ข้ามไปเนื้อหา

วิสุทธิ์ ไชยณรุณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
วิสุทธิ์ ใน พ.ศ. 2567
ประธานคณะกรรมการประสานงาน
สภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
(0 ปี 275 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้าอดิศร เพียงเกษ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(2 ปี 129 วัน)
ก่อนหน้าอภิวันท์ วิริยะชัย
ถัดไปศุภชัย โพธิ์สุ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 193 วัน)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดพะเยา
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
(22 ปี 73 วัน)
ก่อนหน้าไพโรจน์ ตันบรรจง
ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
สวัสดิ์ คำวงษา
ถัดไปอนุรัตน์ ตันบรรจง
เขตเลือกตั้งเขต 2 (2544,2548,2554,2562)
เขต 1 (2550)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2534–2541)
ไทยรักไทย (2541–2549)
พลังประชาชน (2549–2551)

วิสุทธิ์ ​ไชยณรุณ (เกิด 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น มี่ เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นสมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในจังหวัดพะเยา[1]

ประวัติ

[แก้]

วิสุทธิ์ ไชยณรุณ เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ที่ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก เทคโนโลยีการเกษตรบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปัจจุบัน)[2]

การทำงาน

[แก้]

วิสุทธิ์ ไชยณรุณ เป็นเกษตรกรและเป็นผู้ริเริ่มนำต้นยางพารามาปลูกครั้งแรกในจังหวัดพะเยา ต่อมาเขาได้เข้าสู่การทำงานการเมือง โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เป็นสมัยแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 (พ.ศ. 2551) ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[3] ซึ่งจากการทำหน้าที่ประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เขาได้รับการยอมรับจากฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลว่าทำหน้าที่ได้ดี และมีความเป็นกลางที่สุด[4]

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 วิสุทธิ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลในสภาผู้แทนราษฎร ถัดจาก อดิศร เพียงเกษ ซึ่งลาออกจากตำแหน่ง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เสื้อแดงชุมนุม21จว.คู่ขนานกทม. บุกจวนพ่อเมืองเชียงใหม่ขับไล่[ลิงก์เสีย]
  2. ขอร่วมแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าแม่โจ้ และศิษย์เก่ากิตติมศักดิ์แม่โจ้
  3. สภาฯลงมติเลือก"สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์"นั่งปธ.ตามคาด "ปู"เผยรายชื่อครม.เสร็จแล้ว50%
  4. "'วิสุทธิ์'เฮี้ยบ!ไล่'สุนัย'เบรก'จ่าประสิทธิ์'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-08-24.
  5. ""เศรษฐา" ตั้ง "วิสุทธิ์ ไชยณรุณ" นั่ง ปธ.วิปรัฐบาลคนใหม่". Thai PBS.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