ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

พิกัด: 13°46′34″N 100°30′27″E / 13.776140°N 100.507380°E / 13.776140; 100.507380
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
St. Gabriel’s College

ที่ตั้ง
แผนที่
565 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ข้อมูล
ชื่ออื่นซ.ค. หรือ S.G.
ประเภทโรงเรียนเอกชน
สถาปนา6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ผู้ก่อตั้งเจษฎาจารย์ มาร์ติน เดอ ตูรส์
ผู้อำนวยการภราดา ดร. สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีนกลาง
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
เยอรมนี ภาษาเยอรมัน
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
สี   น้ำเงิน และขาว
คำขวัญLabor Omnia Vincit
"ความวิริยอุตสาหะเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ"
เพลงมาร์ชเซนต์คาเบรียล
เว็บไซต์http://www.sg.ac.th/

โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (อังกฤษ: St. Gabriel's College) เป็นโรงเรียนชายล้วนขนาดใหญ่ ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ตั้งอยู่บนถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เปิดสอนนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 คำว่า "เซนต์คาเบรียล" ในชื่อโรงเรียนนั้น จึงมาจากชื่อคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ผู้ก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนเซนต์คาเบรียลเป็นโรงเรียนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศ และคุณภาพของนักเรียนและศิษย์เก่าที่จบไป[ต้องการอ้างอิง]

โรงเรียนเซนต์คาเบรียลเป็นหนึ่งในสองของโรงเรียนในเครือฯ ที่ใช้สีประจำสถาบันคือ กรมท่าขาว (อีกโรงเรียนหนึ่งที่ใช้สีน้ำเงินขาวคือโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง) และมีเพียงวิทยาเขตเดียว เช่นเดียวกับ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยและโรงเรียนเซนต์หลุยส์

ประวัติของโรงเรียน

[แก้]
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ภาพถ่ายราวก่อนปี 1922

ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสงบลง โรงเรียนอัสสัมชัญได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เจษฎาจารย์มาร์ติน เดอ ตูรส์ และคณะที่ปรึกษา มีแนวความคิดที่จะเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงเรียนอัสสัมชัญ ประกอบกับท่านได้รับข้อเสนอ จากบาทหลวงบรัวซา อธิการโบสถ์นักบุญฟรังซิสซาเวียร์ เสนอให้ที่ดินบริเวณถนนสามเสน เป็นสถานที่ก่อสร้าง

การขยายตัวมาเปิดโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ในฐานะสาขาที่สองของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล มิได้เกิดขึ้นท่ามกลางสภาพบ้านเมืองปกติ แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ห่างจากสงครามครั้งนั้นมาก แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม ทำให้วัสดุที่จำเป็นสำหรับการก่อสร้างขาดแคลน และมีราคาแพง ขณะที่แรงงานกรรมกรก็เป็นสิ่งหายากเช่นกัน

เจษฎาจารย์มาร์ตินจึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 โดยท่านเป็นนายช่างสถาปนิกออกแบบให้คำปรึกษาเอง และมีนายเบเกอแลง (Mr. Be'quelin) เป็นวิศวกร ในขณะที่ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนอยู่นั้น ได้ใช้บ้านของนายเบอลี่ เป็นโรงเรียนชั่วคราว ในปีแรกมีนักเรียนทั้งสิ้น 141 คน

โรงเรียนสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 ตามปฏิทินไทยเดิม (ตรงกับคริสต์ศักราช 1921 ของปฏิทินสากล) มีตึกหลังใหญ่เรียกว่า "ตึกแดง" โดยส่วนที่เป็นไม้ใช้ไม้สักทั้งสิ้น ซึ่งบริษัทบอมเบย์เบอรม่า เป็นผู้ติดต่อส่งวัสดุต่าง ๆ ในการก่อสร้าง คิดตามบัญชีที่บันทึกไว้ทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ หนึ่งแสนเศษ ในระยะแรกรู้จักกันในนาม "โรงเรียนอัสสัมชัญ สามเสน" และได้รับบุคลากรจากโรงเรียนอัสสัมชัญไปช่วยก่อร่างสร้างตัว ด้วยเหตุนี้เองในปีแรกจึงมีนักเรียนมาสมัครเป็นจำนวนถึง 150 คน

สถานที่ตั้ง

[แก้]

ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งโรงเรียนมีบริเวณติดต่อกับชุมชนที่หลากหลายมาก โดยอาณาเขตด้านหลังโรงเรียนติดกับโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ อ้อมมาทางด้านซ้าย ทางซอยสามเสน 13 (มิตรคาม) จะติดกับที่ดินของโบสถ์เซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ ซึ่งจะมีบ้านเรือนร้านค้าทางด้านติดถนนสามเสน แล้วถัดมาในซอยมิตรคามก็จะเป็นสุสานของโบสถ์ฯ และที่พัก ฝั่งตรงข้ามกับเขตโรงเรียนเดิม ก็รายล้อมด้วยสถานศึกษาอื่น ๆ ในละแวกโรงเรียนได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โรงเรียนวัดราชาธิวาส สมาคมนักเรียนเก่าเบญจมบพิตรในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และหอสมุดแห่งชาติ

ปรัชญา

[แก้]

ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนมี 2 อย่าง คือ

  1. จุดหมายของชีวิต คือ การรู้จักสัจธรรมความจริง และการเข้าถึงธรรมอันสูงส่ง อันเป็นบ่อเกิดของชีวิต
  2. มนุษย์ทุกคนต้องทำงาน ความวิริยะ อุตสาหะ เป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ (Labor Omnia Vincit)

อนึ่ง คำว่า "Labor Omnia Vincit" ดังที่ปรากฏอยู่ในตราประจำคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เป็นคำจากภาษาละติน

ตราประจำโรงเรียน

[แก้]

ตราประจำโรงเรียนใช้ตราของคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ซึ่งสถาบันการศึกษาในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียลทั้งหมดใช้ตรานี้เป็นตราประจำสถาบันร่วมกัน ตรงกลางตราเป็นรูปโล่แบ่งสี่ซีก มีสัญลักษณ์ดังนี้

A.M. และ ช่อดอกซ่อนกลิ่นสีขาว

[แก้]

A.M. มาจากคำละตินว่า "Ave Marie" หมายถึง "วันทามารีย์" หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง "Alma Mater" หมายถึง "โรงเรียนแม่" — ส่วนดอกซ่อนกลิ่น แสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่นักเรียนทุกคนต้องพยายามทำตนให้เป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และ ใจ อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม — ในส่วนนี้จึงมีความหมายรวมว่า โรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านเกิดที่ทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัว มีพระนางมารีอาเป็นที่รักเคารพและบูชาร่วมกันไม่แยกแยะว่าใครมีหรือจน ความรักและความสุขที่มีต่อครอบครัว ต่อแม่ที่มีร่วมกันเป็นความบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจเสมอ ไม่ว่าอยู่ ณ ที่แห่งใด

รูปเรือใบ และ ดาวเหนือเรือ

[แก้]

เปรียบได้กับ "นาวาชีวิต" ที่จะต้องต่อสู้คลื่นลมและแสงแดดไปจนถึงฝั่ง เป็นคติให้ได้คิดเสมอว่า "ชีวิตคือการต่อสู้" มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึงแสดงแห่งความหวัง ได้แก่ แสงธรรมแห่งศาสนา กับแสดงแห่งปัญญา จากสรรพวิทยาการที่ได้รับจากโรงเรียนรวมกันเป็นดวง ประทีป ส่องนำชีวิต (คือคนที่อยู่ในเรือ) ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ด้วยคุณธรรม และปัญญา

อักษร DS และไม้กางเขน

[แก้]

ย่อจากภาษาฝรั่งเศส "Dieu Seul" หมายความว่า จะทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระเจ้า เป็นคติพจน์ของนักบุญหลุยส์ เดอ มงฟอร์ ผู้สถาปนาคณะเซนต์คาเบรียล — โดยอีกนัยหนึ่ง D หรือ Divinity หมายถึงศาสนา ซึ่งเราทุกคนต้องมีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ, เครื่องหมายกางเขน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก และความเสียสละ ดังที่พระคริสต์ได้ทรงสละชีวิตของพระองค์ด้วยความรัก ที่จะช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์, S หรือ Science หมายถึงวิทยาการ ความรู้ที่ทำให้เรามีเหตุผล เราทุกคนควรจะมุ่งหาความรู้อยู่เสมอ ยิ่งเรามีความรู้ฝ่ายโลกมากขึ้นเท่าได เราก็ยิ่งควรสนใจหาความรู้ฝ่ายธรรมให้มากขึ้นเท่านั้น

