การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)

พิกัด: 44°36′17″N 33°32′28″E / 44.60472°N 33.54111°E / 44.60472; 33.54111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การล้อมเซวัสโตปอล)
การล้อมเซวัสโตปอล (ค.ศ. 1941–1942)
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

ท่าเรือเซวัสโตปอลภายหลังการสู้รบ (กรกฏาคม ค.ศ. 1942)
วันที่30 ตุลาคม ค.ศ. 1941 – 4 กรกฏาคม 1942
สถานที่44°36′17″N 33°32′28″E / 44.60472°N 33.54111°E / 44.60472; 33.54111
ผล ฝ่ายอักษะชนะ
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน
ราชอาณาจักรโรมาเนีย โรมาเนีย
 อิตาลี
 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี แอริช ฟอน มันชไตน์
นาซีเยอรมนี โวลฟรัม ฟอน ริชโธเฟิน
สหภาพโซเวียต Ivan Yefimovich Petrov
สหภาพโซเวียต Filipp Oktyabrskiy
สหภาพโซเวียต Gordey Levchenko
สหภาพโซเวียต Pyotr Novikov (เชลย)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
นาซีเยอรมนี 11th Army
นาซีเยอรมนี 8th Air Corps
สหภาพโซเวียต Coastal Army
สหภาพโซเวียต Black Sea Fleet
กำลัง
On 6 June 1942:
203,800 men
65 assault guns
1,300 guns and howitzers
720 mortars
803 aircraft[1]
June 1942:
118,000 men
600 guns and howitzers
2,000 mortars[2]
1 battleship
2 heavy cruisers
1 Light Cruiser
2 Flotilla Leaders
6 Destroyers
9 Minesweepers
1 Guardship
24 Submarines
ความสูญเสีย

June–July 1942:[3]
35,866 men
78 guns
31 aircraft[4]
นาซีเยอรมนี 27,412

  • 4,264 killed
  • 21,626 wounded
  • 1,522 missing

ราชอาณาจักรโรมาเนีย 8,454

  • 1,597 killed
  • 6,571 wounded
  • 277 missing

30 October 1941 – 4 July 1942:
200,481 men[5]

156,880 killed or captured
43,601 wounded or sick

June–July 1942:
118,000 men[3]

95,000 captured (one-third wounded)
5,000 wounded
at least 18,000 killed

แม่แบบ:Campaignbox Crimea and Caucasus

แม่แบบ:Romanian military actions in World War II

การล้อมเซวัสโตปอล ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การป้องกันที่เซวัสโตปอล (รัสเซีย: Оборона Севастополя, transliteration: Oborona Sevastopolya) หรือ ยุทธการที่เซวัสโตปอล (German: Schlacht um Sewastopol) เป็นการสู้รบทางทหารที่เกิดขึ้นบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง การทัพครั้งนี้เป็นการสู้รบโดยฝ่ายอักษะ อันได้แก่ เยอรมนี โรมาเนีย และอิตาลี เข้าปะทะกับสหภาพโซเวียตจากพื้นที่ควบคุมที่เซวัสโตปอล ท่าเรือในแหลมไครเมียบนทะเลดำ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองกำลังทางภาคพื้นดินได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ไครเมียในฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1941 และรุกรานพื้นที่ส่วนใหญ่ วัตถุประสงค์เดียวที่ไม่ได้อยู่ในเงื้อมมือฝ่ายอักษะคือ เซวัสโตปอล ด้วยความพยายามหลายครั้งในการรักษาความปลอดภัยแก่เมืองในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ค.ศ. 1941 การโจมตีครั้งสำคัญได้ถูกวางแผนเอาไว้จากปลายเดือนพฤศจิกายน แต่เกิดฝนตกหนักทำให้ฝ่ายอักษะต้องเลื่อนการโจมตีจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ด้วยภายใต้การบัญชาการของแอริช ฟอน มันชไตน์ กองกำลังฝ่ายอักษะสามารถเข้ายึดครองเซวัสโตปอลในช่วงปฏิบัติการแรก กองทัพโซเวียตได้เปิดฉากการยกพลขึ้นบกบนคาบสมุทรไครเมียที่เคียร์ชในเดือนธันวาคม เพื่อบรรเทาวงล้อมและบีบบังคับให้ฝ่ายอักษะหันเหกองกำลังเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของพวกเขา ปฏิบัติการปกป้องเซวัสโตปอลสำหรับช่วงเวลานั้น แต่หัวสะพานในไครเมียตะวันออกได้ถูกทำลายในเดือพฤษภาคม ค.ศ. 1942

