การล้อมออแดซา (ค.ศ. 1941)
(เปลี่ยนทางจาก การล้อมโอเดสซา (ค.ศ. 1941))
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
การล้อมออแดซา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ยานพาหนะและด่านของโซเวียตที่ถูกละทิ้งภายหลังการล้อมเมืองในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941 | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() ![]() |
![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() (Late) ![]() ![]() | ||||||
กองทัพ | |||||||
![]() ![]() |
![]() ![]() |
การล้อมออแดซา ชาวโซเวียตเรียก การป้องกันออแดซา กินเวลาตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ถึง 16 ตุลาคม ค.ศ. 1941 ในช่วงต้นของปฏิบัติการบาร์บารอสซา ซึ่งเป็นการรุกรานสหภาพโซเวียตของฝ่ายอักษะในคราวสงครามโลกครั้งที่สอง
ออแดซาเป็นท่าเรือบนทะเลดำในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน วันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะเข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ครั้นเดือนสิงหาคม ออแดซากลายเป็นเป้าหมายของกองทัพที่ 4 และบางกรมกองของกองทัพที่ 11 แต่เพราะการต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพอิสระที่ 9 ของสหภาพโซเวียต และกองทัพแยกป้องกันชายฝั่งที่ก่อตั้งขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการสนับสนุนจากกองเรือทะเลดำ ฝ่ายอักษะจึงต้องใช้เวลาถึง 73 วันในการปิดล้อม และต้องเข้าจู่โจมเมืองถึง 4 ครั้ง กองทัพโรมาเนียสูญเสียไพร่พล 93,000 คน ขณะที่กองทัพแดงสูญเสียไปราว 41,000 ถึง 60,000 คน[2]