จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา
|
ยินดีต้อนรับสู่สถานีย่อยพระพุทธศาสนาแห่งวิกิพีเดียภาษาไทย สถานีย่อยนี้เปิดเมื่อ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ. ๒๕๕๑
|
|
สถานีนี้เริ่มสร้างเมื่อ วันวิสาขบูชา พุทธศักราช ๒๕๕๑
|
พระไตรปิฎก ( ภาษา: Tripiṭaka, สิงหล: ත්රිපිටකය, เทวนาครี: त्रिपिटक) เป็น คัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของ พระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎกมาจาก ภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด ( ติ หมายถึง สาม ปิฏก
หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) สันนิษฐานว่าที่มาของคำว่าพระไตรปิฎกน่าจะมาจากการที่พระภิกษุจดจารึกคัมภีร์ใส่ลงในใบตระกูลปาล์มและใส่ลงในตระกร้า ถ้าอาศัยหลักฐานทางวิชาการ เชื่อว่าไตรปิฎกเป็นชื่อที่ใช้กันมาก่อนจะสังคายนาครั้งที่ 3 เพราะมีการใช้คำพูดว่า "ไตรปิฎก" ในประวัติศาสตร์ยุคพระเจ้าอโศกก่อนการสังคายนาครั้งที่ 3 จึงเชื่อได้ว่าหลังสังคายนาครั้งที่ 2 พระสงฆ์มีการแยกพระอภิธรรมออกจากพระสูตรแล้วเมื่อสังคายนาครั้งที่ 3 จึงแยกอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจริง อ่านต่อ...
- วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา
- อวิวาทญฺจ เขมโต
- สมคฺคา สขิลา โหถ
- เอสา พุทธานุสาสนีติ
- "ท่านทั้งหลาย
- จงเห็นความวิวาท
- โดยความเป็นภัย
- และความไม่วิวาท
- โดยความปลอดภัยแล้ว
- เป็นผู้พร้อมเพรียง
- ประนีประนอมกันเถิด
- นี่เป็นพระพุทธานุศาสนี..."
— พระพุทธเจ้า พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน พุทธาปทานที่ ๑
วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ: พระไตรปิฎก (เถรวาท)
"เรื่องราวเต็มโลก เต็มบ้าน เต็มเมือง เราก็วางเสีย ละเสีย
ละอยู่ที่กาย ที่ใจตนนี่แหละ อย่าไปละที่อื่น การหอบอดีต
และอนาคตมาหมักสุมไว้ในใจ ก็เป็นทุกข์ ตัดออกให้หมด"
หมวดหมู่:วรรณกรรมศาสนาพุทธ
|
สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่จังหวัดนครปฐม — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย อ่านต่อ...
หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาพุทธ
- บุคคลในสมัยพุทธกาลที่ถูกธรณีสูบได้แก่พระเทวทัต พระเจ้าสุปปะพุทธะ นันทยักษ์ นางจิญจมาณวิกาและนันทมาณพ
- การอุปสมบทต้องมีพระสงฆ์ 5 รูปขึ้นไปถึงจะบวชได้ แต่การบรรพชาสามเณรมีแค่พระอุปัชฌาย์รูปเดียวก็สามารถกระทำได้
- พระอานนท์(ในภาพ)เป็นพระอรหันต์องค์เดียวที่บรรลุอรหันตผลแปลกกว่าพระอรหันต์รูปอื่น โดยท่านบรรลุในขณะที่ศีรษะท่านยังไม่ถึงหมอนและเท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น
- ปรมาณูในความหมายของพระพุทธศาสนาคือหน่วยที่เล็กที่สุด อธิบายด้วยการแยกเมล็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงจนถึงปรมาณู
- สังฆาฏิคือผ้าคลุมสำหรับห่มกันหนาว ในประเทศไทยใช้เป็นผ้าพาดบ่าเนื่องจากไม่ได้อยู่ในเขตหนาว
- ในยุคภัทรกัปป์พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่มาจากตระกูลกษัตริย์ ที่เหลือนั้นมาจากตระกูลพราหมณ์
- พระไตรปิฎกมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.460 โดยจารึกเป็นภาษาสิงหล
- โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหารเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นโลหะปราสาทองค์สุดท้ายในโลกที่ยังเหลืออยู่
|
....พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะพิเศษประเสริฐ ในประการที่อาศัยเหตุที่แท้ตามความเป็นจริงเป็นพื้นฐาน แสดงคำสั่งสอนที่บุคคลสามารถใช้ปัญญาไตร่ตรองตามและหยิบยกขึ้นปฏิบัติ เพื่อความสุขความเจริญและความบริสุทธิ์ได้ตามวิสัยตน "...
|
สถานีย่อยอื่น ๆ
สถานีย่อยคืออะไร?
|