หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล
หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 |
สิ้นชีพตักษัย | 17 กันยายน พ.ศ. 2517 (75 ปี) |
ชายา | หม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ ชุมพล |
พระบุตร | 3 คน |
ราชสกุล | ชุมพล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ |
พระมารดา | หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา |
เสวกตรี หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 – 17 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ประสูติแต่หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพวงรัตนประไพ ชุมพล (ราชสกุลเดิม เทวกุล; พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กับ หม่อมพุก เทวกุล ณ อยุธยา) มีโอรสธิดาสามคน คือ
- นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์พัชรีสาณ ชุมพล
- หม่อมราชวงศ์หญิงพวงแก้ว ชุมพล
- หม่อมราชวงศ์จาตุรีสาณ ชุมพล[1]
หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จนสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา แล้วได้เข้ารับราชการในกระทรวงวัง สนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง จึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการเพื่อไปศึกษาต่อด้วยทุนส่วนองค์ที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์และกฎหมาย ที่วิทยาลัยเซนต์แมรี มักดาลีนแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเสด็จกลับประเทศสยามเมื่อปี พ.ศ. 2469 หลังจากนั้นได้กลับเข้ารับราชการต่อที่กระทรวงวังในตำแหน่งปลัดกรมในกระทรวงวัง และเป็นปลัดจางวาง กรมมหาดเล็กหลวง[2] จนถึงปี พ.ศ. 2475 จึงได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในสำนักพระราชวัง กระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อปี พ.ศ. 2477
หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล ทรงร่วมก่อตั้งธนาคารไทยทนุ เมื่อปี พ.ศ. 2492 ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคนแรกของธนาคาร และทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 2 (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2489) แต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493
ในปี พ.ศ. 2501 หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการผลประโยชน์ทรัพย์สินส่วนพระองค์แทนพระสุทธิอรรถนฤมนตร์ (สุธ เลขยานนท์) ตามประกาศนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 และทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์
นอกจากนี้หม่อมเจ้าอุปลีสาน ชุมพล ยังได้ประทานที่ดินส่วนองค์ คือ "สวนโนนดง" ให้เป็นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระบิดา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
หม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2517 สิริชันษา 75 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[4]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[5]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[6]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[7]
อนุสรณ์
[แก้]- ถนนอุปลีสาณ เขตเทศบาลนครอุบลราชธานี
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ที่ระลึกครบรอบ 150 ปี พลตรี กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 48 หน้า 4790 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2474http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/4789.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๓, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