ปฏิบัติการบากราติออน
ปฏิบัติการบากราติออน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
![]() เชลยศึกเยอรมันทั่วกรุงมอสโก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
![]() ![]() ![]() |
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
"กำลังพลแนวหน้า" 486,493 นาย[1] กำลังพลสนับสนุนและไม่ใช่กำลังรบ 400,000 นาย[2] รถถัง 118 คัน[3] รถปืนใหญ่อัตตาจร (assualt gun) 377 คัน[3] ปืนใหญ่ 2,589 กระบอก[3] อากาศยาน 602 ลำ[3] |
ทหารโซเวียต 2,331,700 นาย (ไม่รวมกำลังเพิ่มเติม) ทหารโปแลนด์ 79,900 นาย รถถัง 2,715 คัน[3] รถปืนใหญ่อัตตาจร 1,355 คัน[3] ปืนใหญ่ 24,363 กระบอก[3] อากาศยาน 5,327 ลำ[4] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
|
ปฏิบัติการบากราติออน (รัสเซีย: Oперация Багратион, อังกฤษ: Operaion Bagration) เป็นชื่อรหัสของปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบลารุส ค.ศ. 1944 ของโซเวียต ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกวาดล้องกำลังเยอรมนีออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุสและโปแลนด์ตะวันออก ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายนถึง 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944
ปฏิบัติการดังกล่าวตั้งตามชื่อของเจ้าชายจอร์เจียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 ปิออตร์ บากราติออน (Pyotr Bagration) ซึ่งเป็นพลเอกแห่งกองทัพจักรวรรดิรัสเซียผู้ทรงได้รับบาดแผลฉกรรจ์ในยุทธการโบโรดีโน กองทัพดซเวียตซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการบากราติออนโดยตรงมีแนวรบบอลติกที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกอีวาน บากราเมียน, แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี ผู้ได้รับการเลื่อนยศเป็นจอมพลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1944, แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 2 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก (Colonel-General) จี. เอฟ. ซาฮารอฟ และแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 3 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอก (Colonel-General) อีวาน เชเนียฮอฟสกี ปฏิบัติการดังกล่าวลงเอยด้วยการที่กองทัพกลุ่มกลางของเยอรมนีเกือบถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิงและกองทัพที่เป็นส่วนของกองทัพกลุ่มกลาง ได้แก่ กองทัพที่ 4, กองทัพแพนเซอร์ที่ 3 และกองทัพที่ 9 มัน "เป็นความพ่ายแพ้อย่างหายนะที่สุดของกองทัพเยอรมันทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่สอง"[12] เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการ สหภาพโซเวียตตะวันตกส่วนมากได้รับการพิชิตคืนและกองทัพแดงได้ฐานที่มั่นคงในโรมาเนียและโปแลนด์
เป้าหมายของปฏิบัติการนี้ซับซ้อนกว่ามาก กองทัพแดงปรับใช้มโนทัศน์การปฏิบัติการเชิงลึกโซเวียต ยุทธการเชิงลึกโซเวียตและมาสกีรอฟกา (การลวงทางทหาร) นวัตกรรมของโซเวียตเหล่านี้เป็นไปได้ส่วนหนึ่งเพราะการจัดหารถบรรทุกกว่า 220,000 คันจากสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ทหารราบโซเวียตมียานยนต์ มีการเสนอแนะว่า เป้าหมายหลักของการรุกครั้งนี้ คือ หัวสะพานบนแม่น้ำวิสตูล่าทางตอนกลางของโปแลนด์ และปฏิบัติการบากราติออนนั้นเพื่อสร้างวิกฤตการณ์ในเบลารุสเซียเพื่อหันกองหนุนเคลื่อนที่เร็วไปยังส่วนกลางโดยเป็นส่วนหนึ่งของมาสกีรอฟกา ให้ออกมาจากพื้นที่ลูบลิน-เบรสท์, ลวอฟ-ซันโดเมียร์ซที่ซึ่งโซเวียตตั้งใจจะดำเนินการการรุกลวอฟ-ซานโดเมียร์ซ[13] และการรุกลุบลิน-เบรสท์[14]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Frieser 2007, p. 531.
- ↑ Zaloga 1996, p. 22.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Frieser 2007, p. 534.
- ↑ Glantz & House 1995, p. 201.
- ↑ Glantz&Oreinstein 2004, p. 176.
- ↑ Zaloga 1996, p. 71
- ↑ Frieser p. 593–594
- ↑ Bergstrom 2008, p. 82.
- ↑ Glantz & House 1995, p. 298.
- ↑ Krivosheev 1997, p. 371.
- ↑ 11.0 11.1 Krivosheev 1997, p. 203.
