผู้สูงอายุแทบทั้งสิ้น และส่วนมากเป็นข้าราชการประจำที่เกษียณแล้ว แม้แต่กระทั่งผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด คือ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อเข้ารับตำแหน่งก็ยังมีอายุถึง 51 ปี โดย "ขิงแก่" เป็นการเปรียบเปรยคนที่มีอายุมากแล้วแต่ก็ยังเก่งกาจอยู่ เสมือนรสชาติของขิงที่ยิ่งแก่ก็ยิ่งเผ็ด และเมื่อนำมาใช้กับคณะรัฐบาลชุดนี้ เป็นการตั้งความคาดหวังว่า ประสบการณ์การทำงานที่ยาวนานจะช่วยให้ประเทศชาติพ้นวิกฤตไปได้
- เกียร์ว่าง— เพราะสังคมหลายภาคส่วนคาดหวังว่าจะมาเข้ามาสะสางปัญหาการทุจริตของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อันเป็นสาเหตุสำคัญประหารหนึ่งที่เกิดให้เกิดเหตุรัฐประหาร แต่ก็ไม่มีผลงานชัดเจนแต่อย่างใด
การสิ้นสุดลงของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะนี้ได้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่าจะประกาศผลการเลือกตั้ง และมีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีชุดนี้จึงพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
อ้างอิง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ โปรดเกล้าฯ ครม.แล้ว 'สุรยุทธ์1' 26คน - 28 ตำแหน่ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล นายสมหมาย ภาษี)
- ↑ ข่าวสารบ้านเมือง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รัฐสภาไทย
- ↑ คลังขึ้นตรงนายกฯทูลเกล้าฯสุรยุทธ์1/4ดึง"ฉลองภพ"นั่งรมว.คลัง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รัฐสภาไทย
- ↑ โปรดเกล้าฯ 3 รมช.ขิงแก่ 5 '2 หมอ' ตั้งเค้าซดเกาเหลา เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ไทยโพสต์
- ↑ โปรดเกล้า"สุรยุทธ์"ควบ มท.1
- ↑ "โปรดเกล้าฯ ฉลองภพ ขุนคลังใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-02. สืบค้นเมื่อ 2009-07-23.
- ↑ โปรดเกล้าฯสนธิเป็นรองนายกฯ มีชัยชี้ปัญหาอื้อสุรยุทธ์ถอดใจ
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีเพิ่ม 2 ตำแหน่ง
- ↑ โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 3รมช.ถวายสัตย์ 8 พ.ค.
- ↑ วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข[ลิงก์เสีย]
- ↑ The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, No 'coyote dances' for Loy Krathong: Culture Ministry, 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, NHSO backs plan to ditch Bt30 fee เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ Asia Times, Unplugging Thailand, Myanmar energy deals เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, Famous schools ordered to take in half of new students from neighbourhood, 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, NLA revokes ban on demonstrations, 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
- ↑ The Nation, Some 1,000 villagers prevented from catching buses to Bangkok
- ↑ The Nation, Sitthichai gets no kick from the Net เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 เมษายน พ.ศ. 2550
- ↑ Bangkok Post, Thailand gets new cyber crime law, 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
- ↑ Bangkok Post, After Thaksin calls, officials drop by, May 2007
- ↑ The Nation, Govt in move to head off violence เก็บถาวร 2007-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
- ↑ Thai generals pull plug on Thaksin CNN interview
แหล่งข้อมูลอื่น
- คณะรัฐมนตรีคณะที่ 56 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เก็บถาวร 2008-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เก็บถาวร 2012-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- วาสนา นาน่วม. ลับ ลวง พราง ปฏิวัติปราสาททราย (พ.ศ. 2551) ISBN 978-974-02-0087-1
- ข้อมูลจากเว็บไซต์รัฐบาลไทย เก็บถาวร 2007-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน