ข้ามไปเนื้อหา

เดอะบลิตซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การโจมตีแบบสายฟ้าแลบ
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่บริเตนของสงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่7 กันยายน 1940 – 10 พฤษภาคม 1941
(8 เดือน, 4 วัน)
สถานที่
สหราชอาณาจักร
ผล เยอรมันล้มเหลวทางยุทธศาสตร์
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร  ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ความสูญเสีย
~40,000[1]–43,000 civilians dead,[2] ~46,000 injured
figures for wounded possibly as high as 139,000[2]
Unknown
3,363 aircrew
2,265 aircraft (Summer 1940 – May 1941)[3]

เดอะบลิตซ์ (อังกฤษ: the Blitz) หมายถึงการทิ้งระเบิดเกือบทุกเมืองทั้งใหญ่และเล็กในสหราชอาณาจักรโดยนาซีเยอรมันอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2483 และวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 โดยกองทัพอากาศเยอรมัน (Luffwaffe) การเน้นหนักอยู่ที่นครลอนดอน เดอะบลิตซ์ ทำให้คนตาย 43,000 คน บ้านเรือนถูกทำลายมากกว่าหนึ่งล้านหลัง แต่ก็ไม่บรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้สหราชอาณาจักรหมดความสามารถในการทำสงคราม หรือหมดขีดความสามารถในการต่อต้านการรุกรานของนาซี

ถึงแม้ว่าคำว่า "บลิตซ์" (Blitz) เป็นคำย่อของ 'blitzkrieg' ซึ่งแปลว่า "การโจมตีสายฟ้าแลบ" แต่ยุทธการเดอะบลิตซ์กลับไม่ตรงความหมายคือรวดเร็วอย่างฟ้าแลบ แต่ได้กลายเป็นแบบอย่างของ "การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์" (strategic bombing)ที่ทุกฝ่ายนำไปใช้ในเวลาต่อมา

การโจมตีทางอากาศของนาซีต่อสหราชอาณาจักรได้เบาบางลงและทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง มาเริ่มต้นใหม่ในปี พ.ศ. 2487 โดยการโจมตีด้วยจรวด วี 1 และ วี 2

ผลของยุทธการเดอะบลิตซ์

[แก้]

เยอรมันประสบความล้มเหลวในการเอาชนะอังกฤษ ก่อนเกิดสงครามมีความเชื่อกันว่าการทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงจะทำให้คนอังกฤษเสียขวัญถึงจุดที่ทำให้รัฐบาลล้ม ฮิตเลอร์ถึงกับทำนายว่าชนชั้นกรรมกรจะเกลียดชังคนรวยและชนชั้นสูงและจะทำการปฏิวัติโดยการโหมการทิ้งระเบิดอย่างหนักของเยอรมัน ซึ่งเป็นการทำนายที่ผิด ถึงแม้ว่าสมเด็จพระราชินีจะเสด็จไปเยี่ยมประชาชนในย่านลอนดอนตะวันออกหรือ "อีสท์เอนด์" ซึ่งเป็นย่านคนจนและถูกโห่โดยประชาชนบางกลุ่ม แต่การเยือนโดยพระราชวงศ์ก็ได้ยกระดับขวัญและกำลังใจและยังความปลาบปลื้มแก่ประชาชนโดยรวมได้มาก

ฝ่ายเยอรมันสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาล บริเวณถูกระเบิดที่มีแต่กองซากปรักหักพังขนาดใหญ่ ล้วนเป็นที่ที่เคยมีอาคารตั้งอยู่ (หลายแห่งยังคงเหลือปรากฏให้เห็นจนถึงช่วงประมาณ พ.ศ. 2525) การโจมตีของเยอรมันทำให้ต้องถ่ายเททรัพยากรทั้งหมดไปทางด้านกลาโหมยังผลให้เกิดปัญหาการดำเนินชีวิตอย่างหนักไปทั้งประเทศ นอกจากการล้มตาย 43,000 คนแล้วยังมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 139,000 คนท่ามกลางบ้านที่ถูกทำลายนับล้านหลัง ส่วนการสูญเสียของฝ่ายเยอรมันในยุทธการเดอะบลิตซ์ครั้งนี้มีน้อยมาก เยอรมันเสียเครื่องบินทิ้งระเบิดไปเพียง 600 ลำ เทียบได้เท่ากับร้อยละ 1.5 ต่อเที่ยวบินที่เข้ามาทิ้งระเบิดทั้งหมดและเกือบทั้งหมดเป็นอุบัติเหตุจากการลงจอดที่ฐานขาบินกลับ

การที่เยอรมันทำความเสียแก่อังกฤษมากมาย แต่ฝ่ายเยอรมันสูญเสียน้อย ถือว่าเป็นความล้มเหลวของอังกฤษ ประเทศไม่ได้เตรียมพร้อมการโจมตีทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ในลักษณะนี้มาก่อน หลุมหลบภัยไม่เพียงพอ รัฐบาลต้องใช้สถานีรถใต้ดินถึง 80แห่งเป็นที่หลบภัยและใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักพิงสำหรับประชาชนมากถึง 177,000 คน ตรงกันข้ามกับฝ่ายเยอรมันที่ได้เตรียมตัวรับการทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายพันธมิตรในช่วงหลังของสงครามไว้เป็นอย่างดีโดยใช้ลอนดอนเป็นบทเรียน แต่ถึงกระนั้นจำนวนผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของฝ่ายพันธมิตรในภายหลังมีจำนวนสูงกว่าการทิ้งระเบิดในอังกฤษครั้งนั้นมากมาย และการทิ้งระเบิดในเยอรมันโดยฝ่ายพันธมิตรก็มีมากและหนักหน่วงกว่าเดอะบลิตซ์ในอังกฤษหลายเท่าตัว อาจกล่าวได้ว่าเดอะบลิตซ์ได้หวนกลับมาทำลายเมืองเบอร์ลิน แฮมเบิร์กและเมืองอื่น ๆ ของเยอรมันราบเป็นหน้ากลอง

เดอะบลิตซ์ทำให้อังกฤษหันมาปรับปรุงระบบป้องกันภัยทางอากาศเป็นการใหญ่ ซึ่งเป็นการช่วยให้อังกฤษรับมือกับการโจมตีทางอากาศของเยอรมันในรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งจรวดระเบิดวี 1 และ วี 2 ในช่วงปลายสงคราม

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Richards 1954, p. 217.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Foot and Dear 2005, p. 109.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hooton 2010, p. 89.