ขวัญแก้ว วัชโรทัย
ขวัญแก้ว วัชโรทัย | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2471 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 28 มกราคม พ.ศ. 2560 ( 88 ปี 147 วัน) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | ไทย |
คู่สมรส | พล.ต.หญิง พญ.ท่านผู้หญิง วัฒนา วัชโรทัย |
บุตร | ฐานิสร์ วัชโรทัย ดร.ดิสธร วัชโรทัย |
ศาสนา | พุทธ |
ขวัญแก้ว วัชโรทัย (3 กันยายน พ.ศ. 2471 - 28 มกราคม พ.ศ. 2560) เป็นอดีตรองเลขาธิการพระราชวัง เป็นคู่แฝดกับแก้วขวัญ วัชโรทัย อดีตเลขาธิการพระราชวัง[1]
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
ขวัญแก้ว วัชโรทัย เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2471 เป็นบุตรของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) และท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร มีศักดิ์เป็นหลานน้าในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อ แก้วขวัญ-ขวัญแก้ว เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขวัญแก้ว วัชโรทัย สมรสกับ พลตรีหญิง แพทย์หญิง ท่านผู้หญิงวัฒนา วัชโรทัย โดยได้รับสมรสพระราชทานเป็นคู่แรกในรัชกาลที่ 9 มีบุตรชาย 2 คน คือ
- ฐานิสร์ วัชโรทัย อดีตวิทยากรพิเศษ สำนักราชเลขาธิการ
- ดร.ดิสธร วัชโรทัย อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง (ถูกไล่ออกจากราชการ, เรียกคืนยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมด เนื่องจากประพฤติชั่วช้าอย่างร้ายแรง[2][3])
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- วิชาการบริหารโรงแรมจากโรงเรียนสอนวิชาการโรงแรม โลซาน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นนักเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ. 2546
การทำงาน[แก้]
- เริ่มรับราชการที่สำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493
- พ.ศ. 2495 ทำหน้าที่นายสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวัง ทำหน้าที่แจ้งเหตุสำคัญ เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในเวลาต่อมา
- รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
- นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการโรงเรียนวังไกลกังวล
ถึงแก่อสัญกรรม[แก้]
นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ได้เข้ารับการรักษาภาวะโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันมาระยะหนึ่งด้วยการรักษาทางยา ในห้องไอซียู โรงพยาบาลศิริราช และได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อเวลา 04.48 น. วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560 ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานโกศมณฑป หีบขาวลายทอง ตั้งประดับเกียรติยศ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอด โอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯแทนพระองค์ ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเชิญพวงมาลาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วางที่หน้าโกศศพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2539 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)[4]
- พ.ศ. 2529 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ( ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2524 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2548 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[7]
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1
- พ.ศ. 2534 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ภ.ป.ร.2)[8]
เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัตินายขวัญแก้ว วัชโรทัย จากเว็บไซต์โรงเรียนวังไกลกังวล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง พระราชทานพระราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/062/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เล่ม ๑๑๓ ตอน ๗ ข ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๙) ฉบับพิเศษ หน้า ๑ เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ [ผู้กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน] , เล่ม ๑๒๒, ตอน ๒๒ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2471
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย
- ข้าราชการในพระองค์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- สกุลวัชโรทัย
- สกุลสุจริตกุล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2
- เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว