ข้ามไปเนื้อหา

เตียวเลี้ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตียวเลี้ยว
張遼
ภาพวาดเตียวเลี้ยวในสมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลฝ่ายหน้า (前將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 220 (220) – ค.ศ. 222 (222)
กษัตริย์โจผี
ขุนพลโจมตีภาคตะวันออก (征東將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 215 (215) – ค.ศ. 220 (220)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ขุนพลปราบโจร (盪寇將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 205 (205) – ค.ศ. 215 (215)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ (ตั้งแต่ ค.ศ. 208)
นายกองทหารม้า (騎都尉)
(ภายใต้ลิโป้)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 192 (192) – ค.ศ. 198 (198)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 169[a]
Shuocheng District Shuozhou มณฑลส่านซี
เสียชีวิตปลาย ค.ศ. 222 (53 ปี)[a]
อำเภอเจียงตู หยางโจว มณฑลเจียงซู
บุตร
  • Zhang Hu
  • ลูกชายอย่างน้อยหนึ่งคน
อาชีพขุนพล
ชื่อรองเหวินยฺเหวียน (文遠)
ชื่อหลังเสียชีวิตกังโหว (剛侯)
ตำแหน่งจิ้นหยางโหว (晉陽侯)

เตียวเลี้ยว (ค.ศ. 169 – ปลาย ค.ศ. 222)[a][6] ชื่อรอง เหวินยฺเหวียน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลคนสำคัญของโจโฉ เดิมอยู่รับใช้ลิโป้ ต่อมาลิโป้ถูกจับได้ที่เมืองแห้ฝือถูกประหาร ส่วนเตียวเลี้ยวโจโฉเกลี้ยกล่อมให้มาร่วมงานด้วย และเป็นบุคคลที่กวนอูให้ความเคารพนับถือ เพราะนับถือในความซื่อสัตย์และฝีมือ ทั้ง ๆ ที่อยู่คนละฝ่ายกัน ซึ่งเตียวเลี้ยวเป็นคนที่อาสาโจโฉไปเกลี้ยกล่อมกวนอูขณะที่แตกทัพให้มาอาศัยอยู่ชั่วคราวกับโจโฉนั่นเอง

ตันซิ่ว ผู้เขียนจดหมายเหตุสามก๊ก จัดให้เตียวเลี้ยวเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือแห่งวุยก๊ก ร่วมกับอิกิ๋ม เตียวคับ งักจิ้น และซิหลง[7]

ประวัติ

[แก้]

เตียวเลี้ยวเป็นขุนพลที่มีความชำนาญทั้งในพิชัยสงคราม กลศึก การรบบนหลังม้า จึงมักได้รับหน้าที่ภาระสำคัญจากโจโฉเสมอ ๆ แม้จะเป็นขุนพลผู้มาสวามิภักดิ์ภายหลัง เช่นการรักษาเมืองหับป๋า ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการรบกับซุนกวน ซึ่งเตียวเลี้ยวก็สามารถทำหน้าที่ได้ดี นอกจากจะรักษาฐานที่มั่นไว้ได้โดยตลอดแล้ว ยังสามารถเป็นฝ่ายรุก รบชนะทัพง่อหลายครั้ง จนเกือบจะจับเป็นซุนกวนได้ จึงเป็นขุนพลที่ทางง่อก๊กขยาดในฝีมือ ถึงกับมีคำกล่าวว่า

เด็ก ๆ เมืองง่อนั้นหากกำลังร้องไห้ แม้เพียงได้ยินชื่อเตียวเลี้ยวเป็นต้องหยุดร้อง

เตียวเลี้ยวมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของวุยก๊ก (เตียวเลี้ยว, เตียวคับ, งักจิ้น, ซิหลง และอิกิ๋ม) เตียวเลี้ยวเสียชีวิตลงเพราะโดนลูกธนูยิงเมื่อโจผีบุกง่อก๊ก หลังจากโจผีทราบถึงการเสียชีวิตของเตียวเลี้ยวก็จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แตกต่างจากวรรณกรรมอยู่พอสมควร จดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่วระบุว่า หลังจากพระเจ้าโจผีขึ้นครองราชย์แล้ว ซุนกวนเป็นฝ่ายยกทัพมารุกรานวุยก๊ก (ไม่ใช่โจผียกไป) เตียวเลี้ยวจึงถูกส่งตัวมาประจำการ ณ หับป๋าอีกครั้ง และเขาก็เอาชนะทัพง่อได้เป็นครั้งที่สอง ทำให้โจผีชื่นชมมาก จึงได้เพิ่มบรรดาศักดิ์และมอบเกียรติยศให้มากมาย ถึงขนาดได้กล่าวเปรียบเทียบเขากับ “ซ่าวหู่” ยอดนักรบในสมัยราชวงศ์โจว