ภายหลังจากความล้มเหลวของการโจมตีครั้งแรกของพวกเขาที่เซวัสโตปอล ฝ่ายอักษะได้เลือกที่จะดำเนินสงครามการโอบล้อมจนกระทั่งช่วงกลางของปี ค.ศ. 1942 ที่ซึ่งจุดที่พวกเขาจะโจมตีกองทัพโซเวียตที่รอบล้อมด้วยทางพื้นดิน ทะเล และอากาศ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะได้เริ่มเปิดฉากปฏิบัติการในครั้งนี้ รหัสนามคือ Störfang (Sturgeon Catch) กองทัพแดงแห่งโซเวียตและกองเรือทะเลดำได้ก่อตั้งขึ้นเป็นเวลาถึงสัปดาห์ภายใต้การทิ้งระเบิดอย่างรุนแรงของฝ่ายอักษะ กองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟอ)ได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการล้อม เหล่าอากาศที่ 8 ได้ทำการทิ้งระเบิดลงใส่กองกำลังโซเวียตโดยไม่มีการยกเว้น ด้วยเครื่องบินจำนวน 23,751 ลำและทิ้งระเบิดจำนวน 20,528 ตันในช่วงเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ความรุนแรงของการทัพโจมตีทางอากาศของเยอรมันได้ไปไกลเกินกว่าการทิ้งระเบิดต่อเมืองของเยอรมันก่อนหน้านี้ เช่น วอร์ซอ รอตเทอร์ดาม หรือลอนดอน การล้อมได้ยุติลง มีเพียงอาคาร 11 หลังที่ไม่ถูกทำลายหลงเหลืออยู่ในเซวัสโตปอล ลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการจมหรือขัดขวางความพยายามส่วนใหญ่ของโซเวียตในการอพยพทหารของพวกเขาโดยทางทะเล กองทัพเยอรมันที่ 11 ได้เข้าปราบปรามและทำลายฝ่ายป้องกันด้วยการยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่จำนวน 46,750 ตันในช่วง Störfang

ในที่สุด เมื่อวันที่ 4 กรฏาคม ค.ศ. 1942 กองกำลังโซเวียตที่เหลือได้ยอมจำนนและฝ่ายเยอรมันได้ยึดท่าเรือ กองทัพแยกป้องกันชายฝั่งได้ถูกทำลายลง มีผู้ถูกสังหาร บาดเจ็บ หรือถูกจับกุมเป็นเชลยในการโจมตีครั้งสุดท้ายด้วยจำนวน 118,000 คน และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 200,481 นายในการล้อมโดยรวมสำหรับทั้งเรือและกองเรือทะเลดำของโซเวียต ฝ่ายอักษะได้พบกับความสูญเสียใน Störfang จำนวนประมาณ 35,866 นาย ซึ่งมีจำนวน 27,412 นาย เป็นชาวเยอรมัน และ 8,454 นายเป็นชาวโรมาเนีย ด้วยการที่กองกำลังโซเวียตได้ถูกกำจัดลง ฝ่ายอักษะได้มุ่งเป้าความสนใจของพวกเขาในการทัพช่วงฤดูร้อนของปีนั้น กรณีน้ำเงิน และการรุกรานของพวกเขาไปยังแหล่งน้ำมันเทือกเขาคอเคซัส

อ้างอิง[แก้]

  1. Melvin 2010, p. 276.
  2. Hayward 1998, p. 90.
  3. 3.0 3.1 Forczyk 2008, p. 90.
  4. Hayward 1998, p. 117.
  5. Krivosheev 1997, p. 107.