ข้ามไปเนื้อหา

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)
ชื่อท้องถิ่น
Port Authority of Thailand (PAT)
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
อุตสาหกรรมการท่าเรือ
ก่อนหน้าสำนักงานท่าเรือกรุงเทพ กรมการขนส่ง
ก่อตั้ง16 พฤษภาคม พ.ศ. 2494; 73 ปีก่อน (2494-05-16)
สำนักงานใหญ่
เลขที่ 444 ถนนท่าเรือ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
จำนวนที่ตั้งท่าเรือ 5 แห่ง
พื้นที่ให้บริการประเทศไทย
บุคลากรหลักชยธรรม์ พรหมศร (ประธานกรรมการ)
เกรียงไกร ไชยวงศ์ศิริสุข
(ผู้อำนวยการ)
ผลิตภัณฑ์การพัฒนาและขยายท่าเรือ
บริการการจัดการท่าเรือ
รายได้เพิ่มขึ้น 16,256,591,444 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 13,756,358,833 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 6,665,731,005 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
สินทรัพย์ลดลง 54,417,712,762 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 36,035,545,262 บาท
(พ.ศ. 2566)[1]
เจ้าของกระทรวงการคลัง (100.00 %)
พนักงาน
4,541 คน (พ.ศ. 2566)[1]
บริษัทแม่กระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของการ

การท่าเรือแห่งประเทศไทย หรือ กทท. (อังกฤษ: Port Authority of Thailand ย่อว่า PAT) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 เพื่อดำเนินการกิจการท่าเรือของประเทศไทย และในสิ้นปี 2565 การท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด ลำดับที่ 7[2]

ประวัติ

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2478 ได้มีแนวคิดจะก่อสร้างท่าเรือของรัฐบาลขึ้น คือ ท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย โดยมีพระบริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ เป็นประธานกรรมการดำเนินการขุดลอกสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลคลองเตย ต่อมาใน พ.ศ. 2481 จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานท่าเรือกรุงเทพ โดยมี หลวงประเสริฐวิถีรัถ เป็นหัวหน้าสำนักงานท่าเรือกรุงเทพ ทำหน้าที่ควบคุมการก่อสร้าง และเริ่มมีการก่อสร้างใน พ.ศ. 2483 และหยุดชะงักไปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ใน พ.ศ. 2490 ได้เปิดดำเนินการกิจการท่าเรือเป็นครั้งแรก และได้มีการพัฒนาการเรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ. 2494 จึงได้มีพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494[3] กำหนดให้จัดตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทยขึ้น เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม และโอนกิจการท่าเรือกรุงเทพ จากสำนักงานท่าเรือกรุงเทพมาดำเนินการ

ท่าเรือกรุงเทพ

การขยายท่าเรือ

[แก้]

หลังจากเปิดดำเนินการท่าเรือกรุงเทพ และได้มีการพัฒนาเรื่อยมา ทำให้ท่าเรือกรุงเทพซึ่งมีข้อจำกัดในการเป็นท่าเรือแม่น้ำ ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ จึงได้มีการดำเนินการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขึ้น ใน พ.ศ. 2533 และเปิดใช้ในปีต่อมา ท่าเรือที่ใช้ขนส่งสินค้าท่าเรือหลักของประเทศไทย ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือมาบตาพุต ท่าเรือเกาะสีชัง ท่าเรือสงขลา และ ท่าเรือปากบารา[4]

กรรมการการท่าเรือ

[แก้]

คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทยดังนี้[5]โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

  1. อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ ประธานกรรมการ (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  2. จักรชัย ภู่เจริญยศ อดีตรองผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  3. ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  4. ศรศักดิ์ แสนสมบัติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม กรรมการ (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  5. จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า กรรมการ (ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  6. เวทิต โชควัฒนา กรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กรรมการ (ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  7. ปรารถนา มงคลกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการ (ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  8. วรทัศน์ ตันติมงคลสุข ประธานคณะทำงานพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ (ตั้งแต่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557)
  9. ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ (ตั้งแต่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558)
  10. จำเริญ โพธิยอด รองอธิบดีกรมศุลกากร กรรมการ (ตั้งแต่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558)
  11. ขจรศักดิ์ พุทธานุภาพ อัยการพิเศษฝ่ายการสอบสวน 3 สำนักงานการสอบสวน กรรมการ (ตั้งแต่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558)

ท่าเรือในความดูแล

[แก้]
ป้ายหน้าทางเข้าท่าเรือแหลมฉบัง

การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีท่าเรือในสังกัด จำนวน 5 แห่ง คือ

  1. ท่าเรือกรุงเทพ หรือท่าเรือคลองเตย ตั้งอยู่ที่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  2. ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือหลักของประเทศแทนท่าเรือกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539[6] ในปี พ.ศ. 2551 มีปริมาณขนถ่ายสินค้าทั้งสิ้น 4,629,244.70 เมตริกตัน[7] มีปริมาณเรือเทียบท่ากว่า 8,118 ลำ
  3. ท่าเรือเชียงแสน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546
  4. ท่าเรือเชียงของ เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำโขง ขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 180 เมตร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามกับแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  5. ท่าเรือระนอง เป็นท่าเรือริมฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำกระบุรี ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง มีเนื้อที่ 315 ไร่ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2549

รัฐบาลได้เห็นชอบให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย เข้ามาบริหารกิจการของท่าเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ ของกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยให้มีผลตั้งแต่ พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป เพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำในพื้นที่ชายทะเลของภาคตะวันออก การขนส่งสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตราดเองและรวมไปถึงจังหวัดที่ใกล้เคียง เป็นต้น[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 รายงานประจำปี 2566 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
  2. ปตท.แชมป์ ส่งรายได้เข้ารัฐมากสุด 1.89 หมื่นล้านบาท
  3. พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-03-29. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/306/4.PDF
  6. ข้อมูลทั่วไปท่าเรือแหลมฉบัง เก็บถาวร 2010-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ท่าเรือแหลมฉบัง (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2553)
  7. สถิติผลการดำเนินงาน ท่าเรือแหลมฉบัง ปีงบประมาณ : 2548 - 2552 เก็บถาวร 2010-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ท่าเรือแหลมฉบัง (สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2553)
  8. ดัน"ท่าเรือคลองใหญ่"ประตูการค้า-หนุนการท่องเที่ยว จากเว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจ เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2563)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]