จากนั้นไม่นานเตียวเลี้ยวก็ล้มป่วย พระเจ้าโจผีจึงส่งแพทย์หลวงประจำราชสำนักไปรักษาอาการ ทั้งยังเสด็จไปเยี่ยมเตียวเลี้ยวเป็นการส่วนตัวและเสวยอาหารร่วมกับเขาอย่างไม่ถือตัว จนอาการของเตียวเลี้ยวดีขึ้น แต่เมื่อผ่านไปไม่นานนักซุนกวนก็ตั้งทัพหมายจะรุกรานวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจผีจึงให้เตียวเลี้ยวไปรับศึกร่วมกับโจฮิว เมื่อครั้นสองฝ่ายประจันหน้ากันที่แม่น้ำแยงซี ซุนกวนซึ่งเคยแพ้เตียวเลี้ยวมาหลายครั้งหลายหนถึงกับกล่าวว่า

“แม้แต่อาการป่วย ยังไม่สามารถหยุดยั้งเตียวเลี้ยวได้ พวกเราต้องระวังให้ดี”

และแม้จะไม่ได้รบกับซุนกวนอีก แต่เตียวเลี้ยวก็สามารถนำทัพเอาชนะลิห้อมแห่งกังตั๋งได้ในปีเดียวกันนั้นซึ่งถือเป็นชัยชนะเหนือง่อก๊กรอบที่สาม อย่างไรก็ตาม เตียวเลี้ยวก็ล้มป่วยลงอีกครั้งและเสียชีวิตอันแตกต่างจากในวรรณกรรมสามก๊ก

ทั้งนี้ เตียวเลี้ยวถือเป็นหนึ่งในยอดนายทหารยุคสามก๊กที่นับได้ว่ามีความเก่งกาจและมีสติปัญญา เขาได้รับการยกย่องจากเฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊กให้เป็น “ขุนพลอันดับหนึ่ง” ในบรรดาห้าทหารเอกแห่งวุยก๊ก อันประกอบด้วย เตียวเลี้ยว เตียวคับ ซิหลง งักจิ้น และอิกิ๋ม

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติของเตียวเลี้ยวใน ซันกั๋วจื้อ บันทึกว่า ตอนที่ได้รับแต่งตั้งเป็นหลู่กั๋วเซียง (魯國相) หลังตามลิโป้ไปที่ชีจิ๋ว เขามีอายุ 28 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] แม้ว่าตามเทคนิคเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของลิโป้ เตียวเลี้ยวเป็นอิสระจากลิโป้อย่างเป็นทางการ เนื่องจากในเวลานั้นเขาดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองในเป่ย์ตี๋[2][3] เนื่องจากรัฐหลู่เป็นรัฐระดับจฺวิ้นในชีจิ๋ว ลิโป้ต้องมีอำนาจในมณฑลนี้ก่อนที่เขาจะแต่งตั้งใครสักคนเป็นข้อราชการในพื้นที่มณฑล ลิโป้ยึดครองมณฑลชีจิ๋วจากเล่าปี่ใน ค.ศ. 196[4] ดังนั้น เตียวเลี้ยวน่าจะได้รับแต่งตั้งในปีนั้นมากที่สุด เมื่อนำมาคำนวณแล้ว ถ้าเตียวเลี้ยวอีกอายุ 28 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ใน ค.ศ. 196 ปีเกิดของเขาจึงอยู่ในช่วง ค.ศ. 169 ชีวประวัติของเตียวเลี้ยวใน ซานกั๋วจื้อ บันทึกว่าเขาเสียชีวิตในปีเดียวกันหลังกองทัพพ่ายแพ้ต่อลิห้อม ขุนศึกง่อก๊ก ในยุทธการที่ต๋งเค้าช่วงปลาย ค.ศ. 222[5] เนื่องจากเตียวเลี้ยวเสียชีวิตใน ค.ศ. 222 และเกิดใน ค.ศ. 169 เขาจึงมีอายุประมาณ 53 ปีในตอนที่เสียชีวิต

อ้างอิง

[แก้]
  1. (布為李傕所敗,從布東奔徐州,領魯相,時年二十八。) Sanguozhi vol. 17.
  2. "方詩銘《三國人物散論》:從史籍留下的記載,至少可以知道,在擺脱涼州軍控制後逐漸形成的幷州軍事集團,包括了呂布、張遼、張楊等三支武裝力量。". {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. "三國人物散論:上海古籍出版社". {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. Sima (1084), vol. 62.
  5. (是歲,遼與諸將破權將呂範。遼病篤,遂薨於江都。) Sanguozhi vol. 17.
  6. de Crespigny (2007), p. 1063.
  7. (評曰:太祖建茲武功,而時之良將,五子為先。于禁最號毅重,然弗克其終。張郃以巧變為稱,樂進以驍果顯名,而鑒其行事,未副所聞。或注記有遺漏,未如張遼、徐晃之備詳也。) Sanguozhi vol. 17.