ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 120: บรรทัด 120:
{{ร.จ.พ.|2456}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2678.PDF</ref>
{{ร.จ.พ.|2456}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2678.PDF</ref>
{{ม.ป.ร.3|๒๔๕๑}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/036/1040.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔]</ref>
{{ม.ป.ร.3|๒๔๕๑}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/036/1040.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔]</ref>
* {{จ.ป.ร.1|๒๔๔๖}}<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/009/132.PDF ส่งเหรียญรัตนาภรณ์ไปพระราชทาน] </ref>
{{จ.ป.ร.1}}
{{ว.ป.ร.3}}
{{ว.ป.ร.3}}
{{ส.ผ.|2441}}<ref> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF</ref>
{{ส.ผ.|2441}}<ref> http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:49, 7 กรกฎาคม 2563

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงวัง
ดำรงตำแหน่ง25 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 — 14 เมษายน พ.ศ. 2456
ประสูติ29 ธันวาคม พ.ศ. 2400
สิ้นพระชนม์3 เมษายน พ.ศ. 2465 (64 ปี)
หม่อม6 คน
พระบุตร14 องค์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาพึ่ง ในรัชกาลที่ 4

มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก นายพลตรี[1] พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 – 3 เมษายน พ.ศ. 2465) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง เมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 เป็นต้นราชสกุลชุมพล[2]

พระประวัติ

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านกฎหมายและด้านช่าง ทรงเริ่มรับราชการในกรมช่างทหารใน และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์ (เอดเดอแกมป์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2427 ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่ง ในปี พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ

ต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ข้าหลวงต่างพระองค์นั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่มีอำนาจยิ่งใหญ่กว่าข้าหลวง ข้าหลวงพิเศษอุปราชหรือสมุหเทศาภิบาล เพราะคำว่า "ต่างพระองค์" มีความหมาย "ต่างพระเนตรพระกรรณ" และสำเร็จราชการ ก็มีความหมายถึง "ความสำเร็จเด็ดขาดที่ได้รับมอบจากองค์พระเจ้าแผ่นดิน" อันได้แก่ "การบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่พสกนิกร คือความสมบูรณ์พูนสุขอยู่ดีกินดี" ตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์นี้เท่าที่ปรากฏทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มี 3 พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม

เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลอีสาน ครอบคลุมท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครจำปาศักดิ์ และกาฬสินธุ์ และตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2436 โดยทรงรับผิดชอบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ทรงค้นพบ ประสาทพระวิหาร บนผาเป้ยตาดี จังหวัดศรีสะเกษ และได้ทรงจารึก ร.ศ. ที่พบ และพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี มีข้อความว่า "118 สรรพสิทธิ"

พระองค์ปกครองมณฑลอิสานเป็นเวลากว่า 17 ปี กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง[3]

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว[4][5][6]

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ และได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงชราและมีพระอนามัยไม่สมบูรณ์ กระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 พระชันษาได้ 65 ปี[7] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[8]

พระโอรส-ธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงเป็นต้นราชสกุลชุมพล มีหม่อม 6 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมอำภา ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ธรรมสโรช) ธิดานายช้อย ธรรมสโรช
  2. หม่อมเจริญ ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ธรรมสโรช) ธิดานายช้อย ธรรมสโรช
  3. หม่อมเจียงคำชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : บุตโรบล) ธิดาท้าวสุรินทรชมภู (หมั้น บุตโรบล) สายอาญาสี่อุบลราชธานี
  4. หม่อมบุญยืน ชุมพล ณ อยุธยา (สกุลเดิม : บุญรมย์) ธิดาท้าวไชยบุตร์ (บุดดี บุญรมย์)
  5. หม่อมคำเมียง ชุมพล ณ อยุธยา
  6. หม่อมปุก ชุมพล ณ อยุธยา สตรีชาวอุบลราชธานี