สำหรับพวงดอกไม้ที่ประดับโล่ เป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีให้เชิดชู และจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไป

สถานที่สำคัญภายในโรงเรียน

[แก้]

ตึกมาร์ติน เดอ ตูรส์ หรือ ตึกแดง (พ.ศ. 2463)

[แก้]

เป็นตึก 3 ชั้นเก่าแก่ที่สุด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 โดยท่านเจษฎาจารย์มาร์ติน เดอ ตูรส์ อธิการท่านแรกเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างเองด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก บัดนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเซนต์คาเบรียลไปแล้ว ซึ่งได้รับการบูรณะและอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่โรงเรียน ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอน พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง ห้องเกียรติยศ และห้องประชุมแบบครบวงจร

ตึกเดอ มงฟอร์ต

[แก้]

เป็นอาคาร 4 ชั้น ชั้นล่าง และชั้นสองเป็นโรงอาหารนักเรียน และหอประชุม มีห้องสมุดกลาง พิพิธภัณฑ์ผีเสื้อและแมลงของภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอย พิพิธภัณฑ์เรือจำลอง พิพิธภัณฑ์แร่และซากฟอสซิล ห้องเรียนและฝึกซ้อมศิลปะการแสดงนาฏศิลป์(โขน) ดนตรีไทย และดนตรีสากล

ตึกจอห์น แมรี่

[แก้]

เป็นอาคารที่พักของอาจารย์ชาวต่างชาติ มีประตูเชื่อมจากภายนอกโรงเรียน

ตึกเกรก ยิมเนเซียม (พ.ศ. 2514)

[แก้]

เป็นตึก 5 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 มีสนามบาสเกตบอลในร่มพร้อมอัฒจันทร์เชียร์ ชั้นบนใช้เป็นห้องเรียนชั้นประถมศีกษาปีที่ 6 ห้องกิจกรรมทางภาษาต่างประเทศ(ภาษาจีน) และเป็นลานเอนกประสงค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศีกษาปีที่ 6

ตึกฟาติมา ร.ศ.200 (พ.ศ. 2523)

[แก้]

เป็นตึก 7 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นอาคาร 7 ชั้น โดยอาคารหลังนี้ใช้เป็นห้องเรียนชั้น ป.1-2 และ ป.5 ทุกห้องติดเครื่องปรับอากาศ สนามเทนนิส และสนามบาสเกตบอล รวมทั้งห้องคอมพิวเตอร์ระดับประถม ห้องกิจกรรมภาษาอังกฤษ ห้องพยาบาลแผนกประถมศึกษา ชั้น 7 เดิมที่เป็นสนามเทนนิส ปัจจุบันปรับเป็นห้องกิจกรรมย่อย มีสนามเด็กเล่นอยู่ชั้น 3

ตึกฮิวเบิร์ต เมโมเรียล (พ.ศ. 2529)

[แก้]

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคาร 4 ชั้น มีที่จอดรถครู สระว่ายน้ำ ศูนย์ภาษาต่างประเทศโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ห้องสอบรวม และส่วนงานซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ (ที่ตั้งของสมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล)

ตึกแอนดรูว์ เมโมเรียล 2000 (พ.ศ. 2544)

[แก้]

เป็นตึก 6 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2544 ใช้เป็นสถานที่เรียนของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ห้องพยาบาลแผนกมัธยมศึกษา ห้องพักครูหมวดภาษาต่างประเทศ โบสถ์น้อยประจำโรงเรียน และห้องพักคณะภราดา

ตึกแม่พระ (พ.ศ. 2550)

[แก้]

สร้างเมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อทดแทนตึกแม่พระหลังเดิม และตึกวิทยาศาสตร์ ซึ่งทรุดโทรมลงตามกาลเวลา และหมดสภาพการใช้สอย เป็นอาคารเรียน 6 ชั้น รวมรวมชั้นใต้ดิน ภายนอกประดิษฐานรูปปั้นพระแม่มารีทรงแผ่พระหัตถ์ประทานพรงดงามมาก ภายในอาคารมีลานจักรราษี เป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 มีโรงยิมเนเซียม ซึ่งมีสนามบาสเกตบอลในร่มขนาดมาตรฐาน โต๊ะกิจกรรมกีฬาปิงปอง และสระว่ายน้ำในร่มขนาดใหญ่สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โถงชั้นใต้ดินสามารถใช้เข้าแถวและจัดกิจกรรมอื่นๆได้ มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ครบวงจร ห้องกิจกรรมทางภาษา ห้องออดิทอเรียม ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของระดับชั้นมัธยมศึกษา ห้องแนะแนว ห้องปกครอง ห้องศิลปะ ห้องพลศึกษา และห้องปฏิบัติการส่งเสริมการคิด (Thinking lab)

