ปฏิบัติการยูเรนัส
ปฏิบัติการยูเรนัส | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่สตาลินกราดบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
ทหาร 1,143,500 นาย (including reserve)[1] รถถัง 894 คัน[1] ปืนใหญ่ 13,451 กระบอก[1] เครื่องบิน 1,500 ลำ[2] |
เยอรมัน: ทหาร 250,000+ นาย ไม่ทราบจำนวนปืนใหญ่ เครื่องบิน 732 ลำ (402 ลำที่ใช้งานได้) อิตาลี: ทหาร 220,000 นาย ไม่ทราบจำนวนปืนใหญ่และเครื่องบิน[3] โรมาเนีย: ทหาร 143,296 นาย ปืนใหญ่ 827 กระบอก รถถัง 134 คัน ไม่ทราบจำนวนเครื่องบิน[3] ฮังการี: ทหาร 200,000 นาย ไม่ทราบจำนวนปืนใหญ่และรถถัง[4] | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
รวม 789,600 นาย เสียชีวิต 330,000 นาย |
ทหารเยอรมัน 500,000 นาย ทหารฮังการี 157,000 นาย |
ปฏิบัติการยูเรนัส (รัสเซีย: Опера́ция «Ура́н», romanised: Operatsiya "Uran") เป็นรหัสนามของโซเวียต เมื่อวันที่ 19-23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 ปฏิบัติการทางยุทธศาสตร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้นำไปสู่การโอบล้อมกองทัพเยอรมันที่ 6, กองทัพโรมาเนียที่ 3 และ 4 และบางส่วนของกองทัพพันเซอร์ที่ 4 ของเยอรมัน ปฏิบัติการได้ถูกดำเนินที่ประมาณกึ่งกลางห้าเดือนที่ยาวนานของยุทธการที่สตาลินกราดและมุ่งเป้าไปที่การทำลายกองทัพเยอรมันทั้งในและรอบๆเมืองสตาลินกราด การวางแผนสำหรับปฏิบัติการยูเรนัส ได้เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1942 และได้ถูกพัฒนาขึ้นพร้อมแผนการโอบล้อมและทำลายกลุ่มกองทัพเยอรมันกลางและกองกำลังเยอรมันในเทือกเขาคอเคซัส กองทัพแดงได้ใช้ประโยชน์จากความน่าสังเวชของกองทัพเยอรมันในการเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาว และความจริงที่ว่ากองกำลังของตนในทางตอนใต้ของสหภาพโซเวียตนั้นเกินความสามารถใกล้กับสตาลินกราด ด้วยการใช้ความอ่อนแอของทหารโรมาเนียที่เป็นปีกป้องกันของพวกเขา จุดเริ่มต้นของการรุกตั้งอยู่ส่วนของแนวด้านหน้าที่ตรงข้างกับกองทัพโรมาเนีย ซึ่งกองทัพฝ่ายอักษะเหล่านี้ไม่ได้มีอาวุธหนักเพื่อรับมือกับยานเกราะของโซเวียต
เนื่องจากระยะทางของแนวหน้าถูกสร้างขึ้นโดยการรุกช่วงฤดูร้อนของเยอรมัน ได้มุ่งเป้าไปที่แหล่งน้ำมันเทือกเขาคอเคซัสและเมืองสตาลินกราด กองทัพเยอรมันและฝ่ายอักษะอื่นๆได้ถูกบังคับให้ต้องปกป้องส่วนที่ระยะทางที่ยาวไกลเกินกว่าที่พวกเขาตั้งใจจะยึดครอง ด้วยสถานการณ์ที่เลวร้ายโดยการตัดสินใจของเยอรมันในการย้ายกองพลยานยนต์หลายหน่วยจากสหภาพโซเวียตไปยังยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ หน่วยในพื้นที่ได้หมดไปหลังจากเดือนของการสู้รบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซึ่งได้เข้าร่วมในการสู้รบในสตาลินกราด เยอรมันได้นับแค่เพียงเหล่าพันเซอร์ที่ 48(XXXXVIII Panzer Corps) ซึ่งมีความแข็งแกร่งของกองพลพันเซอร์เดียว และกองพลแพนเซอร์เกรนาดีร์ที่ 29 เป็นหน่วยสำรองเพื่อสนับสนุนโรมาเนีย พันธมิตรของพวกเขาบนปีกของกองทัพเยอรมันที่ 6 ในทางตรงกันข้าม กองทัพแดงได้ใช้กำลังทหารมากว่าหนึ่งล้านนายเพื่อจุดประสงค์ในการเริ่มต้นของการรุกทั้งในและรอบๆสตาลินกราด การเคลื่อนไหวของกองกำลังโซเวียตนั้นมีปัญหา เนื่องจากความยากลำบากในการปกปิดจากการเตรียมความพร้อมของพวกเขา และหน่วยทหารโซเวียตโดยปกติจะมาถึงก็ล่าช้า เนื่องจากปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ ปฏิบัติการยูเรนัสถูกเลื่อนออกไปครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 17 พฤศจิกายน จากนั้นก็เลื่อนไปถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน
เวลา 7 นาฬิกา 20 นาทีซึ่งเป็นเวลาของกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน กองกำลังโซเวียตบนทางตอนปีกเหนือของกองกำลังฝ่ายอักษะที่สตาลินกราดได้เริ่มต้นการรุก กองกำลังในทางตอนใต้ได้เริ่มเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน แม้ว่าหน่วยทหารโรมาเนียจะสามารถต้านทานการโจมตีครั้งแรกไว้ได้ ในช่วงท้ายของวันที่ 20 พฤศจิกายน กองทัพโรมาเนียที่ 3 และ 4 ต้องล่าถอยอย่างแตกกระเจิง ดังนั้นกองทัพแดงก็ได้โอบล้อมกองพลทหารราบของเยอรมันได้หลายกองพล การเคลื่อนไหวของหน่วยสำรองของเยอรมันไม่แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันหน่วยยานยนต์หัวหอกของโซเวียตได้ ในขณะที่กองทัพที่ 6 ไม่อาจตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วพอหรืออย่างเด็ดขาดที่จะปลดปล่อยกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดและช่วยให้พวกเขาเอาชนะภัยคุกคามที่ใกล้เข้ามา โดยช่วงปลายวันที่ 22 พฤศจิกายน กองกำลังโซเวียตได้เชื่อมโยงกันไปที่เมืองคาลัช ล้อมรอบด้วยจำนวนประมาณ 290,000 นาย ทางตะวันออกของแม่น้ำดอน แทนที่จะพยายามในการเปิดวงล้อม ผู้นำเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ตัดสินใจที่จะรักษากองกำลังฝ่ายอักษะในสตาลินกราดและจัดหาสเบียงและอื่นๆให้กับพวกเขาทางอากาศ ในขณะเดียวกันผู้บัญชาการฝ่ายโซเวียตและฝ่ายเยอรมันก็ได้เริ่มวางแผนการเคลื่อนไหวครั้งต่อไป
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Glantz & House 1995, p. 134
- ↑ Bergström 2007, p. 87
- ↑ 3.0 3.1 Bergström 2007, p. 88
- ↑ Anthony Tihamer Komjathy (1982). A Thousand Years of the Hungarian Art of War. Toronto: Rakoczi Foundation. pp. 144–45. ISBN 0819165247.