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 14 พระองค์ เป็นชาย 11 พระองค์ และหญิง 3 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
ไฟล์:หม่อมเจ้าประสบประสงค์.JPG 1. หม่อมเจ้าประสบประสงค์ ชุมพล ที่ 1 ในหม่อมเจริญ 11 กันยายน 2426 7 กรกฎาคม 2509 หม่อมถนอม
2. หม่อมเจ้าหญิงจงใจถวิล (ท่านหญิงใหญ่)[9] ที่ 2 ในหม่อมเจริญ 16 พฤศจิกายน 2429 6 กรกฎาคม 2512
3. หม่อมเจ้าเล็ก หม่อมอำภา ไม่ทราบปี 10 กันยายน 2437
ไฟล์:หม่อมเจ้าบุญจิราธร.JPG 4. หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงจิรบุญญ์ณี (ท่านหญิงลาว) ที่ 1 ในหม่อมบุญยืน 10 สิงหาคม 2440 19 มีนาคม 2523 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
5. หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ที่ 1 ในหม่อมเจียงคำ 9 กรกฎาคม 2442 17 กันยายน 2517 หม่อมเจ้าหญิงพวงรัตนประไพ (เทวกุล)
6. หม่อมเจ้าฐิตศักดิ์วิบูลย์ ที่ 2 ในหม่อมบุญยืน พ.ศ. 2443 3 ตุลาคม 2456
7. หม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ที่ 3 ในหม่อมบุญยืน 12 ธันวาคม 2445 22 กรกฎาคม 2524 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงรำไพประภา
8. หม่อมเจ้ากมลีสาณ ที่ 2 ในหม่อมเจียงคำ 23 เมษายน 2449 8 ธันวาคม 2521 หม่อมเจ้าหญิงสีดาดำรวง (สวัสดิวัตน์)
9. หม่อมเจ้าหญิงนงนิตย์จำเนียร ที่ 4 ในหม่อมบุญยืน พ.ศ. 2451 พ.ศ. 2456
10. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี 1 ตุลาคม 2456
11. หม่อมเจ้าชมิยบุตร หม่อมคำเมียง 28 ธันวาคม 2452 25 ตุลาคม 2547 หม่อมพึงใจ (อมาตยกุล)
12. หม่อมเจ้าชุมปกบุตร์ หม่อมปุก 16 เมษายน 2461 22 มิถุนายน 2544 หม่อมแคทลิน (เมย์ เจมส์)
หม่อมงามจิต (อินทรีย์)
13. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
14. หม่อมเจ้าเนตร ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี

พระยศและตำแหน่ง

  • พ.ศ. 2426 ร้อยเอก[10]
  • พ.ศ. 2426 ราชองครักษ์
  • พ.ศ. 2431 พันโท[11]
  • พ.ศ. 2431 ผู้บังคับการกรมทหารหน้า[12]
  • 27 เมษายน พ.ศ. 2432 พันเอก[13]

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช (29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2428)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[14]
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - 3 เมษายน พ.ศ. 2465)[15]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระอนุสรณ์

  • พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ณ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • พระอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (มณฑลทหารบกที่22) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
  • ถนนสรรพสิทธิ์ (เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี)
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/036/521_1.PDF
  2. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 137. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน ก): หน้า 24. 29 พฤษภาคม 2453. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/45.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/006/47.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ , เล่ม 39, ตอน ง, 9 เมษายน พ.ศ. 2465, หน้า 70
  8. ราชกิจจานุเบกษา, การพระเมรุท้องสนามหลวง, เล่ม 40, ตอน ง, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466, หน้า 4101
  9. หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงจงใจถวิล ชุมพล
  10. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า ๓๑๓)
  11. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  12. ประกาศกรมยุทธนาธิการ
  13. พระราชทานสัญญาบัตรพลเรือนและทหาร
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/035/481.PDF
  15. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 245–246. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/1900.PDF
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2461/D/2612.PDF
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/034/367.PDF
  19. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/038/414_1.PDF
  20. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/022/179.PDF
  21. ข่าวราชการ
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/061/536.PDF
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2678.PDF
  24. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔
  25. ส่งเหรียญรัตนาภรณ์ไปพระราชทาน
  26. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF
  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  • กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8