ตึก 90 ปี เซนต์คาเบรียล (พ.ศ. 2553)

[แก้]

เป็นอาคาร 5 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553 เป็นห้องประชุมสัมมนา ห้องทำงานภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ ที่ทำงานฝ่ายบริหารอาคารสถานที่ ที่ทำงานสมาคมผู้ปกครองและครูฯ ห้องปฏิบัติงานพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามแนวมนุษยปรัชญา และศูนย์การเรียนร่วมของนักเรียนผู้พิการทางสายตา มีทางเชื่อมกับสะพานลอยคนข้ามหน้าโรงเรียน

ตึก Annunciation หรือ ตึกแม่พระรับสาร (พ.ศ. 2555)

[แก้]

สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2555 เป็นสถานที่เรียนของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติธรรม (มีพระบรมสารีริกธาตุจำลอง)

สนามมาร์ติน เดอ ตูรส์

[แก้]

สนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาดใหญ่ที่ใช้หญ้าเทียมคุณภาพสูง ล้อมสนามสองด้านด้วยอัฒจันทร์เชียร์ที่มีหลังคาผ้าใบเลื่อนเปิดปิดได้

เจษฏาธิการและผู้บริหาร

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ภราดา มาร์ติน เดอ ตูรส์ ค.ศ.1920 - ค.ศ.1926
2 ภราดา เฟเดอริก ยัง (สมัยที่ 1) ค.ศ.1926 - ค.ศ.1932
3 ภราดา ฮิวเบิร์ต (สมัยที่ 1) ค.ศ.1932 - ค.ศ.1938
4 ภราดา เฟเดอริก ยัง (สมัยที่ 2) ค.ศ.1938 - ค.ศ.1941
5 ภราดา เทโอฟาน เวอนาร์ด ชิน บุณยานันท์ ค.ศ.1941 - ค.ศ.1944
6 ภราดา เอลอยเซียส ค.ศ.1944 - ค.ศ.1947
7 ภราดา มงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ ค.ศ.1947 - ค.ศ.1953
8 ภราดา ยอห์น มารี ค.ศ.1953 - ค.ศ.1955
9 ภราดา ฮิวเบิร์ต (สมัยที่ 2) ค.ศ.1955 - ค.ศ.1961
10 ภราดา มงฟอร์ต เดอ โรซาริโอ (สมัยที่ 2) ค.ศ.1961 - ค.ศ.1966
11 ภราดา อัลฟอนซัส เดอ ลิกัวรี โยธิน ศันสนยุทธ ค.ศ.1966 - ค.ศ.1968
12 ภราดา ดร. ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ ค.ศ.1968 - ค.ศ.1974
13 ภราดา ฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ (สมัยที่ 1) ค.ศ.1974 - ค.ศ.1977
14 ภราดา มีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ค.ศ.1977 - ค.ศ.1983
15 ภราดา ฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ (สมัยที่ 2) ค.ศ.1983 - ค.ศ.1985
16 ภราดา ดร. บัญชา แสงหิรัญ ค.ศ.1985 - ค.ศ.1991
17 ภราดา อรุณ เมธเศรษฐ์ ค.ศ.1991 - ค.ศ.1997
18 ภราดา เลโอ โยเซฟ ดร. วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ ค.ศ.1997 - ค.ศ.2003
19 ภราดา ดร. อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ ค.ศ.2003 - ค.ศ.2013
20 ภราดา ผศ.ดร. วินัย วิริยวิทยาวงศ์ ค.ศ.2013 - ค.ศ.2018
21 ภราดา ดร. มณฑล ประทุมราช ค.ศ.2018 - ค.ศ.2022
22 ภราดา ดร. สุรกิจ ศรีสราญกุลวงศ์ ค.ศ.2022 - ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]
สมาคมศิษย์เก่าเซนต์คาเบรียล
ศิลปินและนักแสดง

หมายเหตุ ตัวอักษร SG หมายถึง หมายเลขประจำตัวนักเรียนของผู้นั้น

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°46′34″N 100°30′27″E / 13.776140°N 100.507380°E / 13.776140; 100.507380