- ↑ Zaloga 1996, p. 7.
- ↑ Watt 2008, p. 699.
- ↑ Watt 2008, p. 669.
บรรณานุกรม[แก้]
- Adair, Paul (1994). Hitler's Greatest Defeat: The collapse of Army Group Centre, June 1944. Weidenfeld Military. ISBN 1-85409-232-4.CS1 maint: ref=harv (link)
- Beevor, Antony; Vinogradova,, Luba, บ.ก. (2006). A Writer at War: Vasily Grossman with the Red Army. Pimlico. ISBN 978-1-84595-015-6.CS1 maint: extra punctuation (link) CS1 maint: ref=harv (link)
- Bergstrom, Christer (2007). Bagration to Berlin: The Final Air Battles in the East: 1944–1945. Ian Allen. ISBN 978-1-903223-91-8.CS1 maint: ref=harv (link)
- Buchner, Alex (1991). Ostfront 1944: The German Defensive Battles on the Russian Front 1944. West Chester, PA: Schiffer Military History. ISBN 0-88740-282-8.CS1 maint: ref=harv (link)
- Connor, William M. (1987). "Analysis of Deep Attack Operations: Operation Bagration, Belorussia, 22 June - 29 August 1944" (PDF). Fort Leavenworth, KS: Combat Studies Institute. สืบค้นเมื่อ 18 March 2012. Unknown parameter
|separator=
ignored (help)CS1 maint: ref=harv (link) - Dunn, W. (2000). Soviet Blitzkrieg: The Battle for White Russia, 1944. Lynne Riener. ISBN 978-1-55587-880-1.CS1 maint: ref=harv (link)
- Frieser, Karl-Heinz, บ.ก. (2007). Das Deutsche Reich und der Zweite Weltkrieg - Vol. 8: Karl-Heinz Frieser, Klaus Schmider, Klaus Schönherr, Gerhard Schreiber, Kristián Ungváry, Bernd Wegner: Die Ostfront 1943/44 - Der Krieg im Osten und an den Nebenfronten. München: Deutsche Verlags-Anstalt. ISBN 978-3-421-06235-2.CS1 maint: ref=harv (link)
- Glantz, David M. Beylorussia 1944—The Soviet General Staff Study. Text "Glantz, D.M.]]
" ignored (help)CS1 maint: ref=harv (link)
- Glantz, David M. (1989). Soviet Military Deception in the Second World War. London: Frank Cass. ISBN 0-7146-3347-X.CS1 maint: ref=harv (link)
- Glantz, David M. (2002). The Battle for L'vov, July 1944. Routledge Press. ISBN 978-0-7146-5201-6.CS1 maint: ref=harv (link)
- Glantz, David M.; House, Jonathan (1995). When Titans Clashed: How the Red Army Stopped Hitler. Lawrence, Kansas: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-0899-0.CS1 maint: ref=harv (link)
- Hastings, Max (2004). Armageddon: The Battle for Germany, 1944–1945. Macmillan. ISBN 0-333-90836-8.CS1 maint: ref=harv (link)
- Hinze, R. Ostfrontdrama 1944: Rückzugskämpfe der Heeresgruppe Mitte.CS1 maint: ref=harv (link)
- Krivosheev, G.F. (1997). Soviet Casualties and Combat Losses in the Twentieth Century. London: Greenhill Books. ISBN 1-85367-280-7.CS1 maint: ref=harv (link)
- Merridale, C. (2006). Ivan's War: Inside the Red Army, 1939–45. Faber. ISBN 978-0-571-21809-7.CS1 maint: ref=harv (link)
- Mitcham, S. (2007). German Defeat in the East, 1944–5. Stackpole.CS1 maint: ref=harv (link)
- Niepold, G., translated by Simpkin, R. (1987). Battle for White Russia: The Destruction of Army Group Centre June 1944. London: Brassey's. ISBN 0-08-033606-X.CS1 maint: ref=harv (link)
- Watt, Robert N. (2008). "Feeling the Full Force of a Four Front Offensive: Re-Interpreting the Red Army's 1944 Belorussian and L'vov-Peremshyl' Operations". The Journal of Slavic Military Studies. Routledge Taylor & Francis Group. 21 (4): 669–705. doi:10.1080/13518040802497564. Unknown parameter
|month=
ignored (help)CS1 maint: ref=harv (link) - Zaloga, S. (1996). Bagration 1944: The Destruction of Army Group Centre. Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-478-7.CS1 maint: ref=harv (link)
- Ziemke, Earl F. (1969). Battle For Berlin: End Of The Third Reich London. Macdonald & Co.CS1 maint: ref=harv (link)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ปฏิบัติการบากราติออน |