ปฏิบัติการลิตเติลแซเทิร์น
ปฏิบัติการเสาร์น้อย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่สตาลินกราดบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() การรุกของโซเวียตในช่วงระหว่างปฏิบัติการยูเรนัส, มาร์ส และเสาร์. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ปฏิบัติการเสาร์(Operation Saturn),ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นปฏิบัติการเสาร์น้อย(Operation Little Saturn) เป็นปฏิบัติการของกองทัพแดงบนแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้นำไปสู่การสู้รบในทางภาคเหนือของเทือกเขาคอเคซัสและภูมิภาค Donets Basin ของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 1942 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943
ด้วยประสบความสำเร็จของปฏิบัติการยูเรนัส ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 เมื่อได้ดักล้อมทหาร 250,000-300,000 นายของกองทัพเยอรมันที่ 6 ของนายพลฟรีดริช เพาลุส และกองทัพพันเซอร์ที่ 4 ในสตาลินกราด เพื่อใช้ประโยชน์จากชัยชนะครั้งนี้ ฝ่ายเสนาธิการโซเวียตได้วางแผนที่จะเคลื่อนทัพฤดูหนาวอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติการการรุกระดับสูง, รหัสนามว่า "เสาร์"(Saturn) ต่อมาโจเซฟ สตาลินได้ลดแผนการระดับสูงของเขาเพื่อให้เป็นการทัพขนาดเล็กซึ่งมีรหัสนามว่า ปฏิบัติการเสาร์น้อย (Operation Little Saturn) การรุกได้ประสบความสำเร็จในการทำลายอิตาลีและฮังการีพันธมิตรของเยอรมนี การใช้ผลักดันต่อกองทัพเยอรมันที่ยึดครองในยูเครนตะวันออกและป้องกันไม่ให้การรุกของเยอรมันเพื่อป้องกันไม่ให้เปิดวงล้อมช่วยเหลือกองกำลังที่ติดอยู่ในสตาลินกราด ถึงแม้ว่าจะได้รับชัยชนะ กองทัพโซเวียตเหล่านี้ก็ขยายตัวมากขึ้น การตั้งค่าขั้นตอนสำหรับการรุกเยอรมันของยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3 และยุทธการที่คูสค์
เบื้องหลัง[แก้]
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 กองทัพเยอรมันกลุ่มเอและบีได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับต่อการรุกของกองทัพโซเวียตบริเวณรอบ ๆ เมืองฮาร์คอฟ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดยุทธการที่ฮาร์คอฟครั้งที่ 2 ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ยืดขยายออกไปในวันที่ 28 มิถุนายนจนนำไปสู่กรณีสีน้ำเงิน ซึ่งมุ่งเป้าหมายไปที่การเข้ายึดครองบ่อน้ำมันบนเทือกเขาคอเคซัส วันที่ 6 กรกฎาคม กองทัพยานเกราะที่สี่ของนายพลแฮร์มันน์ โฮทได้เข้ายึดเมืองโวโรเนซ โดยข่มขู่ว่าจะทำลายการต่อต้านของกองทัพแดง ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม กองทัพยานเกราะที่หนึ่งของเพาล์ ลูทวิช เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ได้เดินทางมาถึงศูนย์บ่อน้ำมันของไมคอฟ เพียงระยะทาง 500 กิโลเมตร(310 ไมล์) ทางตอนใต้ของเมืองรอสตอฟ ซึ่งถูกยึดครองโดยกองทัพยานเกราะที่สี่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม การรุกอย่างรวดเร็วของเยอรมันได้คุกคามเพื่อตัดขาดสหภาพโซเวียตออกจากดินแดนทางตอนใต้ ในขณะเดียวกันก็ข่มขู่ว่าจะตัดสายส่งเสบียงในโครงการให้ยืม-เช่าจากเปอร์เซีย อย่างไรก็ตาม การรุกนั้นเริ่มที่จะค่อยๆ หยุดลง ในขณะที่ขบวนขนส่งเสบียงของฝ่ายรุกได้พยายามอย่างเร่งรีบเพื่อไปให้ทันกับแนวหน้า และหน่วยรบหัวหอกเริ่มที่จะใช้เชื้อเพลิงและกำลังคนที่น้อยลง ตัวอย่างเช่น กองพลยานเกราะบางกองพลมีจำนวนรถถังเหลือเพียง 54 คัน ในท้ายที่สุด เยอรมันได้เปลี่ยนมุ่งเป้าไปที่สตาลินกราดในความพยายามยับยั้งการขนส่งเสบียงทางเรือบนแม่น้ำโวลก้า การเข้ายึดครองเมืองที่มีชื่อเดียวกันกับสตาลินนั้นยังหมายถึงการส่งเสริมทางจิตวิทยาสำหรับเยอรมัน และในทางกลับกัน เป็นการทำลายโซเวียตด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากหลายเดือนของการสู้รบอย่างดุเดือดซึ่งมากกว่า 90% ของเมืองถูกยึดครองโดยเยอรมัน จนในที่สุด เมืองแห่งนี้ก็ได้ทำลายกองทัพเยอรมันจนหมดสิ้น - กองทัพที่ 6 และหน่วยทหารจากกองทัพยานเกราะที่สี่ - พวกเขาได้พยายามซึ่งไม่ประสบความสำเร็จและเหน็ดเหนื่อยในการขับไล่กองกำลังป้องกันของโซเวียตที่หลงเหลืออยู่ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความสูญเสียอย่างสาหัสจากสู้รบครั้งนี้ แต่ที่สำคัญที่สุดสำหรับผลลัพธ์ช่วงสุดท้ายคือ เยอรมันได้หมดกำลังพลอย่างสาหัสสากรรจ์ ทำให้พวกเขาต้องถอดปีกกองกำลังออกมาเรื่อย ๆ โดยปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ไปอยู่ในมือของกองกำลังที่เกินความสามารถและขาดแคลนอุปกรณ์ของประเทศพันธมิตรอย่างอิตาลี ฮังการี และโรมาเนีย สถานการณ์อันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้น ในขณะที่ได้มีการพูดถึงอยู่หลายครั้งโดยความวิตกกังวลของเหล่านายพลเยอรมันซึ่งถูกเพิกเฉย และด้วยเหตุนี้จึงได้มีการกำหนดสถานการณ์สำหรับหายนะครั้งสุดท้ายสำหรับเยอรมันและประเทศพันธมิตร
ปฏิบัติการยูเรนัส[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความพยายามของเยอรมันในการบรรเทาวงล้อมสตาลินกราด[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
![]() |
บทความเกี่ยวกับทหาร การทหาร หรืออาวุธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร |