บัญชา แสงหิรัญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัญชา แสงหิรัญ
ไฟล์:บัญชา แสงหิรัญ.jpg
อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าธนู กุลชล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
ศาสนาศาสนาคริสต์ (โรมันคาทอลิก)

ภราดา บัญชา แสงหิรัญ[1] หรือ ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน เริ่มเข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา [2] และได้บวชเณรก่อนจะย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเซนคาเบรียลจนจบมัธยมปีที่ 8 ก่อนที่คณะเซนคาเบรียลได้ส่งตัวท่านไปศึกษาความเป็นอยู่และพระวินัยที่นวกสถาน ประเทศอินเดียเป็นเวลา 2 ปี จนได้เป็นบราเดอร์ ต่อมาได้ถูกแต่งตั้งเป็น ภราดา เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นนักบวชสังกัดคณะภราดาเซนต์คาเบรียลประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่ง อธิการโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี อธิการโรงเรียนเซนต์คาเบรียล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค)[3]และที่ปรึกษา มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม[4]

การศึกษา[แก้]

  • ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ประเทศฟิลิปปินส์
  • ระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการโรงเรียน วิทยาลัยเซนต์แมรีส์แห่งแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • Postdoctoral studies สาขาวิชาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยวอร์วิก ประเทศอังกฤษ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ภราดา ดร.บัญชา แสงหิรัญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2014-03-09.
  2. "Bro. Bancha's Works > Interviews หน้า 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-16.
  3. "Bro. Bancha's Works > Interviews หน้า 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-07-16.
  4. [www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/009/T_0001.PDF พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๔๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]